แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc

แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
Name Last modifiedSize Description
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
Parent Directory   -  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ชิ้นงาน เรื่อง การจำแนกประเภทสารในชีวิตประจำวัน.doc 2016-09-12 16:57 220K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ชิ้นงาน เรื่อง สมบัติของของแข็ง ของเหลว และแก๊ส.doc 2016-09-12 16:57 220K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
หน่วยที่ 4 สารในชีวิตประจำวัน.doc 2016-09-12 16:58 1.0M  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 1 ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส 1.doc 2016-01-28 04:24 539K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 2 ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส 2.doc 2016-01-28 04:26 1.0M  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 3 การเปลี่ยนสถานะของสาร.doc 2016-01-28 04:29 1.7M  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 4 การละลาย.doc 2016-02-10 04:32 1.1M  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 5 การเกิดสารใหม่.doc 2016-01-28 04:34 1.0M  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 6 สารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของเรา.doc 2016-02-10 04:33 539K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 7 การเลือกใช้สารในชีวิตประจำวัน.doc 2016-02-11 03:05 833K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 8 การแยกสารอย่างง่าย.doc 2016-02-10 04:36 1.0M  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 9 การกรองและการระเหยแห้ง.doc 2016-01-28 04:41 1.2M  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 10 การตกตะกอนและการระเหิดของสาร.doc 2016-01-28 04:43 1.0M  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 11 ผลจากการใช้สารรอบตัว.doc 2016-01-28 04:44 518K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 12 สารรอบตัวมีผลต่อชีวิตฯ 1.doc 2016-01-28 04:47 1.0M  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
แผนที่ 13 สารรอบตัวมีผลต่อชีวิตฯ 2.doc 2016-01-28 23:15 1.0M  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ใบงานที่ 18 หน่วยที่ 4 แผนที่ 1.doc 2016-09-12 16:57 1.1M  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ใบงานที่ 19 หน่วยที่ 4 แผนที่ 3.doc 2016-09-12 16:56 426K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ใบงานที่ 20 หน่วยที่ 4 แผนที่ 4.doc 2016-09-12 16:56 102K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ใบงานที่ 21 หน่วยที่ 4 แผนที่ 5.doc 2016-09-12 16:56 203K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ใบงานที่ 22 หน่วยที่ 4 แผนที่ 6.doc 2016-09-12 16:56 134K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ใบงานที่ 23 หน่วยที่ 4 แผนที่ 7.doc 2016-09-12 16:56 141K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ใบงานที่ 24 หน่วยที่ 4 แผนที่ 8.doc 2016-09-12 16:55 141K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ใบงานที่ 25 หน่วยที่ 4 แผนที่ 9.doc 2012-11-29 07:14 291K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ใบงานที่ 26 หน่วยที่ 4 แผนที่ 10.doc 2016-09-12 16:55 144K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ใบงานที่ 27 หน่วยที่ 4 แผนที่ 11.doc 2016-09-12 16:55 114K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ใบงานที่ 28 หน่วยที่ 4 แผนที่ 12.doc 2012-11-29 05:09 232K  
แผนการ สอน การแยกสาร ม. 2 doc
ใบงานที่ 29 หน่วยที่ 4 แผนที่ 13.doc 2016-09-12 16:55 116K  

                                                          แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1         รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่1/2554

หน่วยการเรียนรู้ที่  2 เรื่อง  สารและการจำแนก                                                                  เวลา   49   ชั่วโมง

เรื่อง การแยกสารเนื้อผสม                                                                                                  เวลา     3   ชั่วโมง

บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย                                         นางสาวศิริรัตน์  จำปาเพ็ง             ครูอัตราจ้าง

ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ                            วันที่ ...26-30....เดือน ....กรกฎาคม.....พ.ศ. ....2554...............            โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภูเขต1

 สาระสำคัญ

                การแยกสารเป็นวิธีการทำให้สารบริสุทธิ์  หรือการแยกสารที่ผสมกันให้ออกจากกัน  ทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสมบัติของสารแต่ละชนิด  เช่น  การกรอง  การสกัดด้วยตัวทำละลาย  การหยิบออก  การร่อน  การใช้อำนาจแม่เหล็ก  การกลั่น  การตกผลึกหรือวิธีโครมาโทกราฟีเป็นต้น

  

 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                สำรวจ ตรวจสอบ และอธิบายหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง  การกลั่น  การตกผลึก การสกัด  และโครมาโทกราฟี  และนำวิธีการแยกสาร ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

  

  จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง

ทดลองและสรุปวิธีการแยกองค์ประกอบในสารเนื้อผสมโดยอาศัยสมบัติทางกายภาพได้

 

