ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ppt

ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์

สาระสำคัญเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสนองความ

ต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัดโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับการดำรงชีพให้ดีขึ้น

ผลการเรียนรู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและระบบเศรษฐกิจ

พฤติกรรมชี้วัด1.อธิบายความหมายของวิชาเศรษฐศาสาตร์และปัจจัยสำคัยในการตัดสินใจได้

                         2. บอกหน่วยเศรษฐกิจและปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้

                         3.บอกระบบเศรษฐกิจได้

1.ควมหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์

วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาทีศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์เกี่ยวกับการเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายและจำหน่ายจ่ายแจกไปยังบุคคลกลุ่มต่างๆของสังคมหนึ่งๆเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2. ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ 

1. ทรัพยากรมีจำกัด

ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าทรัพยากรการผลิต(productive resources)หรือปัจจัยการผลิต (factors of production) หมายถึงสิ่งที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสอนงความต้องการของมนุษย์ ได้แก่

ที่ดิน (land)คือพื้นดินรวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่บนผิวดินปะปนในดินและในอากาศเหนือพื้นดินนั้น

ทุน (capital) ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงสิ่งที่สามารถใช้ได้คงทนและผลิตสินค้าและบริการได้โดยตรงเช่นโรงงานเครื่องจักรอุปกรณ์การผลิตซึ่งแตกต่างจากความหมายทางธุรกิจ หมายถึง เงินสดหรือเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน

การประกอบการ (entrepreneurship)คือการรวบรวมปัจจัยการผลิตต่างๆมาผลิตสินค้าและบริการผู้ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า ผู้ประกอบการ (entrepreneur)

            2. ความต้องการมีไม่จำกัด

มนุษย์โดยทั้วไปมีความต้องการหรือความอยากได้อยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีขอบเขต เช่น เมื่อมีปัจจัยสี่คือ เครื่องนุ่งห่มอาหารยารักษาโรคและที่อยู่อาศัยเพียงพอแล้วก็อยากได้สิ่งอำนวยความสะดวกสบาย สิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินบันเทิงใจสิ่งที่จะเชิดหน้าชูตาและยกระดับฐานะทางสังคมของตนและอื่นๆต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการตัดสินใจในการผลิต การกระจายและการแลกเปลี่ยนเกิดจากความพยายามที่จะสนองความต้องการอันไม่จำกัดของมนุษย์
ความต้องการในทางเศรษฐศาสตร์
(economic wants)หมายถึงความปรารถนาที่จะได้มาซึ่งบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่แล้วแต่ไม่เพียงพอหรือไม่มีอยู่เลยและเราต้องมีเงินพอที่จะซื้อหามาได้ความต้องการของมนุษย์เป็นพื้นฐานเบื้องต้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือ การผลิต การกระจาย การแลกเปลี่ยน และการบริโภค ส่วนความจำเป็นทางเศรษฐศาสตร์ (economic needs)หมายถึงความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ต้องมีไว้เพื่อสนองวามต้องการให้สามารถดำรงชีพได้ตามอัตภาพ ได้แก่ ปัจจัยสี่คืออาหารที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรคส่วนความต้องการเครื่องสำอางเสื่อ
ผ้าแฟชั่นราคาแพง เครื่องประดับมีค่าเหล่านี้เป็นความต้องการทางเศรษฐศาสตร์มิใช่ความจำเป็นทางเศรษฐศาสตร์

ปั้จจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี่อาจมีสิ่งจำเป็นสำหรับการครองชีพเพิ่มขึ้นเช่นวิทยุโทรทัศน์รถยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นต้นซึ่งแต่เดิมจัดเป็นของฟุ่มเฟือยสำหรับผู้มีรายได้สูงเท่านั้น

