ข้อสอบ O-NET การ ร้อย เรียง ประโยค พร้อม เฉลย

                ประโยคแรกกล่าวถึงชาวเขาเผ่าลีซอ  ประโยคที่เหลือทั้งหมดมีเนื้อความเกี่ยวกับชาวเขาเผ่านี้  แต่ประโยคที่ ๒ และ ๓ ใช้วิธีไม่เอ่ยชื่อ  ประโยคที่ ๔ ใช้วลี  ชาวเขาเผ่านี้  แทน  ประโยคที่ ๕ ใช้การซ้ำคำว่า ลีซอ  และประโยคที่ ๖ ใช้วลี หนุ่มลีซอนั้น เพื่อจำกัดความหมายให้แคบเข้าว่าหมายถึงเฉพาะชายหนุ่มเผ่าลีซอเท่านั้น

ข้อสอบ O-NET การ ร้อย เรียง ประโยค พร้อม เฉลย

ข้อสอบ O-NET การ ร้อย เรียง ประโยค พร้อม เฉลย


วันนี้นำข้อสอบพร้อมโอเน็ต เอเน็ต วิชาภาษาไทย มาให้นักเรียน ม.ปลาย  ได้ลับสมองกันบ้าง เพื่อเป็นการเตรียมตัวไว้เนิ่นๆ   คะแนนจะได้มากๆ ลองทำดูนะคะ  หากมีข้อสงสัย  หรืออยากทราบวิธีคิด  เม้นท์มาถามได้เลย ค่ะ  เพราะถ้าจะอธิบายทีละข้อคงใช้เวลานานมาก  (ตอนนี้ที่โรงเรียนมีโครงการติวให้นักเรียนชั้น ม. ๖ ใน ๕ รายวิชา  โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย  จะอธิบายข้อสอบทีละข้อพร้อมแนวคิด  วิธีตอบ)  เฉลยดูจากตอนที่ ๒  นะคะ  คุณครูนำไปติวนักเรียนก็จะเป็นการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้นะคะ....อ้อ...ถ้ามีปัญหาในการเฉลยแสดงความคิดเห็นได้ค่ะ

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

รหัสวิชา ๐๑ วิชา ภาษาไทย

สอบวันเสาร์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.

 ๑. ข้อใดกล่าวถึงสัตว์ที่ต่างพวกกับข้ออื่น

๑. แขกเต้าเคล้าคู่เคียง

๒. หางไก่ว่ายแหวกว่าย

๓. สัตวาน่าเอ็นดู

๔. โนรีสีปานชาด

๒. ข้อใดไม่ใช่ข้อเท็จจริงล้วน ๆ

๑. การออกกำลังกายทำให้เราหายใจออกซิเจนเข้าไปได้เต็มปอด

๒. การหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปเต็มปอดทำให้หัวใจแข็งแรง

๓. การออกกำลังกายช่วยลดความเครียดทำให้สมองแจ่มใส

๔. จิตใจที่แข็งแกร่งต้องอยู่ในร่างกายที่แข็งแรงเท่านั้น

๓. ข้อใดไม่ปรากฏในประกาศต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยศิลปากรร่วมกับกรมศิลปากรจัดการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของ

ศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ ๒๔ ระหว่างวันที่ ๖ - ๒๘ กันยายน ๒๕๕๐ ที่พิพิธภัณฑสถาน

แห่งชาติ หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า โดยต้องเป็นเยาวชนอายุไม่ต่ำกว่า ๑๖ - ๒๕ ปี

ส่งผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยความคิดของตนเองได้ที่ตำหนักพรรณราย ชั้น ๒

หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กทม. ติดต่อสอบถามรายละเอียด

ที่ ๐ - ๒๒๒๑ - ๓๘๔๑ หรือ www. art - centre.su.ac.th

๑. กำหนดวันแสดงศิลปกรรม

๒. สถานที่แสดงศิลปกรรม

๓. ข้อจำกัดเกี่ยวกับผู้แสดงศิลปกรรม

๔. เนื้อหาของงานศิลปกรรม

๔. คำประพันธ์ต่อไปนี้สื่อความรู้สึกใดของบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์

