แหล่งการเรียน รู้ที่ใช้ สํา ห รับการศึกษาค้นคว้า

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ ชาว ScholarShip.in.th พบกับช่วงสาระน่ารู้กันอีกแล้วนะคะ วันนี้ขอนำเสนอวิธีน่าสนใจที่เราใช้หาความรู้ได้จริง!!!

ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไกลไปมากเลยนะคะ โดยเฉพาะด้านการศึกษา เพื่อนๆสามารถเรียนรู้และศึกษาหาข้อมูลได้ด้วยตัวเองทางอินเทอร์เน็ต ทำให้สะดวกสบายไปอีกขั้น

หลายๆคนมีแนวทางการหาความรู้แตกต่างกันไป แต่บางคนยังไม่รู้ วันนี้เรามีวิธีและเว็บไซต์ของต่างประเทศที่ให้ความรู้แบบฟรีๆมาแนะนำค่ะ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อหลายๆคน

แหล่งการเรียน รู้ที่ใช้ สํา ห รับการศึกษาค้นคว้า

1. YouTube
เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนต้องรู้จักสินะคะ มีคลิปสอนวิชาต่างๆมากมาย เป็นประโยชน์ต่อคนที่เรียนนอกระบบอย่างมากเลยล่ะ เพื่อนๆที่อยากเรียนรู้ก็เข้าไปดูได้นะ

แหล่งการเรียน รู้ที่ใช้ สํา ห รับการศึกษาค้นคว้า
2. Code Academy
เป็นเว็บไซต์ที่สำคัญและเหมาะมากในตลาดการหางาน ใครที่อยากเพิ่มพูนทักษะต่างๆลองเข้าไปดูได้นะ
แหล่งการเรียน รู้ที่ใช้ สํา ห รับการศึกษาค้นคว้า
3. Khan Academy
เป็นเว็บที่มียอดวิวมากกว่า 300 ล้านวิวเลยนะ เหมาะสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้เข้าไปศึกษา มีหลากหลายวิชาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ค่ะ

แหล่งการเรียน รู้ที่ใช้ สํา ห รับการศึกษาค้นคว้า
4. Ivy League
เป็นสถาบันที่ได้รับการยอรับในคุณภาพมานานมาก และปัจจุบันก็มีเว็บไซต์ให้ทุกคนได้เข้าไปศึกษาหลักสูตรออนไลน์และคอร์สบางส่วนด้วยตัวเองที่บ้านได้อีกด้วย

แหล่งการเรียน รู้ที่ใช้ สํา ห รับการศึกษาค้นคว้า
5. Udemy
เป็นเว็บไซต์สอนด้านเทคโนโลยี เช่น การใช้โปรแกรมต่างๆ

แหล่งการเรียน รู้ที่ใช้ สํา ห รับการศึกษาค้นคว้า
6. TED Talks
TED เป็นเว็บไซต์ที่โด่งดังมากไปทั่วโลก มีการรวบรวมคลิปสอนเทคนิคต่างๆของคนดังทั่วโลกไว้ วิธีใช้คล้ายๆกับ YouTube เลยค่ะ

แหล่งการเรียน รู้ที่ใช้ สํา ห รับการศึกษาค้นคว้า
7. Approach the Source
เป็นอีกวิธีที่ดีสำหรับคนที่เรียนนอกระบบ คือการขวนขวายและเข้าใกล้กับแหล่งงานจริง เช่น การเข้าไปขอเทคนิค คำแนะนำ รวมถึงคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เราอยากรู้จากผู้เชี่ยวชาญ

แหล่งการเรียน รู้ที่ใช้ สํา ห รับการศึกษาค้นคว้า
8. Learn Through Entertainment
คือการเรียนรู้ผ่านช่องบันเทิงต่างๆ เช่น เราสามารถเรียนทักษะภาษาผ่านการดูหนัง หรือฟังเพลงได้

แหล่งการเรียน รู้ที่ใช้ สํา ห รับการศึกษาค้นคว้า
9. Read On
การอ่านเป็นอีกวิธีที่ดีในการเรียนรู้ ถ้าเราอยากอ่านอะไรก็ตามแต่ เราสามารถเสิร์ชหาในอินเทอร์เน็ตได้

แหล่งการเรียน รู้ที่ใช้ สํา ห รับการศึกษาค้นคว้า
10. Apply Your Skills
คือการนำทักษะที่เรามีอยู่แล้ว ไปใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ จะยิ่งทำให้เราได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

จริงๆแล้วมีอีกหลากหลายวิธีที่เราสามารถหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ได้มากที่สุด และทั้ง 10 วิธีที่เรานำมาแนะนำนี้ ถือว่าเป็นวิธีที่ดีมากๆแก่เพื่อนๆทุกคนเลยนะคะ

ที่มา: lifehack

ร่วมแสดงความคิดเห็นกันจ้า...

