แผนผัง ความคิด เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ได้รับเค้าเดิมมาจากวรรณคดีเรื่อง มหากาพย์รามายณะ ของอินเดีย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นผู้พระราชนิพนธ์ แต่งด้วยบทประพันธ์ 3 ปะเภท ได้แก่ ร่ายดั้น (เปิดเรื่อง) กลอนบทละคร (ดำเนินเรื่อง) และโคลงกระทู้กับโคลงสี่สุภาพ (ปิดเรื่อง) มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อให้ความบันเทิง ปลุกใจประชาชนให้กล้าหาญ หากผู้เรียนได้เรียนรู้จะสามารถนำข้อคิดที่สะท้อนสังคมไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 5.1 ม.2/1    สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน

จุดประสงค์
- นักเรียนสามารถอธิบายประวัติความเป็นมาจากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ได้
- นักเรียนสามารถอธิบายประวัติผู้พระราชนิพนธ์จากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ได้
- นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะคำประพันธ์จากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ได้
- นักเรียนสามารถอธิบายจุดประสงค์การประพันธ์จากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ได้
- นักเรียนสามารถสรุปความรู้จากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ในรูปแบบแผนผังความคิดได้
- นักเรียนมีมารยาทในการอ่านและการฟัง 
 

การวัดผลและประเมินผล

- แบบประเมินการสรุปความรู้จากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ในรูปแบบแผนผังความคิด
- เกณฑ์การประเมินสมรรถนะผู้เรียน
- แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
 

แผนผัง ความคิด เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก

เนื้อเรื่องย่อ

        นนทกนั่งประจำอยู่ที่บันไดของเขาไกลลาศ  โดยมีหน้าที่ล้างเท้าให้แก่เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร  ได้ยื่นเท้าให้ล้างแล้วมักแหย่เย้าหยอกล้อ นนทกอยู่เป็นประจำ  ด้วยการลูบหัวบ้าง  ถอนผมบ้างจนกระทั่งหังโล้นทั้งศรีษะ  นนทกแ้นใจมากแต่ว่าตนเองไม่มีกำลังจะสู้ได้  จึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวร แล้วกราบทูลว่า ตนได้ทำงานรับใช้พระองค์มานานถึง 10 ล้านปี  ยังไม่เคยได้รับสิ่งตอบแทนใดๆเลย  จึงทูลขอให้นิ้วเพชร  มีฤทธฺ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นตาย   พระอิศวรเห็นว่านนทกปฏิบัติหน้าที่รับใช้พระองค์มานานจึงประทานพรให้ตามที่ขอ  ไม่นานนักนนทกก็มีใจกำเริบ  เพียงแต่ถูกเทวดามาลูบหัวเล่นเช่นเคย  นนทกก็ชี้ให้ตายเป็นจำนวนมาก   พระอิศวรทรงทราบก็ทรงกริ้ว  โปรดให้พระนาายณ์ไปปราบ

        พระนารายณ์ แปลวเป็นนางฟ้ามายั่วยวน  นนทกนึกรักจึงเกี่ยวนาง  นางแปลงจึงชักชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก  นนทกรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้วเพชรชี้ขาตนเองนนทกก็ลมลง

        จากนั้นนนทกเห็นนางแปลงร่างเป็นพระนารายณ์  จึงตอบว่า พระนารายณ์  ว่าเอาเปรียบตนเพราะว่าพระนารายณ์มีอำนาจ  มีถึง 4  กร  แต่ตนมีแค้ 2 มือ  และเหตุใดจึงมาทำอุบายหลอกลวงตนอีก

        พระนารายณ์จึงท้าให้นนทก  ไปเกิดใหม่ให้มี  20 มือ  แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง 2 มือ  ลงไปสู้กัน  หลังจากที่พระนารายพูดจบก็ใช้พระแสงตรีตัดศรีษะนนทกแล้วนนทกก็สิ้นใจตาย

        ชาติต่อมานนทกจึงได้ไปเกิดเป็นทศกรรฐ์   ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม

แผนผัง ความคิด เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก

แผนผัง ความคิด เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก

ผู้แต่ง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระนามเดิมว่า ด้วง พระชนกคือหลวงพินิจอักษร กับพระชนนีคือ ดาวเรือง ทรงขึ้นครองราชย์หลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคต เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ตลอดรัชกาลพระองค์ทรงทำสงครามทั้งกับพม่าและปราบหัวเมืองต่าง ๆ ทรงสร้างระเบียบการปกครอง ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ศิลปะศาสตร์ และอักษรศาสตร์ รวบรวมชำระกฎหมายตราสามดวงจนสมบูรณ์ และพระองค์ยังเป็นกวีโดยทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง ได้แก่ รามเกียรติ์ ดาหลัง อุณรุท และกลอนนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง

ที่มาของเรื่อง

นำเค้าเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะของอินเดีย

จุดมุ่งหมายในการแต่ง                                                                                                   

เพื่อรวบรวมรามเกียรติ์ให้สมบูรณ์ และเพื่อแสดงพระเกียรติของพระรามหรือพระมหากษัตริย์ไทย

ลักษณะคำประพันธ์

แต่งด้วยกลอนบทละคร

                กลอนบทละคร เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเล่นละคร ต้องอาศัยทำนองขับร้องและเครื่องดนตรีประกอบ แต่งเสร็จต้องนำไปซักซ้อมปรับปรุง ดังนั้น จำนวนคำของแต่ละวรรคจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจังหวะขับร้องเป็นสำคัญ ว่าโดยหลักมีแต่ ๖ คำ ถึง ๙ คำ แต่ที่ปรากฏว่าใช้มากสุด คือ ๖ คำ เช่นเรื่องรามเกียรติ์ เฉพาะวรรคแรกขึ้นต้น ใช้ ๒ คำ ถึง ๔-๕ คำ บางคราวก็ส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ ๒ บางคราวก็ไม่ส่ง คำที่ใช้เช่น เมื่อนั้น, บัดนี้, น้องเอ๋ยน้องรัก

         แม้กลอนสดับ จะใช้คำพูดเพียงสองคำ ก็ถือถือว่าเต็มวรรค โดยลักษณะสัมผัสในวรรคและนอกวรรค นิยมใช้แบบกลอนสุภาพ แต่งเป็นตอน ๆ พอจบตอนหนึ่ง ขึ้นตอนต่อไปใหม่ ไม่ต้องรับสัมผัสไปถึงตอนที่จบ เพราะอาจเปลี่ยนทำนองตามบทบาทตัวละคร ที่ขึ้นต้นว่า เมื่อนั้น ใช้สำหรับพระเอกหรือผู้นำในเรื่อง บัดนั้น ใช้สำหรับเสนา กลอนนี้เป็นกลอนผสม คือ กลอน ๖ กลอน ๗ กลอน ๘ หรือ กลอน ๙ ผสมกันตามจังหวะ  มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้

แผนผัง ความคิด เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก

เรื่องย่อ

          นนทกมีหน้าที่ล้างท้าเทวดาอยู่ที่เชิงเขาไกรลาส เมื่อเทวดาพากันไปเฝ้าพระอิศวร พวกเทวดาชอบข่มเหงนนทกอยู่เป็นประจำด้วยการลูบหัวบ้าง ตบหัวบ้าง จนกระทั่งผมร่วงหมดนนทกแค้นใจเป็นอันมาก จึงไปเฝ้าพระอิศวร กราบทูลว่าตนได้รับใช้มานาน ยังไม่เคยได้รับสิ่งตอบแทนเลย จึงทูลขอให้นิ้วเป็นเพชร มีฤทธิ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นตายได้ พระอิศวรก็ประทานให้ตามขอ เมื่อเทวดามาลูบศีรษะเล่นเช่นเคย นนทกก็ชี้ให้ตายลงเป็นจำนวนมาก พระอิศวรทรงทราบก็กริ้ว โปรดให้พระนารายณ์ไปปราบ พระนารายณ์แปลงเป็นนางฟ้ามายั่วยวน นนทกนักรักจึงเกี้ยวนาง นางแปลงจึงชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก นนทกตกลงรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้งเพชรชี้เข่าตนเอง นนทกล้มลง ก่อนตายนนทกเห็นนางแปลงปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์ จึงต่อว่าพระนารายณ์มีอำนาจ มีถึง ๔ กร เหตุใดจึงต้องทำอุบายมาหลอกลวงตน พระนารายณ์จึงให้นนทกไปเกิดใหม่ให้มีถึง ๒๐ มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง ๒ มือลงไปสู้ด้วย นนทกจึงไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเป็นพระราม

