ไม่ ประชุม ภายใน 4 เดือน ค่าปรับ

ค่าปรับยื่นงบการเงิน บางคนมองเป็นค่าโง่ แต่ผมคิว่า เป็นความจำเป็นครับ อาจเพราะลืม เพราะไม่รู้ เพรา… เรา ต้องเรียนรู้และจ่ายมันอย่างฉลาด  มาลองศึกษากันนะครับ

ค่าปรับ ยื่นงบล่าช้า หรือ ยื่นงบไม่ทันกำหนด  ประกอบด้วย

  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ต้องยื่นภายใน 5 เดือน (อันที่จริง ต้องยื่นภายใน 1 เดือน นับจากวันประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยต้องประชุมภายใน 4 เดือน จึงนับยาวรวมกันเป็น 5 เดือน)
    • ล่าช้า ไม่เกิน 2 เดือน ค่าปรับ รวม 2,000 บาท
      (ประกอบด้วย ปรับนิติบุคคล 1,000 บาท และปรับ กรรมการ 1,000 บาท)
    • ล่าช้า เกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน ค่าปรับรวม 8,000 บาท
      (ประกอบด้วย ปรับนิติบุคคล 4,000 บาท และปรับ กรรมการ 4,000 บาท)
    • ล่าช้า เกิน 4 เดือน ค่าปรับรวม 12,000 บาท
      (ประกอบด้วย ปรับนิติบุคคล 6,000 บาท และปรับ กรรมการ 6,000 บาท)
  • กรมสรรพากร
    • ยื่นล่าช้า ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 3,000 บาท
      (ประกอบด้วย ปรับแบบฯ 1,000 บาท และปรับงบการเงิน 2,000 บาท)
    • ยื่นล่าช้า เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 4,000 บาท
      (ประกอบด้วย ปรับแบบฯ 2,000 บาท และปรับงบการเงิน 2,000 บาท)

ค่าปรับอื่น ที่เกี่ยวข้อง

  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ไม่ได้ยื่นภายใน 14 วัน นับจากวันประชุมผู้ถือหุ้น ปรับ 2,000 บาท (ไม่ต้องเสีย แม้มีกฎหมายบังคับไว้ ถ้ายื่น บจอ.5 พร้อมกับการยื่นงบการเงิน – อ้างอิง จากคำตอบ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนฯ คลิ๊กที่นี้)
  • ไม่นำงบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือน นับแต่วันที่ลงในงบดุล ปรับไม่เกิน 12,000 บาท
    (ประกอบด้ย ปรับนิติบุคคล 6,000 บาท และ ปรับกรรมการผู้มีอำนาจ 6,000 บาท) อ้างอิง กระทำความผิด ป.พ.พ. มาตรา 1197

ค่าปรับ ที่ไม่ต้องเสีย

  • กรณี ที่เลิกบริษัท/ ห้างหุ้น ค่าปรับของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เกี่ยวกับการยื่นงบการเงินไม่ทันกำหนด ไม่ต้องเสีย แต่จะต้องจดทะเบียนเลิกบริษัท/ ห้างหุ้นส่วน ก่อนยื่นงบการเงิน – ไม่มีเอกสารอ้างอิง แต่สามารถสอบถามได้ที่ฝ่ายกฎหมายกระทรวงพาณชิย์)

อายุความ และการดำเนินคดี

  • อายุความ มีระยะเวลา 1 ปี เช่น งบการเงินของรอบบัญชี สิ้นสุด 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 :ซึ่งต้องยื่นประมาณสิ้นเดือน 31 พฤษภาคม 2559 ถ้าล่าช้ากว่าวันดังกล่าว นิติบุคคลต้องจ่ายค่าปรับ ตามอัตราดังกล่าว จนถึง 31 พฤษภาคม 2560 กล่าวคือ ถ้ายื่นตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2560 ก็ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ ทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร เพราะหมดอายุความ
  • ให้ข้อสังเกตุว่า ก่อนหมดอายุความดังกล่าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อาจจะส่งเรื่องให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อ ออกหมายเรียกให้เชิญท่านไปพบ เพื่อชี้แจงและชำระค่าปรับ ต่อไป ดูเพิ่มเติม เกี่ยวกับ หมายเรียก การเข้าพบ และการชำระค่าปรับ ได้ที่นี้ คลิ๊กที่นี้