   จุดประสงค์การเรียนรู้นำทาง

1.             ทดลองและบอกหลักการแยกสาร โดยการกรอง 

2.             บอกวิธีแยกสารเนื้อผสมที่มีองค์ประกอบซึ่งมีสมบัติเป็นสารแม่เหล็กได้

3.             ทดลองและสรุปผลการทดลองแยกสารเนื้อผสมที่มีองค์ประกอบซึ่งมีสมบัติระเหิดได้

 เนื้อหาสาระ

   การแยกสาร  หมายถึง  การทำให้สารบริสุทธิ์โดยการแยกสารที่ปนกันให้ออกจากกันมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสมบัติของสารที่เป็นองค์ประกอบ

    การแยกสารมีหลายวิธีดังนี้

1.             การกรอง

2.       การกลั่น

-                    การกลั่นธรรมดา

-                    การกลั่นลำดับส่วน

-                    การกลั่นโดยลดความดัน

-                    การกลั่นด้วยไอน้ำ

3.       การระเหิด

4.       การหยิบออก

5.       การร่อน

6.       การใช้อำนาจแม่เหล็ก

  กิจกรรมการเรียนการสอน

1.             ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  แนวปฏิบัติในการเรียน

การวัดผลประเมินผล/เกณฑ์การผ่าน  วิธีการซ่อมเสริมเมื่อไม่ผ่านเกณฑ์

2.             ทดสอบก่อนเรียน

3.             ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน  เกี่ยวกับสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม  โดยใช้

คำถามนำในประเด็นดังนี้

-                   สารเนื้อเดียว คืออะไร  

-                   สารเนื้อผสม  คืออะไร  

-                   นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าสารเนื้อผสมและสารเนื้อเดียวนั้นประกอบด้วยสารอะไรบ้าง  และจะแยกออกจากกันได้อย่างไร

4.             นักเรียนแบ่งกลุ่ม  ๆ ละ 4 – 5 คน  ศึกษาใบกิจกรรม เรื่อง การแยกสารเนื้อผสม แบ่งหน้าที่มอบหมายงานภายในกลุ่มวางแผนจัดเตรียมอุปกรณ์ปฏิบัติกิจกรรรมตามรายละเอียดในใบกิจกรรม  โดยครูคอยให้คำปรึกษาแนะนำ

                5. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อร่วมอภิปรายกับกลุ่มอื่น ๆครูและนักเรียนช่วยกันสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม

5.             นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง  การแยกสารเนื้อผสม 

6.             นักเรียนทำแบบฝึกหัดในใบงานเรื่อง  การแยกสารเนื้อผสม

7.             นักเรียนค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสืออ่านประกอบ  อินเตอร์เน็ต

8.             ทดสอบหลังเรียน

9.             ตรวจและแจ้งผลการทดสอบ  ซ่อมเสริมนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์

สื่อ/แหล่งเรียนรู้

1.             ใบกิจกรรม เรื่อง   การแยกสารเนื้อผสม  

2.             ใบความรู้ เรื่อง การแยกสารเนื้อผสม   

3.             ใบงาน  เรื่อง การแยกสารเนื้อผสม

4.             หนังสืออ่านเพิ่มเติม

5.             Power point

6.             Internet

การวัดผลประเมินผล

วิธีการวัด

เครื่องมือที่ใช้วัด

เกณฑ์การผ่าน

1.  สังเกตพฤติกรรม

2.  ตรวจผลการปฏิบัติงาน

3. ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

     ทางการเรียน

4. ตรวจผลงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรม

แบบบันทึกการตรวจ

ผลการปฏิบัติงาน

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน

แบบบันทึกการตรวจผลงานกลุ่ม

ผ่านเกณฑ์ร้อยละ  60

กิจกรรมเสนอแนะ

                  ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต  แล้วนำเสนอโดยจัดทำ   เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน

บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

               1 ผลการจัดการเรียนรู้

                               นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน  คิดเป็นร้อยละ...........

                        นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน  คิดเป็นร้อยละ.................

                                นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน  คิดเป็นร้อยละ.............

                         2  ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน 

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ....................

                    3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .....................                    

                    4 การปรับปรุงและพัฒนา

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .....................

ลงชื่อ ............................................ผู้สอน

                                                                                                                       (นางสาวศิริรัตน์  จำปาเพ็ง)

                                                                                                                    ครูอัตราจ้าง

ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ ...................................................

                                                                                                                              (นางทิพวดี  อัครฮาด)

                                                                                                  หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

                      …………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………

ลงชื่อ ......................................................

