หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น

���������������ѧ������عԵ����� ��� 15 �բ������ѧ���ú 20 �պ�Ժ�ó� �����ʧ����Թ�ҧ仵�ҧ����� �е�ͧ��˹ѧ����Թ����ҡ�Դ������ô����ͼ�����ӹҨ����ͧ���¡�͹ ���˹ѧ����������Թ����ص�/���������Թ�ҧ仵�ҧ��������������Ѻ����ѡ�ҹ㹡�â�˹ѧ����Թ�ҧ (passport) ������������� ��з�ǧ��õ�ҧ����� ������͡�����ѡ�ҹ��Сͺ����ͧ���ի��

Show

������� �ի ��ҹ��Ū�� ����ԡ���Ѻ��˹ѧ����Թ������ص����ͼ��������Թ�ҧ仵�ҧ����� �������ԡ���Թ����ͧ�Ѻ�ͧ���šѺ�����á���� ��з�ǧ��õ�ҧ�����

หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางหรือหนังสือยินยอมผู้ปกครองให้ผู้เยาว์เดินทาง เป็นหนังสือซึ่งออกโดยบุคคลซึ่งมีอำนาจปกครองผู้เยาว์นั้น เพื่อแสดงความยินยอมและรับทราบให้ผู้เยาว์นั้นเดินทางไปกับผู้ปกครองอีกคนหนึ่งเพียงคนเดียวในกรณีที่มีผู้ปกครองหลายคน ไปกับบุคคลอื่น หรือเดินทางเพียงลำพังได้

สำหรับประเทศไทย ผู้เยาว์ หมายถึง ผู้ที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์อาจไม่ใช่ผู้เยาว์ก็ได้ ในกรณีที่ได้สมรสตามเงื่อนไขของกฎหมายบุคคลและกฎหมายครอบครัวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

โดยทั่วไปบุคคลซึ่งมีอำนาจปกครองผู้เยาว์นั้น ได้แก่ บิดาและมารดาโดยสายเลือดของผู้เยาว์นั้นร่วมกันปกครอง อย่างไรก็ดี ในบางกรณีผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์อาจไม่ใช่บุคคลสองคนนี้ก็ได้ เช่น

  • บิดาหรือมารดาเพียงคนเดียวในกรณีที่บิดาหรือมารดาอีกคนหนึ่งนั้นไม่สามารถหรืออยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถดูแล ปกครองบุตรของตนได้ เช่น เสียชีวิต อาจหายสาบสูญ ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้-เสมือนไร้ความสามารถ ต้องเข้ารักษาตัวเพราะมีจิตฟั่นเฟือง ศาลมีคำสั่งถอนอำนาจปกครองบิดาหรือมารดา
  • มารดาเพียงคนเดียว ในกรณีที่บิดายังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาตามกฎหมาย ดำเนินการรับรองบุตร หรือมีคำสั่งศาลรับรอง
  • บุคคลอื่นๆ นอกจากบิดาและมารดาโดยสายเลือด เช่น บุคคลซึ่งศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองตามเงื่อนไขของกฎหมาย ผู้รับบุตรบุญธรรมในกรณีที่รับผู้เยาว์นั้นเป็นบุตรบุญธรรม พ่อเลี้ยงหรือแม่เลี้ยงในกรณีที่บิดาหรือมารดานั้นได้จดทะเบียนสมรสใหม่

โดยการเดินทางอาจเป็นการเดินทางภายในประเทศ เช่น การไปทัศนศึกษากับโรงเรียน หรือการเดินทางระหว่างประเทศ เช่น การไปศึกษาต่างประเทศช่วงปิดเทอม

ทั้งนี้ การจัดทำหนังสือยินยอมดังกล่าวก็เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของผู้เยาว์และเพื่อเป็นหลักฐานแสดงแก่ด่านตรวจคนเข้า-ออกเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ หรือเจ้าหน้าที่สายการบินในกรณีที่มีข้อสงสัยในการเดินทางของผู้เยาว์นั้น โดยเฉพาะการเดินทางไปยังประเทศซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ.1980 ว่าด้วยการลักพาเด็กข้ามชาติ (Hague Convention on the Civil Aspects of International Child Abduction) เนื่องจากด่านตรวจคนเข้า-ออกเมืองหรือเจ้าหน้าที่รัฐของประเทศนั้นๆ อาจมีมาตรการหรือแนวปฏิบัติที่เคร่งครัดและเข้มงวดเกี่ยวกับการตรวจสอบการเดินทางของผู้เยาว์ซึ่งไม่ได้เดินทางไปกับผู้ปกครองของตน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการลักพาตัวเด็กหรือการค้ามนุษย์


การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทาง ผู้จัดทำควรดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ระบุ รายละเอียดอ้างอิงตัวตนของผู้เยาว์ที่จะเดินทางและของผู้ปกครองของผู้เยาว์ เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขที่หนังสือเดินทาง (Passport) ในกรณีเดินทางระหว่างประเทศ
  • ระบุ รายละเอียดการเดินทางของผู้เยาว์นั้น เช่น จุดประสงค์ของการเดินทาง สถานที่หรือประเทศปลายทาง ระยะเวลาการเดินทาง ผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางและได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้เยาว์นั้น (ถ้ามี)
  • ระบุ ข้อมูลหรือสถานะทางการแพทย์ของผู้เยาว์ เช่น การแพ้อาหาร การแพ้ยา โรคประจำตัว
  • ระบุ ข้อมูลการติดต่อของผู้ปกครองเพื่อติดต่อในกรณีฉุกเฉิน
  • แนบเอกสารประกอบ เช่น สำเนาสูติบัตรของผู้เยาว์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้ปกครอง และในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ใช่บิดาและมารดาควรแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องนั้นด้วย เช่น ใบมรณะบัตรของบิดาหรือมารดา คำสั่งศาลถอนอำนาจปกครอง ใบสำคัญการหย่าและข้อตกลงการหย่า หนังสือรับรองการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
  • จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้ปกครองและพยาน (ถ้ามี) โดยจำนวนที่จัดทำอาจสอดคล้องกับจำนวนผู้เยาว์และผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางและดูแลผู้เยาว์นั้น
  • ให้ผู้เยาว์และผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางและดูแลผู้เยาว์นั้นยึดถือหนังสือที่จัดทำนั้นไว้อ้างอิงกับหน่วยงานหรือเจ้าที่หน้าที่เกี่ยวข้องในระหว่างการเดินทาง
  • นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นการเดินทางระหว่างประเทศ ผู้จัดทำควรตรวจสอบวิธี หลักเกณฑ์ และเอกสารที่จำเป็นกับสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศปลายทางและสายการบินที่ผู้เยาว์จะเดินทางนั้นว่าต้องดำเนินการอื่นกับหนังสือยินยอมดังกล่าวเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามแต่ละประเทศและแต่ละสายการบิน เช่น การรับรองลายมือชื่อในหนังสือยินยอมโดยสำนักงานเขตหรือโดยทนายความ (โนตารีพับลิค) การแปลเป็นภาษาต่างประเทศและรับรองโดยสถานทูตหรือกงสุลไทยและ/หรือโดยสถานทูตหรือกงสุลของประเทศปลายทาง อนึ่ง อาจศึกษาเพิ่มเติมได้จากคำแนะนำการให้ความยินยอมให้บุตรไปต่างประเทศของกรมการกงสุล


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

1. ใบคำร้องขอทำหนังสือเดินทางทั่วไป 1 ฉบับ (ในการยื่นเรื่องสำหรับผู้ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์สามารถเลือกทำหนังสือเดินทางได้ทั้งแบบ 10 ปี หรือ 5 ปี สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์สามารถยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทางแบบ 5 ปีได้เท่านั้น)

*ใบคำร้องต่างๆสามารถรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย แผนกกงสุล ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร หรือศูนย์หนังสือเดินทาง ณ แต่ละพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น   (กรุณาใช้ใบคำร้องตัวจริง ไม่สามารถใช้สำเนาได้)

* ท่านสามารถดาวน์โหลดใบคำร้องได้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2559

  1. หนังสือเดินทางสำหรับผู้ใหญ่ (แบบ 10 ปี หรือ 5 ปี)  → ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอทำหนังสือเดินทางทั่วไป (สำหรับผู้ใหญ่)
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
  2. หนังสือเดินทางสำหรับเด็ก (แบบ 5 ปีเท่านั้น)  →ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอทำหนังสือเดินทางทั่วไป (สำหรับเด็ก)
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
* กรุณาคลิ๊กที่นี่เพื่อดูตัวอย่างการกรอกใบคำร้อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัชสมัยของญี่ปุ่น

*สำหรับการเขียนชื่อ-สกุล กรณีต้องการใส่ “ชื่อ-สกุลอื่น” หรือเขียน “ชื่อ-สกุลเป็นภาษาอังกฤษแบบพิเศษ” ในหน้าหนังสือเดินทาง กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ (ข้อควรระวังในการยื่นเรื่องและการรับหนังสือเดินทาง เกี่ยวกับการใส่ “ชื่อ-สกุลอื่น” หรือ การเขียน “ชื่อ-สกุลเป็นภาษาอังกฤษแบบพิเศษ”)ทั้งนี้ ผู้ยื่นจำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางตัวจริงหรือเอกสารจากทางราชการตัวจริงที่แสดงการสะกดชื่อสกุลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อมายืนยันเพิ่มเติมด้วย

 

2. ทะเบียนครอบครัวฉบับเต็ม (หรือฉบับย่อ) 1 ฉบับ (มีอายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออกเอกสาร)

 

3. รูปถ่าย 2 รูป(ขนาดกว้าง 3.5 ซ.ม. x ยาว 4.5 ซ.ม. : สามารถใช้ได้ทั้งรูปสี หรือ ขาวดำ)

*ต้องเป็นรูปถ่ายที่ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ณ วันที่มายื่นเรื่อง รูปถ่ายหน้าตรงตั้งแต่ระดับไหล่ขึ้นไป ไม่สวมหมวก พื้นหลังไม่มีลวดลาย

(กรุณาดูรายละเอียดได้ที่หนังสือเดินทาง A to Z「 เกี่ยวกับข้อบังคับของรูปถ่ายในการทำหนังสือเดินทาง」(PDF)

หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
)

 

4. หนังสือเดินทางตัวจริง (ยกเว้นสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีหนังสือเดินทางมาก่อน) สำหรับหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯจะเก็บไว้ ณ วันที่มายื่นเรื่อง และจะทำการเจาะรูยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันและคืนให้พร้อมกับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ณ วันที่มารับ

  • กรณีต้องการใส่ “ชื่อ-สกุลอื่น” หรือ ต้องการเขียน “ชื่อ-สกุลเป็นภาษาอังกฤษแบบพิเศษ รูปแบบที่ 1 (แบบต่างชาติ)” จำเป็นต้องนำหนังสือเดินทางตัวจริงหรือเอกสารจากทางราชการตัวจริงที่แสดงการเขียนชื่อสกุลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อมายืนยันการสะกดชื่อเพิ่มเติมด้วย
  • (หมายเหตุ) สำหรับผู้ที่มีวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย หลังจากที่ได้รับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ กรุณานำไปย้ายตราประทับจากหนังสือเดินทางเล่มเก่าไปเล่มใหม่ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ท่านได้รับการตรวจลงตรา (หรือ One Stop Service Center)
 