แนวคิด

อำนาจเมื่ออยู่กับผู้ที่ไม่รู้จักใช้ย่อมเป็นโทษ

คุณค่างานประพันธ์

          ๑.คุณค่าด้านวรรณศิลป์

การดำเนินเรื่องรวดเร็ว กระชับ ใช้คำชมความงามของนางแปลงได้อย่างเห็นภาพพจน์ เหมาะสำหรับการนำไปแสดงโดยมีการขับร้องและใช้ดนตรีประกอบ

          ๒.คุณค่าด้านสังคม

สังคมจะสงบสุขอยู่ได้ถ้าคนเรามีน้ำใจต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ข่มเหงน้ำใจกัน  

แบบฝึกหัดที่ ๑

ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง และ X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง ตามข้อเท็จจริง

....... ๑. รามเกียรติ์มีมาแต่ครั้งสุโขทัย ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ เรื่องถ้ำพระราม

....... ๒. รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นมาใหม่ให้เป็นฉบับ 

          ที่สมบูรณ์

....... ๓. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า บุญมา ทองด้วง

....... ๔. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระชนกคือ หลวงพินิจอักษร กับ พระชนนีคือ    

          ดาวเรือง

....... ๕. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเคยเป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี

....... ๖. สมเด็จพระอัครมเหสีมีพระนามเดิมว่า นาค

....... ๗. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน

          พ.ศ. ๒๓๒๕

....... ๘. ตลอดรัชกาลที่ ๑ พระองค์ทรงทำสงครามกับพม่าถึง ๙ ครั้ง

....... ๙. รัชกาลที่ ๑ สวรรคตเทื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ รวมพระชนมายุได้ ๗๓ พรรษา

....... ๑๐. นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง บทละครเรื่องอุณรุท และไตรภูมิโลกวินิจฉัย เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑

แบบฝึกหัดที่ ๒

ให้นักเรียนจับคู่คำศัพท์และความหมายโดยนำตัวอักษรทางขวามือมาใส่ในช่องว่างทางซ้ายมือให้ถูกต้องเหมาะสม

....... ๑. กร

....... ๒. หัสนัยน์

....... ๓. อัมรินทร์

....... ๔. ปรารมภ์

....... ๕. พระสุรัสวดี

....... ๖. มโนรส

....... ๗. สุบรรณ

....... ๘. เกษียรวารี

....... ๙. ไกรลาส

....... ๑๐. อัฒจันทร์

....... ๑๑. เกลง

....... ๑๒. ตรี

....... ๑๓. พระหริวงศ์

....... ๑๔. จาบัลย์

....... ๑๕. มยุเรศ

ก.                   นกยูง

ข.                   ร้องไห้สะอึกสะอื้น

ค.                   ทะเลน้ำนมที่พำนักของพระนารายณ์

ง.                    ชื่อภูเขาเป็นที่ประทับของพระอิศวร

จ.                   ครุฑ

ฉ.                   ในที่นี้หมายถึง ขั้นบันได

ช.                   ผู้มีพันตา หมายถึง พระอินทร์

ซ.                   มาจากภาษามอญว่า เกลิง แปลว่า มา

ฌ.                 ตรีศูล เป็นอาวุธสามง่าม

ญ.                 พระนารายณ์

ฎ.                  พระนามของพระอินทร์

ฏ.                  รำพึง, วิตก

ฐ.                   มเหสีของพระพรหม

ฑ.                  ความหวัง,ความประสงค์

ฒ.                 แขน

แบบฝึกหัดที่ ๓

ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย X ทับตัวอักษรที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

