เงินติดล้อ มอเตอร์ไซค์ pantip

เงินติดล้อ มอเตอร์ไซค์ pantip

Show

เราเห็นกันประจำทุกวัน การที่ลูกค้าซื้อสินค้า หรือ บริการ อะไรก็แล้วแต่ แต่ไม่เคยได้อ่าน กติกาหรือข้อบังคับของเจ้าของสินค้าหรือบริการนั้นๆ และในภายหลังมีการโพสต์ต่อว่ากันใน Social หรือ แม้กระทั่งไปโพสต์ไว้ใน Pantip โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน รถยนต์ ซึ่งในวันนี้เราจะมาให้ความรู้ทุกคนเกี่ยวกับการจำนำทะเบียนรถยนต์ ที่เงินติดล้อ

รายละเอียดเงินกู้ จำเป็นต้องศึกษา

  • รายละเอียดเงินกู้ จำเป็นต้องศึกษา
    • 1รับทั้งจำนำเล่มทะเบียน และ รีไฟแนนซ์รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ สิบล้อ
    • 2มีรถอยู่สองคัน คันนึงผ่อนหมดแล้ว อีกคันยังติดไฟแนนซ์อยู่ เอาคันไหนเข้าเงินติดล้อคุ้มกว่ากัน?
    • 3เอารถเข้าผ่านแล้ว ได้เงินมา 200,000 อยากได้แค่ 100,000 เดียวได้มั้ย?
    • 4
    • ดอกเบี้ยของเงินติดล้อ คนใน Pantip สงสัยว่าทำไมแพง? มาดูคำตอบ
    • 5
    • โปะค่างวดได้มั้ย? จ่ายเกินได้มั้ย? ปิดก่อน เสียค่าอะไรหรือเปล่า?
    • 6
    • ทำไมต้องทำประกัน? ไม่ยุติธรรมเลย
    • 7เลือกทำประกันได้ด้วย
    • 8
    • ค่าธรรมเนียมต่างๆ หลักๆ ของเงินติดล้อมีอยู่ประมาณ 10 อย่างดังนี้
    • 9
    • อย่าผิดนัดชำระหนี้ เพราะมีค่าใช้จ่ายตามมาเยอะมาก
    • 10
    • ไม่จ่ายกี่เดือนยึดรถ?

“ยอมรับเงื่อนไขของธนาคาร” เป็นคำที่อยู่ในสัญญาทุกฉบับ ไม่เว้นแม่แต่เงินติดล้อ ซึ่งทางสถาบันการเงินเค้าจะไม่ยอมรับเงื่อนไขของผู้กู้ แต่เค้าจะให้ผู้กู้นั่นแหละที่ต้องยอมรับเงื่อนไขของเค้า นั่นเป็นเพราะว่า เค้าเป็นแหล่งเงินทุนที่ทุกคนจะต้องมาหา หากทำตามผู้กู้ทุกคน โดยไม่มีเงื่อนไขของตัวเอง ความโกลาหลก็จะเกิดขึ้นทันที ไม่ว่าจะเป็นกติกาเล็กๆน้อยๆ ใดๆก็ตาม การกู้เงิน และ การให้ยืมเงินทุกอย่างขึ้นอยู่กับความไว้เนื้อเชื่อใจ เราจึงเห็นการเช็คตรวจสอบเครดิตกันเพื่อให้เชื่อใจว่าผู้กู้จะไม่เบี้ยวหนี้นั่นเอง และในเคสนี้ เงินติดล้อ มีรายละเอียดมากมายที่จะต้องศึกษาก่อนเอารถยนต์เข้าไป จำนำทะเบียน และเอาเงินออกมาใช้

10 สิ่งที่ควรต้องทำความเข้าใจ ก่อนไปเงินติดล้อ

1รับทั้งจำนำเล่มทะเบียน และ รีไฟแนนซ์รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ สิบล้อ

ต้องเข้าใจความแตกต่างกันระหว่างการจำนำเล่มทะเบียน กับ การรีไฟแนนซ์รถยนต์ ก่อน การจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ จำนำทะเบียนมอเตอร์ไซค์คันนั้นๆ ปลอดภาระแล้ว หรือ ผ่อนหมดแล้ว จึงสามารถนำไปจำนำกับทางเงินติดล้อได้ แต่ ถ้าเป็นการรีไฟแนนซ์ รถยนต์คันนั้นยังคงติดหนี้อยู่กับสถาบันการเงินอื่นๆอยู่ และ สำหรับคำถามที่ว่า การรีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด ที่เงินติดล้อ สามารถทำได้มั้ย? สำหรับเคสนี้สามารถทำได้ดังนี้

ถ้ารีไฟแนนซ์กับเงินติดล้อ ใชัสัญญาแบบไหน?