ความต้องการในทางเศรษฐศาสตร์จำเป็นต้องสัมผัสได้และสามารถวัดหรือคำนวณมูลค่าเป็นเงินได้แต่มีความต้องการหลายประเภทที่ไม่สามารถสัมผัสและคำนวณมูลค่าเป็นตัวเงินได้ เช่น ความรักจากพ่อแม่การยอมรับจากเพื่อนร่วมชั้นความเคารพนับถือจากเพื่อนบ้านดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงไม่จัดเป็นความต้องการทางเศรษฐศาสตร์

เราจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องยากจะจำแนกให้เห็นอย่างชัดเจนระหว่างความต้องการและความจำเป็นในทางเศรษฐศาสร์ ตัวอย่างเช่น การมีบ้านหลังใหญ่ จำนวนครอบครัวที่มีสมาชิกจำนวนมากก็จะถือได้ว่าเป็นความจำเป็นต้องมีบ้านหลังใหย่ แต่สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกเพียงไม่กี่คนเท่านั้นการมีบ้านหลั้งใหญ่นับเป็นความต้องการสินค้าฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เป็นต้น

                3. ความขาดแคลน

หากเรามีทรัพยากรเหล่านี้อยู่มากมายหรือมีไม่จำกัดเราก็สามารถผลิตสินค้าและบริการสนองตอบความต้องการของคนในประเทศได้อย่างเพียงพอปัญหาความขาดแคลน (scarcity)ในประเทศต่างๆ ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงนั้นความขาดแคลนและปัญหาเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ทั่วโลกเนื่องจากทรัพยากรการผลิตของประเทศต่างๆ มีอยู่อย่างจำกัดแต่ความต้องการของคนเรามีมากมายไม่จำกัดนั่นเอง

เนื่องจากทรัพยากรทุกชนิดนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทางจึงเป็นทางเลือก (choice) ประกอบกับการขาดสมดุลระหว่างทรัพยากรกับความต้องการของมนุษย์จึงต้องมีการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นที่พึงพอใจของคนส่วนใหญ่ส่วนทางด้านการบริโภคก็จะต้องตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีประโยชน์หรือให้ความพอใจแก่ตนเพื่อให้คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป

                4.ค่าเสียโอกาส

การเลือกทุกกรณีจะมีต้นทุนการเลือกเรียกว่าค่าเสียโอกาส (opportunity cost)ซึ่งหมายถึงมูลค่าของทางเลือกที่ดีที่สุดในการใช้รัพยากรที่ต้องเสียสละไปเมื่อได้ตัดสินใจเลือกทางเลือกอื่น ตัวอย่างเช่น มีที่ดินอยู่แปลงหนึ่งถ้าให้เขาเช่าจะได้ค่าเช่าปีละ 60,000 บาทถ้าปลูกผักจะมีรายได้ปีละ 12,000 บาทและถ้าปลูกพืชไร่จะมีรายได้ปีละ 10,000 บาท ดังนั้น

ถ้าให้เขาเช่ามีต้นทุนค่าเสียโอกาส เป็นรายได้จากการปลูกผักปีละ 12,000 บาท(รายได้จากการปลูกผักสูงกว่าการปลูกพืชไร่)

ถ้าปลูกผักมีต้นทุนค่าเสียโอกาส เป็นค่าเช่าปีละ 60,000 บาท(รายได้จากค่าเช่าสูงกว่ารายได้จากการปลูกผักและปลูกพืชไร่)

ถ้าปลูกพืชไร่มีต้นทุนค่าเสียโอกาส เป็นค่าเช่าปีละ 60,000 บาท(รายได้จากค่าเช่าสูงกว่ารายได้จากการปลูกผัก)

ในทางเศรษฐศาสตร์การเลือกจะเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนการได้ใช้ทรัพยากรหนึ่งๆ โดยยอมเสียโอกาสใช้ทรัพยากรอื่นลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า trade – offs