                                                                                                                              (นายสุชาติ  อาจศัตรู)

                                                                                                          รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

ใบกิจกรรม

                                                   เรื่อง  การแยกสารเนื้อผสม

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วัตถุประสงค์

                1. ทำกิจกรรมแยกสารเนื้อผสม

                2. อธิบายความหมายของคำว่า การกรอง  การระเหย  การระเหิดได้

                3. สรุปหลักการแยกองค์ประกอบในสารเนื้อผสมโดยใช้สมบัติทางกายภาพได้

วัสดุ  อุปกรณ์ สารเคมี      

                   รายการ

    จำนวน/กลุ่ม

1. กระดาษกรอง

1  แผ่น

2. ไม้ขีดไฟ

1  กลัก

3. ขาตั้งและที่จับหลอดทดลอง

1 ชุด

4. ที่ตั้งหลอดทดลอง

1  อัน

5. หลอดทดลองขนาดกลาง

2  หลอด

6. แท่งแก้วคนสาร

1  อัน

7. กรวยพลาสติก

1 อัน

8.ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม และตะแกรงลวด

1  ชุด

9. ช้อนเบอร์ 2

2  อัน

10. หลอดฉีดยา ขนาด 10 cm3

1  อัน

11. ถ้วยกระเบื้อง

2  ใบ

12. บีกเกอร์ขนาด  50 cm3

3  ใบ

13. โซเดียมคลอไรด์

8  g

14. ผงถ่าน

2.5 g

15. น้ำกลั่น

5  cm3

16. กระดาษสีขาว

3  แผ่น

17. แม่เหล็ก

1  แท่ง

18. ผงตะไบเหล็ก

2 g

19. ผงกำมะถัน

6 g

20. กระดาษแข็งขนาด 6 cm X 6 cm

1  แผ่น

21. การบูร

3  g

                                                  กิจกรรมกลุ่ม

1.             ศึกษาสารเนื้อผสมและลักษณะเนื้อสารแต่ละชนิดในสารเนื้อผสมทั้งสามชุด

-                   ชุดที่ 1  ผงถ่านกับโซเดียมคลอไรด์(เกลือแกง)

-                   ชุดที่ 2  ผงตะไบเหล็กกับผงกำมะถัน

-                   ชุดที่ 3  การบูรกับโซเดียมคลอไรด์(เกลือแกง)

2.             ร่วมกันคิดวางแผนถ้าจะแยกสารเนื้อผสมแต่ละชุด  จะแยกโดยวิธีใดได้บ้าง

3.             ลงมือปฏิบัติแยกสารเนื้อผสมแต่ละชุดตามที่คิดวางแผนไว้

4.             สังเกตเนื้อสารที่แยกได้  บันทึกผล

5.             ช่วยกันคิดตอบคำถามและสรุปวิธีการแยกสารเนื้อผสม

6.             นำเสนอผลการทำกิจกรรมของกลุ่ม

ตัวอย่างตารางบันทึกผลการทดลอง

ลักษณะสารตัวอย่าง

วิธีแยกสาร

ลักษณะสารที่แยกแล้ว

1.

2.

3.

จากการทำกิจกรรม  ร่วมกันคิดตอบคำถาม

1.             สารแต่ละชุดมีองค์ประกอบที่มีสมบัติแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2.             สารที่แยกได้จากสารตั้งต้นแต่ละชุดมีลักษณะเป็นอย่างไร

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

            สรุปผลการทำกิจกรรม

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

                                               ใบความรู้

                                    เรื่อง  การแยกสารเนื้อผสม

-----------------------------------------------------------------------------------------

                การแยกสาร  หมายถึง  การทำให้สารบริสุทธิ์ โดยการแยกสารที่ปนกันให้ออกจากกัน  มีหลายวิธี  ขึ้นอยู่กับสมบัติของสารที่เป็นองค์ประกอบ ดังนี้

                1. การกรอง  เป็นวิธีการแยกสารผสม  2  ชนิดออกจากกัน  โดยที่สารชนิดหนึ่งละลายได้ดีในตัวทำละลาย   ส่วนอีกชนิดหนึ่งไม่ละลายในตัวทำละลาย      และอาศัยหลักการที่ว่าสารที่มีขนาดใหญ่กว่าช่องว่างของตัวกรองจะไม่สามารถผ่านตัวกรองได้  ส่วนของเหลวที่มีขนาดเล็กกว่าช่องว่างของตัวกรองจะไหลผ่านตัวกรองได้  เช่น น้ำ + ทราย  จะแยกโดยการกรองผ่านกระดาษกรอง  เป็นต้น

                2. การระเหิด  เป็นการแยกสารเนื้อผสมออกจากกัน  โดยสารเนื้อผสมนั้นมีสารชนิดหนึ่งที่ระเหิดได้  และการระเหิด คือ   การที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ซหรือไอ  โดยไม่เปลี่ยนเป็นของเหลว  สารที่ระเหิดได้ เช่น การบูร  พิมเสน  ลูกเหม็น  เป็นต้น  ดังนั้น ถ้าจะแยกการบูรออกจากเกลือแกง  ต้องทำให้สารเนื้อผสมได้รับความร้อน  การบูรจะระเหิดไปเหลือแต่เกลือแกง เป็นต้น