5. ใบยินยอมให้ดำเนินการยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ

กรณีผู้ยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้แทนโดยชอบธรรม (ผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร) มีเหตุผลในการมายื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทางไม่ได้ อาทิเช่น อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถลงลายมือชื่อในด้านหลังของ “ใบคำร้องขอทำหนังสือเดินทางทั่วไป” ได้นั้น จำเป็นต้องกรอกรายละเอียดใน “ใบยินยอมให้ดำเนินการยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทาง” เพื่อยื่นประกอบ

  • ใบยินยอมให้ดำเนินการยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทาง →
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
     
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
  • ตัวอย่างการกรอกใบยินยอมให้ดำเนินการยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทาง →
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
     
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
 

วันรับหนังสือเดินทาง

3 วันทำการนับจากวันยื่นคำร้อง ไม่นับวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ (จำนวนวันที่จำเป็นในการออกหนังสือเดินทาง: วันทำการ)

 

เอกสารที่จำเป็นในการรับหนังสือเดินทาง

  1. ใบนัดรับหนังสือเดินทาง: ออกให้ ณ วันที่มายื่นขอทำหนังสือเดินทาง
  2. ค่าธรรมเนียม : คลิ๊กที่นี้  * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลามายื่นและรับหนังสือเดินทาง

  • กรณียื่นขอทำหนังสือเดินทางนั้นสามารถให้ผู้อื่นที่มีสัญชาติญี่ปุ่นมาแทนได้ แต่กรณีรับหนังสือเดินทางเจ้าของหนังสือเดินทางต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น   
  • กรณีให้ผู้อื่นมายื่นเรื่องทำหนังสือเดินทางแทนนั้น กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ (ข้อควรระวังในการยื่นเรื่องและการรับหนังสือเดินทาง เกี่ยวกับผู้มาแทน)
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ 
  • วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ
 

ขั้นตอนการออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่อันเนื่องมาจากหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันสูญหาย ถูกโขมย ถูกเผาไหม้

→ คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการเมื่อหนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย

 

เหตุผลในการยื่น

หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันสูญหาย ถูกขโมย ถูกเผาไหม้

 

(ข้อควรระวัง) เมื่อท่านได้ยื่น"ใบคำร้องแจ้งการสูญหายของหนังสือเดินทางทั่วไป "แล้ว หนังสือเดินทางเล่มที่สูญหาย ถูกขโมย หรือถูกเผาไหม้ของท่านจะถูกทำการยกเลิกการใช้งานทันที ฉะนั้นแม้ท่านจะพบหนังสือเดินทางของท่านหลังจากที่มายื่นขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ ก็ตาม ท่านไม่สามารถใช้หนังสือเดินทางเล่มเดิมได้อีก

 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอทำหนังสือเดินทาง

1. เอกสารเช่นเดียวกับข้อ 1-3 ในหัวข้อข้างต้น (เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่)

 

2. ใบคำร้องแจ้งการสูญหายของหนังสือเดินทางทั่วไป 1 ฉบับ  →ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องแจ้งการสูญหายของหนังสือเดินทางทั่วไป

หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น

 

3. เอกสารยืนยันว่าหนังสือเดินทางมีการสูญหาย ถูกขโมย ถูกเผาไหม้ 1 ฉบับ

*กรุณาไปแจ้งความเพื่อนำใบแจ้งความการสูญหาย การถูกขโมย หรือการถูกเผาไหม้ของหนังสือเดินทางที่สถานีตำรวจในพื้นที่ หรือ กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว แล้วนำมายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ

(ข้อควรระวัง) เมื่อท่านได้ยื่น"ใบคำร้องแจ้งการสูญหายของหนังสือเดินทางทั่วไป "แล้ว หนังสือเดินทางเล่มที่สูญหาย ถูกขโมย หรือถูกเผาไหม้ของท่านจะถูกทำการยกเลิกการใช้งานทันที ฉะนั้นแม้ท่านจะพบหนังสือเดินทางของท่านหลังจากที่มายื่นขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ ก็ตาม ท่านไม่สามารถใช้หนังสือเดินทางเล่มเดิมได้อีก

 

วันรับหนังสือเดินทาง

3 วันทำการนับจากวันยื่นคำร้อง ไม่นับวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ   (จำนวนวันที่จำเป็นในการออกหนังสือเดินทาง  :  4 วันทำการ)

 

เอกสารที่จำเป็นในการรับหนังสือเดินทาง

  1. ใบนัดรับหนังสือเดินทาง: ออกให้ ณ วันที่มายื่นขอทำหนังสือเดินทาง
  2. ค่าธรรมเนียม : คลิ๊กที่นี้  * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลามายื่นและรับหนังสือเดินทาง

  • กรณียื่นขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่อันเนื่องมาจากหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันสูญหาย ถูกโขมย ถูกเผาไหม้ เจ้าของหนังสือเดินทางต้องมาด้วยตนเองเท่านั้นทั้งเวลายื่นเรื่องและรับหนังสือเดินทาง
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์
  • วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ
 