คนที่รีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด กับเงินติดล้อ จะต้องใช้สัญญาเงินกู้แบบ “สินเชื่อเช่าซื้อ” ซึ่งจะคล้ายๆกับการซื้อรถยนต์คันใหม่ และหลักการก็คือ เมื่อพิจารณารีไฟแนนซ์รถที่ยังผ่อนไม่หมดผ่านแล้ว ทางเงินติดล้อก็จะเอาเงินไปปิดไฟแนนซ์เก่าให้ และมาผ่อนกับเงินติดล้อแทน โดยเล่มทะเบียนจะอยู่กับเงินติดล้อนั่นเอง

เงินติดล้อ มอเตอร์ไซค์ pantip

แล้วถ้าจำนำเล่ม ต้องโอนเล่มหรือไม่?

จุดที่ต้องเข้าใจก็คือ สินเชื่อเช่าซื้อคือสินเชื่อที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ หรือ โอนเล่ม ให้กับสถาบันการเงิน เพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับทางธนาคาร ในขณะที่ ถ้าเป็นการจำนำเล่มทะเบียน ทางเงินติดล้อจะมีการพิจารณาอีกทีว่าจำเป็นต้องโอนเล่มหรือไม่? แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ถ้าประวัติดี จะไม่ต้องโอนเล่ม

2มีรถอยู่สองคัน คันนึงผ่อนหมดแล้ว อีกคันยังติดไฟแนนซ์อยู่ เอาคันไหนเข้าเงินติดล้อคุ้มกว่ากัน?

คำถามนี้ตอบง่ายมาก ถ้าเลือกคันที่ผ่อนหมดแล้ว ไปเงินติดล้อ จะกลายเป็นการจำนำเล่มทะเบียน แต่ถ้าเลือกคันที่ติดไฟแนนซ์อยู่ จะกลายเป็นการรีไฟแนนซ์รถยนต์ โดยมากแล้ว การรีไฟแนนซ์รถยนต์ จะมีค่าใช้จ่าย และ/หรือ ดอกเบี้ยที่แพงกว่า การจำนำเล่มทะเบียน ด้วยตัวดอกเบี้ยเอง และ ค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่นค่าโอนเล่ม

เพราะการรีไฟแนนซ์ รถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด หมายถึงต้องมีการโอนเล่มจากไฟแนนซ์เดิม มาเข้าที่เงินติดล้อ และ เมื่อผ่อนหมดแล้ว เงินติดล้อต้องโอนให้กับเจ้าของรถ (ลูกหนี้) ดังนั้นจะเกิดค่าโอนซ้ำซ้อน ซึ่งจริงๆแล้ว รถที่ไปจำนำจะได้วงเงินมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะไม่ได้ติดภาระหนี้กับไฟแนนซ์เจ้าใดเจ้าหนึ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องมาดูอีกทีว่า รถยนต์ที่รีไฟแนนซ์ อาจมีมูลค่า หรือ ราคาตลาดสูงกว่ารถที่ จำนำเล่มทะเบียนก็เป็นได้

3เอารถเข้าผ่านแล้ว ได้เงินมา 200,000 อยากได้แค่ 100,000 เดียวได้มั้ย?

การเอารถเข้าเงินติดล้อ และได้วงเงินสูงกว่าที่ต้องการ แต่คนกู้ไม่อยากได้เยอะขนาดนั้น เพราะไม่อยากเป็นภาระเยอะ ก็สามารถขอวงเงินตามที่อยากได้ และไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับวงเงินทั้งหมดมาใช้ เพราะไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่นถ้า กู้ผ่านที่ 200,000 บาท จะใช้แค่ 100,000 ก็ได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้า จะมาขอเพิ่มในภายหลัง อาจต้องมีการเปลี่ยนสัญญา รีไฟแนนซ์ใหม่อีกรอบ ดังนั้นคิดให้รอบคอบก่อนการขอจำนวนวงเงินทุกครั้ง

