นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด

คำประพันธ์ประเภทกลอนนิราศ

             นิราศ คือ งานประพันธ์ประเภทหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้น ได้แก่ โคลงหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยอยุธยา นิราศนั้น มักมีเนื้อหาในเชิงพรรณนาถึงการเดินทางเป็นหลัก มักจะเล่าถึงเส้นทาง การเดินทาง และบอกเล่าถึงสิ่งที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง ขณะเดียวกัน มักจะสอดแทรกความคิด ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางนั้น โดยมักจะเชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นกับความรู้สึกภายใน ผู้แต่งนิราศ มักจะใช้คำประพันธ์แบบร้อยกรองเป็นหลัก แต่นิราศที่แต่งด้วยร้อยแก้วก็มีอยู่บ้างเช่นกัน อนึ่ง คำว่า นิราศ มีความหมายตามตัวอักษรว่า จาก พราก ไปจาก ฯลฯ แต่นิราศอาจหมายถึงงานประพันธ์ที่พรรณนาถึงเหตุการณ์ตามลำดับ พร้อมทั้งแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์นั้นๆ โดยมิได้มีการเดินทาง หรือการพลัดพรากก็ได้

วรรณกรรมประเภทนิราศมักจะมีความยาวไม่มาก พรรณนาถึงสิ่งสวยงาม และความรู้สึกผูกพันที่มีต่อบุคคลที่ตนรัก และเนื่องจากกวีส่วนใหญ่เป็นชาย เนื้อหาในนิราศจึงมักจะพรรณนาถึงหญิงที่ตนรัก กระทั่งกลายเป็นขนบของการแต่งนิราศมาจวบจนปัจจุบัน ที่ผู้แต่งนิราศ มักจะผูกเรื่องราวของการคร่ำครวญถึงหญิงที่รัก ขณะที่เล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นระหว่างการเดินทางด้วย

นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด

ความรู้

นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด

จากชื่อบทความผู้อ่านคงจะพอเดาได้ว่าเกี่ยวข้องกับผลงานของท่านสุนทรภู่ บุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม ไอดอลของนักแต่งคำประพันธ์หลาย ๆ คน โดยบทความนี้ครูพี่เจมส์จะพาทุกคนมารู้จักกับนิราศทั้ง 9 เรื่องของท่านสุนทรภู่

นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด
1. นิราศเมืองแกลง นิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่  เล่าเรื่องการเดินทางจากพระราชวังหลังไปหาบิดาที่วัดป่า ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อกลางเดือนเจ็ด ปี พ.ศ. 2350  โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับบ้านเกิดของท่านสุนทรภู่ว่าเกิดที่อำเภอแกลง แต่แท้จริงแล้วเกิดที่กรุงเทพมหานคร

นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด
2. นิราศพระบาท เล่าเรื่องการตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาทที่สระบุรี ตอนปลายปี พ.ศ.2350  โดยพายเรือไปเอง ขึ้นตามลำน้ำเจ้าพระยา ขึ้นบกที่ท่าเรือแล้วเดินทางต่อโดยใช้ช้างเป็นพาหนะจนถึงพระพุทธบาท พักอยู่ 4 วันก็เสด็จกลับกรุงเทพฯ โดยขบวนเรือเสด็จล่องลงมาตลอดทาง จนถึงวัดระฆังใช้เวลาเดินทางวันครึ่ง

นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด
3. นิราศภูเขาทอง นิราศเรื่องที่สั้นที่สุดของสุนทรภู่  เล่าเรื่องการเดินทางจากวัดราชบูรณะไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่อยุธยา เมื่อออกพรรษาแล้วในปี พ.ศ.2373 มีอายุ 45 ปี (บวชมาแล้ว 6 พรรษา) เมื่อนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองเสร็จแล้วก็เดินทางกลับกรุงเทพฯ ในครั้งนี้มีหนูพัดตามไปด้วย ประเด็นที่น่าสนใจคือสุนทรภู่ได้กล่าวตอนท้ายว่าหญิงคนรักในเรื่องนี้เป็นเพียงบุคคลสมมุติขึ้นมา

นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด

4. นิราศเมืองเพชร เล่าเรื่องการเดินไปเพชรบุรี ราวเดือนยี่หรือเดือนสามในปี พ.ศ.2374 ขณะนั้นมีอายุได้ 46 ปี โดยอาสาพระองค์เจ้าลักขณานุคุณไปขอสิ่งของแทนความรักจากลูกสาวขุนแพ่ง เพราะพระองค์หมายปองหญิงคนนี้อยู่ เหตุที่สุนทรภู่อาสาเดินทางไปครั้งนี้เพราะคิดถึงพระคุณที่ได้ทรงอุปการะตน

นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด
5. นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศที่มีความยาวเป็นอันดับสองรองจากนิราศเมืองแกลง สุนทรภู่แต่งในตอนอายุ 49 ปี (บวชได้ 9 พรรษา)  เล่าเรื่องการเดินทางไปแสวงหาแร่ปรอทและยาอายุวัฒนะ (ตามลายแทงที่ได้มา) ที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ จังหวัดอยุธยา ราวต้นปี พ.ศ.2377
นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด

6. นิราศอิเหนา “นิราศร้างห่างเหเสน่หาปางอิเหนาเศร้าสุดถึงบุษบา พระพายพาพัดน้องเที่ยวล่องลอย” นิราศที่มีความสั้นรองจากนิราศภูเขาทอง เรื่องนี้มีความแปลกกว่าเรื่องอื่น เพราะนำเนื้อความจากวรรณคดีเรื่องอิเหนา ตอนอิเหนาออกติดตามหาบุษบาซึ่งถูกลมหอบไป แล้วนำมาแต่งเป็นทำนองนิราศ แต่งขึ้นราวปี 2377 มีอายุ 49 ปี บวชอยู่ที่วัดมหาธาตุ

นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด
7. นิราศสุพรรณ สุนทรภู่แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ เล่าเรื่องการเดินทางไปสุพรรณบุรี ราวเดือนยี่หรือเดือนสามในปี พ.ศ. 2384  ระหว่างทางได้พบผู้เฒ่า 2 สามีภรรยา ทั้งสองได้สอนวิชาเล่นแร่แปรธาตุให้สุนทรภู่จนรู้ลักษณะของแร่ปรอทที่ต้องการ วัตถุประสงค์ในการแต่งนิราศเรื่องนี้ คือ 1) สร้างนิราศให้เป็นแผนที่การเดินทาง 2) เตือนสติไม่ให้อนุชนหลงเชื่อเรื่องยาอายุวัฒนะและเรื่องแปรแร่ธาตุปรอทเป็นทองคำ และ 3) เพื่อแสดงความสามารถเรื่องการแต่งโคลงของตนเอง

นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด
8. รำพันพิลาป ชื่อต่างจากนิราศเรื่องอื่น ๆ เพราะไม่มีคำว่านิราศในชื่อเรื่อง สุนทรภู่แต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2385 ขณะอยู่ที่วัดเทพธิดาราม มีอายุ 56 ปี กล่าวถึงความหลังและเรื่องราวที่เกิดขึ้นในขณะนั้น บางตอนแต่งเป็นทำนองความฝัน
นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด

9. นิราศพระประธม นิราศเรื่องสุดท้ายของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ.2385 อายุราว 56-57 ปี  โดยเล่าเรื่องการเดินทางไปนมัสการพระประธม (พระปฐมเจดีย์) สันนิฐานว่าเริ่มเดินทางจากพระราชวัง โดยเดินทางทั้งทางเรือและทางบก

ทั้งหมดที่กล่าวมาคือผลงานประเภทนิราศของสุนทรภู่ โดยกล่าวแบบย่อ ๆ เรียงลำดับการแต่ง หากผู้อ่านชอบเรื่องไหนก็ลองหามาอ่านเพลิน ๆ ได้ครับ สำหรับบทความหน้าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวอะไรต้องรอติดตามครับ

ความคิดเห็น

นิราศ แต่งด้วยคําประพันธ์ชนิดใด

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์

นิราศแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด

นิราศเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเด่นคือ การคร่ำครวญรำพันถึง นางที่รักที่กวีจากไป โดยกวีอาจจะจากนางไปยังสถานที่ต่างๆ จริง หรืออาจจะไม่ได้จากนางไป ไหน เพียงสมมติแต่งขึ้นและใช้อารมณ์กวีคร่ำครวญรำพันแสดงความอาลัยอาวรณ์ถึงนาง ซึ่งในการรำพันนี้ กวีมักนำสิ่งที่ตนพบเห็นในระหว่างการเดินทางมาบรรยายพรรณนาเชื่อมโยง ถึงความ ...

นิราศภูเขาทองแต่งคําประพันธ์ประเภทใด

นิราศภูเขาทองแต่งด้วยค าประพันธ์ประเภทกลอนนิราศซึ่งมีลักษณะคล้ายกลอนสุภาพ แต่มีความแตกต่างกันตรงที่กลอนนิราศจะแต่งขึ้นต้นเรื่องด้วยกลอนวรรครับและจะแต่งต่อไปอีก โดยไม่จ ากัดจ านวนบท แต่ต้องให้ค าสุดท้ายซึ่งอยู่ในวรรคส่งจบลงด้วยค าว่า “เอย”

การแต่งโคลงนิราศนรินทร์ผู้เขียนใช้ศิลปะการประพันธ์ประเภทใดบ้าง

นิราศนรินทร์แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 143 บท โดยมีร่ายสุภาพขึ้นต้น 1 บท ผู้แต่งประณีตในการคัดสรรคำและความหมาย ร้อยกรองเป็นบทโคลงที่ไพเราะ ทั้งยังมีสัมผัสอักษรแพรวพราวตามขนบของคำโคลง อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีโคลงบทไหนเลย ที่อ่านแล้วไม่รู้สึกถึงความไพเราะงดงาม อย่างไรก็ตาม ด้วยสำนวนภาษาที่เก่าถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงมีคำ ...

คำประพันธ์ประเภทนิราศจะขึ้นต้นด้วยวรรคใด

นิราศ ขึ้นต้นด้วยวรรครับ เช่นเดียวกับกลอนเพลงยาว บทแรกของนิราศมีเพียง 3 วรรค คือ บาทเอก มี 1 วรรค บาทโท มี 2 วรรค เขียนเป็นเรื่องยาว พรรณนาถึงการเดินทางและสิ่งที่พบเห็นจากการเดินทาง นิทานคำกลอน เป็นนิยายของไทยมีเค้าเดิมที่รู้จักกันดีกวีนำมาแต่งเป็นคำกลอน กลอนนี้บังคับเหมือนกลอนสุภาพ