2. เปลี่ยนเล่มหนังสือเดินทาง

เหตุผลในการยื่น

  1. หนังสือเดินทางมีอายุการใช้งานเหลือน้อยกว่า 1 ปี
  2. หนังสือเดินทางมีหน้าการใช้งานเหลือน้อย (แม้อายุการใช้งานหนังสือเดินทางเหลือมากกว่า 1 ปีก็สามารถเปลี่ยนเล่มได้)
  3. ต้องการเปลี่ยนหนังสือเดินทางที่เป็นรูปแบบเก่าให้เป็นหนังสือเดินทางที่มี IC CHIP (แม้อายุการใช้งานหนังสือเดินทางเหลือมากกว่า 1 ปีก็สามารถเปลี่ยนเล่มได้)
  4. ต้องการให้รายละเอียดข้อมูลบุคคลที่ทำการแก้ไขอยู่ในหน้า “ลงรายการบันทึก (Amendments and Endorsements)” ปรากฏอยู่บนข้อมูลในแผ่น IC CHIP (แม้อายุการใช้งานหนังสือเดินทางเหลือมากกว่า 1 ปีก็สามารถเปลี่ยนเล่มได้)
  5. เกิดความเสียหายขึ้นกับหนังสือเดินทาง (เช่น เปียกน้ำ ฉีกขาด เป็นต้น)
 

*หมายเหตุ หากท่านใดมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อมูลบุคคล (ชื่อ-นามสกุล จังหวัดในทะเบียนครอบครัว เป็นต้น)กรุณาดูรายละเอียดที่ 「ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่」【ขั้นตอนการเปลี่ยนเล่มหนังสือเดินทาง】

 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอเปลี่ยนเล่มหนังสือเดินทาง

 

  1. 1. ใบคำร้องขอทำหนังสือเดินทางทั่วไป 1 ฉบับ (ในการยื่นเรื่องสำหรับผู้ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์สามารถเลือกทำหนังสือเดินทางได้ทั้งแบบ 10 ปี หรือ 5 ปี สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์สามารถยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทางแบบ 5 ปีได้เท่านั้น)

 

*ใบคำร้องต่างๆสามารถรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย แผนกกงสุล ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร หรือศูนย์หนังสือเดินทาง ณ แต่ละพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น   (กรุณาใช้ใบคำร้องตัวจริง ไม่สามารถใช้สำเนาได้)

*ท่านสามารถดาวน์โหลดใบคำร้องได้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2559

  1. หนังสือเดินทางสำหรับผู้ใหญ่ (แบบ 10 ปี หรือ 5 ปี)  → ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอทำหนังสือเดินทางทั่วไป (สำหรับผู้ใหญ่) 
  2. หนังสือเดินทางสำหรับเด็ก (แบบ 5 ปีเท่านั้น)  → ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอทำหนังสือเดินทางทั่วไป (สำหรับเด็ก) 
 

* กรุณาคลิ๊กที่นี่เพื่อดูตัวอย่างการกรอกใบคำร้อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัชสมัยของญี่ปุ่น

*สำหรับการเขียนชื่อ-สกุล กรณีต้องการใส่ “ชื่อ-สกุลอื่น” หรือเขียน “ชื่อ-สกุลเป็นภาษาอังกฤษแบบพิเศษ” ในหน้าหนังสือเดินทาง กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ (ข้อควรระวังในการยื่นเรื่องและการรับหนังสือเดินทาง เกี่ยวกับการใส่ “ชื่อ-สกุลอื่น” หรือ การเขียน “ชื่อ-สกุลเป็นภาษาอังกฤษแบบพิเศษ”)ทั้งนี้ ผู้ยื่นจำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางตัวจริงหรือเอกสารจากทางราชการตัวจริงที่แสดงการสะกดชื่อสกุลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อมายืนยันเพิ่มเติมด้วย

 

2. รูปถ่าย 2 รูป (ขนาดกว้าง 3.5 ซ.ม. x ยาว 4.5 ซ.ม. : สามารถใช้ได้ทั้งรูปสี หรือ ขาวดำ)

*ต้องเป็นรูปถ่ายที่ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ณ วันที่มายื่นเรื่อง รูปถ่ายหน้าตรงตั้งแต่ระดับไหล่ขึ้นไป ไม่สวมหมวก พื้นหลังไม่มีลวดลาย

(กรุณาดูรายละเอียดได้ที่หนังสือเดินทาง A to Z「 เกี่ยวกับข้อบังคับของรูปถ่ายในการทำหนังสือเดินทาง」(PDF)

หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
)

 

3. หนังสือเดินทางตัวจริง (ยกเว้นสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีหนังสือเดินทางมาก่อน) สำหรับหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯจะเก็บไว้ ณ วันที่มายื่นเรื่อง และจะทำการเจาะรูยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันและคืนให้พร้อมกับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ณ วันที่มารับ

  • กรณีต้องการใส่ “ชื่อ-สกุลอื่น” หรือ ต้องการเขียน “ชื่อ-สกุลเป็นภาษาอังกฤษแบบพิเศษ รูปแบบที่ 1 (แบบต่างชาติ)” จำเป็นต้องนำหนังสือเดินทางตัวจริงหรือเอกสารจากทางราชการตัวจริงที่แสดงการเขียนชื่อสกุลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อมายืนยันการสะกดชื่อเพิ่มเติมด้วย
  • (หมายเหตุ) สำหรับผู้ที่มีวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย หลังจากที่ได้รับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ กรุณานำไปย้ายตราประทับจากหนังสือเดินทางเล่มเก่าไปเล่มใหม่ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ท่านได้รับการตรวจลงตรา (หรือ One Stop Service Center)
 

4. ใบยินยอมให้ดำเนินการยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ

กรณีผู้ยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้แทนโดยชอบธรรม (ผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร) มีเหตุผลในการมายื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทางไม่ได้ อาทิเช่น อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถลงลายมือชื่อในด้านหลังของ “ใบคำร้องขอทำหนังสือเดินทางทั่วไป” ได้นั้น จำเป็นต้องกรอกรายละเอียดใน “ใบยินยอมให้ดำเนินการยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทาง” เพื่อยื่นประกอบ