อึกทึกอยู่กึกก้อง เสียงแซ่ซ้องสาธุการ

ทั่วหล้าแต่บาดาล ถึงวิมานเมืองพรหมินทร์

๑. หนวกหู       ๒. คึกคะนอง

๓. ยินดี            ๔. สับสน

๕. ข้อใดไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นบุคลิกภาพของกวี

เนื้ออ่อนอ่อนน่วมน่วม แม่รูปท้วมท่วมนาวา

นิ่มนุ่มชุ่มนัยนา เนื้ออ่อนแน่แม่งามพี

๑. เจ้าสำราญ

๒. เจ้าโวหาร

๓. มีอารมณ์ขัน

๔. มีความคิดสร้างสรรค์

๖. ข้อใดอนุมานได้จากข้อความต่อไปนี้

ความสะดวกสบายในการอยู่หอพักของนักศึกษาเป็นไปตามกำลังเงิน อยู่หอพัก

ที่สถานศึกษาจัดให้อาจสะดวกสบายน้อยกว่า เสียเงินน้อยกว่า แต่มีสิ่งหนึ่งที่หอพัก

เอกชนไม่มีให้ คือการรู้จักอยู่ร่วมกัน รู้จักอดทนต่อความไม่พอใจคนอื่น เป็นการฝึก

ให้มีมนุษยสัมพันธ์ได้อย่างดี

๑. หอพักของสถานศึกษามีความปลอดภัยมากกว่าหอพักเอกชน

๒. นักศึกษาชอบอยู่หอพักเอกชนมากกว่าหอพักที่สถานศึกษาจัดให้

๓. หอพักเอกชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้มากกว่าหอพักของสถานศึกษา

๔. สถานศึกษามีงบประมาณจำกัดในการสร้างหอพัก จึงไม่อาจแข่งขันกับเอกชนได้

๗. ตามรายงานต่อไปนี้ ข้อใดไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของโรคอ้วน

ผลสำรวจล่าสุดในจีนพบว่า หนึ่งในสี่ของเด็กวัยรุ่นชายในเมืองใหญ่ได้กลาย

สภาพเป็นเด็กอ้วนไปแล้ว อันเป็นผลมาจากความนิยมตะวันตกและการเติบโตทาง

เศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น เด็กต้องคร่ำเคร่งกับการเรียนจนไม่มีเวลา

ได้ออกกำลังกาย

นโยบายจำกัดให้แต่ละครอบครัวมีบุตรได้เพียงคนเดียวของทางการจีนก็เป็น

อีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อโรคอ้วนในเด็กชาย เพราะลูกชายโทนจะได้รับการ

ปรนเปรอเยี่ยง “จักรพรรดิน้อย”

๑. เด็กคร่ำเคร่งเรียนหนังสือมากเกินไป

๒. เด็กไม่ได้ออกกำลังเพียงพอ

๓. เด็กอยู่ดีกินดีมากเกินไป

๔. เด็กนิยมกินอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์

๘. ข้อใดเป็นใจความสำคัญของข้อความต่อไปนี้

อาหารญี่ปุ่นที่เด่น ๆ คือ ปลาซึ่งมีโปรตีนที่ดีกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นเพราะมีโอเมก้า 3

ซึ่งช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด และยังมีวิตามิน เกลือแร่มาก

อีกทั้งอาหารญี่ปุ่นมักใช้สาหร่ายเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งมีทั้งโปรตีน ไอโอดีน

