แนวข้อสอบ ป.โท บริหารการศึกษา

การสอบประมวลความรู้  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา 

วันที่ 17 สิงหาคม 2549 เวลา 09.00 –10.30 น.

  1. ท่านเป็นผู้บริหารสถานศึกษามาเป็นระยะเวลาหนึ่ง  ต้องการทราบว่าผลการดำเนินการเป็นเช่นไร  จึงทำวิจัยเพื่อเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการบริหารสถานศึกษาของท่านในด้านต่าง ๆ ในมุมมองของครูผู้สอน ในมุมมองของผู้ปกครองนักเรียน  ท่านทำวิจัยในขั้นตอนต่างๆ อย่างไร
    1. ชื่อเรื่องการวิจัย
    2. วัตถุประสงค์การวิจัย
    3. สมมติฐานการวิจัย
    4. กลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่ม
    5. การสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพเครื่องมือ
    6. การเลือกสถิติในการวิจัย (ให้ระบุตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัยเป็นข้อ ๆ)
รายงานเดี่ยวทำเรื่องอะไร สรุปมา นำไปใช้อะไรกับสถานศึกษา วิชานี้มีอุปสรรคอะไรบ้าง หรือไม่ก็จะถามเรื่องการใช้ทฤษฏีในการบริหารสถานศึกษา ให้เลือกมา

  • แนวข้อสอบอาจารย์อำนวย

จะนำทฤษฏีระบบ มาใช้ในสถานศึกษาได้อย่างไร จงอภิปรายมาให้เห็นทุกขั้นตอน input,  process, outcome, environment, feedback คืออะไร ของโรงเรียนมีอะไรบ้าง

  • แนวข้อสอบของปีก่อนๆ

    1. แนวคิดใหม่ในการบริหารการศึกษามีความเกี่ยวสัมพันธ์กับเทคโนโลยี วิสัยทัศน์ กระบวนทัศน์ และยุทธศาสตร์ ให้นักศึกษาพิจารณาแนวคิดสำคัญในการบริหารการศึกษา ต่อไปนี้แล้ววิเคราะห์อภิปลายชี้แจง ว่าแนวคิดเหล่านี้มีหลักการแนวคิดอย่างไร จะนำไปใช้บริหารจัดการศึกษาที่มีกรอบแนวคิดอย่างไร จึงจะช่วยให้การศึกษามีคุณภาพ

    2. ใน การบริหารงานหรือการปฏิบัติงานของท่านนั้นท่านได้เคยทำงานนั้นๆมาก่อนแล้ว ไม่มากก็น้อย ขอถามว่าท่านเห็นว่าทฤษฏีการบริหารใดที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อท่านมากที่สุด และท่านได้นำทฤษฎีนั้นๆมาใช้ประยุกต์ในการบริหารงานหรือแก้ปัญหาหรือป้องกัน มิให้เกิดปัญหาต่างๆเกิดขึ้นในองค์กรของท่านได้หรือไม่ จงอธิบาย
ในการวิจัยด้านการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยเชิงสำรวจหรือการวิจัยเชิงทดลอง     จะมีการกำหนดตัวแปรเอาไว้สำหรับการศึกษาในเรื่องหรือหัวข้อการวิจัยนั้น ๆ

1.1 ให้ท่านอธิบายว่า  มีหลักการทางวิชาการหรือแนวทางอย่างไร ในการกำหนดตัวแปรสำหรับการวิจัยแต่ละเรื่องหรือแต่ละหัวข้อในการวิจัย (10 คะแนน)

            แนวทางในการตอบ 

            การกำหนดตัวแปรสำหรับการวิจัยแต่ละเรื่องหรือแต่ละหัวข้อในการวิจัยนั้นต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่นำมาศึกษาตามกรอบแนวคิดในการวิจัย  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดเค้าโครงวิจัย  โดยมีการแสดงทฤษฎีหรือหลักการที่นำมาเป็นแนวคิดหลักในการอธิบายปัญหาการวิจัย สามารถเขียนแสดงในรูปของโมเดลหรือกรอบแนวคิดเป็นแผนภาพแสดงความเชื่อมโยงของตัวแปรและทิศทางการวิเคราะห์ข้อมูล  ดังนี้

            ตัวแปรในการวิจัย ต้องสามารถวัดค่าได้ตามแนวความคิดหรือความคิดรวบยอด ซึ่งมีค่าได้ตั้งแต่สองค่าขึ้นไป ค่าดังกล่าวอาจเป็นค่าของหน่วยที่แตกต่างกันแต่เวลาเดียวกัน หรืออาจเป็นค่าของหน่วยเดียวกันแต่ในเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งตัวแปรในการวิจัยมีความสำคัญคือ ช่วยจำกัดขอบเขตการทำวิจัยให้กับผู้วิจัย  ช่วยให้ผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจเข้าใจเร็วขึ้น  ช่วยผู้วิจัยกำหนดชนิดและคุณลักษณะของข้อมูล  การกำหนดตัวแปรที่แน่นอนในการวิจัยสามารถช่วยให้ผู้วิจัยสร้างแบบจำลองการวิจัย  สามารถจำแนกเป็น  ตัวแปรอิสระ  ตัวแปรตาม  ตัวแปรแทรก  ตัวแปรองค์ประกอบ  ตัวแปรนอก โดยจะต้องมีความสัมพันธ์กันแบบไม่สมมาตร  แบบสมมาตร และแบบตอบโต้

1.2  ตัวแปรต้น  ตัวแปรตาม  ตัวแปรเกินและตัวแปรแทรกสอด  มีคุณสมบัติเฉพาะตัวอย่างไร