  • ใบยินยอมให้ดำเนินการยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทาง →
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
     
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
  • ตัวอย่างการกรอกใบยินยอมให้ดำเนินการยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทาง →
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
     
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
 

5. ใบเขียนแสดงเหตุผลการเสียหายของหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ (เฉพาะผู้ยื่นคำร้องที่ต้องการเปลี่ยนเล่มหนังสือเดินทางอันเนื่องมาจากเกิดความเสียหายใดๆขึ้นกับหนังสือเดินทางเท่านั้น)

  • ใบเขียนแสดงเหตุผลการเสียหายของหนังสือเดินทาง →
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
     
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
  • ตัวอย่างการกรอกใบเขียนแสดงเหตุผลการเสียหายของหนังสือเดินทาง →
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
     
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
 

วันรับหนังสือเดินทาง

3 วันทำการนับจากวันยื่นคำร้อง ไม่นับวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ (จำนวนวันที่จำเป็นในการออกหนังสือเดินทาง: 4 วันทำการ)

 

เอกสารที่จำเป็นในการรับหนังสือเดินทาง

  1. ใบนัดรับหนังสือเดินทาง: ออกให้ ณ วันที่มายื่นขอทำหนังสือเดินทาง
  2. ค่าธรรมเนียม : คลิ๊กที่นี้  * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลามายื่นและรับหนังสือเดินทาง

  • กรณียื่นขอทำหนังสือเดินทางนั้นสามารถให้ผู้อื่นที่มีสัญชาติญี่ปุ่นมาแทนได้ แต่กรณีรับหนังสือเดินทางเจ้าของหนังสือเดินทางต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น สำหรับการยื่นขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่อันเนื่องมาจากหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันเสียหาย เจ้าของหนังสือเดินทางต้องมาด้วยตนเองเท่านั้นทั้งเวลายื่นเรื่องและรับหนังสือเดินทาง
  • กรณีให้ผู้อื่นมายื่นเรื่องทำหนังสือเดินทางแทนนั้น กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ (ข้อควรระวังในการยื่นเรื่องและการรับหนังสือเดินทาง เกี่ยวกับผู้มาแทน) 
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์
  • วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ
 

3. แก้ไขรายละเอียดในหน้าหนังสือเดินทาง

*กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อมูลบุคคลในหน้าหนังสือเดินทาง จำเป็นต้องยื่นคำร้องเพื่อเปลี่ยนเล่มหนังสือเดินทางเล่มใหม่

 

เหตุผลในการยื่น

  1. มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อมูลบุคคล (ชื่อ-นามสกุล จังหวัดในทะเบียนครอบครัว เป็นต้น)
  2. มีการเพิ่มนามสกุลตามตามคู่สมรสอันเนื่องมาจากการสมรสกับชาวต่างชาติ
  3. มีการเพิ่มชื่อและ/หรือนามสกุลสำหรับเด็กที่มีสองสัญชาติ
 

หมายเหตุ

  • ท่านสามารถยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ แทนการแก้ไขรายละเอียดในหน้าหนังสือเดินทางได้ (ถึงแม้หนังสือเดินทางจะมีอายุการใช้งานเหลือมากกว่า 1 ปีก็ตาม)
  • ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 จะมีการนำระบบ “หนังสือเดินทางแบบเปลี่ยนแปลงข้อมูล” รูปแบบใหม่มาใช้และจะยกเลิกระบบ “การแก้ไขข้อมูลบุคคลในหน้าหนังสือเดินทาง” ที่ใช้มาแต่เดิม “หนังสือเดินทางแบบเปลี่ยนแปลงข้อมูล”รูปแบบใหม่จะออกให้ใหม่โดยมีอายุการใช้งานเท่ากับหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันที่ท่านถืออยู่ นอกจากนี้ การลงลายมือชื่อ (ลายเซ็น)หลังการเปลี่ยนแปลงชื่อ/สกุลของผู้ถือหนังสือเดินทางและรูปถ่ายก็สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นแบบใหม่ได้เช่นกัน (กรุณาดูรายละเอียดได้ที่หนังสือเดินทาง A to Z 「การแจ้งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงบางส่วนว่าด้วยกฎหนังสือเดินทาง (การยกเลิก “การแก้ไขข้อมูลบุคคลในหน้าหนังสือเดินทาง”」(PDF)
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นแก้ไขรายละเอียดในหน้าหนังสือเดินทาง

* ท่านสามารถดาวน์โหลดใบคำร้องได้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2559

 

*สำหรับการเขียนชื่อ-สกุล กรณีต้องการใส่ “ชื่อ-สกุลอื่น” หรือเขียน “ชื่อ-สกุลเป็นภาษาอังกฤษแบบพิเศษ” ในหน้าหนังสือเดินทาง กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ (ข้อควรระวังในการยื่นเรื่องและการรับหนังสือเดินทาง เกี่ยวกับการใส่ “ชื่อ-สกุลอื่น” หรือ การเขียน “ชื่อ-สกุลเป็นภาษาอังกฤษแบบพิเศษ”)ทั้งนี้ ผู้ยื่นจำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางตัวจริงหรือเอกสารจากทางราชการตัวจริงที่แสดงการสะกดชื่อสกุลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อมายืนยัน ณ เวลาที่ยื่นใบคำร้องด้วย

 

1. ใบคำร้องขอทำหนังสือเดินทางทั่วไป (สำหรับขอแก้ไขรายละเอียดบุคคล) 1 ฉบับ (กรุณาใช้ใบคำร้องตัวจริง ไม่สามารถใช้สำเนาได้)