และใยอาหารสูง จึงช่วยเรื่องการย่อยและระบบขับถ่าย

๑. อาหารญี่ปุ่นมีคุณค่าทางโภชนาการสูง

๒. อาหารญี่ปุ่นให้โปรตีนสูงกว่าอาหารชาติอื่น

๓. อาหารญี่ปุ่นช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ได้

๔. อาหารญี่ปุ่นช่วยควบคุมน้ำหนักได้

๙. คำประพันธ์ต่อไปนี้แสดงว่าสังคมให้ความสำคัญด้านใดมากที่สุด

    แม้มีตัวใหญ่เพี้ยง    ภูผา

สูงเจ็ดลำตาลสา           มารถแท้

พงศ์พันธุ์เผ่าจันทรา    สุริเยศ ก็ดี

ครั้นว่าไร้ทรัพย์แล้       ทั่วหล้าฤๅเห็น

๑. ความสามารถ

๒. ชาติตระกูล

๓. รูปลักษณ์

๔. ฐานะ

๑๐. ข้อใดไม่แสดงความเป็นเหตุเป็นผล

๑. อันชิงนางอย่างนี้ไม่ผิดธรรม์ ธรรมเนียมนั้นมีแต่บุราณมา

๒. แม้นไม่รู้แห่งเมืองจรกา จะช่วยชี้มรรคาบอกให้

๓. จรกาไม่มาก็ยิ่งดี ไม่มีผู้หวงแหนกีดกัน

๔. ครั้นขอนางมิได้ดังใจจง จึงเกิดการรณรงค์ในดาหา

๑๑. จากคำประพันธ์ต่อไปนี้ข้อใดผู้พูดไม่ได้ถาม

วงศ์วานว่านเครือเนื้อหน่อ พงศ์เผ่าเหล่ากอเป็นไฉน

อยู่ประเทศธานีบุรีใด ทำไมจึงแกล้งแปลงปลอมมา

๑. บ้านเดิมอยู่ที่ไหน

๒. พ่อแม่สบายดีหรือ

๓. เป็นลูกเต้าเหล่าใคร

๔. มาที่นี่ทำไม

๑๒. ข้อใดไม่อาจอนุมานได้เกี่ยวกับบุคคลในคำประพันธ์ต่อไปนี้

     ไร้ฟูกถูกเนื้อวันทองอ่อน    เหมือนนอนเตียงทองอันผ่องใส

เพลินฟังวังเวงเพลงเรไร          พิณพาทย์ไพรกล่อมขับสำหรับดง

๑. คิดถึงบ้าน

๒. อยู่กลางป่า

๓. มีความสุข

๔. อยู่อย่างลำบาก

๑๓. ตามสาระของข้อความต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวผิด

การเรียบเรียงลำดับข้อความผิดที่ในประโยคเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้อ่านยาก

และกำกวม จะเห็นกันอยู่เสมอถ้าผู้เขียนหรือผู้พิสูจน์อักษรอ่านทบทวนและจัดลำดับ

เสียใหม่ก่อนปล่อยผ่านออกไปก็จะช่วยให้การอ่านราบรื่นไม่สะดุด

๑. ความกำกวมของข้อความเกิดจากการเรียงลำดับความผิดตำแหน่ง

๒. ผู้เขียนสามารถขจัดความกำกวมของข้อเขียนได้ด้วยตนเอง

๓. การตรวจทานเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้มีการเรียงลำดับความได้

๔. ความบกพร่องด้านการเรียงลำดับข้อความเกิดขึ้นเป็นประจำจนแก้ไขไม่ได้

๑๔. ข้อใดคือความคิดรวบยอดของคำประพันธ์ต่อไปนี้

      ครืนครืนเสียงครวญคราง ไม่สิ้นสร่างที่โศกหา

พื้นแผ่นพสุธา                                     ท่วมน้ำตาตลอดไป

๑. ความปั่นป่วนของธรรมชาติ

๒. ความรุนแรงของพายุฝน

๓. ความสูญเสียอันยิ่งใหญ่

๔. ความเสียหายร้ายแรง

๑๕. จากคำอธิบายศัพท์ในพจนานุกรมต่อไปนี้ ข้อใดไม่ปรากฏ

เดิม ว. แรก เช่นแต่เดิม , เก่า เช่น บ้านเดิม พระราชวังเดิม ,

ก่อน เช่น เหมือนเดิม . (ข. เฎิมว่าต้น) . เดิมที ว. แต่แรกเริ่ม.

