ข่าว ความ เสีย ของผู้บริโภค จากการใช้ สินค้า อุปโภค บริโภค

Skip to content

ข่าว ความ เสีย ของผู้บริโภค จากการใช้ สินค้า อุปโภค บริโภค

จากการที่ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคแบบเบ็ดเสร็จ (One-stop Service) สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคมากกว่า 20 ราย เกี่ยวกับกรณีซื้อของออนไลน์ จากเฟซบุ๊กแฟนเพจ ต๋อ ขายปลีก ราคาส่ง – ราคาหน้าโกดัง และไม่ได้รับของ รวมถึงยังไม่มีการคืนเงินให้กับผู้บริโภค บางรายมีมูลค่าความเสียหายกว่า 4,000 บาท ขณะนี้ผู้ร้องเรียนจำนวน 14 ราย ได้รับเงินคืนแล้ว แต่ยังคงเหลือผู้บริโภคที่ยังไม่ได้รับเงินคืนและยังคงมีผู้บริโภคยื่นคำร้องเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

เบื้องต้นศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคฯ ได้ติดต่อเฟซบุ๊กแฟนเพจดังกล่าวไปแต่ไม่มีการตอบกลับ ดังนั้น จึงได้ประสานงานไปยังเฟซบุ๊กไทยแลนด์เพื่อแจ้งระงับบัญชีผู้ใช้งานและให้ลงประกาศแจ้งเตือนภัยแก่ผู้บริโภค อย่างไรก็ตามทางสภาฯ จะยังคงติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม ตามอำนาจหน้าที่ของสภาองค์กรของผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ. การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 มาตรา 14 (2) ระบุไว้ว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคมีอำนาจสนับสนุนและดำเนินการ ตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสินค้าและบริการ แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารหรือเตือนภัยเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภคหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเกิดความเสื่อมเสียแก่ผู้บริโภค โดยจะระบุชื่อสินค้าหรือบริการหรือชื่อของผู้ประกอบธุรกิจด้วยก็ได้

ดังนั้น สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงแจ้งเตือนภัยการซื้อขายออนไลน์ดังกล่าวให้ผู้บริโภคทราบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และขอความร่วมมือผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากกรณีดังกล่าว เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับสถานีตำรวจทุกท้องที่ หรือร้องเรียนออนไลน์กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เว็บไซต์ https://www.thaipoliceonline.com เพื่อดำเนินคดีและแจ้งอายัดบัญชีร้านค้ากับพนักงานสอบสวน

หรือร้องเรียนออนไลน์กับแผนกคดีซื้อขายออนไลน์กับศาลแพ่งได้ 24 ชั่วโมง ที่เว็บไซต์ https://efiling3.coj.go.th/eFiling โดยสามารถยื่นเรื่องด้วยตัวเอง ไม่จำกัดวงเงินมากน้อย แต่มีเงื่อนไขว่าต้องซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น หรือหากพบว่าไม่ใช่เราคนเดียวที่ถูกโกง และมีผู้เสียหายมากกว่า 50 คนขึ้นไป ให้รวมตัวกันแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่ หรือกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ได้อีกทาง

นอกจากนี้ สามารถแจ้งร้องเรียนมายังสภาองค์กรของผู้บริโภค หรือหน่วยงานประจำจังหวัด สภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสินค้าหรือบริการที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย หรือสินค้าหรือบริการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค รวมถึงการประสานเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค

  • ร้องเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ tcc.or.th คลิกลิงก์ https://crm.tcc.or.th/portal/public
  • อีเมล : [email protected] 
  • โทรศัพท์ : 02 239 1839 กด 1
  • ไลน์ออฟฟิเชียล (Line Official) : @tccthailand คลิกลิงก์ https://lin.ee/uhDyO1U
  • อินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก (Facebook Inbox) ​: สภาองค์กรของผู้บริโภค