Skip to content

5.1 ความหมายแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

5.2 แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ
1. แหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
2. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4. แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
5. แหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์

5.3 ความหมายเครือข่ายการเรียนรู้
เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

5.4 ความหมาย เครือข่ายการเรียนรู้ส่วนบุคคล 
PLN (Personal Learning Network) เครือข่ายการเรียนรู้ส่วนบุคคล
การเรียนรู้ส่วนบุคคลเป็นหนึ่งในรากฐานของสถาบันการศึกษาและการเปลี่ยนแปลงองค์กรที่ประสบความสำเร็จ เครือข่ายการเรียนรู้ส่วนบุคคล (PLN) ไม่เพียงแต่สนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพของตัวเอง แต่ยังสามารถเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการกระจายนวัตกรรมภายในสถาบันการศึกษาของพวกเขา เรียนรู้ที่จะเชื่อมต่อกับชุมชนของมืออาชีพใจเหมือนให้มีส่วนร่วมมีการสนทนาและทำให้การร้องขอในช่วงเวลาของความจำเป็น เครื่องมือฟรีที่มีประสิทธิภาพและสื่อสังคมเช่น Google +, Twitter, และ Facebook ให้เป็นไปได้สำหรับคุณและเพื่อนร่วมงานของคุณ
หากมองในองค์รวมแล้วนั้นเครือข่ายการเรียนรู้ส่วนบุคคล ก็คือการนำเอาเนื้อหา สาระ ข้อมูล จากส่วนต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เราใช้กันอยู่ทุกวันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในระบบการศึกษา ซึ่งมีทั้ง สื่อสังคมออนไลน์ (Social Network และ Social Media) เครื่องมือค้นคว้าข้อมูล (Search Engines) บันทึกส่วนตัว (Blog) หรือแม้กระทั่งสังคมการเรียนรู้ (Community Learning)

แหล่งการเรียน รู้ที่ใช้ สํา ห รับการศึกษาค้นคว้า

5.5 ประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
ประเภทของแหล่งเรียนรู้
ประเภทของแหล่งเรียนรู้สามารถแบ่งได้หลากหลาย ตามลักษณะการแบ่งของแต่ละบุคคล ซึ่งมีรายละเอียดของผู้ให้ความหมายของประเภทแหล่งเรียนรู้ดังต่อไปนี้ สานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2546 : 8-9) ได้จาแนกประเภทของแหล่งการเรียนรู้ไว้ 2 แบบ
1. จัดตามลักษณะของแหล่งการเรียนรู้
1.1 แหล่งการเรียนรู้ตามธรรมชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะหาความรู้ได้จากสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น แม่น้า ภูเขา ป่าไม้ ลาธาร กรวด หิน ทราย ชายทะเล เป็นต้น
1.2 แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนเทคโนโลยีทางการศึกษาที่อานวยความสะดวกแก่มนุษย์เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดประชาชน สถาบันการศึกษา สวนสาธารณะ ตลาด บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย สถานประกอบการ เป็นต้น
1.3 บุคคล เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดความรู้ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม การสืบสานวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งด้านประกอบอาชีพ ตลอดจนนักคิด นักประดิษฐ์ และผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

