งานทัศนศิลป์ในท้องถิ่นภาคกลาง

ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีเอกลักษณ์ทางศิลปกรรมสูงงานศิลปะเป็นงาน ที่ให้ความรู้สึกทางด้านสุนทรีย์ของมนุษย์ที่มีจิตใจสูง ซึ่งถ่ายทอดความรู้สึกที่มีคุณค่าทางจิตใจ ส่งผลให้คนไทยเป็นผู้มีวัฒนธรรมทางจิตใจที่ถ่ายทอดทางอารมณ์โดดจะมีความโดดเด่นและมีเอกลักษณะของแต่ละภาค แบ่งได้ 2 ลักษณะคือ

1. ถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรม ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และประณีตศิลป์

จิตรกรรมฝาผนัง งานประติมากรรม และงานสถาปัตยกรรมแบบจีน

หากจะพูดถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาใกล้ชิดสนิทสนมกับคนไทยมาช้านาน และถือเป็นมิตรสนิทอยู่ด้วยกันได้อย่างกลมกลืนและกลมเกลียว ก็คงจะเป็นชาวจีนนี่เอง…

เมืองไทยเราเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชาวจีนมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และชาวจีนก็เริ่มเข้ามาตั้งรกรากลงหลักปักฐานอยู่ที่เมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา จึงไม่น่าแปลกใจที่ว่า ในบางเรื่องเราแทบจะแยกความเป็นไทยกับจีนไม่ออกเนื่องจากวัฒนธรรมของทั้งสองชาติได้ผสมกลมกลืนกันมาเป็นเวลานานแล้ว เรื่องที่ว่านั้นก็รวมไปถึงเรื่องของศิลปะด้วย โดยศิลปะจีนนั้นได้แทรกตัวอยู่ร่วมกับศิลปะไทยได้อย่างลงตัวโดยเฉพาะตามวัดวาอารามหลายๆแห่ง ซึ่งเรามักจะได้พบเห็นการผสมผสานระหว่างศิลปะไทยกับศิลปะจีนในศาสนสถานที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เพราะในช่วงนั้น เป็นช่วงที่การค้าของประเทศไทยกับประเทศจีนรุ่งเรืองที่สุด ถึงขนาดที่พระองค์ได้รับฉายาว่าเป็น “เจ้าสัว” เนื่องจากความสามารถในการแต่งสำเภาไปค้าขาย และในช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่มีชาวจีนอพยพเดินทางมาพร้อมกับเรือสำเภา เข้ามาอยู่อาศัยและทำมาหากินพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งคนจีนเหล่านี้ต่อมาก็ได้เป็นกำลังสำคัญในการช่าง การสร้างวัดต่างๆ มากมาย

ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ศิลปะแบบจีนในวัดนั้นได้ชื่อว่าเป็น “พระราชนิยม” ซึ่งจะมีจุดเด่นตรงที่หลังคาของโบสถ์หรือวิหารในส่วนที่เป็นหน้าบันนั้นจะเป็นแบบเรียบๆ ตัดส่วนที่เป็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หรือที่เรียกว่าเครื่องบนออกทั้งหมด ด้วยเหตุผลที่ว่าชำรุดเสียหายได้ง่ายและเปลืองเวลาในการทำ แต่มีการประดับหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลวดลาย เช่น ดอกไม้ หรือสัตว์ต่างๆ ตามแบบจีน เช่นหงส์ หรือมังกรแทน

การที่ศิลปะแบบจีนนั้นกลายมาเป็นพระราชนิยม ทำให้เหล่าขุนนาง รวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาในยุคนั้นต่างก็นิยมสร้างวัดตามแบบพระราชนิยมเช่นเดียวกัน ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ จึงมีวัดหลายแห่งด้วยกันที่มีลักษณะของศิลปะแบบจีนให้เราได้ชมกันอยู่เป็นจำนวนมาก

วัดราชโอรสาราม วัดประจำรัชกาลที่ 3

หากจะกล่าวถึงวัดไทยที่มีศิลปะแบบจีนอยู่เต็มรูปแบบมากที่สุด และสวยงามที่สุด ก็คงจะต้องกล่าวถึงวัดราชโอรสารามราชวรมหาวิหาร หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า วัดราชโอรส ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก รวมทั้งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 ซึ่งใครที่ได้เข้าไปชมภายในวัดราชโอรสาราม อาจจะเผลอนึกไปได้ว่ากำลังเดินอยู่ในวัดจีน

วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดจอมทอง เมื่อคราวที่รัชกาลที่ 3 ยังมีตำแหน่งเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในรัชกาลที่ 2 นั้น ท่านได้ทรงเป็นแม่ทัพคุมพลเตรียมไปรบกับพม่า และได้มาประทับแรมที่หน้าวัดจอมทองนี้ ท่านได้ทรงทำพิธีเบิกโขลนทวาร ตามลักษณะพิชัยสงคราม และทรงอธิษฐานให้ประสบความสำเร็จกลับมา และเมื่อทรงเลิกทัพเสด็จกลับพระนครแล้ว จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ทั้งวัด และถวายเป็นพระอารามหลวงแด่รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นผู้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชโอรส" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชโอรสซึ่งเป็นผู้บูรณะ

วัดแห่งนี้จึงมีศิลปะแบบจีนอยู่แทบทุกตารางนิ้วตามพระราชนิยมของผู้บูรณะ ตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้าวัด ที่มีหลังคาสี่ชั้นแบบจีนเด่นชัด ส่วนพระอุโบสถของวัดราชโอรสนี้มีหลังคาแบบจีนสองชั้น มุงด้วยกระเบื้องแบบไทย ไม่มีเครื่องบน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลวดลายแจกันดอกเบญจมาศ มีสัตว์ที่เป็นมงคลตามความเชื่อของชาวจีนอย่างมังกร หงส์ นกยูงอยู่รอบๆ แจกัน

นอกจากหน้าบันแล้ว บริเวณหน้าประตูทางเข้าอุโบสถยังมีตุ๊กตากระเบื้องเคลือบขนาดใหญ่กว่าคนจริงเป็นรูปชาวจีนหน้าตาดุดันยืนเฝ้าประตูอยู่ดูน่าเกรงขาม ส่วนบนบานประตูโบสถ์เป็นภาพประดับมุกลายมังกรดั้นเมฆที่ถือว่ามีแห่งเดียวในประเทศไทยและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ส่วนภายนอกพระอุโบสถก็ยังมีศาลาราย วิหารคด ถะ (เจดีย์จีน) ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีนเห็นได้ชัด ตั้งอยู่เคียงกับพระปรางค์ และเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองแบบไทยได้อย่างไม่ขัดเขิน

ไม่เพียงเฉพาะพระอุโบสถเท่านั้น แต่วิหารพระพุทธไสยาสน์ก็มีศิลปะจีนอันโดดเด่นเช่นกัน ตรงที่ประตูทางเข้าไปสู่พระระเบียงนั้นเจาะเป็นช่องกลมเหมือนประตูจีน เมื่อเข้าไปด้านในแล้ว บริเวณบันไดทางขึ้นพระวิหารมีแผงกระเบื้องเคลือบกังไสแบบจีน ภายในมีตุ๊กตาที่คงจะแสดงถึงเรื่องราวต่างๆ น่าเสียดายที่หักพังไปมากแล้วจนไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเรื่องอะไร

นอกจากนั้นบานประตูและหน้าต่างด้านนอกของพระวิหารก็ยังมีความสวยงามด้วยรูปเสี้ยวกาง (ทวารบาลของจีน) ยืนอยู่บนประแจจีน ในมือถือดอกไม้และถาดผลไม้ชนิดต่างๆ เข้ากับหลังคาวิหารแบบจีน ประดับด้วยเครื่องกระเบื้องเป็นรูปแบบตามพระราชนิยม

แม้ว่าสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในวัดราชโอรสนี้จะเป็นศิลปะแบบจีนแทบทั้งหมด แต่ก็ยังคงคุณค่าของความเป็นวัดไทยไว้ได้อย่างงดงาม และถือเป็นมรดกอันสำคัญชิ้นหนึ่งของแผ่นดิน

วัดกัลยาณมิตร กับหลวงพ่อซำปอกง

วัดกัลยาณมิตรเป็นอีกวัดหนึ่งที่ขุนนางสร้างขึ้น ซึ่งขุนนางท่านนี้ก็คือ เจ้าพระยานิกรบดินทร์ หรือ โต กัลยาณมิตร ซึ่งเป็นทั้งข้าราชบริพารและพระสหายของรัชกาลที่ 3 เจ้าพระยานิกรบดินทร์สืบเชื้อสายมาจากชาวจีนฮกเกี้ยน ซึ่งมีความสามารถในการเดินเรือ และได้ช่วยเหลือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าในการแต่งเรือสำเภาไปค้าขายจนแผ่นดินร่ำรวย