อ้างอิง

ไม่ ประชุม ภายใน 4 เดือน ค่าปรับ

Show

 31,021 total views,  3 views today

กิจการที่กำลังเจอปัญหาในการจัดทำงบการเงิน และคาดว่าการทำงบการเงินนั้น ไม่สามารถยื่นงบการเงินให้ทันเวลาที่กำหนดได้ เช่น ไม่มีคนทำบัญชีให้ หรือว่าเอกสารไม่ครบถ้วนจึงทำบัญชีได้ไม่สำเร็จ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่สิ่งที่ตามมาที่เจ้าของธุรกิจต้องรับผิดชอบคือ ค่าปรับยื่นงบล่าช้า และบางครั้งนักบัญชีเองจะต้องทำความเข้าใจ เพื่อสื่อสารกับเจ้าของธุรกิจให้รู้ถึงภาระและความเสี่ยงนี้ค่ะ ถ้าทำงานจนสุดความสามารถแล้ว เราไม่สามารถยื่นงบได้ทันจริง ค่าปรับที่ต้องเจอมีอะไรบ้างลองไปศึกษาพร้อมๆ กันเลย

เนื้อหา ซ่อน

1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เดดไลน์ของการยื่นงบการเงิน

1.1 ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

1.2 ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน

1.3 ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 4 เดือน หรือไม่ยื่นงบการเงิน

1.4 ค่าปรับยื่น บอจ.5 ไม่ทันกำหนด หรือไม่ยื่น บอจ.5

1.5 ค่าปรับไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชี ไม่ส่งสำเนางบดุลให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า ไม่มีสำเนาเปิดเผยไว้ในสำนักงาน

2. กรมสรรพากร

เดดไลน์ของการยื่นแบบภาษีและงบการเงิน

2.1 ค่าปรับของการยื่นแบบภาษีเกินกำหนด

2.2 ค่าปรับไม่ยื่นงบการเงิน

ด้วยความที่เราต้องนำส่งงบการเงินหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2 องค์กร ต่อไปนี้

  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • กรมสรรพากร

เวลาเจอค่าปรับ เราเองก็จะถูกปรับจากทั้ง 2 องค์กรนี้เช่นกันค่ะ โดยรายละเอียดของค่าปรับจะมีดังต่อไปนี้

1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เดดไลน์ของการยื่นงบการเงิน

สำหรับงบที่ปิดรอบระยะเวลา 1 ม.ค. – 31 ธ.ค.

กฎหมายกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน นิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมค้า ต้องนำส่งงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิด  รอบปีบัญชี คือ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี

สำหรับบริษัทจำกัด ต้องนำงบการเงินเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่สามัญภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดรอบปีบัญชี (ภายใน 30 เมษายน ของทุกปี) โดยบริษัทจำกัดต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่จัดประชุมใหญ่

หลังจากนั้นทั้งบริษัทจำกัด จะต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

ถ้าเรายื่นงบการเงินล่าช้า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเราต้องเสียค่าปรับตามระยะเวลาที่ล่าช้า แบ่งเป็น 3 ช่วงดังนี้

1.1 ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

ไม่ ประชุม ภายใน 4 เดือน ค่าปรับ
ค่าปรับยื่นงบล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

1.2 ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน

ไม่ ประชุม ภายใน 4 เดือน ค่าปรับ
ค่าปรับยื่นงบล่าช้าเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน

1.3 ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 4 เดือน หรือไม่ยื่นงบการเงิน

ไม่ ประชุม ภายใน 4 เดือน ค่าปรับ
ค่าปรับยื่นงบล่าช้าเกิน 4 เดือน หรือไม่ยื่นงบการเงิน

ค่าปรับก็จะเพิ่มตามจำนวนเดือนที่ล่าช้าเพิ่มขึ้นนะคะ อัตราค่าปรับก็จะปรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ/ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

1.4 ค่าปรับยื่น บอจ.5 ไม่ทันกำหนด หรือไม่ยื่น บอจ.5

นอกจากยื่นงบล่าช้าแล้ว ถ้าไม่ได้ยื่น บอจ. 5 ตามกำหนดนี้ ก็จะมีค่าปรับด้วย

สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ตามกฎหมายต้องส่งภายใน 14 วันนับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี

หากไม่ได้นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ตามกำหนด มีโทษเปรียบเทียบปรับกรรมการคนละ 2,000 บาท