  1. จัดตามแหล่งที่ตั้งของแหล่งการเรียนรู้
    2.1 แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนเดิมมีแหล่งการเรียนรู้หลัก คือ ครู อาจารย์ ต่อมามีการพัฒนาเป็นห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องจริยธรรม ห้องศิลปะ ตลอดจนอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เช่น ห้องอาหาร สนาม ห้องน้า สวนดอกไม้ สวนสมุนไพร แหล่งน้าในโรงเรียน เป็นต้น
    2.2 แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นครอบคลุมทั้งด้านสถานที่และบุคคลซึ่งอาจอยู่ในท้องถิ่นใกล้เคียงโรงเรียน ท้องถิ่นที่โรงเรียนพาผู้เรียนไปเรียนรู้ เช่น แม่น้า ภูเขา ชายทะเล สวนสาธารณะ สวนสัตว์ ทุ่งนา สวนผัก สวนผลไม้ วัด ตลาด ร้านอาหาร ห้องสมุดประชาชน สถานีตำรวจ สถานีอนามัย ดนตรีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นเมือง แหล่งทอผ้า เทคโนโลยีชาวบ้าน เทคโนโลยีในชีวิตประจาวัน แหล่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ

ประเภท เครือข่ายการเรียนรู้
1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะภายใต้โครงสร้างของเครือข่ายการเรียนรู้
1.1 เครือข่ายการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเอกัตบุคคลเป็นหลัก มีลักษณะของการประสานสัมพันธ์การดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายการให้บริการทางการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ไปยังผู้ที่ต้องการ อย่างกว้างขวาง และสนองตอบปัญหาความต้องการของแต่ละบุคคล ตลอดจนจิตใต้สำนึกในการมีส่วนร่วมพัฒนา
1.2 เครือข่ายการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นชุมชนเป็นหลัก เป็นการกระตุ้นให้สมาชิกใช้ศักยภาพของตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการพึ่งพาตนเอง บนพื้นฐานของการเข้าใจสภาพปัญหา เงื่อนไข ข้อจำกัด และความต้องการของตน
2. แบ่งตามโครงสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ซึ่งพิจารณาถึงโครงสร้างเครือข่ายการเรียนรู้อาศัยความร่วมมือระหว่างบุคคล องค์กร และเทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
2.1 เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างกระจายศูนย์ มีศูนย์กลางทำหน้าที่ประสานงาน แต่ภารกิจในการเรียนการสอนจะกระจายความรับผิดชอบให้สมาชิกเครือข่ายซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์เท่าเทียมกัน รูปแบบนี้อาจเรียกว่าการกระจายความรับผิดชอบ (Distributed Network) ซึ่งพบได้ในเครือข่ายการพัฒนาชนบท และการเรียนรู้จากแหล่งวิทยาการชุมชน โดยอาศัยสื่อบุคคลเป็นหลัก
2.2 เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างรวมศูนย์ มีองค์กรกลางเป็นทั้งศูนย์ประสานงาน และเป็นแม่ข่ายรวบรวมอำนาจการจัดการความรู้ไว้ในศูนย์กลาง การลงทุนด้านเทคโนโลยีและกำลังคนอยู่ที่แม่ข่าย ส่วนลูกข่ายหรือสมาชิกเป็นเพียงผู้ร่วมใช้บริการจากศูนย์กลาง
2.3 เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างลำดับขั้น (Hierarchical Network) มีลักษณะเช่นเดียวกับแผนภูมิองค์กร การติดต่อสื่อสารข้อมูลต้องผ่านตามลำดับขั้นตอนมาก นิยมใช้การบริหาร จัดการองค์กรต่างๆ ซึ่งเหมาะแก่การควบคุม ดูแลระบบงาน
2.4 เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างแบบผสม คือมีทั้งแบบรวมศูนย์และกระจายศูนย์ ซึ่งพบมากในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน เนื่องจากการเรียนรู้มิได้อาศัยสื่อใดสื่อหนึ่งเป็นหลัก หากแต่มีการผสมผสานสื่อบุคคล และเทคโนโลยีจึงจำเป็นต้องจัดระบบเครือข่ายแบบผสม เพื่อสนองความต้องการได้อย่างกว้างขวางและตรง
3. แบ่งตามหน่วยสังคม ได้แบ่งการเครือข่ายการเรียนรู้ออกเป็น 4 ระดับ คือ เครือข่ายการเรียนรู้ระดับบุคคล เครือข่ายการเรียนรู้ระดับกลุ่ม เครือข่ายการเรียนรู้ระดับชุมชน และเครือข่ายการเรียนรู้ระดับสถาบัน
4. แบ่งตามระดับการปกครองและลักษณะของงาน ซึ่ง ประเวศ วะสี (2538) ได้แบ่งประเภทของเครือข่ายการเรียนรู้ออกเป็น 13 ประเภท คือ เครือข่ายชุมชนเครือข่ายนักพัฒนา เครือข่ายระดับจังหวัด เครือข่ายภาครัฐ เครือข่ายวิชาชีพ เครือข่ายธุรกิจ เครือข่ายสื่อสารมวลชน เครือข่ายนักฝึกอบรม เครือข่ายการประมวลและสังเคราะห์องค์ความรู้ระดับชาติ เครือข่ายภาคสาธารณะ เครือข่ายวิชาการ เครือข่ายนโยบายองค์กรของรัฐ และเครือข่ายผู้ทรงคุณวุฒิ