ที่ดินของวัดนี้ เป็นที่ดินที่เจ้าพระยานิกรบดินทร์อุทิศให้เพื่อสร้างวัด และได้น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งท่านก็ได้พระราชทานนามว่า วัดกัลยาณมิตร รวมทั้งได้ทรงสร้างวิหารหลวงและพระประธานในวิหารหลวง ซึ่งก็คือหลวงพ่อโต หรือพระพุทธไตรรัตนนายก โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นพระพุทธรูปใหญ่อยู่ริมแม่น้ำแบบเดียวกันกับที่วัดพนัญเชิง ในสมัยอยุธยา หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างอย่างมากในหมู่ชาวจีน ท่านยังมีชื่อเรียกแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกงอีกด้วย

วัดแห่งนี้มีวิหารเป็นแบบศิลปะไทย และมีพระประธานซึ่งเป็นที่เคารพของชาวจีน ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นลวดลายดอกไม้แบบจีน รวมทั้งมีเสี้ยวกางอยู่บนประตูวิหารอีกด้วย ส่วนด้านหน้าวิหารมีซุ้มประตูหิน และเสาหินแบบจีน ซึ่งเป็นที่สำหรับจุดธูปเทียนบูชา และสำหรับพระอุโบสถ มีลักษณะแบบศิลปะจีน มีหลังคาและหน้าบันตามแบบพระราชนิยม ส่วนภายในมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์

บริเวณวัดกัลยาณมิตรจะมีตุ๊กตาหินรวมทั้งเจดีย์หินแบบจีน หรือที่เรียกว่า ถะ ซึ่งเป็นศิลปะจีนที่งดงามมาก หากใครได้ผ่านไปในแม่น้ำเจ้าพระยาก็คงจะได้เห็นถะ ตั้งเด่นอยู่ริมน้ำเบื้องหน้าวิหารหลวงพ่อโต เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของวัดกัลยาณมิตรไปแล้ว

วัดเทพธิดาราม งดงามด้วยศิลปะจีน

วัดเทพธิดารามนี้เป็นหนึ่งในสามวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยคำว่าเทพธิดาในชื่อวัดก็หมายถึง กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์โตที่เป็นที่โปรดปรานของพระราชบิดา โดยกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพก็ได้บริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อร่วมก่อสร้างวัดด้วย

เมื่อเป็นวัดที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างแล้ว ก็แน่นอนว่าย่อมต้องมีศิลปะแบบจีนให้เห็นแน่นอน ซึ่งพระอุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญที่ตั้งเรียงกันอยู่นั้น ล้วนแล้วแต่มีลักษณะหลังคาและหน้าบันเหมือนกันทั้งหมด คือไม่มีเครื่องบน และประดับด้วยเครื่องกระเบื้องเคลือบเป็นลวดลายแบบจีน

ที่วัดเทพธิดารามนี้ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะจีน นั่นก็คือ ตุ๊กตาหิน ซึ่งมีทั้งรูปคนและรูปสัตว์ และที่น่าสนใจก็คือตุ๊กตากินในวัดนี้ส่วนมากเป็นรูปผู้หญิง คงเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อวัดซึ่งสร้างให้กับเจ้านายผู้หญิง ช่างที่สลักตุ๊กตานั้นเป็นช่างชาวจีน ซึ่งเมื่อมาแกะสลักตุ๊กตาที่เลียนแบบลักษณะท่าทางและการแต่งกายของสตรีชาวไทยตามสายตาของช่างชาวจีนก็ทำให้ตุ๊กตาเหล่านี้มีลักษณะแปลกตาน่าชม เช่น อาจจะดูเป็นคนไทยที่มีหน้าตาออกไปทางเชื้อสายจีนมากสักหน่อย ต่างจากตุ๊กตาหินของวัดอื่นๆ ที่จะเป็นรูปคนจีนทั้งหมด