*ใบคำร้องต่างๆสามารถรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย แผนกกงสุล ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร หรือศูนย์หนังสือเดินทาง ณ แต่ละพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น   (กรุณาใช้ใบคำร้องตัวจริง ไม่สามารถใช้สำเนาได้)

  • ใบคำร้องขอทำหนังสือเดินทางทั่วไป (สำหรับขอแก้ไขรายละเอียดบุคคล)
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
* กรุณาคลิ๊กที่นี่เพื่อดูตัวอย่างการกรอกใบคำร้อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัชสมัยของญี่ปุ่น
 

2. รูปถ่าย 2 รูป (ขนาดกว้าง 3.5 ซ.ม. x ยาว 4.5 ซ.ม. : สามารถใช้ได้ทั้งรูปสี หรือ ขาวดำ)

*ต้องเป็นรูปถ่ายที่ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ณ วันที่มายื่นเรื่อง รูปถ่ายหน้าตรงตั้งแต่ระดับไหล่ขึ้นไป ไม่สวมหมวก พื้นหลังไม่มีลวดลาย

(กรุณาดูรายละเอียดได้ที่หนังสือเดินทาง A to Z「เกี่ยวกับข้อบังคับของรูปถ่ายในการทำหนังสือเดินทาง」(PDF)

หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
)

 

3. หนังสือเดินทางตัวจริง

 

4. เอกสารที่สามารถยืนยันได้ถึงรายละเอียดในการแก้ไขหนังสือเดินทาง

  1. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อมูลบุคคล (ชื่อนามสกุล จังหวัดในทะเบียนครอบครัว เป็นต้น)  
        ・ทะเบียนครอบครัวฉบับเต็ม (หรือฉบับย่อ)   :   1 ฉบับ (มีอายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออกเอกสาร)
  2. กรณีมีการเพิ่มนามสกุลตามคู่สมรสอันเนื่องมาจากการสมรสกับชาวต่างชาติ
        ・ทะเบียนครอบครัวฉบับเต็ม (หรือฉบับย่อ)   :   1 ฉบับ (มีอายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออกเอกสาร)
        ・หนังสือเดินทางตัวจริงของคู่สมรส
  3. กรณีมีการเพิ่มชื่อและ/หรือนามสกุลสำหรับเด็กที่มีสองสัญชาติ
         ・หนังสือเดินทางตัวจริงของประเทศอื่นที่มีการเขียนชื่อ-นามสกุลแบบที่ต้องการ (หรือเอกสารที่ออกจากหน่วยงานราชการที่มีการแสดงการเขียนชื่อ-นามสกุลเป็นภาษาอังกฤษ)
 

วันรับหนังสือเดินทาง

3 วันทำการนับจากวันยื่นคำร้อง ไม่นับวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ (จำนวนวันที่จำเป็นในการออกหนังสือเดินทาง : 4 วันทำการ)

 

เอกสารที่จำเป็นในการรับหนังสือเดินทาง

  1. ใบนัดรับหนังสือเดินทาง: ออกให้ ณ วันที่มายื่นเรื่องขอแก้ไขข้อมูลบุคคลในหนังสือเดินทาง
  2. ค่าธรรมเนียม: คลิ๊กที่นี้ *ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลามายื่นและรับหนังสือเดินทาง

  • *กรณียื่นเรื่องขอแก้ไขรายละเอียดในหน้าหนังสือเดินทางนั้นสามารถให้ผู้อื่นที่มีสัญชาติญี่ปุ่นมาแทนได้ แต่กรณีรับหนังสือเดินทางเจ้าของหนังสือเดินทางต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น
  • กรณีให้ผู้อื่นมายื่นเรื่องทำหนังสือเดินทางแทนนั้น กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ (ข้อควรระวังในการยื่นเรื่องและการรับหนังสือเดินทาง เกี่ยวกับผู้มาแทน)
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์
  • วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ
 

4. เพิ่มหน้าหนังสือเดินทาง

เหตุผลในการยื่น

  1. หนังสือเดินทางมีหน้าการใช้งานเหลือน้อย
  2. ต้องการเพิ่มหน้าในหนังสือเดินทางไว้ เวลาขอยื่นทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่
 

หมายเหตุ

  • การเพิ่มหน้าหนังสือเดินทางสามารถดำเนินการได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น จำนวนหน้าที่เพิ่มมี 40 หน้า
  • หนังสือเดินทางที่มีหน้าการใช้งานเหลือไม่มาก สามารถยื่นขอ เปลี่ยนเล่มหนังสือเดินทาง โดยไม่ต้องทำการเพิ่มหน้าได้เช่นกัน
  • สามารถยื่นเรื่องขอเพิ่มหน้าหนังสือเดินทางไปพร้อมกับการยื่นขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ หรือ การยื่นเรื่องขอเปลี่ยนเล่มหนังสือ เดินทางได้เช่นกัน
 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นเพิ่มหน้าหนังสือเดินทาง

1. ใบคำร้องขอเพิ่มหน้าหนังสือเดินทางทั่วไป: 1 ฉบับ (กรุณาใช้ใบคำร้องตัวจริง ไม่สามารถใช้สำเนาได้)

*ใบคำร้องต่างๆสามารถรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย แผนกกงสุล ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร หรือศูนย์หนังสือเดินทาง ณ แต่ละพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น   (กรุณาใช้ใบคำร้องตัวจริง ไม่สามารถใช้สำเนาได้) →ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอเพิ่มหน้าหนังสือเดินทาง 