5.6 ตัวอย่างเครือข่ายการเรียนรู้
1. เครือข่ายไทยสาร เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ระดับมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันกว่า 50 สถาบัน เริ่มจัดสร้างในปีพ.ศ.2535
2. เครือข่ายยูนิเน็ต (UNINET) เป็นเครือข่ายเพื่อการเรียนการสอนที่สำคัญในยุคโลกาภิวัฒน์ จัดทำโดยทบวง มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2540
3. สคูลเน็ต (SchoolNet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ได้รับการดูแลและสนับสนุนโดยศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เครือข่ายนี้เชื่อมโยงโรงเรียนในประเทศไทยไว้กว่า 100 แห่ง และเปิดโอกาสให้โรงเรียนอื่น ๆ และบุคคลที่สนใจเรียกเข้าเครือข่ายได้
4. เครือข่ายนนทรี เป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับเป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์แบบและใช้เทคโนโลยีชั้นสูง สามารถตอบสนองความต้องการใช้ของนิสิต อาจารย์ ข้าราชการ ตลอดจนการรองรับทางด้านทรัพยากรเซอร์เวอร์อย่างพอเพียง
5. เครือข่ายกระจายเสียงวิทยุ อสมท. จะรวมผังรายการวิทยุในเครือข่าย อสมท. มีไฟล์เสียงรับฟังทางอินเทอร์เน็ตได้.
6. เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง เป็นเครือข่ายที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นต่าง ๆ ทางการเมือง และบทวิเคราะห์ด้านการเมือง
7. ThaiSafeNet.Org เป็นเครือข่ายผู้ปกครองออนไลน์ มีพันธกิจด้านการเชื่อมโยงครู ผู้ปกครอง นักการศึกษา … โครงการพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองออนไลน์ พันธกิจ : ฝึกอบรมครู ผู้ปกครอง
8. เครือข่ายพุทธิกา รวมตัวอย่างหนังสือเครือข่ายพุทธิกาเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม

5.7 ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้

ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้มีความความสาคัญกับผู้เรียน ซึ่งได้รับความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งมีผู้ให้ความหมายเกี่ยวกับความสาคัญของแหล่งเรียนรู้ดังต่อไปนี้ กิ่งแก้ว อารีรักษ์ (2548 : 118) ให้ความสาคัญของการศึกษาโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ไว้ดังนี้

  1. กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อที่หลากหลาย
    2. ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ลึกซึ้งขึ้น โดยใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลสะท้อนความคิดเห็นจากแหล่งการเรียนรู้
    3. กระตุ้นมุ่งเน้นลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งผลักดันให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น สามารถสร้างผลผลิตในการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสูงขึ้น
    4. เสริมสร้างการเรียนรู้ จนเกิดทักษะการแสวงหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการสร้างความตระหนักเชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธรรมชาติและความแตกต่างของข้อมูล
    5. แหล่งการเรียนรู้เสริมสร้างการพัฒนาการคิด เช่น การแก้ปัญหา การให้เหตุผล และการประเมินอย่างมีวิจารญาณ โดยอาศัยกระบวนการวิจัยอิสระ 6. เปลี่ยนเจตคติของครูและผู้เรียนที่มีต่อเนื้อหารายวิชา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    7. พัฒนาทักษะการวิจัยและความเชื่อมั่นในตนเองในการค้นหาข้อมูล
    8. เพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาการ ในด้านเนื้อหา เจตคติ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยอาศัยแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายในการเรียนรู้

Post navigation