๑. ชนิดของคำ

๒. ตัวอย่างคำ

๓. ที่มาของคำ

๔. เสียงอ่าน

๑๖. ประกาศข้อใดสื่อความไม่ชัดเจน

๑. บริษัทเครื่องหนังไทยจัดมหกรรมลดราคาสินค้าประจำปีต้นเดือนนี้

๒. รับสมัครพนักงานพิสูจน์อักษร ติดต่อที่โรงพิมพ์เรือนทอง ตรงข้าม

      โรงพยาบาลสยาม ลาดพร้าว

๓. รับสมัครนักศึกษาใหม่ ภาคเรียนที่ ๒ ประจำปี ๒๕๕๐ สอบถามที่

     ฝ่ายรับสมัครนักศึกษา ม.นครหลวง

๔. ขายที่ดิน ๓ ไร่ ๓ งาน ย่านบางขุนเทียน ตารางวาละ ๖,๒๕๐ บาท

                 ติดต่อคุณนุช ๐๘- ๑๒๓๘ - ๕๑๒๓

๑๗. ข้อใดไม่มีความหมายในทำนองเชิญชวน

๑. เลิกเหล้าเข้าพรรษา

๒. คนไทยต้องช่วยไทย

๓. รักแม่เชื่อฟังแม่

๔. มหัศจรรย์วันกีฬา

๑๘. ข้อใดใช้การเขียนแบบอธิบาย

๑. เต้าหู้มีกำเนิดมากว่า ๒,๐๐๐ ปีในจีนแผ่นดินใหญ่ คนจีนถือว่าเต้าหู้เป็นอาหาร

    ที่มีคุณค่าสูง

๒. ตวงถั่วเหลือง นำมาแช่น้ำล้างให้สะอาด แล้วนำไปบด เสร็จแล้วกรองกากออก

                 จะได้น้ำเต้าหู้ดิบ

๓. เต้าหู้ราคาถูกแต่มีคุณค่าสูง คุณค่าทางโภชนาการที่โดดเด่นที่สุดของเต้าหู้

                 คือโปรตีน

๔. เต้าหู้หลอดเป็นเต้าหู้เนื้อนิ่ม นิยมนำมาปรุงเป็นแกงจืด

๑๙. ข้อใดมีการใช้เหตุผล

๑. ศึกษาอย่างถูกวิธี ที่ยากก็จะกลายเป็นง่าย

๒. คนเรามักจะขาดความพอดีในเรื่องการพักผ่อน

๓. การเรียนที่แท้นั้นมิได้จำกัดอยู่เฉพาะในมหาวิทยาลัย

๔. ครูของเราได้แก่บุคคลและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเรา

๒๐. ข้อความต่อไปนี้ใช้การอนุมานประเภทใด

การกินหมูกระทะได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในรอบ ๔-๕ ปีที่ผ่านมาอาจเป็น