3.             การหยิบออก  ใช้กับสารผสมที่เป็นของแข็งมีขนาดไม่เท่ากัน  มีขนาดใหญ่พอที่จะ

หยิบจับได้  เช่น  การใช้มือหยิบเศษหินออกจากทราย  อาจใช้แว่นขยายช่วยในการแยกก็ได้  เป็นต้น

4.             การร่อน  ใช้กับสารผสม  2  ชนิด  ที่มีขนาดเล็ก  ไม่สามารถใช้มือหยิบออกได้

เช่น ทราบปนอยู่กับก้อนกรวด  แต่มีขนาดโตกว่าเม็ดทราย  จะใช้การร่อนผ่านตะแกรง  เม็ดทรายที่เล็กกว่าจะผ่านรูตะแกรงลงไปได้  ส่วนกรวดผ่านไม่ได้  เป็นต้น

                5. การใช้อำนาจแม่เหล็ก  ใช้แยกสารผสม  2  ชนิด     ที่เป็นของแข็งทั้งคู่  เช่น


ผงตะไบเหล็กผสมอยู่กับผงกำมะถัน  ใช้แท่งแม่เหล็กดูดเอาผงตะไบเหล็กออกจากผงกำมะถัน  เพราะแม่เหล็กไม่ดูดกำมะถัน  แต่จะดูดผงตะไบเหล็ก  ต้องทำซ้ำหลาย ๆ  ครั้ง  เพื่อให้แน่ใจว่าผงตะไบเหล็กถูกแยกออกจากผงกำมะถันจนหมด

ใบงาน

เรื่อง การแยกสารเนื้อผสม

------------------------------------------------------------------------------------------

        คำชี้แจง 

        ตอนที่ 1  ให้นักเรียนจับคู่ระหว่างวิธีการแยกสารกับสารผสม โดยเขียนตัวอักษร

                  ไว้หน้าข้อที่ต้องการ

สารผสม

วิธีการแยก

……… 1. การบูรกับเกลือ

……… 2. ข้าวเปลือกกับข้าวสาร

……… 3. เม็ดทรายผสมผงตะไบเหล็ก

……….4. ตะกอนในน้ำ

……….5. ทรายปนกับก้อนกรวด

A  การหยิบออก

B  การใช้แม่เหล็ก

C  การกรอง

D การร่อน

E  การระเหิด

F  การละลาย

G โครมาโทกราฟี

ตอนที่ 2  ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

                1. การแยกสารเนื้อผสมชนิดที่มีสถานะต่างกันเช่น ของเหลวกับของแข็งควรแยกด้วยวิธีใด

……………………………………………………………………………………………………….

                2. ความหมายของการระเหิด คืออะไร……………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………….

3. สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก  เมื่อต้องการแยกสารออกจากกันคืออะไร……………


………………………………………………………………………………………………………

แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน

-------------------------------------------------------------------

           คำสั่ง  จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด  แล้วทำเครื่องหมาย /  ทับตัวอักษร ก      หรือ    ลงใน

    กระดาษคำตอบให้ตรงกับข้อที่นักเรียนเลือก

         ข้อ1. สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก  เมื่อต้องการแยกสารออกจากกันคือข้อใด

ก.      จุดเดือด หรือจุดเยือกแข็ง

ข.      ความสามารถในการละลายของสาร

ค.      สารเนื้อเดียวหรือสารเนื้อผสม

ง.       สมบัติที่แตกต่างกันมากที่สุด

         ข้อ2. วิธีการในข้อใดใช้แยกสารเนื้อผสม

ก.      การกรอง

ข.      การตกผลึก

ค.      โครมาโทกราฟี

ง.       การกลั่น

          ข้อ3. เมื่อมีของผสมระหว่างผงตะไบเหล็ก  และผงกำมะถัน จะแยกออกจากกันโดยวิธีใด

ก.      ละลายน้ำ  แล้วกรอง

ข.      ละลายน้ำ  แล้วต้ม

ค.      ใช้แม่เหล็ก

ง.       การเขี่ยหรือหยิบออก

           ข้อ4. การแยกลูกเหม็นกับผงถ่านออกจากกัน ควรใช้วิธีใด

ก.      การระเหิด

ข.      การตกตะกอน

ค.      การหลอมเหลว

ง.       ใช้ตัวทำละลาย

         ข้อ5. ถ้ามีผงถ่านปนอยู่ในน้ำตาล  นักเรียนจะแยกสารทั้งสองออกจากกันด้วยวิธีใด

ก.      ละลายน้ำ แล้วกลั่น

ข.      ละลายน้ำ  กรองและระเหยแห้ง

ค.      ใช้ตะแกรงร่อน

ง.       ละลายน้ำแล้วโครมาโทกราฟี