4

ดอกเบี้ยของเงินติดล้อ คนใน Pantip สงสัยว่าทำไมแพง? มาดูคำตอบ

โดยปกติ ดอกเบี้ยของเงินติดล้อ จะถูกควบคุมโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และ จะมีเพดานดอกเบี้ยที่สูงที่สุดไม่เกิน 28% ต่อปีเท่านั้น และหลายๆความเห็นใน Pantip.com ที่เราเจอกันมา (ต้องยอมรับว่าจะหารีวิวอะไรจริงๆจังๆ เดี๋ยวนี้ต้อง Pantip และคนมักจะหาในนั้นก่อนที่อื่นๆ) จะมีหลายๆคนบ่นว่า ดอกเบี้ยไม่เป็นไปตามที่คุย หรือที่ตกลง เพื่อให้ชัดเจน เรามาดูกันว่าทำไมหลายๆคนถึงบอกอย่างนั้น?

ประเด็นแรก : ดอกเบี้ยต่อเดือน VS ดอกเบี้ยต่อปี

หลายคนเข้ามาหาเงินติดล้อ อาจจะด้วยความที่ไม่รู้ เห็นอัตราดอกเบี้ยที่โฆษณาอยู่คือ เริ่มต้น 0.46% ต่อเดือน หรือ 0.88% ต่อเดือน ก็เข้าใจว่าดอกเบี้ยต่ำ แต่จริงๆแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต้องมาดูที่รายปี ดังนี้

– ดอกเบี้ย 0.46% ต่อเดือน ถ้าคิดเป็นต่อปีจะเท่ากับ 5.52% ต่อปี

– ดอกเบี้ย 0.88% ต่อเดือน ถ้าคิดเป็นต่อปีจะเท่ากับ 10.56% ต่อปี นั่นเอง

ดอกเบี้ยไม่ได้เฉลี่ยหารเท่าทุกเดือน แต่มันคือลดต้นลดดอก ซึ่งทำให้ดอกเบี้ยเริ่มต้นสูงกว่าเดือนถัดๆไป

หลายคนชินกับการจัดไฟแนนซ์รถยนต์ ทั้งมือ 1 และ มือ 2 เพราะดอกเบี้ยจะคงที่ทุกๆเดือน คือไม่ว่าจะโปะหรือไม่ก็ต้องจ่ายเท่าเดิม แต่พอมาเจอดอกเบี้ยเงินติดล้อเดือนแรก และมาลองคิดเป็น % ดู ก็มักจะพบว่า “เอ๊ะ นี่มันไม่ได้เหมือนกันกับที่คุยกับเจ้าหน้าที่” ทำไมดอกเบี้ยสูงจัง และเรื่องนี้มีคำตอบ

เงินติดล้อ มอเตอร์ไซค์ pantip
อธิบายค่างวดเงินติดล้อ

ยอมรับกันมาซะดีๆ ว่าหลายคนดูภาพด้านบนไม่เข้าใจ ทางเงินติดล้อกำลังจะบอกว่า เค้าคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และไม่ได้คิดแบบเฉลี่ยคงที่ทุกงวด การที่ดอกเบี้ยในเดือนแรกของดอกเบี้ยลดต้นลดดอก ไม่ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์รถ หรือ จำนำทะเบียนก็ตาม สูงในเดือนแรกๆ เพราะว่า เงินต้นยังเหลืออยู่เยอะนั่นเอง! มาดูตัวอย่างกัน

  • หากมียอดอนุมัติเงินกู้ (เช่นจำนำทะเบียน) ได้ที่ 20,000 บาท ด้วยดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อน 24 งวด 
  • ค่างวดต่อเดือนที่ 970 บาท
  • ดอกเบี้ยอยู่ที่ 246.57 บาท ต่อ งวด
  • เงินต้นอยู่ที่ 723.43 บาท ต่อ งวด

จ่ายค่างวดเดือนแรก 970 บาท

เอาไปหักดอกเบี้ย 246.57 บาท

เหลือที่ไปตัดต้น 723.43 บาท

20,000 – 723.43 บาท = 19,276.57 บาท

แปลว่าเงินต้นเดือนแรกจะอยู่ที่ 20,000 บาท และเค้าเอาเงิน 20,000 บาท ไปคิดดอกเบี้ยที่ 15%

