โกษาปาน ได้รับ บรรดาศักดิ์ เป็น

วิดีโอ YouTube

โกษาปาน ได้รับ บรรดาศักดิ์ เป็น

           

ปานเป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์ พระมหากษัตริย์อยุธยา[1] และเป็นน้องชายของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ซึ่งดำรงตำแหน่งพระคลังระหว่าง พ.ศ.22002226[ต้องการอ้างอิง]ปานได้บรรดาศักดิ์ ออกพระวิสุทธิสุนทร และได้รับแต่งตั้งเป็นทูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ในสมัยดังกล่าว ฝรั่งเศสมีอิทธิพลในราชสำนักของพระนารายณ์มาก จุดประสงค์ของฝรั่งเศส คือ เผยแพร่คริสต์ศาสนา และพยายามให้พระนารายณ์เข้ารีตเป็นคริสตชน รวมทั้งพยายามมีอำนาจทางการเมืองในอยุธยาด้วยการเจรจาขอตั้งกำลังทหารของตนที่เมืองบางกอกและเมืองมะริด[ต้องการอ้างอิง]คณะทูตไปฝรั่งเศสดังกล่าว ประกอบด้วย ปาน เป็นราชทูต, ออกหลวงกัลยาราชไมตรี เป็นอุปทูต, และออกขุนศรีวิศาลวาจา เป็นตรีทูต พร้อมทั้งบาทหลวงเดอ ลีออง และผู้ติดตาม รวมกว่า 40 คน ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2229 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 ณ พระราชวังแวร์ซาย[5] และเดินทางกลับเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2230[6]

สยามรัฐออนไลน์ 7 เมษายน 2561 08:53 น. วัฒนธรรม

โกษาปาน ได้รับ บรรดาศักดิ์ เป็น

รฦก / วัฒนรักษ์ [email protected] “โกษา”

โกษาปาน ได้รับ บรรดาศักดิ์ เป็น
ช่วงโหนกระแส “ออเจ้า” ท่านผู้อ่านนอกจากจะคุ้นเคยกับบรรดาจมื่นทั้งหลายแล้ว คงจะประทับใจผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีประวัติสำคัญในวงประวัติศาสตร์ของไทยไทยอีกไม่น้อย โดยเฉพาะตำแหน่ง “โกษาธิบดี” ชื่อตำแหน่ง “โกษาธิบดี” เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา คือข้าราชการที่ทำหน้าที่ในงาน “คลัง” จัดการเกี่ยวกับพระราชทรัพย์ โดยเฉพาะการเก็บส่วยสาอากรซึ่งเป็นผลประโยชน์แผ่นดิน ถ้าใช้ภาษาแนวการเมืองปัจจุบันก็ต้องถือเป็นหนึ่งในสี่เสือที่เป็นผู้ช่วยบริหารการปกครอง 4 ส่วนแบบจตุสดมภ์ อันประกอบด้วย เวียง วัง คลัง นา มีการจารึกในประวัติศาสตร์ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นยุคที่มีการจัดเก็บภาษีอากรรุ่งเรืองมาก โดยที่การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ส่วยสาอากร ได้มีการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา ซึ่งลักษณะการจัดเก็บภาษีอากรดังกล่าว กรณีจังกอบและส่วย จะจัดเก็บในรูปของการบังคับจัดเก็บจะได้รับประโยชน์ในทางอ้อม ส่วนอากรและฤชานั้น ผู้ถูกจัดเก็บจะได้รับผลประโยชน์จากรัฐโดยตรง หากมุ่งมองไปในประวัติศาสตร์รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักผู้ดำรงตำแหน่ง “โกษาธิบดี” อย่างน้อย 2 ท่าน คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่งดำรงตำแหน่งพระคลังระหว่าง พ.ศ. 2200 – 2226 ทั้งท่านโกษาเหล็กและท่านโกษาปาน เป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต(บัว) พระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์อยุธยาตามประวัติศาสตร์นั้น ส่วนพ่อนั้นขุนนางเชื้อสายมอญ ว่ากันว่าเป็นสายของพระยาเกียรติ์ พระยาราม เกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นพระนัดดาหรือหลานชายในสมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าพระยาโกษาเหล็กเกิดใน พ.ศ. 2175 อยู่ในวัยเดียวกับสมเด็จพระนารายณ์นับเป็นวีรบุรุษคนสำคัญอีกคนหนึ่ง เพราะก่อนหน้าที่สมเด็จพระนารายณ์จะเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น ท่านเป็นเสมียนยอดนักรบคู่ใจของสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า “ขุนเหล็ก” ส่วนเจ้าพระยาโกษาปาน เป็นน้องชายของเจ้าพระยาโกษาเหล็ก ก็นับเป็นผู้ที่มีจิตใจที่หาญกล้าเด็ดเดี่ยวมิใช่น้อย ท่านได้เคยออกทัพจับศึก และมีชัยชนะในการศึกหลายครั้งหลายครา เป็นต้นว่า ครั้งที่นำกรุงศรีอยุธยาไปทำสงครามกับพม่าถึงกรุงอังวะนั้น ท่านก็ได้ชัย และยังได้ปราบปรามหัวเมืองที่ยังกระด้างกระเดื่องต่างๆ ให้สงบราบคาบได้ เมื่อครั้งท่านได้บรรดาศักดิ์เป็นออกพระวิสุทธิสุนทร ได้รับแต่งตั้งเป็นทูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ซึ่งคณะทูตไปฝรั่งเศสครั้งนั้น นอกจากจะมีออกพระวิสุทธิสุนทรเป็นราชทูตแล้ว ยังมีออกหลวงกัลยาราชไมตรีเป็นอุปทูต และออกขุนศรีวิศาลวาจาเป็นตรีทูต พร้อมทั้งบาทหลวงเดอ ลีออง และผู้ติดตาม รวมกว่า 40 คน ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2229 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 ณ พระราชวังแวร์ซายและเดินทางกลับเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2230 ท่านโกษาปานนอกจากที่จะมีชั้นเชิงลีลาและฝีมือในการทูตในการเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จนได้รับการยกย่องชื่นชมจากชาวฝรั่งเศสแล้ว ยังมีเรื่องเล่าขานกันว่าได้นำเอาวิชาความรู้ทางด้านคาถาคงกระพันชาตรีอันเป็นความเชื่อดั้งเดิมของไทยเราแต่สมัยโบราณไปอวดให้เป็นที่ประจักษ์แก่หน้าพระเนตรพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และทหารฝรั่งเศสทั้งปวง ที่สำคัญก็คือ ท่านยังเป็นปู่ของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ซึ่งเป็นบิดาของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกอีกด้วย