กฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร

1. ความหมายของกฎหมาย

กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ
รัฐาธิปัตย์

คือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง)
โทษ

สำหรับโทษจะมีโทษทางอาญา กับโทษทางแพ่ง โทษทางอาญามี 5 ขั้น(สถาน) ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน สำหรับโทษทางแพ่ง ก็คือการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเรียกว่า “ค่าสินไหมทดแทน” ซึ่งมีหลายลักษณะจะได้กล่าวในลำดับต่อไป

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอย่างไรบ้าง 

กฎหมาย มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
1. ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฐาธิปัตย์) สำหรับประเทศไทย องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ได้แก่
– รัฐสภา ถือเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง ในการบัญญัติกฎหมายออกมาบังคับใช้ กฎหมายที่รัฐสภาบัญญัติได้แก่ พระราชบัญญัติ
– รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี บางครั้งในยามบ้านเมืองมีความจำเป็นรีบด่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศให้ฉับไว ถ้าหากรอให้รัฐสภาบัญญัติเป็นพระราชบัญญัติก็จะไม่ทันการณ์ อาจนำความเสียหายมาสู่บ้านเมืองได้ กฎหมายสูงสุด(รัฐธรรมนูญ) จึงให้อำนาจฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐบาลสามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับในยามฉุกเฉิน เราเรียกกฎหมายนี้ว่า “พระราชกำหนด” ในขณะใช้บังคับพระราชกำหนดนั้น ๆ ให้รีบนำพระราชกำหนดนั้นเสนอรัฐสภา หากรัฐสภาเห็นชอบด้วย พระราชกำหนดนั้น ก็จะเป็นพระราชบัญญัติ ใช้บังคับได้ต่อไป แต่หากรัฐสภาไม่เห็นชอบด้วย พระราชกำหนดนั้น ๆ ก็เป็นอันตกไป คือให้เลิกใช้บังคับต่อไป

นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถออกกฎหมายในลำดับชั้นรอง ๆ ลงไป ได้โดยที่ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายชั้นรองดังกล่าวนั้นก็คือ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง กฎหมายทั้งสองชนิดนี้ พระราชกฤษฎีกาจะมีฐานะหรือศักดิ์สูงกว่ากฎกระทรวง ทั้งนี้เพราะมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา ส่วนกฎกระทรวง ผู้ลงนามประกาศใช้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

สรุปว่า กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล มี 3 ชนิด คือพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง
– องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับภายในเขตพื้นที่ของตน ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายแม่บท หรือกฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่า กฎหมายส่วนท้องถิ่น มี 5 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

1. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ เทศบาลหนึ่งๆ ที่บัญญัติขึ้นมา เพื่อบังคับใช้กับประชาชนในพื้นที่เทศบาลของตนเอง

2. ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งๆ บัญญัติขึ้นมาเพื่อบังคับใช้กับประชาชนในเขตพื้นที่ของตน

3. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งๆ บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ

4. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานคร บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร

5. ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่เมืองพัทยา บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่ของเมืองพัทยา อ. บางละมุง จ. ชลบุรี

2. ต้องเป็นข้อบังคับ ใช้บังคับพลเมือง (บังคับสมาชิกของสังคมนั้นๆ)
3. ต้องบังคับทั่วไป คือบังคับกับคนทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักร คำว่าราชอาณาจักร
4. ต้องมีโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม 

2. ความสำคัญของกฎหมาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
          2.1 สร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม
2.2 แก้ไขข้อขัดแย้ง ในสังคม

จากเหตุผลดังกล่าว กฎหมายจึงถือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสังคมให้อยู่รอด ดังคำกล่าวที่ว่า “มีสังคมที่ไหน มีกฎหมายที่นั่น”

3. ที่มาของกฎหมาย หรือมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมาย 

การที่มนุษย์มารวมกลุ่มกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ในสังคมกลุ่มนั้นๆ ย่อมจะต้องมีปัญหาขัดแย้งกันขึ้นในบางเรื่อง หรือหลายเรื่อง สังคมจึงต้องกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้กลุ่มคนในสังคมยึดถือปฏิบัติในแนวเดียวกัน ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลใดในสังคมไม่ประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมนั้นๆ บุคคลนั้นย่อมจะถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ของสังคม กฎเกณฑ์ของสังคมจึงเป็นกฎหมายที่สังคมตั้งขึ้นเพื่อใช้บังคับกับบุคคลในสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งไม่เหมือนกันถ้าเราได้ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของกฎหมายก็จะพบมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายหลายประการอาทิ เช่น
3.1 ผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมของรัฐหรือประเทศ

เป็นผู้ออกกฎ คำสั่งหรือข้อบังคับขึ้นมาใช้กับประชาชนในสังคม หรือในรัฐของตน จนกลายเป็นกฎหมายขึ้นมา แม้บางครั้งบางสังคมผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมนั้น จะมิได้ออกกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับขึ้นมาใช้โดยตรงก็ตาม แต่จากบทบาทอำนาจหน้าที่ของผู้นำทางสังคมที่มี่ส่วนผลักดันให้เกิดมีคำสั่งขึ้นมาใช้บังคับกับประชาชนในปกครอง อย่างนี้ก็ถือว่าผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมนั้นเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายได้เช่นกัน
3.2 ขนบธรรมเนียมประเพณี

ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาควบคุมคู่กับสังคม ก็เป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดชนิดของกฎหมายที่เรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณีขึ้น เพราะถ้าธรรมเนียมประเพณีใดที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับยึดถือปฏิบัติกันมา ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดขัดขืน ไม่ประพฤติปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีจะถูกสังคมนั้นลงโทษในรูปแบบต่างๆ เช่น การฆ่า หรือทรมาน หรือกำจัดไปจากสังคมโดยการขับไล่ไสส่ง เป็นต้น
3.3 ความเชื่อในเทพเจ้า วิญญาณบรรพบุรุษ หรือคำสั่งสอนของศาสดาของศาสนาต่างๆ

ก็เป็นมูลเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดมีกฎหมายขึ้นมา ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้นำสังคมในสมัยโบราณหรือในสมัยประวัติศาสตร์มีการออกคำสั่งหรือกฎเกณฑ์ โดยอ้างว่าเป็นคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า การอ้างเอาสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธามาใช้เป็นเครื่องมือ ก็ย่อมได้รับการเชื่อฟังและปฏิบัติตามจากประชาชนด้วยดี ดังจะเห็นได้ว่าในยุโรปสมัยกลาง สันตะปาปา หรือผู้นำของศาสนาจึงมักแอบอ้างว่าคำสั่งนั้นเป็นเทวบัญชา หรือคำบัญชาของพระเจ้าเสมอ
3.4 ความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมทางสังคม

เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดกฎหมายขึ้นมาเพราะทุกครั้งเมื่อสังคมวุ่นวาย คนในสังคมไม่รับความยุติธรรม ย่อมจะต้องมีการตัดสินคดีความต่างๆ และเพื่อให้เกิดความยุติธรรมยิ่งขึ้น ผู้มีอำนาจในการตัดสินที่มีใจเป็นธรรมย่อมจะต้องนึกถึงความยุติธรรมที่บุคคลในสังคมจะพึงได้รับก่อนเสมอ ซึ่งในเรื่องของความยุติธรรมนั้น ถ้าพบว่ากฎหมายในตอนใดเรื่องใดยังบกพร่อง ผู้มีอำนาจในการตัดสินความนั้นย่อมใช้ดุลยพินิจปรับให้ถูกต้องตามแบบแผนของกฎหมาย หรือกฎธรรมชาติให้มากที่สุด การปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรมดังกล่าวนี้ย่อมเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาใช้ในสังคมได้เสมอ
3.5 ความคิดเห็นของนักปราชญ์หรือนักวิชาการทางกฎหมาย

เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดกฎหมายขึ้นมาได้เช่นกัน เพราะกฎหมายที่ออกมาแม้จะละเอียดถี่ถ้วนสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจจะใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสถานที่ในทุกแห่งได้ ประกอบกับกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคแต่ละสมัย และผู้มีอำนาจก็ยึดนโยบายและแนวปฏิบัติแตกต่างกันไป ทำให้กฎหมายมีช่องว่างจนเป็นเหตุให้นักวิชาการทางกฎหมายได้เขียนบทความชี้แนะช่องโหว่ หรือข้อบกพร่องของกฎหมายนั้น จนมีผลทำให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์และกาลเวลาที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าแนวความคิดเห็นต่างๆ ของนักวิชาการทางกฎหมายก็มีส่วนทำให้เกิดกฎหมายใหม่ที่ดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น