ธุรกิจ

เตือนผู้บริโภค อย่าหลงโปรฯ ถูกเกินจริง หวั่นเสียหายซ้ำ "ดารุมะ ซูชิ"

ผลกระทบยังคงขยายตัวในวงกว้าง สำหรับบุฟเฟต์แซลมอนร้านดัง “ดารุมะ ซูชิ” ที่เปิดให้บริการยาวนานกว่า 6 ปี มีสาขาให้บริการนับสิบแห่ง แต่ล่าสุด ได้ปิดตัวลงแบบ “ฟ้าผ่า” ทำให้ผู้บริโภคที่ซื้อคูปองอิเล็กทรอกนิกส์(E-​​Voucher)ล่วงหน้า หมดโอกาสได้ใช้บริการ

ทั้งนี้ จากการติดตามกลุ่ม “คนรักบุฟเฟต์”(Buffet Lovers) พบว่าผู้บริโภคจำนวนมากถือคูปองไว้ 6 ใบ 8 ใบ 11 ใบ ไปจนถึง 12 ใบบ้าง

ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) มีการเผยข้อมูลเบื้องต้น คาดการณ์ผู้เสียหายมีไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย และออกโรงเตือนผู้บริโภคให้เก็บหลักฐาน เอกสารทุกอย่างไว้เพื่อร้องทุกข์ เช่น การแคปหน้าจอรายละเอียดการซื้อคูปองล่วงหน้า จำนวนการซื้อ ยอดการชำระเงิน และช่องทางในการชำระเงินไว้

นอกจากนี้ ยังเตือนให้ผู้บริโภครับรู้ว่ายังมีการขายคูปองดังกล่าวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ด้วย จึงต้องระมัดระวังให้ดี เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ 

จากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค  ฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เป็นอีกเสียงที่ต้องเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังในการซื้อสินค้า และบริการของร้านอาหารที่จัดโปรโมชั่น “หั่นราคาต่ำ” จนเกินความเป็นจริง

กรณีศึกษาของร้านดารุมะ ซูชิ เป็นบทเรียนซ้ำรอยร้านแหลมเกต อินฟินิท ซึ่งต้องการให้ผู้บริโภคพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่า “ราคา” กับ “วัตถุดิบอาหาร” มีความเป็นไปได้หรือไม่ ยิ่งเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น ที่จำหน่ายแซลมอนบุฟเฟต์ราคา 199 บาท ไม่มีความสมเหตุผล และเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากวัตถุดิบอาหารแต่ละชนิดมีราคาแพงมาก เช่น ปลาแซลมอนราคาต่อกิโลกรัม(กก.)สูงกว่า 1,000 บาท

ข่าว ความ เสีย ของผู้บริโภค จากการใช้ สินค้า อุปโภค บริโภค

ปัจจุบันต้นทุนวัตถุดิบอาหารยิ่งปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากสงคราม ราคาพลังงานพุ่งขึ้น ทำให้ซัพพลายเออร์เผชิญค่าขนส่งที่สูงขึ้น ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบอีกทอด

“ร้านอาหารที่ให้บริการแบบบุฟเฟต์ ส่วนใหญ่การทำกำไรมักมาจากเครื่องดื่ม อาหารหวาน รวมถึงการรับประทานแบบถัวเฉลี่ยของผู้หญิง เด็ก โดยทั่วไปจะรับประทานน้อยกว่าผู้ชาย ร้านจึงจะพอทำกำไรอยู่ได้ ขณะที่การขายอาหารญี่ปุ่น และเป็นแซลมอนบุฟเฟต์ในราคา 199 บาท ในฐานะผู้ประกอบการร้านอาหารมองว่าเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ไม่มีใครยอมทำธุรกิจเพื่อขาดทุน ส่วนการทำโปรโมชั่นดังกล่าว และให้ซื้อล่วงหน้า ถือเป็นการล่อแมลงเม่าให้เข้าไปรีบซื้อ ระยะแรกให้รับประทานจริง เพื่อดึงดูดคนจำนวนมากให้เชื่อ และซื้อตาม ระยะหลังเริ่มจองใช้บริการได้ยากขึ้น”