ด้วยราคาเหมาจ่ายที่ไม่แพง และวิธีการกินเป็นกลุ่มแบบปิ้ง ๆ ย่าง ๆ ที่ช่วย

สร้างบรรยากาศให้สนุกสนานเป็นกันเองได้เป็นอย่างดี

๑. จากเหตุไปหาผล

๒. จากผลไปหาเหตุ

๓. จากเหตุไปหาเหตุ

๔. จากผลไปหาผล

๒๑. ข้อใดมีวิธีแสดงเหตุผลต่างกับข้ออื่น

๑. สุวิทย์สนใจรายละเอียดทุกเรื่องที่เรียน เขาอยากรู้เนื้อหาวิชา

๒. สุพลอยากได้คะแนนดี เขาหมั่นทำแบบฝึกหัดส่งครูทุกวัน

๓. สุรัชนั่งอ่านหนังสือในห้องสมุดจนค่ำ บ้านเขาไม่มีห้องส่วนตัว

๔. สุพจน์มักคิดเรื่องอื่น ๆ ทุกครั้งที่อ่านตำรา เขาเป็นคนไม่มีสมาธิ

๒๒. ข้อใดเป็นโครงสร้างของการแสดงเหตุผลในข้อความต่อไปนี้

ภาษาท้องถิ่นในประเทศของเราเป็นภาษาสำคัญที่พวกเราพึงอนุรักษ์ไว้มิให้

เพี้ยน กลาย หรือสูญไป / เพราะภาษาท้องถิ่นเป็นเครื่องบ่งบอกถึงขนบธรรมเนียม

ประเพณี วัฒนธรรมของถิ่นนั้น / และยังทำให้เห็นสภาพสังคมของถิ่นอีกด้วย /

๑. ข้อสรุป ข้อสรุป ข้อสนับสนุน

๒. ข้อสนับสนุน ข้อสนับสนุน ข้อสรุป

๓. ข้อสรุป ข้อสนับสนุน ข้อสนับสนุน

๔. ข้อสนับสนุน ข้อสรุป ข้อสนับสนุน

๒๓. จากข้อความต่อไปนี้ข้อใดควรจะเป็นคำโต้แย้งที่มีน้ำหนักมากที่สุดของฝ่ายคัดค้าน

ผู้นำชุมชนแห่งหนึ่งดำริจะสร้างสนามฝึกกอล์ฟในที่ว่างของชุมชนเพื่อให้

ชาวชุมชนได้มีโอกาสฝึกเล่นกอล์ฟ แต่ก็มีผู้คัดค้านหลายคน

๑. สนามฝึกกอล์ฟก็เป็นหน้าเป็นตาของชุมชนดี แต่จะสิ้นเปลืองเกินไปนะ

๒. สนามฝึกกอล์ฟมีอยู่หลายแห่งทั่วไปหมด จะสร้างอีกทำไมกัน

๓. สนามฝึกกอล์ฟเป็นเรื่องสิ้นเปลือง สู้ทำอย่างอื่นจะคุ้มค่ามากกว่า

๔. สนามฝึกกอล์ฟเป็นประโยชน์สำหรับบางคน ถ้าทำเป็นสวนสุขภาพ

                 พวกเราจะได้ใช้ร่วมกันมากกว่า

๒๔. ข้อความต่อไปนี้แสดงกลวิธีการโน้มน้าวใจตามข้อใด

บ้านพักตากอากาศที่ท่านควรสนใจ มีห้องพักสุดหรูให้เลือกมากมาย พร้อมนวด

แผนไทยท่ามกลางธรรมชาติริมน้ำ สามารถเลือกกิจกรรมต่าง ๆ ในแหล่งท่องเที่ยว

ใกล้เคียงมากมาย เช่น ตีกอล์ฟ ล่องแก่ง ขึ้นเขา ชมวิถีชีวิตสัตว์ป่า เที่ยวชม

พระราชวังและวัฒนธรรมท้องถิ่น

๑. แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของผู้โน้มน้าวใจ

๒. แสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน

๓. แสดงให้เห็นความหนักแน่นของเหตุผล

๔. แสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย

๒๕. การใช้ภาษาโน้มน้าวใจข้อใดไม่สมเหตุสมผล

๑. ยางรถยนต์ที่ล้ำหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย

๒. สระว่ายน้ำระบบไร้ท่อ ไร้การรั่วซึมช่วยชะลอวัย

๓. อาหารสดสะอาดด้วยคุณภาพที่คัดสรรอย่างพิถีพิถัน

๔. สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิดด้วยเสน่ห์แห่งบ้านสวนชายน้ำ

๒๖. ข้อความต่อไปนี้แสดงทรรศนะประเภทใด

การรณรงค์เรื่องโรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของชุมชน

จึงจะกำจัดยุงได้หมด ฝนที่ตกทิ้งช่วงเป็นระยะ ๆ ทำให้ชาวบ้านดูแลแหล่งน้ำขัง

ไม่ทั่วถึง เพราะฉะนั้นจึงต้องผนึกกำลังกันทั้งหมู่บ้านกำจัดดูแลน้ำขังอย่าง

พร้อมเพรียงและต่อเนื่อง

๑. เชิงข้อเท็จจริง

๒. เชิงนโยบาย

๓. เชิงข้อเท็จจริงและเชิงนโยบาย

๔. เชิงข้อเท็จจริงและเชิงคุณค่า

๒๗. ข้อความต่อไปนี้ตอนใดเป็นข้อสรุปตามโครงสร้างของการแสดงทรรศนะ

(๑) ปัจจุบันคนไทยมีชื่อเล่นเป็นฝรั่งกันเป็นจำนวนมากจนเรียกได้ว่าเป็นแฟชั่น

อย่างหนึ่งในสังคมไทย / (๒) พ่อแม่นิยมตั้งชื่อลูกให้ฟังดูเป็นฝรั่งโดยเอาอย่างชื่อ

คนดังในวงการบันเทิง / (๓) ชื่อไทย ๆ กลายเป็นชื่อหายากในหมู่เด็ก ๆ สมัยนี้และ

เป็นข้อที่คนรุ่นใหม่คิดว่าเชย / (๔) น่าเสียดายที่ชื่อเล่นภาษาไทยที่เรียกกันง่าย ๆ