* กรุณาคลิ๊กที่นี่เพื่อดูตัวอย่างการกรอกใบคำร้อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัชสมัยของญี่ปุ่น
* ท่านสามารถดาวน์โหลดใบคำร้องได้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2559

 

2. หนังสือเดินทางตัวจริง

 

วันรับหนังสือเดินทาง

  • สามารถรอรับได้ ณ วันที่มายื่นเรื่อง (กรุณามายื่นเรื่องก่อนเคาน์เตอร์ปิดทำการ 1 ชั่วโมง) 
  • กรณีที่ผู้อื่นมายื่นแทน จะรับหนังสือเดินทางนั้นวันทำการถัดไป
 

เอกสารที่จำเป็นในการรับหนังสือเดินทาง

  1. ใบนัดรับหนังสือเดินทาง : ออกให้ ณ วันที่มายื่นเรื่องขอเพิ่มหน้าหนังสือเดินทาง
  2. ใบมอบอำนาจในการรับหนังสือเดินทาง : 1 ฉบับ (กรณีให้ผู้อื่นมารับแทนต้องนำมายื่นในวันรับหนังสือเดินทาง)
    ใบมอบอำนาจในการรับหนังสือเดินทาง
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
  3. ค่าธรรมเนียม : คลิ๊กที่นี้  * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลามายื่นและรับหนังสือเดินทาง

  • กรณียื่นเรื่องและรับหนังสือเดินทางนั้น สามารถให้ผู้อื่นที่มีสัญชาติญี่ปุ่นมาแทนได้
  • กรณีให้ผู้อื่นมายื่นเรื่องทำหนังสือเดินทางแทนนั้น กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ (ข้อควรระวังในการยื่นเรื่องและการรับหนังสือเดินทาง เกี่ยวกับผู้มาแทน)
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์
  • วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ
 

5. ออกเอกสารเดินทางชั่วคราวสำหรับเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น

เหตุผลในการยื่น

  1. ต้องการกลับประเทศญี่ปุ่นอย่างเร่งด่วนโดยไม่ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ กรณีหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันสูญหาย ถูกขโมย ถูกเผาไหม้  → (คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการเมื่อหนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย)
  2. กรณีเด็กสัญชาติญี่ปุ่นที่เกิดในประเทศไทยและทำการแจ้งการเกิดไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ต้องการเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่นอย่างเร่งด่วนโดยที่การดำเนินเรื่องลงทะเบียนนำชื่อเข้าทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นยังไม่เสร็จสมบูรณ์
 

หมายเหตุ

  • กรณีออกเอกสารเดินทางชั่วคราวสำหรับเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น สามารถแวะเปลี่ยนเครื่องที่ประเทศอื่น (ทรานซิท) ได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถเข้าประเทศนั้นได้
  • สามารถออกเอกสารเดินทางชั่วคราวสำหรับเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่นได้สำหรับเด็กแรกเกิดที่เกิดในประเทศไทยและได้แจ้งการเกิดกับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไว้เท่านั้น กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารที่จำเป็นได้ที่แผนกกงสุล ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร
 

ข้อควรระวัง

  • เมื่อท่านได้ยื่น "ใบคำร้องแจ้งการสูญหายของหนังสือเดินทางทั่วไป" แล้ว หนังสือเดินทางเล่มที่สูญหาย ถูกขโมย หรือถูกเผาไหม้ของท่านจะถูกทำการยกเลิกการใช้งานทันที ฉะนั้นแม้ท่านจะพบหนังสือเดินทางของท่านหลังจากที่มายื่นขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ ก็ตาม ท่านไม่สามารถใช้หนังสือเดินทางเล่มเดิมได้อีก
 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นเรื่องออกเอกสารเดินทางชั่วคราวสำหรับเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น

1. ใบคำร้องขอออกเอกสารเดินทางชั่วคราวสำหรับเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น 1 ฉบับ

*ใบคำร้องต่างๆสามารถรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย แผนกกงสุล ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร หรือศูนย์หนังสือเดินทาง ณ แต่ละพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น (กรุณาใช้ใบคำร้องตัวจริง ไม่สามารถใช้สำเนาได้)  → ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอออกเอกสารเดินทางชั่วคราวสำหรับเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น

* กรุณาคลิ๊กที่นี่เพื่อดูตัวอย่างการกรอกใบคำร้อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัชสมัยของญี่ปุ่น
* ท่านสามารถดาวน์โหลดใบคำร้องได้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2559

 

2. ใบคำร้องแจ้งการสูญหายของหนังสือเดินทางทั่วไป : 1 ฉบับ

*ใบคำร้องต่างๆสามารถรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย แผนกกงสุล ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร หรือศูนย์หนังสือเดินทาง ณ แต่ละพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น (กรุณาใช้ใบคำร้องตัวจริง ไม่สามารถใช้สำเนาได้)  → ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องแจ้งการสูญหายของหนังสือเดินทางทั่วไป

หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น

 

3. รูปถ่าย : 2 รูป   (ขนาดกว้าง 3.5 ซ.ม. x ยาว 4.5 ซ.ม. : สามารถใช้ได้ทั้งรูปสี หรือ ขาวดำ)

*ต้องเป็นรูปถ่ายที่ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ณ วันที่มายื่นเรื่อง รูปถ่ายหน้าตรงตั้งแต่ระดับไหล่ขึ้นไป ไม่สวมหมวก พื้นหลังไม่มีลวดลาย

(กรุณาดูรายละเอียดได้ที่หนังสือเดินทาง A to Z「 เกี่ยวกับข้อบังคับของรูปถ่ายในการทำหนังสือเดินทาง」(PDF)

หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
)

 

4. เอกสารที่ยืนยันได้ว่าหนังสือเดินทางมีการสูญหาย ถูกขโมย ถูกเผาไหม้ : 1 ฉบับ

*กรุณาไปแจ้งความเพื่อนำใบแจ้งความการสูญหาย การถูกขโมย หรือการถูกเผาไหม้ของหนังสือเดินทางที่สถานีตำรวจในพื้นที่ หรือกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวแล้วนำมายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ

 

5. เอกสารราชการที่สามารถยืนยันการมีสัญชาติญี่ปุ่น : 1 ฉบับ

เช่น ทะเบียนครอบครัวฉบับเต็ม (หรือฉบับย่อ), ทะเบียนบ้านที่มีการลงบันทึกถิ่นที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น, ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นที่มีการลงบันทึกถิ่นที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น (สำหรับท่านที่ไม่สามารถเตรียมเอกสารได้ทันเวลา กรุณาปรึกษาเจ้าหน้าที่ประจำสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ ล่วงหน้า)

 

6. ตั๋วเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น หรือ เอกสารยืนยันการจองตั๋วเครื่องบิน

 

วันรับเอกสารเดินทางชั่วคราวสำหรับเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น

  • ทำการพิจารณาหลังจากได้สัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ เรียบร้อยแล้ว
 

เอกสารที่จำเป็นในการรับเอกสารเดินทางชั่วคราวสำหรับเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น

  1. ใบนัดรับเอกสารเดินทางชั่วคราวสำหรับเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น : ออกให้ ณ วันที่มายื่นเรื่องขอออกเอกสารเดินทางชั่วคราวสำหรับเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น
  2. ค่าธรรมเนียม : คลิ๊กที่นี้  * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลามายื่นเรื่องและรับเอกสารเดินทางชั่วคราวสำหรับเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น

  • ต้องมาด้วยตนเองเท่านั้นสำหรับการยื่นเรื่องและรับเอกสารเดินทางชั่วคราวสำหรับเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์
  • วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ
  

ข้อควรระวังในการยื่นเรื่องและการรับหนังสือเดินทาง

เกี่ยวกับการยื่นเรื่อง

  1. ใบคำร้องต่างๆสามารถรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย แผนกกงสุล ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร หรือศูนย์หนังสือเดินทาง ณ แต่ละพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น   (กรุณาใช้ใบคำร้องตัวจริง ไม่สามารถใช้สำเนาได้)
  2. ห้ามใช้ปากกาที่เป็นหมึกล่องหน หรือ หมึกที่สามารถลบได้ด้วยยางลบเขียนในใบคำร้อง ทั้งนี้เพราะเมื่อทำการอ่านข้อมูลด้วยเครื่องแล้วหมึกเหล่านี้จะจางหายไป
  3. ในการยื่นเรื่องสำหรับผู้ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์สามารถเลือกทำหนังสือเดินทางได้ทั้งแบบ 10 ปี หรือ 5 ปี สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์สามารถยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทางแบบ 5 ปีได้เท่านั้น
  4. การยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทางสำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์นั้น ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (ผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร) ฉะนั้นจำเป็นต้องมีการลงลายมือชื่อของผู้แทนโดยชอบธรรม (ผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร)ที่ด้านหลังของ “ใบคำร้องขอทำหนังสือเดินทางทั่วไป” กรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลและไม่สามารถลงลายมือชื่อในใบคำร้องขอทำหนังสือเดินทางทั่วไปได้นั้น จำเป็นต้องยื่น ใบยินยอมให้ดำเนินการยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทาง
    หนังสือยินยอมให้ ผู้เยาว์ เดินทางไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น
    ประกอบด้วย
  5. เพื่อความสะดวกในการเดินทาง (หรือการพำนักอาศัย) ของเจ้าของหนังสือเดินทาง กรณีที่จำเป็นต้องให้ทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ พิจารณาเป็นพิเศษในการใส่นามสกุลของคู่สมรสชาวต่างชาติ หรือใส่ชื่อต่างชาติอื่นของตนลงในหน้าหนังสือเดินทางเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสามารถทำได้เช่นกัน โดยใส่ชื่อและ/หรือนามสกุลอื่นในวงเล็บต่อท้ายจากชื่อ-สกุลของตนที่แสดงในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น แต่ทว่า การใส่ชื่อ-สกุลอื่นนี้เป็นไปเพื่อความสะดวกและเป็นกรณีเฉพาะเท่านั้น ข้อมูลบุคคลนี้จึงไม่สามารถบันทึกลงในหน้า IC CHIP ได้
 

เกี่ยวกับผู้มาแทน

(การยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทาง)

  1. การยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่, เปลี่ยนเล่มหนังสือเดินทาง, แก้ไขข้อมูลบุคคล, และเพิ่มหน้าหนังสือเดินทางนั้นสามารถให้ผู้อื่นที่มีสัญชาติญี่ปุ่นมายื่นแทนได้ (แต่ทว่า การยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดินทางอันเนื่องมาจากหนังสือเดินทางสูญหาย ถูกขโมย ถูกเผาไหม้หรือเสียหาย และการออกเอกสารเดินทางชั่วคราวกลับประเทศญี่ปุ่นนั้น เจ้าตัวต้องมายื่นด้วยตนเอง) สำหรับชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติในการรับหนังสือเดินทางแทนในกรณีเพิ่มหน้าหนังสือเดินทางและแก้ไขรายละเอียดในหนังสือเดินทางนั้น ต้องเป็นคู่สมรส หรือ ผู้แทนโดยชอบธรรม (ผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร) เท่านั้น