สำหรับความเสียหายที่เกิดกับผู้บริโภคครั้งนี้ เชื่อว่าไม่กระทบต่อภาพรวมธุรกิจร้านอาหาร เพราะพฤติกรรมคนไทยเมื่อมีเหตุการณ์เป็นกระแส จะอยู่เพียงระยะหนึ่ง จากนั้นก็ลืม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องการย้ำให้ผู้บริโภคตระหนักมากขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้อไม่ดี สินค้ามีแนวโน้มราคาแพงขึ้น จะใช้จ่ายเงินกับร้านอาหารที่ราคาต่ำมาก และซื้อล่วงหน้าเช่นกรณีดังกล่าวต้องตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ หากพบความผิดปกติ ทุกคนสามารถเป็นกระบอกเสียงกล่าวเตือนกันผ่านโลกออนไลน์ได้ เหมือนกันรีวิว หรือติร้านอาหารที่รสชาติ บริการไม่ถูกใจ

ขณะที่แนวโน้มธุรกิจร้านอาหารปี 2565 คาดการณ์ยังเติบโตต่อเนื่อง เงินสะพัดเพิ่มขึ้นหลัก “หลายหมื่นล้านบาท” เนื่องจากการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว ต่างชาติที่มาเที่ยวไทยเวลานี้มีกำลังซื้อสูง รับประทานอาหารราคาแพง เช่น ร้านที่คว้าดาวมิชลิน โดยค่าใช้จ่ายอาหารคิดเป็น 20% ของการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง

ด้าน วิน สิงห์พัฒนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชอคโกแลต กรุ๊ป ผู้บริหารร้านชอคโกแลตวิลล์ ซูชิ เอ็กซ์เพรส กล่าวว่า จากกรณีร้านอาหารปิดหนีผู้บริโภคถือเป็นบทเรียนราคาแพง จากนี้ไปผู้บริโภคต้องตระหนักในการซื้อคูปองโปรโมชั่นของร้านอาหารล่วงหน้าเป็นเวลานาน เพราะโดยปกติ การทำโปรโมชั่นของร้านอาหารเต็มที่จะกินเวลาราว 7-14 วัน

ขณะที่การวัตถุดิบปลาแซลมอนมาเป็นตัวชูโรงจัดบุฟเฟต์ 199 บาท ในมิติการทำร้านอาหารสามารถทำได้ แต่เป็นเรื่องยาก ยิ่งพิจารณาเครือข่ายร้านอาหาร(เชน)ยักษ์ใหญ่จะพบว่าแทบไม่มีรายใดทำ ดังนั้นจะวิเคราะห์ “ราคา” โปรโมชั่นควรอิงกับรายใหญ่ด้วย

เมื่อมองวัตถุดิบปลาแซลมอนนำเข้า ปกติต้นทางตกปลามาได้ จะดำเนินการส่งผ่านเครื่องบิน และใช้เวลาราว 4 วันถึงไทย ตลอดกระบวนการจะไม่มีการแช่แข็งเลย แต่เก็บความเย็นปกติเมื่อมาถึงไทยจะพร้อมแล่ให้บริการทันที

อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นสิ่งที่น่าห่วงผู้บริโภค เพราะส่วนหนึ่งมีกำลังทรัพย์น้อยในการรับประทานอาหารเมนูโปรด ส่วนร้านอาหารได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะร้านที่กำลังทำโปรโมชั่นขายคูปองล่วงหน้าอาจชะลอตัวบ้าง

“เคสนี้ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคที่น่าเป็นห่วง เพราะได้รับความเสียหาย แต่แฟรนไชส์ด้วย เพราะมีการลงทุนสูง ซึ่งจากการติดตามข่าว การทำแฟรนไชส์ที่มีการปันผลเป็นการตอบแทนค่อนข้างประหลาด เพราะไม่มีผู้ประกอบการรายใดทำเช่นนี้”

พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์