            แนวทางในการตอบ        

            ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent Variables) เป็นตัวแปรที่จะทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา  เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุ  และเป็นตัวแปรที่มาก่อน 
            ตัวแปรตาม (Dependent Variables) เป็นตัวแปรที่กำหนดไว้สำหรับวัดผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรต้นหรือผลหรือผลของการกระทำกับกลุ่มตัวอย่าง

            ตัวแปรเกิน (Control extraneous) เป็นตัวแปรที่ส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ

            ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variables) เป็นตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรตาม    โดยผู้วิจัยไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น ซึ่งผู้วิจัยต้องพยายามควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน เช่น ควบคุมด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างควบคุมโดยวิธีการทางสถิติหรือ ผู้วิจัยอาจนำตัวแปรแทรกซ้อนมาศึกษาเป็นตัวแปรอิสระอีกตัวแปรหนึ่งไปเลย 

1.3 ถ้าท่านต้องการจะปรับเปลี่ยนกรอบแนวคิด ท่านจะปรับเปลี่ยนตัวแปรอะไรบ้าง อย่างไร พร้อมแสดงเหตุผลตามความเหมาะสม

ตอบ  ตัวแปรที่กำหนดให้มีความเหมาะสม  แต่เพื่อความกระชับและได้ค่าตรงประเด็นในการศึกษา  ข้าพเจ้าคิดว่า  ควรตัดเพศของครูออกและเปลี่ยนเป็นประสบการณ์การสอนของครูดีกว่าเนื่องจากมีความสัมพันธ์กับประเด็นที่ศึกษามากกว่า 


ข้อ 2   

2.1  การศึกษาที่ใช้ประชากร  หรือใช้กลุ่มตัวอย่างมีผลต่อการใช้สถิติอย่างไร

            แนวทางในการตอบ  ประชากร ในทางสถิติจึงสามารถกำหนดได้ว่า ประชากรคือชุดที่สมบูรณ์ของค่าต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดหรือการนับจากสิ่งของหรือปรากฏการณ์ทั้งหมดที่มีลักษณะต่าง ๆ เหมือนกันหรือมีลักษณะต่าง ๆ ร่วมกันอยู่ และกลุ่มตัวอย่างก็คือส่วนหนึ่งของประชากร

ดังนั้น  การวิจัยนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ทำการวิจัยต้องรู้และเข้าใจในพื้นฐานและแนวความคิดทางสถิติ  การเข้าใจพื้นฐานและแนวความคิดทางสถิติสามารถช่วยให้ผู้ทำวิจัยพิจารณาและตัดสินใจเลือกวิธีการทางสถิติที่มีความเหมาะสมที่สุดเพื่อเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล  ดังนี้  ถ้าเป็นประชากร  ผู้วิจัยจะเลือกใช้สถิติพรรณนาเพื่ออธิบายข้อมูล  โดยไม่ได้มุ่งที่จะใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างลึกซึ้ง  แต่เป็นวิธีการสรุปข้อมูลขั้นต้นที่ได้จากการรวบรวม

แต่ถ้าเป็นกลุ่มตัวอย่าง  จะเป็นการเลือกใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ซึ่งมีขั้นตอนการคำนวณที่สลับซับซ้อนมากกว่าสถิติเชิงพรรณนา โดยวิธีการของสถิติเชิงวิเคราะห์ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการสรุปและอธิบายข้อมูลที่รวบรวมมาได้เท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ทำวิจัยได้คาดคิดเอาไว้ตามสมมติฐานหรือตามความสัมพันธ์ของตัวแปร  หรือตามลักษณะของประชากรที่มีการสุ่มตัวอย่างมาเพื่อการศึกษาวิจัย


2.2  สมมติฐานทางสถิติกับสมมติฐานการวิจัยคืออะไร  เกี่ยวข้องกันอย่างไร

            แนวทางในการตอบ  สมมติฐานการวิจัย  คือ จุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้า และเป็นข้อความที่เสนอคำตอบที่คาดคิดว่าน่าจะเป็นสำหรับปัญหาการวิจัยที่กำหนดศึกษา  โดยมีระเบียบวิธีการทดสอบ   ผลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างอ้างอิงไปสู่ประชากร 

            สมมติฐานทางสถิติ  คือ  การแปลงสมมติฐานการวิจัยเพื่อให้อยู่ในรูปที่สามารถทดสอบทางสถิติได้  ใช้ในการตัดสินสมมติฐานการวิจัยเพื่อให้ผลการตัดสินสมมติฐานบนพื้นฐานที่ถูกต้องและมีเหตุผล  ประกอบด้วย  ประเภท  คือ สมมติฐานว่างกับสมมติฐานทางเลือก

            มีความเกี่ยวข้องกัน คือ เป็นการคาดคะเนคำตอบไว้ล่วงหน้าโดยอาศัยทฤษฎี ประสบการณ์หรือผลการศึกษาวิจัยในอดีตเหมือนกัน 



2.3  ตารางสถิติ  เช่น  ตาราง  t  F  x2 จำเป็นต่อการวิเคราะห์อย่างไร

            แนวทางในการตอบ  จำเป็นต่อการวิเคราะห์สถิติ คือ การเลือกใช้สถิติการทดสอบและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณสูตรของสถิติการทดสอบนั้น ๆ สถิติการทดสอบหรือสถิติอนุมานจำแนกเป็น 2 ประเภทตามข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการแจกแจงของประชากรและระดับการวัดข้อมูล  ได้แก่  สถิติพาราเมตริก  และสถิตินอนพาราเมตริก  ซึ่งเป็นสถิติการทดสอบสมมติฐานการวิจัยที่มีข้อตกตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการแจกแจกของประชากรและระดับการวัดข้อมูล  เช่น  เป็นการแจกแจงแบบโค้งปกติ  ข้อมูลอยู่ในมาตรการวัดระดับอันตรภาคชั้นหรือมาตรอัตราส่วน