พอเดือนที่สอง หากจ่ายตามด้านบน เงินต้นจะเหลือที่ 19,276.57 บาท เค้าก็เอาไปคิดดอกเบี้ย 15% ไง

ทีนี้เข้าใจหรือยัง ว่าทำไม การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ไม่ว่าธนาคารไหนก็ตาม ดอกเบี้ยเดือนแรกจะสูงกว่าเดือนอื่นๆ สรุปง่ายๆคือ เดือนหลังๆ เงินต้นเหลือน้อยที่จะไปคิดดอกเบี้ยแล้ว มันเลยได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า

Update กันยายน 2562 : บริษัทรีไฟแนนซ์รถ ที่ใกล้เคียงเงินติดล้อ “สมหวัง เงินสั่งได้”

เงินติดล้อ มอเตอร์ไซค์ pantip

สมหวังเงินสั่งได้ เป็นบริษัทอีกแห่งหนึ่งที่รับรีไฟแนนซ์รถยนต์ และ จำนำทะเบียน โดยที่มีดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ สูสีกันกับทางเงินติดล้อเลยทีเดียว ซึ่งเราเคยมีการ เปรียบเทียบระหว่าง สมหวัง และ เงินติดล้อ ไปแล้วรอบหนึ่ง และพบว่า สมหวังจะมีข้อดีตรงที่ดอกเบี้ยแทบทุกตัวจะค่อนข้างต่ำกว่าเงินติดล้อ และอนุมัติได้ง่าย เพราะไม่ได้เช็คเครดิตบูโร และ รับรถที่ยังติดไฟแนนซ์อยู่ด้วย สำหรับผู้ที่สนใจสมหวัง เงินสั่งได้ สามารถลองสมัครเพื่อเปรียบเทียบได้ ที่หน้านี้ https://somwangagent.tisco.live/carloan

5

โปะค่างวดได้มั้ย? จ่ายเกินได้มั้ย? ปิดก่อน เสียค่าอะไรหรือเปล่า?

แยกเป็นสองเรื่อง เรื่องจ่ายเกินค่างวดที่เค้ากำหนด กับเรื่องของการปิดบัญชีสินเชื่อ ทั้งสองอย่างนี้ทำได้เลย และมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยตาม ประกาศ สคบ.

โปะ การโปะหรือจ่ายเกิน ทำได้ และมีการลดต้นลดดอกด้วย

  • หากมียอดอนุมัติเงินกู้ (จำนำทะเบียน) ได้ที่ 20,000 บาท ด้วยดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อน 24 งวด 
  • ค่างวดต่อเดือนที่ 970 บาท
  • ดอกเบี้ยอยู่ที่ 246.57 บาท ต่อ งวด
  • เงินต้นอยู่ที่ 723.43 บาท ต่อ งวด

ปกติจ่ายอยู่ที่ 970 บาท ต่องวด แต่บังเอิญว่าเดือนนั้น “ถูกหวย” มีเงินสดมาเพิ่ม และอยากจ่ายที่ 3,000 บาท มาดูกันว่า จะหัก เงินต้น ได้เท่าไหร่?

เงินต้นที่จ่ายในงวดนั้น 3,000 – ดอกเบี้ย 246.57 = 2,754.43 ที่จะไปตัดเงินต้น

เงินต้นที่เหลือ 20,000 บาท – 2,754.57 บาท = 17,245.57 บาท

ปิด การปิดบัญชีค่างวด โดยการจ่ายเงินก้อนลดดอกเบี้ย 50%

สามารถปิดได้ โดยจะได้ส่วนลดดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนด ชำระ 50% นั่นก็คือดอกเบี้ยของค่างวดคงเหลือ ยกตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ยคงเหลือคือ 10,000 บาท ก็จะได้รับส่วนลด 5,000 บาท บวกกับเงินต้น บวกภาษีมูลค่าเพิ่ม และ อาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ สูตรคือ:

กรณีปิด : เงินต้น + ดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ 50% + ภาษี + ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ทุกอย่างทำตามกฎ สคบ ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา : ที่มา https://www.prachachat.net/finance/news-181794

6

ทำไมต้องทำประกัน? ไม่ยุติธรรมเลย

ต้องถามว่า ทำไมหลายๆคนทำประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันรถยนต์เอาไว้? ทำประกันแล้วไม่เจ็บไม่ป่วยหรือไง? คำตอบคือ ผู้ที่ทำประกันเอาไว้ เค้าทำเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการเงินของตัวเอง เพื่อไม่ให้คนข้างหลังลำบาก หรือ เพื่อมีบริษัทประกันมาคอยดูแลเรื่องเงินให้หากเจ็บป่วย หรือ เกิดอุบัติเหตุ ทำงานไม่ได้ หาเงินไม่ได้นั่นแหละ