๑. ธรรมเนียมปฏิบัติของเหล่าเทวดาก่อนที่จะเข้าเฝ้าพระอิศวรจะต้องทำอย่างไร

          ก.สรงน้ำแต่งองค์ทรงเครื่อง

          ข.นนทกล้างเท้าให้

          ค.ปรึกษาหารือกันกันก่อน

          ง.รอเพื่อนเทวดาให้ครบเพื่อจะได้เข้าเฝ้าพร้อมกัน

๒. “ผมโกร๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพียงหู ดูเงาในน้ำแล้วร้องไห้” ข้อใดเป็นเหตุให้นนทกมีลักษณะเช่นนั้นมากที่สุด

          ก.เพราะเหล่าเทวดาตบหัว

          ข.เพราะเหล่าเทวดาลูบหัว

          ค.เพราะเหล่าเทวดาถอนผม

          ง.เพราะเหล่าเทวดาลูบหน้า

๓. นนทกคิดแค้นใจเรื่องใดมากที่สุด จึงมาเฝ้าพระอิศวร

          ก.เรื่องถูกถอนผม

          ข.คิดว่าตนถูกดูหมิ่น

          ค.ตาของตนแดง

          ง.ภาระหน้าที่อันต่ำต้อย

๔. “ว่าพระองค์เป็นหลักธาตรี      ย่อมเมตตาปรานีทั่วพักต์

ผู้ใดทำชอบต่อเบื้องบาท             ก็ประสาททั้งพรยศศักดิ์”

ใครเป็นผู้พูด และเป็นลักษณะของตัวละครใด

          ก.นนทก – พระอิศวร

          ข.นนทก – พระอินทร์

          ค.พระอินทร์ – พระอิศวร

          ง.เทวดา – พระอิศวร

๕. “วันนี้จะได้เห็นกัน ขบฟันแล้วชี้นิ้วไป” เหตุใดนนทกจึงทำเช่นนั้น

          ก.เพราะถูกข่มเหงรังแก                       ข.เพราะโกรธที่ถูกสั่นหัว

          ค.เพราะถือว่าตนมีนิ้วเพชร                   ง.เพราะต้องการจะแก้แค้น 

๖. “พระองค์ผู้ทรงศักดาเดช        ไม่โปรดเกศแก่ข้าบทศรี

กรรมเวรสิ่งใดดั่งนี้                   ทูลพลางโกศีรำพัน”

นนทกต้องการสิ่งใดจึงกล่าวเช่นนั้น

          ก.ต้องการให้พระอิศวรช่วยเหลือตนบ้าง

          ข.ต้องการให้พระอิศวรประหลาดใจ

          ค.ต้องการให้พระอิศวรสงสารตนบ้าง

          ง.ต้องการให้พระอิศวรแสดงฤทธิ์เดช

๗. ผู้ใดถูกนนทกชี้ด้วยนิ้วเพชรจนถึงแก่ชีวิตเป็นลำดับแรก

          ก.เทวดา                              ข.พญาครุฑ                

          ค.พญานาค                          ง.นางฟ้า

๘. ผู้ใดอยู่ในเหตุการณ์ครั้งนี้ และแก้ไขอย่างไร

          ก.พระนารายณ์ – รีบเข้าเฝ้าพระอิศวร

          ข.พระอินทร์ – รีบเข้าเฝ้าพระอิศวร

          ค.พระสุรัสวดี – รีบเข้าเฝ้าพระนารายณ์

          ง.พระอินทร์ – รีบเข้าเฝ้าพระนารายณ์

๙. พระอิศวรส่งใครไปปราบนนทก

          ก.พระอินทร์                ข.พญาครุฑ                 ค.พระนารายณ์            ง.พระพรหม

๑๐. “ถึงโฉมองค์อัครลักษมี         พระสุรัสวดีเสน่หา

สิ้นทั้งไตรภพจบโลกา               จะเอามาเปรียบไม่เทียบทัน”

คำประพันธ์ดังกล่าวหมายถึงตัวละครใด

          ก.สุวรรณอัปสร

          ข.พระมเหสีของพระอิศวร

          ค.นางฟ้า

          ง.นางสีด