            F - test  เป็นการทดสอบว่าสมการถดถอยที่ได้มานั้น มีความสัมพันธ์กับตัวแปรพยากรณ์กับตัวแปรเกณฑ์หรือไม่ ถ้ามีนัยสำคัญทางสถิติแสดงว่าตัวตัวแปรพยากรณ์อย่างน้อย 1 ตัวที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรเกณฑ์

            t-test  เป็นวิธีการทางสถิติที่ใช้แบบทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 ค่า ซึ่งมีข้อตกลงเบื้องต้น ดังนี้

            1. ตัวอย่างแต่ละหน่วยต้องเป็นอิสระต่อกัน

            2. กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มจากประชากรที่มีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ

            3. ไม่รู้ค่าความแปรปรวนของประชากร ถ้ารู้ค่าความแปรปรวนของประชากร ควรใช้Z-test

            ไคสแควส์ (x2)  เป็นการทดสอบความแตกต่างหรือทดสอบความเป็นอิสระของข้อมูลที่อยู่ในรูปของความถี่ในแต่ละกลุ่มย่อย โดยมีข้อตกลงเบื้องต้น ดังนี้

            1. ตัวอย่างในแต่ละกลุ่มได้มาโดยการสุ่มและเป็นอิสระต่อกัน

            2. แต่ละกลุ่มที่มาวิเคราะห์มีความเป็นอิสระต่อกัน

            3. ค่าที่สังเกตได้สามารถจัดให้อยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้เพียงกลุ่มเดียว

            4. ขนาดของกลุ่มตัวอย่างต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอซึ่งมีความถี่ที่คาดหวังทุกตัวต้องไม่ต่ำ กว่า 5     


2.4  เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะวิธีการพัฒนาบุคลากร โดยตั้งคำถามว่า

            2.4.1 เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาบุคลากร ควรเลือกใช้สถิติอะไรบ้าง

 แนวทางในการตอบ  สถิติที่เลือกใช้คือ  ความถี่  ร้อยละ  เพราะเป็นข้อมูลนามบัญญัติ  ที่บอกความแตกต่างของสิ่งที่วัดเป็นกลุ่มเป็นพวก  โดยไม่มีการจัดอันดับ  มาตราวัดระดับนี้จึงเป็นการกำหนดตัวเลขแทนแต่ละกลุ่ม เช่น สถานภาพของบุคลากร  จำแนกคนตามเพศ เป็นเพศชาย หญิง เป็นต้น

            2.4.2  เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรระหว่างประสิทธิผลของโรงเรียน

 แนวทางในการตอบ  สถิติที่เลือกใช้คือ  r  เนื่องจากเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นตัวเดียว  ตัวแปรตามตัวเดียว

            2.4.3  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายความผูกพันต่อองค์กร จากภาวะผู้นำ เงินเดือน อายุ  และวุฒิของผู้บริหาร

แนวทางในการตอบ  สถิติที่เลือกใช้คือ  R  เนื่องจากเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นตัวเดียวหลายตัว  ตัวแปรตามตัวเดียว

2.4.4  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย จำแนกตาม เพศ อาชีพผู้ปกครอง แนวทางในการตอบ  สถิติที่เลือกใช้คือ  r  เนื่องจากเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นตัว  ตัวแปรตามตัวเดียว

            2.4.5  เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 18 คน

แนวทางในการตอบ    สถิติที่เลือกใช้คือ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน  ฐานนิยมเป็นข้อมูลที่เรียงลำดับจากมากไปน้อย  การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นตัว  ไม่สามารถบวก ลบ  คูณ หารได้


ข้อ 3 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระบุความหมายของการจัดการศึกษาว่า เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

จากข้อความที่ระบุใน พ.ร.บ. การศึกษา ดังกล่าว ให้วิเคราะห์โดยใช้หลักการดังนี้

3.1    แนวทางตามหลักปรัชญาการศึกษา

            แนวทางในการตอบ



3.2   ตามแนวคิดสังคมวิทยาการศึกษา

 แนวทางในการตอบ

จากคำกล่าวที่ว่าการศึกษาคือการเลื่อนฐานะทางสังคมและเป็นปัจจัยในการจัดลำดับ  ช่วงชั้นทางสังคมนั้น  คือ  การศึกษาเป็นการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมและจำแนกความแตกต่างทางสังคม  เพื่อจัดระเบียบทางสังคมด้วยระดับของการศึกษา  การประกอบอาชีพ  การมีรายได้และการดำรงตำแหน่งทางสังคม  อีกทั้งระบบสังคมเปิดเหมือนสังคมไทยในปัจจุบันไม่ได้กำหนดชาติวุฒิ  หรือชาติกำเนิดเป็นปัจจัยในการจัดลำดับหรือจำแนกสมาชิกในสังคมเหมือนประวัติศาสตร์ บางช่วง  หากแต่ใช้ความสามารถหรือคุณวุฒิ  อันเป็นสิ่งที่สมาชิกในสังคมสามารถฝึกฝนและใช้ความสามารถของตนเพื่อให้ได้รับมาโดยอาจมีเงื่อนไขทางสังคมเป็นตัวกำหนด  เช่น  การให้โอกาส  ให้สิทธิ  ดังนั้น  สมาชิกในสังคมเปิดไม่ว่าจะเกิดในชาติวุฒิใด  หากมีความสามารถ  มีความรู้ที่ได้ศึกษามาในระดับสูงก็มีโอกาสได้ประกอบอาชีพ  มีรายได้  มีการดำงตำแหน่งที่สำคัญทางสังคมได้เช่นกัน  แม้ความจริงอาจมีข้อจำกัดของโอกาสและขีดความสามารถน้อยกว่าคนที่มีชาติวุฒิมาแต่กำเนิดในบางประการก็ตาม    ด้วยเหตุนี้สมาชิกในสังคมเปิดจึงมีโอกาส  “เลื่อนฐานะทางสังคม”  ให้สูงขึ้นจากชาติกำเนิดเดิม        โดยอาศัยการศึกษาเป็นแนวทางได้  แม้ในสังคมหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก  ต่างก็มี   ความหลากหลายทั้งในด้านชีววิทยา   คือ  รูปร่างหน้าตา  สีผิว  เพศ  และในด้านสังคม  คือ  ฐานะ  ความเป็นอยู่ท่ามกลางความแตกต่างทางด้าน การเรียนรู้  ระดับสติปัญญา  และความสามารถของสมาชิกในสังคม                                                                                                                                        