มองในมุมกลับกัน ถ้ามีใครคนหนึ่ง อยากมายืมเงินจากเราไป  คนๆนั้นเป็นคนที่ มีวินัยทางการเงินมาก เราก็คิดดอกเบี้ยตามปกติ แต่เค้าอาจป่วย เสียชีวิต และ อาจไม่มีใครรับผิดชอบ ถ้าเค้าไม่อยู่บนโลกใบนี้แล้ว และถ้ามีการทำประกันไว้เพื่อให้บริษัทประกันมารับผิดชอบเงินที่เค้ายืมไป เราจะอยากให้เค้าทำมั้ย? คำตอบคือ “แน่นอน” 

การที่เงินติดล้อ หรือบริษัทไฟแนนซ์ ที่ไหนก็ตาม อยากให้ลูกค้าทำประกันเอาไว้ ก็เพราะเค้าจะได้ลดความเสี่ยงหากเกิดอะไรขึ้นกับผู้ขอกู้ จะได้มีคนมารับผิดชอบวงเงินที่กู้ไปได้ ดังน้้นแปลว่า หากได้ทำประกันอุบัติเหตุไว้กับเงินติดล้อ หรือประกันอะไรก็แล้วแต่ หากเกิดอะไรขึ้น บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย วงเงินกู้นั้นๆ (หากทำประกันครอบคลุมถึง) โดยที่ ญาติ พ่อแม่ พี่น้อง ของผู้กู้ไม่ต้องรับผิดชอบแม้แต่บาทเดียวนั่นเอง

มีประกันอยู่แล้ว ต้องทำประกันอีกหรือเปล่าหล่ะ?

การทำประกันชีวิตหรือประกันอะไรอยู่แล้ว ผู้รับผลประโยชน์ของประกันนั้นๆ จะเป็นบุคคลในครอบครัว ซึ่งถ้าจะเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์เพื่อให้ไม่ต้องทำประกันกับเงินติดล้อ ก็อาจต้องโอนผู้รับผลประโยชน์มาที่บริษัทเค้า ซึ่งอันนี้คงต้องสอบถามทางเจ้าหน้าที่อีกครั้งเพื่อความแน่ใจ เพราะแต่ละเคสแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป

7เลือกทำประกันได้ด้วย

ไม่ได้พยายามอวยเงินติดล้อ หรือขายประกันให้ แต่จะบอกแค่เพียงว่า การทำประกันกับเงินติดล้อ ไม่ได้ บังคับที่จะต้องทำตัวนั้นตัวนี้เพียงอย่างเดียวแต่เค้ามีให้เลือกดังนี้

  1. ประกันชีวิตสำหรับการคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ – คือถ้าเสียชีวิต หรือพิการทำงานไม่ได้ จากการป่วย หรือ อุบัติเหตุ เมื่อทำประกันตัวนี้ไปแล้ว ทางบริษัทประกันจะจัดการเรื่องวงเงินสินเชื่อให้ สำหรับยอดที่ค้าง
  2. ประกันรถยนต์ทั่วไป – ที่เรียกว่า ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ อันนี้สำหรับการประกันรถยนต์ หรือ มอเตอร์ไซค์ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยทำ หรือไม่ได้ทำมาก่อน
  3. พ.ร.บ – พรบ คาดว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะต้องทำทุกคัน
  4. ประกันอุบัติเหตุ – หรือ Personal Accident (PA) คุ้มครองในเชิงการบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต จากอุบัติเหตุจากการขับขี่ และ รักษาพยาบาลด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้น ประกันทุกตัว จะมีกรมธรรม์ ตามมา ควรต้องอ่านกรมธรรม์ และสอบถามเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง ถ้ามีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจ จะได้เคลียร์ตั้งแต่ต้น