นอกจากวัดทั้งสี่ที่กล่าวมาแล้วนั้น ก็ยังมีวัดอื่นๆ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น รวมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์รวมทั้งหมดก็กว่า 70 วัด ซึ่งแต่ละวัดก็มีศิลปะแบบจีนแทรกอยู่มากบ้างน้อยบ้าง เช่น ตุ๊กตาศิลาจีนนับร้อยตัว ทั้งในวัดสุทัศนเทพวรารามและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม รูปเสี้ยวกางหรือทวารบาล บนบานประตูวัดบวรนิเวศน์วิหาร และลวดลายเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ ที่ผสมผสานไปกับศิลปะแบบไทยๆ

แม้จะมีศิลปะของต่างชาติเข้ามาผสมกับศิลปะแบบไทยเรา ก็ไม่ได้ทำให้คุณค่าของความเป็นศาสนสถานแบบไทยๆ ลดลงไป แต่กลับผสมกลมกลืนจนกลายเป็นความงามที่ลงตัว และเป็นเหมือนสัญลักษณ์แสดงถึงความผูกพันอันแน่นแฟ้นระหว่างชาติไทยและจีน ที่มีอยู่ตลอดมา และคงจะมีอยู่ตลอดไป

2. ถ่ายทอดออกมาไม่เป็นรูปธรรม ได้แก วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์ ศิลปวัฒนธรรมไทยที่ปรากฏจะสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของพุทธศาสนา การถ่ายทอดทาง อารมณ์ทั้ง 2 ลักษณะ ก่อให้เกิดวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชาติของคนไทย ซึ่งจะกล่าว ต่อไปนี้

เต้นกำรำเคียว เป็นเพลงพื้นเมืองของชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์ นิยมเล่นตามท้องนาในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว ร้องเล่นกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน ผ่อนคลายจากความเหน็ด

รำวง วิวัฒนาการมาจากรำโทน เพลงร้องได้มีการกำหนดท่ารำของแต่ละเพลงไว้โดยเฉพาะ เช่น เพลงงามแสงเดือน ใช้ท่าสอดสร้อยมาลาเป็นท่ารำ เพลงชาวไทยใช้ท่าชักแป้งผัดหน้า เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญใช้ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่ เป็นต้น เพลงรำวงที่กำหนดท่ารำโดยใช้ท่ารำแม่บทดังกล่าวนี้เรียกว่า รำวงมาตรฐาน นิยมในงานรื่นเริงแทนการเต้นรำ และยังจัดเป็นชุดนาฏศิลป์ไทยที่นำไปแสดงเพื่อความบันเทิงได้อีกด้วย

ภาคกลางถือได้ว่าเป็นจุดศูนย์กลางของประเทศไทย ที่ครอบคลุมพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้ กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ

งานทัศนศิลป์ในท้องถิ่นของภาคกลางมีอะไรบ้าง

เครื่องจักรสาน ที่ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง.
การสานงอบ ที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
การสานปลาตะเพียนใบลาน ที่อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
การทำมีดอรัญญิก ที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
การทำเครื่องเคลือบดินเผา ที่เรียกว่า “โอ่งมังกร” จังหวัดราชบุรี.

งานทัศนศิลป์ในท้องถิ่นหมายถึงอะไร

งานทัศนศิลป์ท้องถิ่น หมายถึง ศิลปกรรมในสาขาภูมิปัญญาไทยทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ที่เป็นผลงานสร้างสรรค์ของท้องถิ่นที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นต้องมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงคุณค่า และรู้จักอนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่น

งานทัศนศิลป์ในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

ทัศนศิลป์ภาคเหนือ.
จิตรกรรมเขียนสี ... .
จิตรกรรมบนผ้า( พระบฎ ) ... .
จิตรกรรมสกุลช่างเชียงใหม่ ... .
จิตรกรรมสกุลช่างไทใหญ่ ... .
จิตรกรรมสกุลช่างน่าน ... .
จิตรกรรมที่ลำปาง ... .
จิตรกรรมลายคำ.

ผลงานด้านจิตรกรรมมีอะไรบ้าง

การจำแนก.
การเขียนภาพสีน้ำ (Colour Painting).
การเขียนภาพสีน้ำมัน (Oil Painting).
การเขียนภาพสีอะคริลิก (Acrylic Painting).
การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง (Fresco Painting).
จิตรกรรมแผง (Panel Painting).