พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ค่าเข้า

🌟 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นอีกหนึ่ง สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของชะอำ ซึ่งความงดงามยังสามารถเล่าเรื่องราวตั้งแต่ในสมัยอดีตได้อย่างดี ปัจจุบันถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวทั่วทุกภาคของไทย และเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจ จนต้องแวะเวียนมาเยี่ยมชมบ่อย ๆ ด้วยอาคารออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ซึ่งมีความโดดเด่นไม่เหมือนใคร

🌟 จุดที่ต้องเข้าชมเมื่อมาถึงพระตำหนัก

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ค่าเข้า
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

💁‍♀️ เมื่อมาถึง พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน สิ่งที่เราต้องไม่พลาดนั่นก็คือเดินชมความสวยงามของ พระตำหนักฤดูร้อนริมทะเล ซึ่งความสวยงามไม่ต้องพูดถึงเพราะมีมากเหลือเกิน ส่วนจุดที่ต้องเข้าชมนั่นก็คือ พระที่นั่งของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ซึ่งมีทั้งหมด 3 พระที่นั่ง รวมถึงบริเวณรอบ ๆ ซึ่งเป็นที่ทุกคนควรเข้าชมเมื่อมาถึงสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ โดยมาดูกันต่อว่าแต่จะจุดจะมีอะไรกันบ้าง

พระที่นั่ง

สำหรับพระที่นั่งใน พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีความแตกต่างกันพอสมควร แต่เรื่องความงดงามไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ซึ่งทั้ง 3 พระที่นั่งมีดังต่อไปนี้

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ค่าเข้า
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

👉 พระที่นั่งสโมสรเสวภามาตย์ นับว่าเป็นพระที่นั่งแห่งแรกของ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน มี 2 ชั้น จุดเด่นคือทั้งชั้นบนและล่างเปิดถึงกัน เพราะส่วนนี้จะใช้เป็นการแสดงละคร ส่วนภายในท้องพระโรงจะเป็นที่สำเร็จราชการ หรือออกรับรองพระราชอาคันตุกะ รวมถึงประกอบพิธีต่าง ๆ ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 6

👉 หมู่พระที่นั่งสมุทรพิมาน ส่วนพระที่นั่งส่วนนี้ของ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จะประกอบไปด้วย อาคารด้านหน้า ซึ่งเป็นบ้านพักของพลเอกหรือเจ้าพระยารามราฆพ, ส่วนองค์ที่ 2 จะเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 6 ซึ่งจะประกอบไปด้วยห้องบรรทม, ห้องทรงงาน, ห้องสรง และห้องแต่งพระองค์, ส่วนอาคารตรงกันข้ามจะเป็นหอเสวย, ต่อมาพระที่นั่งสมุทรพิมานองค์แรก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานให้เป็นที่ประทับของ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และเรือนฝ่ายในเป็นที่พักของพลตรี พระยาอนิรุทธเทวา

👉 หมู่พระที่นั่งพิศาลสาคร พระที่นั่งส่วนสุดท้ายของ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ยังคงประกอบไปด้วยอาคารหลายหลังซึ่งแต่ละหลังจะมีความสำคัญมากมายโดยเริ่มจากอาคารหลังแรกจะเป็นห้องรับรองแขกของฝ่ายใน ซึ่งปัจจุบันเป็นโรงเรียนสอนดนตรีไทย, หอเสวยฝ่ายใน จะเป็นที่เสวยพระกระยาหาร, พระที่นั่งพิศาลสาคร จะเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรชายา, เรือนพระสุจริตสุดา เป็นที่พักของพระสุจริตสุดา ซึ่งเป็นพระสนมเอก และห้องพักคุณท้าววรคณานันท์

สวนพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

อีกหนึ่งจุดที่ห้ามพลาดเด็ดขาดนั่นก็คือสวนในบริเวณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เพิ่งถูกปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์โดยรอบโดยการออกแบบของ หม่อมหลวงภูมิใจ ชุมพล ซึ่งสวนทั้งหมดมาจากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ทั้งหมด ซึ่งทำให้สวนจะแบ่งออกเป็น 3 สวน นั่นก็คือ