8

ค่าธรรมเนียมต่างๆ หลักๆ ของเงินติดล้อมีอยู่ประมาณ 10 อย่างดังนี้

  1. ค่าธรรมเนียมประเมินราคารถ – 2% ของวงเงินสินเชื่อ แต่จะมีขั้นต่ำที่ 1,000 บาท
  2. ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน – ราคาตามแต่ละธนาคารหรือ counter service จะคิด (แนะนำให้โอนผ่าน app ไม่เสียค่าธรรมเนียม)
  3. ค่าใช้จ่ายเช็คคืน – 200 บาท ต่อครั้ง
  4. ค่าต่อภาษีประจำปี – 150 บาท
  5. ค่าป้ายวงกลมใหม่ – สำหรับกรุงเทพ 350 บาท ต่างจังหวัด 500 บาท
  6. ค่าทำแผ่นป้ายทะเบียน – กรุงเทพ 600 ต่างจังหวัด 800 บาท
  7. ค่าคัดเอกสารกรมธรรม์ พ.ร.บ และประกันภัยชั้น 1 – 200 บาท
  8. ค่าขอสำเนาเล่มทะเบียน – 100 บาท
  9. แจ้งย้าย – 1,000 บาท
  10. ค่าธรรมเนียมหยุดใช้รถ 500 บาท

อ่านต่อ : จะรีไฟแนนซ์รถ ปกติมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

***ค่าธรรมเนียมพวกนี้ ไม่ใช่ค่าปรับหากมีการผิดนัดชำระหนี้ หรือมีการติดตามทวงถามหนี้ ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆสามารถโทรถามเงินติดล้อได้โดยตรง

9

อย่าผิดนัดชำระหนี้ เพราะมีค่าใช้จ่ายตามมาเยอะมาก

เดี๋ยวจะหาว่าเงินติดล้อโหด จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะ ทุกสถาบันการเงิน บริษัทไฟแนนซ์ มีค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ทั้งนั้น ไม่มีสถาบันการเงินไหน ไม่มีค่าติดตามทวงถามหนี้ และ โดยปกติแล้ว ถ้าผิดนัดชำระหนี้ ถ้าเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล อาจโดนอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ 28% ต่อปี หากมีการผิดนัดชำระหนี้ ค่อนข้างแน่นอน และนี่คือ ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นแน่นอน ถ้าจ่ายไม่ตรง

  • ค่าปรับผิดนัดชำระหนี้ = จะคิดจากวันครบกำหนดจ่าย ถึงวันจ่ายหนี้จริง (กรณีจ่ายช้า) โดยจะเจอค่าบริการและค่าธรรมเนียม ทุกอย่าง แต่จะไม่เกินอัตราดอกเบี้ย 28% ต่อปี
  • ค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ = 250 บาท ในงวดที่ 1 , 350 บาท ในงวดที่ 2, และถ้าค้าง ตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นไป จะคิด 10% ของจำนวนที่ต้องมาจ่าย ในแต่ละครั้ง
  • ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถาม โดยหน่วยงานภายนอก = อาจไม่ต้องถึงกับแก๊งค์ทวงหนี้ โดยจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่ เงินติดล้อจ้างบริษัททวงถามหนี้ โดยจะคิดค่าใช้จ่ายกับลูกหนี้ตามจริง
  • ค้าง 3 งวดขึ้นไป = ค่าติดตามภาคสนาม ประมาณ 5,000 – 6,000 บาท คือมีเจ้าหน้าที่ไปขอพบ
  • ค่าทนาย และค่าดำเนินการ = 8,000 บาท ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมศาล ในกรณีฟ้องคดี แต่ยังไม่มีการสืบพยานแล้วฟ้อง
  • ค่าทนาย และ ค่าดำเนินการ = กรณีฟ้องคดี ยังไม่มีการสืบพยาน และสามารถประนอมหนี้ได้ อยู่ที่ 12,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายกรณียื่นฟ้องคีด และสืบพยานแล้ว = 15,000 บาท

10

ไม่จ่ายกี่เดือนยึดรถ?

อาจเรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานของสถาบันการเงินที่ให้บริการสินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแทบทุกแห่ง ซึ่ง ทางเงินติดล้อก็น่าจะใช้หลักการเดียวกันก็คือ หากไม่จ่ายค่างวดติดต่อกันถึง 3 เดือน ก็อาจโดนยึดรถได้ โดยที่หากมีการฟ้องร้องกัน จะเป็นคดีแพ่ง โดยมีอายุความมากถึง 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการศึกษาโดยการพูดคุยกับพนักงานเงินติดล้อ เพื่อเอามาถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากขึ้น โดยไม่มีเจตนาที่จะโปรโมทเงินติดล้อ เนื่องจาก เงินติดล้อก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่อยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่นเดียวกันกับสถาบันการเงินอื่นๆ อย่างไรก็ดี ข้อมูลด้านบนนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยที่ไม่ได้มีการปรับปรุงหรือแจ้งเตือนล่วงหน้า

เพื่อความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นสามารถติดต่อกับเงินติดล้อได้โดยตรงที่ Call Center: 088-088-0880

หรือ Website : ngerntidlor.com

[wp-review id=”283415″]


ล่าสุดเกี่ยวกับเงินติดล้อ

  • เงินติดล้อ มีบริการบัตรสินเชื่อ (บัตรกดเงินสด) แล้ว
  • จำนำทะเบียนมอเตอร์ไซค์ เงินติดล้อ เก่าได้สุดกี่ปีกันนะ?
  • เงินติดล้อรุกหนักประกันชั้น 1 ให้ผ่อน 0% ไม่ต้องใช้บัตร
  • รีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด เงินติดล้อ
  • วันหยุดเงินติดล้อ 2562 มีวันไหนบ้าง?
  • ประกันเงินติดล้อ แจกบัตรเติมน้ำมัน 500 – 2 เดือนเท่านั้น
  • ทำประกันภัยรถยนต์จาก 16 บริษัทประกันภัยชั้นนำผ่านเงินติดล้อ
  • Review: เงินติดล้อปรับดอกเบี้ยใหม่ 0.68% รับรถทุกประเภท ดีจริงหรือ?
  • สินเชื่อจำนำรถบรรทุก เงินติดล้อ

ความรู้เกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด

  • สินเชื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์ คุ้มจริงหรือ? หรือแค่ทำตามกัน?
  • รีไฟแนนซ์ รถยนต์ ไทยพาณิชย์ ไม่ยากอย่างที่คิด !
  • รีไฟแนนซ์ รถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด ธนชาต
  • รวมหลักการ รีไฟแนนซ์รถยนต์ เมื่อคุณยังผ่อนไม่หมด
  • มีประวัติค้างชำระหนี้? กับ 4 เหตุผลที่ดีที่ควรรีไฟแนนซ์ รถยนต์
  • ตอบคำถาม – อยากรีไฟแนนซ์รถ หรือ มอเตอร์ไซค์ จริงๆแล้วคุ้มหรือเปล่า?
  • เช็คคุณสมบัติ 5 ข้อ ก่อนรีไฟแนนซ์รถ มีครบ รับประกันผ่านง่ายชัวร์
  • อยากจำนำทะเบียนรถ? 4 ข้อดี ของการเอาเล่มไปค้ำประกัน

ความรู้เกี่ยวกับการจำนำทะเบียนรถยนต์ มอเตอร์ไซค์

  • 12 สินเชื่อจำนำทะเบียนเล่มรถยนต์ 2562
  • จำนำทะเบียนรถ กับ จำนำรถ ต่างกันอย่างไร
  • อยากจำนำทะเบียนรถ? 4 ข้อดี ของการเอาเล่มไปค้ำประกัน
  • 5 อันดับ สินเชื่อรถแลกเงิน จำนำทะเบียนไม่ต้องจอด ที่มาแรง 2562
  • จำนำทะเบียนรถยนต์ รถกระบะ
  • ข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับการจำนำทะเบียนรถมอเตอร์ไซด์
  • 5 เรื่องน่ารู้ก่อน จำนำเล่มทะเบียน แต่รถไม่ใช่ชื่อตัวเอง

สินเชื่อจำนำทะเบียนรถใกล้เคียงกับเงินติดล้อ

https://promotions.co.th/%e0%b9%82%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b9%86/investment/finance/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99-scb-my-car-my-cash-%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89.html

https://promotions.co.th/%e0%b9%82%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b9%86/investment/finance/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99-%e0%b8%9a-%e0%b9%82%e0%b8%ad%e0%b8%a3.html

รีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมดใกล้เคียงกับเงินติดล้อ

https://promotions.co.th/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%86/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C/%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9C.html

https://promotions.co.th/%e0%b9%82%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b9%86/investment/finance/krungsri-auto-refinance-eligibility-and-interest-rate.html

เงินติดล้อ มอเตอร์ไซค์ pantip