กำลังจะสูญหายไป เราน่าจะหันกลับมาตั้งชื่อเล่นลูกหลานให้เป็นไทย ๆ

๑. ตอนที่ (๑)

๒. ตอนที่ (๒)

๓. ตอนที่ (๓)

๔. ตอนที่ (๔)

๒๘. ข้อใดใช้ภาษาไม่เหมาะสมสำหรับการเขียนรายงานทางวิชาการ

๑. การจัดการศึกษาต้องมุ่งพัฒนาคนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา

๒. กระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

๓. การจัดการเรียนรู้คนสอนต้องทำสารพัดอย่างให้เข้ากับคนเรียนแต่ละคน

๔. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การให้ผู้เรียนมีบทบาท

     ร่วมในการเรียนการสอน

๒๙. ถ้าเรียงลำดับคำอธิบายวิธีทำอาหารต่อไปนี้จนครบถ้วน ข้อใดเป็นขั้นตอน

        ที่ต่อจากข้อ ๒ ตามโจทย์

๑. นึ่งกุ้งให้สุกพอประมาณแล้วจัดใส่จานพักไว้

๒. ปอกเปลือกกุ้ง ผ่าหลัง แล้วล้างให้สะอาด

๓. แล้วนำไปราดบนตัวกุ้งที่นึ่งไว้

๔. ผสมน้ำปลา น้ำตาลทราย น้ำมะนาว คลุกเคล้ากับตะไคร้และหอมแดงซอย

๕. โรยหน้าด้วยถั่วลิสงทอดและใบสะระแหน่

๑. ข้อ ๑

๒. ข้อ ๓

๓. ข้อ ๔

๔. ข้อ ๕

๓๐. ข้อความต่อไปนี้ไม่ควรเป็นส่วนใดของเรียงความ

ประเพณีวิ่งควายซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวชลบุรีก็จะอยู่คู่

จังหวัดชลบุรีไปอีกนานเท่านาน

๑. ส่วนนำเรื่อง

๒. ส่วนเนื้อเรื่อง

๓. ส่วนขยายเนื้อเรื่อง

๔. ส่วนปิดเรื่อง

๓๑. ข้อใดเหมาะจะเป็นส่วนขึ้นต้นของเรียงความเรื่อง “นักศึกษาจีนในประเทศไทย”

๑. การคัดเลือกนักศึกษาจีนนั้น มหาวิทยาลัยแห่งชนชาติกวางสีเป็นผู้ประสานงาน

    กับมหาวิทยาลัยไทย

๒. การพูดคุยกันอย่างเป็นกันเองก็เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาจีนได้ฝึกภาษาไทยกับ

     คนไทยที่เป็นนักธุรกิจ

๓. ระยะนี้ความเคลื่อนไหวของจีนทั้งในและนอกประเทศต่างส่งผลกระทบต่อคน

     ทั่วโลกอย่างน่าจับตามอง

๔. เมื่อจำนวนนักศึกษาจีนที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยมีมากขึ้น ก็ทำให้จับกลุ่มกันเอง