3.6 คำพิพากษาของศาลในบางประเทศ

เช่น อังกฤษ ถือว่าคำพิจารณาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย เพราะศาลอังกฤษใช้กฎหมายจารีตประเพณีเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดี โดยถือเอาผลของการตัดสินใจที่แล้วมาในคดีชนิดเดียวกันเป็นหลักในการตัดสินใจ แม้จะต่างวาระต่างคู่กรณีกันก็ตาม โทษของคดีที่เกิดขึ้นภายหลังย่อมได้รับเท่ากันกับคดีที่เกิดขึ้นก่อน แม้ว่าต่อมาเมื่อตรากฎหมายขึ้นก็ได้ยึดเอาคำพิพากษาของศาลที่ได้พิจารณาไว้แล้วเป็นเป็นหลักกฎหมายสืบต่อมา

สำหรับประเทศไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร มิได้ยึดถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย แต่จะยึดเอาคำพิพากษาของศาลเป็นเพียงส่วนประกอบ หรือมูลเหตุที่ทำให้เกิดที่มาของกฎหมายเท่านั้น

ที่มาของกฎหมายพอสรุปได้ ดังนี้
                   1. มาจาก ผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมของรัฐหรือประเทศ
2. มาจากจารีตประเพณี
3. มาจากความเชื่อในเทพเจ้า วิญญาณบรรพบุรุษ หรือคำสั่งสอนของศาสดาของศาสนาต่างๆ
4. มาจากความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมทางสังคม
5. มาจากความคิดเห็นของนักปราชญ์หรือนักวิชาการทางกฎหมาย
6. มาจากคำพิพากษาของศาล

4. ประเภทของกฎหมาย

กฎหมายที่บังคับใช้ในบ้านเรามีอยู่หลายประเภท โดยแต่ละประเภทมีฐานะการบังคับใช้ที่แตกต่างกัน ในการปกครองของไทยจะมีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการบังคับใช้ ที่ว่าเป็นกฎหมายสูงสุดก็เพราะว่าจะไม่สามารถออกกฎหมายใดที่จะออกมาขัดหรือแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ หากมีกฎหมายใดๆ ก็ตามที่ออกมาโดยมีข้อความที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแล้ว กฎหมายฉบับนั้นจะใช้บังคับไม่ได้เลย ในตัวของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นจะเป็นการบัญญัติไว้ในเรื่องต่างที่มีลักษณะกว้างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน รูปแบบของการปกครองเช่นกำหนดให้มีคณะรัฐบาลเป็นผู้บริหารประเทศ กำหนดให้มีสมาชิก 2 ประเภทคือสมาชิกวุฒิสภากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นต้น แต่ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องใดนั้น รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้ออกเป็นกฎหมายอื่นเฉพาะเรื่อง เช่น กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายเลือกตั้ง เป็นต้น

ประเภทของกฎหมาย

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ

2. พระราชบัญญัติ

3. พระราชกำหนด

4. พระราชกฤษฎีกา

5. กฎกระทรวง

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ 

เป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศ ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีการพิจารณากัน 3 วาระ สำหรับการยกเลิกหรือจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ในตัวรัฐธรรมนูญเองจะกำหนดวิธีการยกเลิก หรือแก้ไขที่ยากกว่าการออกพระราชบัญญัติ ทั้งนี้เนื่องจากไม่ต้องการให้มีการแก้ไขบ่อยนัก การแก้ไขหรือการที่จะออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นจึงต้องเป็นเรื่องที่จำเป็นจริง

2. พระราชบัญญัติ 

เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีการพิจารณากัน 3 วาระเช่นเดียวกัน การยกเลิกหรือแก้ไขสามารถกระทำได้ง่ายกว่ารัฐธรรมนูญ