1.5 ค่าปรับไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชี ไม่ส่งสำเนางบดุลให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า ไม่มีสำเนาเปิดเผยไว้ในสำนักงาน

อีกส่วนนึงที่เราต้องถูกปรับไปโดยปริยายถ้ายื่นงบล่าช้า คือ การไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชี และส่งสำเนางบให้ผู้ถือหุ้นภายในเวลาที่กำหนดสำหรับบริษัทจำกัด โดยมีอัตราค่าปรับตามนี้

บริษัทจำกัดค่าปรับ– ไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบดุล
– ไม่ส่งสำเนางบดุลให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าก่อนวันประชุม 3 วัน
– ไม่มีสำเนางบดุลเปิดเผยไว้ในสำนักงานของบริษัทมีโทษเปรียบเทียบปรับผู้จัดการ/กรรมการ/คณะกรรมการ คนละ 1,000 บาท (แล้วแต่กรณี)
และ
กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทคนละ 1,000 บาท

2. กรมสรรพากร

เดดไลน์ของการยื่นแบบภาษีและงบการเงิน

สำหรับกรมสรรพากร กำหนดให้ธุรกิจต้องยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด.50 ประจำปี ภายใน 150 วัน พร้อมกับงบการเงิน (Link ข้อมูลมาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

ถ้าไม่ได้ยื่นงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็น่าจะไม่สามารถยื่นภาษีได้ตามกำหนดโดยปริยาย (เศร้าจุง) เราจะมีค่าปรับแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 ค่าปรับของการยื่นแบบภาษีเกินกำหนด

  • ไม่เกิน 7 วัน ( 1-7 วัน)  ค่าปรับ 1,000 บาท
  • เกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท

ถ้าหากมีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระเงิน มีเงินเพิ่มที่ต้องชำระ 1.5% ต่อเดือนด้วยนะคะ

2.2 ค่าปรับไม่ยื่นงบการเงิน

เนื่องจากตามกฎหมายกำหนดให้เรายื่นงบการเงินทั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร เมื่อไรก็ตามที่เราพลาดยื่นงบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วก็จะโดนค่าปรับยื่นงบช้าจากสรรพากรโดยปริยาย

สำหรับกรมสรรพากรเอง ถ้าเกินกำหนดยื่นงบการเงินก็เสียค่าปรับอัตราเดียว จำนวน 2,000 บาท

ไม่ ประชุม ภายใน 4 เดือน ค่าปรับ
อัตราค่าปรับกรมสรรพากร

โดยสรุปแล้วทั้งหมดนี้คือ ค่าปรับทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นกับการยื่นงบการเงินไม่ทัน นอกจากจะเกี่ยวข้องกับตัวงบแล้ว ยังมีค่าปรับที่สืบเนื่องอื่นๆ เช่น บอจ. 5 การจัดประชุม และแบบภาษี ฉะนั้น ถ้าเพื่อนๆรู้ค่าปรับที่ต้องจ่ายชำระแล้ว หากปิดงบการเงินไม่ทันจริงๆ หรือว่าลูกค้าไม่สามารถส่งข้อมูลให้ทางสำนักงานบัญชีได้ทัน เราก็ควรชี้แจงต่อเจ้าของกิจการถึงความเสี่ยงและค่าปรับนี้ไว้ล่วงหน้าค่ะ เพราะบางครั้งมันอาจทำให้เจ้าของกิจการกระตือรือร้นส่งข้อมูลให้เราทำงานให้เสร็จทันเวลาได้ค่ะ


และถ้าใครอยากยื่นงบให้ทันไม่มีปัญหาในภายหลัง เราแนะนำเช็คในบทความนี้เพิ่มเติมได้เลยจ้า: 6 เรื่องที่ต้องเช็ค ยื่นงบการเงิน e-filing ให้ถูกต้อง

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ไม่ ประชุม ภายใน 4 เดือน ค่าปรับ

CPD Academy

ถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2017 ด้วยความตั้งใจเต็มเปี่ยมในการส่งต่อความรู้ดีๆ ให้กับนักบัญชีและผู้สอบบัญชีในรูปแบบ e-learning ที่ช่วยให้การเก็บชั่วโมง CPD เป็นเรื่องง่ายๆ ทำได้เองที่บ้าน