แต่ทุกสังคมต้องแบ่งหน้าที่ทางสังคมให้แก่สมาชิกเพื่อปฏิบัติตามบทบาทและสถานภาพ          ของแต่ละคนซึ่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  และต้องกระทำตามบทบาทในสังคม ของแต่ละคนเพื่อให้สังคมนั้นดำเนินไปอย่างมีระบบนั่นเอง  เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งนั้นมี  เกณฑ์  ใหญ่  ๆ  ได้แก่

                        1.  สถานภาพโดยชาติกำเนิด  เป็นคุณสมบัติที่ติดตัวมาโดยกำเนิด

                        2.  สถานภาพโดยความสามารถ  เป็นคุณสมบัติที่สามารถสร้างสมและสร้างเสริม   ด้วยความสามารถเฉพาะตัวหรือด้วยโอกาสและจังหวะชีวิต เช่น อาชีพ  รายได้ การแต่งงาน การศึกษา  เป็นต้น

            จากหลักการดังกล่าวข้างต้น  ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า  การศึกษา  สามารถกำหนดสถานภาพ   ของคน  ทำให้สามารถเลื่อนฐานะทางสังคมและจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมได้  โดยระดับการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในระดับของอาชีพและรายได้ด้วย  แรงผลักดันจากปัจจัยภายนอกองค์กรที่เป็นไปได้อีกทางหนึ่ง  คือ  ผู้เรียน  พ่อแม่ผู้ปกครอง  นักวิชาการ  นักวิชาชีพภายนอก  ฯลฯ  เช่น  การประท้วงเดินขบวนและนัดหยุดเรียนของนักศึกษาฝรั่งเศสในช่วงคริสตวรรษ 1960 ทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ในประเทศนั้น  สำหรับประเทศไทยปัจจัยด้านนี้มีพลังค่อนข้างน้อย เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ได้รับการปลูกฝังให้เป็นคนหัวอ่อน เชื่อความคิดของผู้อาวุโสและผู้มีตำแหน่งสูงมากกว่าที่จะได้รับการฝึกอบรมให้เป็นพลเมืองดี ที่ตระหนักเรื่องสิทธิหน้าที่เพื่อการพัฒนาประเทศชาติ กล้าคิดวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งยังถูกสังคมกล่อมเกลาให้เป็นพวกหวังผลในทางปฏิบัติ  เช่น  ขอให้มีที่เรียน  ขอให้ได้เรียนจบ  ได้รับประกาศนียบัตรปริญญาบัตร ไปทำงานมากกว่าการได้รับการชี้แนะ การศึกษามาตั้งแต่ต้น ให้เป็นคนที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน  อยากแสวงหาความรู้และความจริงอย่างมุ่งมั่น  นักเรียนนักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไปมองการศึกษาเป็นเพียงบันไดในการหางานและเลื่อนฐานะทางสังคม ไม่ได้มองการศึกษาอย่างวิพากษ์วิจารณ์ และไม่ค่อยคิดถึงการปฏิรูปให้การศึกษามีคุณภาพมากขึ้น หรือถึงบางคนจะคิดถึงบ้าง  แต่ก็ไม่รู้สึกรุนแรงมากพอที่เป็นฝ่ายเรียกร้องผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง  แม้แต่ภาคธุรกิจเอกชน  เช่น  บริษัทใหญ่ ๆ  จะตระหนักว่าการศึกษาไทยผลิตคนมาได้คุณภาพต่ำกว่าที่พวกเขาจำเป็นต้องใช้ และพวกเขาต้องเสียเวลาคัดเลือก และฝึกอบรมพนักงานใหม่มาก  แต่พวกเขาก็นิยมการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าส่วนของตนไปวัน ๆ  บางคนอาจแสดงทัศนะวิพากษ์วิจารณ์หรือเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาบ้าง  แต่ภาคธุรกิจเอกชนยังไม่มีการรวมพลังเข้ามาช่วยผลักดันการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบอย่างจริงจัง  ส่วนหนึ่งเพราะนักธุรกิจนายทุนนักบริหารของไทยโดยทั่วไปแล้วยังคิดอยู่ในกรอบผลประโยชน์ส่วนตัวและองค์กรของตนมากกว่าที่จะมีวิสัยทัศน์คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศในระยะยาวอย่างมุ่งมั่น

ปัจจุบันคนในสังคมเห็นว่าการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อตนเองด้วยเหตุผลดังกล่าว 