💚 สวนเวนิสวานิช เริ่มต้นกันด้วยสวนใน พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน แห่งแรก ซึ่งสวนแห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชนิพนธ์เรื่องเวนิสวานิช ซึ่งแปลมาจากเรื่อง The Merchant of Venice โดยภาพรวมแล้วสวนแห่งนี้ถูกออกแบบในสไตล์เรอเนสซอง

💚 สวนศกุนตลา มาต่อกันที่สวนที่สองภายใน พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ซึ่งเป็นสวนที่เน้นการใช้ต้นเข็มนานาพันธุ์เป็นกำแพงล้อมรอบสวน ส่วนภายในจะจัดเป็นเหมือนเวทีการแสดงต่าง ๆ อาทิเช่น โขน หรือการแสดงละครในช่วงฤดูหนาว เป็นต้น ซึ่งเหมาะกับการใช้เป็นเรือนรับรองและจัดเลี้ยงสุด ๆ เพราะบรรยากาศร่มรื่นไปด้วยแมกไม้และดอกไม้นานาพันธุ์

💚 สวนมัทนะพาธา มาต่อกันที่สวนสุดท้ายภายใน พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยสวนนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องมัทนะพาธา หรืออีกชื่อหนึ่งคือตำนานกุหลาบ ซึ่งเนื้อเรื่องของละครเรื่องนี้จะเป็นละครต่อคำฉันท์ โดยการตกแต่งจะใช้พุ่มไม้ลายอ่อนช้อย อาทิเช่น ต้นข่อย เป็นหลัก ซึ่งมีคุณสมบัติทนแดดและไอทะเลได้ดี

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ค่าเข้า
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ควรแวะหากได้ไปชะอำ-หัวหิน

📚 ความน่าสนใจของ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ไม่ได้มีแค่ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ แต่เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงสถาปัตยกรรมอันงดงามที่ผสมผสานกันระหว่างไทยกับยุโรปแบบร่วมสมัยได้อย่างลงตัว ภายใต้การออกแบบของ นายแอร์โกเล มันเฟรดี สถาปนิกชื่อดังชาวอิตาเลียน โดยพระตำหนักจะเป็นไม้สักทองทั้งหลัง ดังนั้นความสวยงามโดดเด่นมาก ส่งผลให้พระตำหนักแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น สถานที่ท่องเที่ยวเพชรบุรี ที่สำคัญมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นอย่าลืมแวะร้านน้ำชามฤคทายวันชิมเมนูอาหารและเครื่องดื่มอร่อย ๆ ก่อนกลับ 🥤

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ค่าเข้า
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

⭐ สำหรับการเยี่ยมชมในปัจจุบันยังต้องรอไปก่อนเพราะพระตำหนักยังไม่ปิดให้บริการ เนื่องจากสภาวะการระบาดของโควิด แต่หากเปิดบริการจะมีอัตราเก็บค่าเข้าชมด้านล่างคนละ 30 บาท ส่วนค่าธรรมเนียมขึ้นเยี่ยมชมพระที่นั่งจะให้บริจาคเป็นค่าบูรณะพระที่นั่งท่านละ 300 บาท (ชมพระที่นั่งจะเปิดให้บริการเฉพาะวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ วันละ 2 รอบ ในช่วงเช้าเวลา 09.00-11.00 น. และรอบบ่าย ในเวลา 14.00 -16.00 น.) นอกจากนั้นจะต้องทำหนังสือล่วงหน้า เพื่อแจ้งให้ทราบว่าต้องการเข้าชมพระนั่ง โดยช่องทางติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 032-508-444 หรือ https://www.facebook.com/mrigadayavanofficial/

แจกพิกัด 10 ที่เที่ยวเพชรบุรี ใกล้กรุงวันเดียวก็เที่ยวได้

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ค่าเข้า

📣 นอกจากบทความดีๆ แล้ว เฮียร์ขอแนะนำโปรโมชั่นดี ในแบบนักช้อปตัวจริงต้องรู้ !! ⭐️ ส่องโปรโมชั่นทั้งหมดได้ที่นี่ >> https://salehere.co.th/promotions รับรองว่าคุณจะไม่พลาดโปรโมชั่นเด็ดๆ อย่างแน่นอน 🛒