     แทนที่จะออกไปพบปะผู้อื่น

๓๒. เมื่อเรียงลำดับข้อความให้ถูกต้อง ข้อใดเป็นลำดับที่ ๔

๑. ทานบางอย่างไม่จำเป็นต้องใช้เงิน

๒. การให้กำลังใจ การให้ความยินดี นับเป็นทานทั้งนั้น

๓. ทานมีรูปแบบหลายอย่างให้เลือกทำได้

๔. การให้ความร่วมมือ การให้แรงงาน การให้ความเห็น

๓๓. สมศรีฟังคำประพันธ์จากรายการวิทยุดังต่อไปนี้

แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม ก็จงยอมเป็นเพียงลดาขาว

แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา

หลังจากฟังแล้วเธอรู้สึกประทับใจมาก เพราะให้แง่คิดในการดำเนินชีวิต

ว่าคนเราควรพอใจกับสิ่งที่เราเป็นอยู่

จากสถานการณ์ในข้อความข้างต้นแสดงว่าสมศรีมีสัมฤทธิผลในการฟังขั้นใด

๑. เข้าใจจุดประสงค์ของผู้พูด

๒. รับรู้ข้อความได้ครบถ้วน

๓. บอกได้ว่าสิ่งที่ฟังน่าเชื่อถือ

๔. ประเมินได้ว่าสิ่งที่ฟังมีประโยชน์

๓๔. ข้อใดเป็นคำพูดที่ประธานในที่ประชุมกล่าวได้เหมาะสม

๑. ประเด็นที่เรากำลังพิจารณาสำคัญมาก ผมอยากฟังความคิดเห็นจาก

     หลาย ๆ ท่าน เชิญคุณพิชิตครับ

๒. หลายท่านก็แสดงความคิดเห็นกันมามากแล้ว แต่ดูเหมือนจะไม่ตรงประเด็น

     ผมว่ายุติดีกว่านะครับ

๓. คุณพิชัยกรุณาแสดงความคิดเห็นหน่อยครับ เห็นนั่งฟังมานานแล้ว

๔. ผมคิดว่าคุณพิธานควรให้สมาชิกท่านอื่น ๆ ได้แสดงความคิดเห็นบ้างนะครับ

๓๕. ข้อใดใช้ศัพท์ในการประชุมตามข้อความที่ขีดเส้นใต้ได้ถูกต้องตามลำดับ

การประชุมคณะกรรมการของสมาคมในวันนี้มีบุคคลที่มีสิทธ์ิเข้าประชุม

ท่านหนึ่งได้บอกให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องการจัดหารายได้สนับสนุนกิจกรรม

ของสมาคม ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง

๑. องค์ประชุม เสนอ คัดค้าน

๒. ผู้ร่วมประชุม ข้อเสนอ สนับสนุน

๓. ผู้เข้าประชุม เสนอ อภิปราย

๔. ที่ประชุม ข้อเสนอ ลงมติ

๓๖. เมื่อต้องการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเรื่องอาการของไข้เลือดออก

       จะใช้คำใดเป็นคำหลัก

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอกจาก

จะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยและของโลก โดยเฉพาะในประเทศ

เขตร้อนชื้น ไข้เลือดออกที่พบในประเทศไทยเกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง มียุงลายเป็น

พาหะนำโรค

๑. ยุงลาย

๒. ไวรัส

๓. ปัญหาสาธารณสุข

๔. โรคในเขตร้อนชื้น

๓๗. ตามธรรมชาติของภาษา ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไปของภาษา

๑. คำเกิดจากการนำเสียงในภาษามาประกอบกันเข้า

๒. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เขียนเรียงความส่งเข้าประกวด

๓. ประโยคนี้มี ๒ ประโยครวมกันโดยใช้คำเชื่อมช่วยเชื่อมความ

๔. ปัจจุบันคนไทยหลายคนพูดเสียงพยัญชนะควบกล้ำไม่ได้เลย

๓๘. ข้อใดไม่มีเสียงวรรณยุกต์จัตวา

๑. พระเหลือบลงตรงโตรกชะโงกเงื้อม

๒. น้ำกระเพื่อมแผ่นผาศิลาเผิน

๓. กระจ่างแจ้งแสงจันทร์แจ่มเจริญ

๔. พระเพลิดเพลินพลางเพรียกสำเหนียกใจ

๓๙. ข้อใดประกอบด้วยพยางค์ที่ออกเสียงสระยาวทุกคำ

๑. เวิ้งว้าง เงินผ่อน แบ่งแยก

๒. วี้ดว้าย เชิญชวน คลอนแคลน

๓. โพล้เพล้ ร่องแร่ง จองหอง

๔. กรีดกราย ร่อนเร่ ลอดช่อง

๔๐. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะต้นมากที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ำ)

๑. ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง

๒. คงจะต้องบังคับขับไส

๓. เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป

๔. ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย

(ต่อ ตอนที่ ๒  ข้อ  ๔๑ - ๘๐  พร้อมเฉลยทั้ง  ๘๐ข้อ)