ข้าพเจ้าเห็นด้วย  เพราะ

            1.  การศึกษาที่ได้รับจากสถาบันการศึกษามีกระบวนการอย่างเป็นทางการในการรับรองความสามารถและยืนยันความสามารถของคนในสังคม  โดยการให้ประกาศนียบัตร  วุฒิบัตร 

หรือปริญญาบัตร  ตลอดจนเกียรติคุณและเหรียญตราหรือเครื่องหมายต่าง ๆ อันเป็นการประทับตรา

ในเรื่องการยอมรับในสังคม

2.  การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาคน  เพื่อให้คนพัฒนาสังคมโดยส่วนรวม  เพราะสังคมต้องการคนที่มีการศึกษามาช่วยกันพัฒนาชาติ

3.  การศึกษาช่วยกำหนดรายได้หรือค่าตอบแทนเพื่อสนองความต้องการในการเลื่อนฐานะ         อย่างมีความมั่นคงและมั่นใจได้ดีกว่าปัจจัยอื่น


3.3 ตามแนวคิดตามเศรษฐศาสตร์การศึกษา

 แนวทางในการตอบ   การศึกษาในลักษณะทางเศรษฐศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็น  2 ลักษณะคือ  ในฐานะเป็นการบริโภค  ดูลักษณะดังต่อไปนี้

            1.การศึกษานับเป็นการบริการในแง่ธุรกิจถือเป็นสินค้า

            2. การศึกษามีเป้าหมายเพื่อสร้างชื่อเสียงเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูล

เศรษฐศาสตร์กับการศึกษามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

            1.  ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ระบบและบริการทางการศึกษานั่นคือ  การนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์ระบบและบริการทางการศึกษา ได้มีการศึกษาในด้านต่าง ๆ รวมทั้งคิดต้นทุนการผลิต บริการทางการศึกษาในประเภทระดับต่าง ๆ การประเมินผลประโยชน์ของการศึกษา  กำหนดราคาของบริการทางการศึกษาประสิทธิภาพของการจัดบริการทางการศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรฐานทางการศึกษา แหล่งเงินทุน และทรัพยากรอื่น ๆ

            2. ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระบบเศรษฐกิจและระบบการศึกษานั่นคือ การวิเคราะห์บทบาทการศึกษาในการพัฒนาเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ของอุปสงค์ที่มีต่อการบริการทางการศึกษาและระดับรายได้ อุปทานของการศึกษาและข้อกำหนด ทรัพยากร ปัญหาที่เกิดจากช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทางของการบริการทางการศึกษา

            3. ความรู้ที่ได้จากข้อ 1 และ 2 ส่งผลสะท้อนเป็นการเพิ่มพูนความรู้ในทางเศรษฐกิจนั่นคือการวิเคราะห์ปัญหาทั้ง 2 ด้านนอกจากจะช่วยให้เข้าใจปัญหาของแบบและกระบวนการจัดการศึกษาแล้ว  ยังมีผลพลอยได้ส่งผลสะท้อนให้มีการปรับปรุงหลักการ และแนวความคิดในวิชาเศรษฐศาสตร์


3.5 ตามแนวทางการศึกษา

 แนวทางในการตอบ  ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการจัดการศึกษา  การจัดการศึกษาของไทยในอดีตเป็นบทบาทภาระหน้าที่ของชุมชน  เช่น  ครอบครัว วัด และสำนักต่าง ๆ ในการจัดการศึกษาแก่ลูกหลานและสมาชิกในชุมชนทั้งด้านวิชาการและอาชีพ โดยการถ่ายทอดวิชาความรู้แก่เด็ก การจัดการศึกษา ในลักษณะนี้จึงมีรูปแบบหลากหลาย  และสอดคล้องกับพื้นฐานหรือวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชน  จึงทำให้สังคมไทยในอดีตดำรงอยู่ในครรลองของศาสนา  และพิธีกรรมความเชื่อพื้นบ้านผสมกลมกลืนกันอย่างมีดุลยภาพ  ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  พึ่งพาอาศัยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว  และดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

ต่อมารัฐได้เข้าไปควบคุมและจัดการศึกษา  นำเอาระบบการศึกษาจากประเทศตะวันตกมาใช้แทนการจัดการศึกษาโดยชุมชน  รัฐกำหนดแบบแผนการศึกษาเดียวกันทั้งประเทศ โรงเรียนและครูที่กระจายอยู่ทั้งประเทศเป็นแต่เพียงตัวแทนของรัฐบาลทำให้ชุมชนถูกละเลย  และไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเอง  รวมถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ  ของชุมชนท้องถิ่นก็ถูกละเลย  ผู้เรียนเรียนรู้สิ่งที่อยู่ไกลตัว  แต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวกลับไม่มีความรู้  จึงไม่สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ความต้องการด้านวัตถุเข้ามาแทนที่จิตใจ จึงเกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา ดังที่นายแพทย์ประเวศ วะสี(2540) ได้แสดงความเห็นว่า ปัญหา ใหญ่สุดของมนุษยชาติในปัจจุบัน  คือ การขาดความสามารถที่จะอยู่ร่วมกันอย่างได้ดุลยภาพ ความรู้ต่าง ๆ ที่มีมากขึ้นยังไม่ใช่ปัญญาหรือภูมิปัญญา     แห่งการอยู่ร่วมกันอย่างได้ดุลยภาพ  ข้อใหญ่ใจความสำคัญที่สุดก็คือ ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นภูมิปัญญา  แห่งการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างได้ดุลยภาพภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นแหล่งความรู้ที่ดีอย่างหนึ่งที่ถูกทอดทิ้งไปในการศึกษาปัจจุบัน

ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น  จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาของชาติ             โดยนำมาใช้จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่สมบูรณ์  ตามจุดมุ่งหมายและหลักการ         จัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช  2542  เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ทั้งร่างกาย  จิตใจ สติปัญญา  ความรู้  คุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  โดยจะต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง ให้มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและให้มีความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่กับความรู้อันเป็นสากล

ดังนั้น นโยบายการจัดการศึกษาในปัจจุบัน จึงได้ให้ความสำคัญกับท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นด้านบุคคล  ผู้ทรงภูมิปัญญา  และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่น โดยเน้นให้โรงเรียนนำมาใช้ในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อปลูกฝัง ให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในความเป็นไทย มีความภาคภูมิใจ     ในท้องถิ่น ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะสมกับผู้เรียน  เพื่อใช้   ในการเรียนการสอน

กรมวิชาการ  (2542)  ศึกษาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้กับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน  พบว่าการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษา  ทำให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข  เห็นคุณค่า  และมีเจตคติที่ดีต่อศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  ชุมชนและโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น และในส่วนของชุมชนเองก็มีความสามัคคีกันมากขึ้นด้วย

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริงของท้องถิ่น  โดยเน้นให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงของตนเองและท้องถิ่นในด้านต่าง ๆซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรัก  ความภาคภูมิใจและมีความผูกพันกับท้องถิ่น ตลอดจนมีความรู้ความสามารถในการคิด  การจัดการและการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบทั้งที่เกี่ยวกับตนเองการประกอบอาชีพ  และการพัฒนาท้องถิ่น

นอกจากนี้  ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดรายละเอียดสาระการเรียนรู้ แกนกลาง ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม       พ.. 2546  ลงนามโดย นายปองพล อดิเรกสารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดให้สถานศึกษาทำรายละเอียดสาระการเรียนรู้แกนกลาง  เป็นแนวในการเทียบเคียง  ตรวจสอบหรือปรับใช้  เป็นสาระการเรียนรู้รายปี  หรือรายภาคของหลักสูตรสถานศึกษาในสัดส่วนประมาณร้อยละ 70โดยยืดหยุ่นตามธรรมชาติของแต่ละสาระการเรียนรู้ หรือช่วงชั้น และให้สถานศึกษากำหนดรายละเอียดสาระการเรียนรู้ ประมาณร้อยละ 30  ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  ชุมชน  สังคม  และประเทศชาติ อย่างไรก็ตามปัจจุบันการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการจัดการศึกษายังดำเนินการ ไม่แพร่หลาย  และการจัดการเรียนการสอน ไม่สนองความต้องการของชุมชน / ท้องถิ่นเท่าใดนัก  ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ไม่ตรงกับสภาพเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  และสภาพแวดล้อมที่แท้จริงในท้องถิ่นของตน



ข้าพเจ้าคิดว่า  ประโยชน์ของภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ต้องศึกษา  คือ

คนไทยได้ร่วมกันสร้างชาติ  สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของบ้านเมือง  ดำรงชีวิตอยู่อย่าง เป็นสุขร่มเย็น ตราบถึงทุกวันนี้  เพราะอาศัยภูมิปัญญาของตนมาโดยตลอด  ภูมิปัญญาชาวบ้าน        หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น  จึงมีความสำคัญ  สรุปได้ดังนี้

1)  ช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง

2)  สร้างความภาคภูมิใจ  และศักดิ์ศรีเกียรติภูมิแก่คนไทย

3)  สามารถปรับประยุกต์  หลักธรรมคำสอนทางศาสนา  มาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม

4)  สร้างความสมดุลระหว่างคนกับสังคมและธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน

5)  ช่วยเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตคนไทยให้เหมาะสมได้ตามยุคสมัย

6)  ทำให้เกิดทักษะและความชำนาญที่สามารถแก้ไขปัญหา  และพัฒนาชีวิตได้อย่างเหมาะสม     กับยุคสมัย แล้วเกิดภูมิปัญญา  (องค์ความรู้ใหม่)  ที่เหมาะสมและสืบทอดพัฒนาต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด

7)  ช่วยให้การเรียนรู้มีความหมายและเรียนรู้ได้เร็ว  เราะเรียนรู้จากชีวิตจริงใกล้ตัวในท้องถิ่น  ที่มีโอกาสเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

8)  ช่วยให้การเรียนรู้เกิดประโยชน์เกิดความรู้ความเข้าใจในสังคม  วัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อม     นิทานพื้นเมือง  ศิลปะ  อาชีพ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวิถีชีวิตท้องถิ่น

9)  ช่วยทำให้เกิดความรัก  ความภูมิใจในท้องถิ่น  เห็นคุณค่าของความดีของมีค่าในท้องถิ่น          รักท้องถิ่น  พอใจอยากช่วยพัฒนาท้องถิ่น  ไม่ทิ้งท้องถิ่น

10)  ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย  สนองความสนใจและความต้องการของท้องถิ่น              และของผู้เรียนซึ่งเป็นแรงจูงใจที่ดี  สนองความอยากรู้อยากเห็น

11)  ช่วยทำให้การเรียนการสอนปรับเปลี่ยนได้ตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม         ในยุคข้อมูลข่าวสาร สังคมเปลี่ยนเร็ว ก้าวตามเทคโนโลยีทุกวัน การเรียนในหลักสูตรแม่บทเก่า ล้าสมัยไม่ทันเหตุการณ์  แต่ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จัดทำไว้ในหลักสูตรโดยโรงเรียนจะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ทันสมัยตลอดเวลา

            วิธีการนำภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการศึกษาในหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นฐานบริบทด้านต่าง ๆ  คือ 

                        จากการที่  กรมวิชาการ (2541)  เสนอแนวทางการดำเนินการในการนำภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการศึกษาในหลักสูตรนั้นข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าต้องขจัดข้อจำกัดต่าง ๆ ของโรงเรียนโดยการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น  บุคคล  ชุมชน  องค์กรชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เอกชน  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น ที่เป็นการสืบสานทางวัฒนธรรม  การสร้างสรรจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ  การสร้างองค์ความรู้   อันเกิดจากสภาพแวดล้อมสังคม  การเรียนรู้จากปัจจัยที่เกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าโรงเรียนจะเลือกใช้วิธีใดจึงจะเหมาะสมกับการพัฒนาหลักสูตร  ตามความต้องการของท้องถิ่นสามารถทำโดยการปรับแผนการสอน  สื่อการสอน  เนื้อหา  และวิธีการสอนของครู  ดังนี้

            1.  ให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนการสอน  มีการมอบหมายงานและกิจกรรม       ให้นักเรียนไปทำที่บ้าน  ครูและชาวบ้านเป็นผู้ติดตามและประเมินผล

            2.  ให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน  โดยนำนักเรียนศึกษา      จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน  ควรจะสำรวจและสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพิ่มขึ้น ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นทุ่งนา  ป่าข้าว  แหล่งน้ำวัด  แหล่งอนุรักษ์ป่า  แหล่งอนุรักษ์สัตว์  กลุ่มอาชีพต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์ตำบล  ทุกตำบลควรสร้างพิพิธภัณฑ์ของตนเองเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์  ศิลปะ วัฒนธรรม  การสร้างความรู้หรือการวิจัย

            3.  โรงเรียนและชุมชนประสานให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและชุมชน  โดยเฉพาะในชุมชนมีผู้รู้ด้านต่าง ๆ มากมาย  เช่น  ผู้รู้ทางเกษตรกรรม  ทางช่าง  ศิลปิน  ผู้รู้ทางศาสนา  หมอพื้นบ้าน  นักธุรกิจรายย่อย  ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ  ผู้นำชุมชนที่เป็นนักคิด  นักศีลธรรม  มีปัญญาและความดี  ถ้าเปิดโรงเรียนสู่ชุมชนให้ทั้งครูและนักเรียนได้เรียนรู้จากครูในชุมชนมีครูมากมายหลากหลาย  เป็นครูที่รู้จริง  ทำจริงทำให้การเรียนรู้เข้าไปเชื่อมโยงกับการปฏิบัติ            เช่น  ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์  เศรษฐกิจ  สังคม วัฒนธรรม  ศาสนา  การแพทย์พื้นบ้าน  การเรียนรู้   จะสนุก   ไม่น่าเบื่อหน่าย  ที่สำคัญจะเป็นการปรับระบบคุณค่า  เดิมการศึกษาของเราสอนให้ดูถูกคนที่มีค่าเหล่านี้  เมื่อผู้รู้ในชุมชนเหล่านี้กลายเป็นครู ก็เป็นการยกระดับคุณค่า ศักดิ์ศรีและความภูมิใจของชุมชนอย่างแรง เป็นการถักทอทางสังคม
            4.  ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติงานในชุมชน  ครู  และนักเรียน  ควรจะเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติงานจริงในชุมชน  เช่น  ทำการเกษตร  หัตถกรรม  แปรรูปอาหาร  งานช่าง  ธุรกิจชุมชน                การท่องเที่ยวชุมชน การแพทย์แผนไทย แบบที่ ดร.โกวิท วรพัฒน์  เรียกว่า โรงเรียนทำมาหากิน”      จะได้ทำงานเป็น  จัดการเป็น  อยู่ร่วมกันเป็น  มีอาชีพ  แก้ปัญหาเศรษฐกิจและเป็นการพัฒนาศีลธรรม   ไปด้วยในตัว  ศีลธรรมเกิดจากการดำเนินชีวิตร่วมกันแต่ไม่เกิดจากการท่องวิชาศีลธรรม

            5.  สร้างความรู้เกี่ยวกับชุมชน  ข้อบกพร่องอันฉกาจฉกรรจ์ของระบบการศึกษาไทย  คือ เป็นระบบที่ไม่สร้างความรู้  เป็นระบบที่ท่องความรู้เก่าจึงไม่มีปัญญามองเห็นปัจจุบันและอนาคตสร้างคน ที่ไม่รู้ความจริงขึ้นมาเต็มประเทศ  ซึ่งย่อมถูกสถานการณ์และการรุกรานเข้ามากระแทกชัดจนฟุบ     และวิกฤต  ฉะนั้นการปฏิรูประบบการศึกษาไทยจะต้องทำให้เป็นระบบการศึกษาที่สร้างความรู้ได้




3.       การนำหลักทฤษฎี และความรู้จากวิชาต่าง ๆ มาปรับปรุงระบบการทำงานในหน่วยงานของท่านให้ทันกับยุคสมัยในปัจจุบันได้อย่างไร


            แนวทางในการตอบ 

              Herzberg ได้ศึกษาทดลองเกี่ยวกับการจูงใจในการทำงานโดยการสัมภาษณ์วิศวกรในเมือง พิทส์เบอร์ก  ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1959ผลการศึกษาทดลอง สรุปได้ว่า  สาเหตุที่ทำให้วิศวกรและนักบัญชีเกิดความพึงพอใจและไม่พึงพอใจในการทำงานนั้นมีสององค์ประกอบคือ