3. พระราชกำหนด 

มีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ แต่การออกพระราชกำหนดจะมีวิธีที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติคือ พระราชกำหนดจะออกโดยคณะรัฐมนตรี การที่จะออกพระราชกำหนดได้จะต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะเท่านั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วก็สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เลย ซึ่งจะต่างกับพระราชบัญญัติตรงที่พระราชบัญญัติกว่าจะออกมาบังคับใช้ได้ก็ต้องใช้เวลานาน ต้องผ่านการพิจารณาถึง 3 วาระ แต่พระราชกำหนดเพียงแค่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็สามารถใช้บังคับได้แล้ว เพียงแต่ว่าพระราชกำหนดนั้น เมื่อออกมาแล้วหากอยู่ในสมัยประชุมของสภา คณะรัฐมนตรีก็จะต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาเพื่อขอความเห็นชอบทันที แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสมัยประชุมของสภา คณะรัฐมนตรีก็จะต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาเพื่อให้สภาเห็นชอบทันทีที่เปิดสมัยประชุม และเมื่อนำเข้าสู่สภาแล้ว หากสภาให้ความเห็นชอบ พระราชกำหนดนั้นก็ใช้บังคับได้ต่อไปเหมือนกับพระราชบัญญัติ แต่หากสภาไม่ให้ความเห็นชอบ  พระราชกำหนดนั้นก็จะตกไปไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป แต่จะไม่กระทบ กระเทือนสิ่งที่ได้ทำไปแล้วตามที่พระราชกำหนดนั้นบัญญัติไว้

4. พระราชกฤษฎีกา 

เป็นกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีฐานะการบังคับใช้ที่ต่ำกว่าพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด การออกพระราชกฤษฎีกาจะต้องมีกฎหมายประเภทพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาไม่สามารถออกได้เองโดยลำพัง ผู้ที่ออกพระราชกฤษฎีกาคือคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็สามารถใช้บังคับได้เลย ไม่ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาเพื่อขอความเห็นชอบอีก

5. กฎกระทรวง 

มีฐานะที่รองลงมาจากพระราชกฤษฎีกาอีกทีหนึ่ง ผู้ที่ออกกฎกระทรวงก็คือรัฐมนตรีผู้ที่ดูแลกระทรวงนั้น การออกจะต้องออกโดยมีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดให้อำนาจไว้ เมื่อออกแล้วสามารถใช้บังคับได้ทันทีสำหรับ ประกาศคณะปฏิวัติ นั้น จะมีฐานะเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่การออกจะออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งกุมอำนาจในขณะนั้น และจะมีผลใช้บังคับได้อยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิก การยกเลิกนั้นจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติยกเลิก

กฎหมายฉบับใดที่ออกโดยฝ่ายบริหารท้องถิ่น

กฎหมายที่องค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่น มีอ านาจออก เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล รัฐธรรมนูญ กฎหมายแม่บท ซึ่งมีศักดิ์สูงสุด กฎหมายที่ให้อ านาจฝ่าย นิติบัญญัติ หรือฝ่าย บริหารเป็นผู้ออก รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ/ พระราชก าหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ Page 3 ส.32102 : Satit UP 3 ** หมายเหตุ ***

อํานาจในการออกกฎหมายคือใคร

พระราชบัญญัติ (มีตัวย่อว่า "พ.ร.บ.") เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีรัฐสภาเป็นฝ่ายที่ออกกฎหมายนี้ พระราชบัญญัติถือว่าเป็นการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้เป็นชีวิตประจำวัน กำหนดกฎเกณฑ์ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งเฉพาะเจาะจงต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่ง ถือว่าเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่รัฐ ...

ใครมีหน้าที่ใช้อํานาจบริหาร

การใช้อำนาจ อำนาจในการบริหารจะใช้ในการปกครอง จะต้องเป็นอำนาจที่ได้รับมอบหมายหรือได้รับการระบุ หรือบัญญัติผ่านทางฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เท่ากับว่าฝ่ายบริหารใช้อำนาจในการบริหารได้ต่อเมื่อมีกฎหมายมอบอำนาจและกำหนดขอบเขตหน้าที่ให้เท่านั้น

ตรากฎหมายเกี่ยวข้องกับฝ่ายใด

โดยหลักทั่วไปแล้วอำนาจในการตรากฎหมายนั้น รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นอำนาจของ รัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติในการดำเนินการตรากฎหมาย แต่ในเรื่องของการ ตราพระราชกำหนดนั้นเป็นข้อยกเว้นของหลักการทั่วไป เหตุผลก็สืบเนื่องมาจากในบางสถานการณ์นั้น รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหารมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีกฎหมายเพื่อใช้เป็น ...