         1.   องค์ประกอบกระตุ้น  (Motivation Factors)  หรือปัจจัยจูงใจ  มีลักษณะสัมพันธ์กับเรื่องของงานโดยตรง  เป็นสิ่งที่จูงใจบุคคลให้มีความตั้งใจในการทำงานและเกิดความพอใจในการทำงาน  ปัจจัยนี้ได้แก่

           1.1   ความสำเร็จของงาน  หมายถึง  การที่บุคคลสามารถทำงานได้เสร็จสิ้นและประสบผลสำเร็จ

           1.2   การได้การยอมรับนับถือ  หมายถึง  การที่บุคคลได้รับการยอมรับนับถือไม่ว่าจากกลุ่มเพื่อน  ผู้บังคับบัญชา หรือจากกลุ่มบุคคลอื่น

           1.3   ลักษณะของงาน  หมายถึง  ความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดีของบุคคลที่มีต่อลักษณะของงาน

           1.4   ความรับผิดชอบ  หมายถึง  ความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากการที่ได้รับการมอบหมายให้รับผิดชอบงานใหม่ ๆ และมีอำนาจรับผิดชอบอย่างเต็มที่

           1.5   ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงในสถานะหรือตำแหน่งของบุคลากรในองค์กร

         2.  องค์ประกอบค้ำจุน (Hygine Factors) หรือปัจจัยค้ำจุน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในการทำงานหรือส่วนประกอบของงาน ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้คนเกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน กล่าวคือ หากขาดปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในการทำงานแต่แม้ว่าจะมีปัจจัยเหล่านี้อยู่ก็ไม่อาจยืนยันได้ว่าเป็นสิ่งจูงใจของผู้ปฏิบัติงาน  ปัจจัยนี้ได้แก่

           2.1  เงินเดือน  หมายถึง  ความพึงพอใจและไม่พึงพอใจในเงินเดือนหรืออัตราการเพิ่มเงินเดือน

           2.2  โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคตนอกจากจะหมายถึง  การที่บุคคลได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งภายในองค์กรแล้ว  ยังหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลสามารถได้รับความก้าวหน้าในทักษะหรือวิชาชีพของเขา  ดังนั้นจึงหมายถึงการที่บุคคลได้รับสิ่งใหม่ ๆ ในการเพิ่มพูนทักษะที่จะช่วยเอื้อต่อวิชาชีพของเขา

           2.3  ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา  หมายถึง  การติดต่อไม่ว่าจะเป็นกิริยาหรือวาจาที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

           2.4  สถานะของอาชีพ  หมายถึง  ลักษณะของงานหรือสถานะที่เป็นองค์ประกอบทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกต่องาน เช่น การมีรถประจำตำแหน่ง เป็นต้น

           2.5  ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา  หมายถึง  การติดต่อพบปะกัน  โดยกิริยาหรือวาจาแต่มิได้รวมถึงการยอมรับนับถือ

           2.6  นโยบายและการบริหารงานขององค์กร  หมายถึง  การจัดการและการบริหารงานขององค์กร

           2.7  ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

           2.8  สถานภาพการทำงาน  ได้แก่  สถานภาพทางกายภาพที่เอื้อต่อความเป็นสุขในการทำงาน

           2.9  ความเป็นส่วนตัว  หมายถึง  สถานการณ์ซึ่งลักษณะบางประการของงานส่งผลต่อชีวิตส่วนตัวในลักษณะของผลงานนั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้บุคคลมีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งต่องานของเขา

           2.10  ความมั่นคงในงาน  หมายถึง  ความรู้สึกของบุคคลที่มีความมั่นคงของงานความมั่นคงในองค์กร

           2.11  วิธีการปกครองบังคับบัญชา  หมายถึง  ความรู้ความสามารถของผู้บังคับบัญชาในการดำเนินงานหรือความยุติธรรมในการบริหารงาน

         สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาได้ดังนี้ 

            ปัจจัยจูงใจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน  ส่วนปัจจัยค้ำจุนจะเป็นปัจจัยที่ป้องกันไม่ให้บุคคลเกิดความเบื่อหน่ายหรือรู้สึกไม่พอใจในการทำงานซึ่งทฤษฎีสององค์ประกอบของ Herzberg นี้เชื่อว่าการสนองความต้องการของมนุษย์แบ่งเป็น 2 องค์ประกอบ คือ              องค์ประกอบที่ 1 หรือปัจจัยจูงใจที่สร้างความพึงพอใจ  เป็นความต้องการขั้นสูงประกอบด้วยลักษณะงาน  ความสำเร็จของงาน  การยอมรับนับถือ  การได้รับการยกย่องและสถานภาพ  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง         

            ส่วนองค์ประกอบที่ 2 หรือปัจจัยค้ำจุน หรือองค์ประกอบที่สร้างความไม่พึงพอใจ         เป็นความต้องการขั้นต่ำ  ประกอบด้วยสภาพการทำงาน  การบังคับบัญชา  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  นโยบายและการบริหารงาน  ความมั่นคงในงานและเงินเดือน  ไม่เป็นการสร้างเสริมบุคคลให้ปฏิบัติดีขึ้นแต่ต้องดำรงรักษาไว้เพื่อความพึงพอใจในขั้นสูง  โดยโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการบริหารตัดสินใจ และร่วมจัดการศึกษา  ทั้งครู ผู้ปกครอง  ตัวแทนชุมชน ตัวแทนศิษย์เก่า และตัวแทนนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จะทำให้บุคคลเหล่านั้นเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ และมีความรู้สึกรับผิดชอบในการจัดการศึกษาในชุมชนของตนมากขึ้น