                5. การเลือก

ความหมายของการผลิต

การผลิต(production)หมายถึงการนำปัจจัยการผลิตซึ่งมีอยู่จำกัด ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ มาผ่านกระบวนการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการประเภทเศรษฐทรัพย์ (economic goods = เป็นสินค้าที่มีมูลค่าคำนวณเป็นราคาซื้อขาย เพราะมีจำนวนจำกัด ตรงข้ามกับทรัพย์เสรี (free goods) ซึ่งมีปริมาณเกินความต้องการของมนุษย์ จึงไม่จำเป็นต้องคำนวณราคาซื้อขาย)สำหรับผลิตสนองความต้องการของผู้บริโภค (needs and wants)เช่น โรงงานน้ำตาลนำอ้อยไปผ่านกระบวนการผลิตรวมทั้งการใช้เครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์และแรงงานขนย้ายได้ผลผลิตเป็นน้ำตาลทราย เป็นต้น

ปัจจัยการผลิต

ปัจจัยการผลิต (tactors of production)หรือ ทรัพยากรการผลิต หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้ประกอบกันในการผลิตสินค้าและบริการแบ่งออกเป็น4ประเภทคือที่ดินแรงงานทุนและผู้ประกอบการ

1. ที่ดินรวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติซึ่งมนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้น เช่น น้ำป่าไม้แร่ธาตุความหมายของคำว่าที่ดิน ในทางเศรษฐศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้ทั่วไป กล่าวคือ ในการผลิตภาคเกษตรใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ในภาคอุตสาหกรรมใช้ที่ดินเป็นที่ตั้งโรงงานเก็บสินค้าแต่ที่ดินยังหมายความรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดเหนือดินภายในดินและต่ำกว่าระดับพื้นดินด้วย เช่น น้ำสัตว์น้ำป่าไม้สัตว์ป่า ก๊าซธรรมชาติน้ำมันดิบแร่ธาตุเป็นต้น

2. ทุนรวมถึงเครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์และสถานที่ที่ใช้ในการผลิตหมายถึง สิ่งที่มนษย์สร้างขึ้นสำหรับใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่นๆ เพื่อการผลิตสินค้าแบะบริการ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สินค้าทุน (capital goods) ได้แก่สิ่งก่อสร้าง เช่น โรงงานถนนสะพานทางรถไฟเครื่องจักรเครื่องมือ เช่น เครื่องจักรในโรงงานเครื่องสูบน้ำรถแทรกเตอร์รถบรรทุกรถไถนาสัตว์ที่ใช้แรงงานอุปกรณ์ต่างๆวัตถุดิบ เช่น เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ย ยาฆ่าแมลงน้ำมันเชื้อเพลิงเหล็กเส้นไม้แปรรูปยางแผ่นเม็ดพลาสติกผักผลไม้ที่จะนำมาประกอบหรือแปรรูป

สินค้าทุนเหล่านี้ถือว่าเป็นทุนที่แท้จริง (real capital)

ทุนเป็นตัวเงิน หรือ เงินทุน (money capital)ในแง่ของนักเศรษฐศาสตร์พิจารณาว่าเป็นเพียงสือกลางใช้แลกเปลี่ยนแต่สินค้าทุนจะเป็นตัวบ่งชี้กำลังการผลิตที่เป็นจริงได้ดีกว่าเงินทุนดังนั้นเงินทุนจึงไม่นับเป็นทุนในทางเศรษฐศาสตร์

ดอกเบี้ย(interest) เป็นผลตอบแทนของเจ้าของทุนเนื่องจากสินค้าทุนมีความยุ่งยากในการคำนวณผลตอบแทนจึงมักตีราคาเป็นตัวเงินก่อนและคำนวณหาผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเช่นเดียวกับเงินทุน

3. แรงงานรวมถึงกำลังกายและกำลังความคิดของคนที่ใช้ในการผลิตหมายถึง ความสามารถทั้งกำลังกายและกำลังความคิดตลอดจนความรู้ความชำนาญของมนุษย์ที่ใช้ไปในการผลิตสินค้าและบริการแต่ไม่รวมถึงความสามารถในการประกอบการซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตอีกประเภทหนึ่งที่จะกล่าวในลำดับต่อไป

ผู้ใช้แรงงานหรือเจ้าของแรงงานซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าแรงงานจะได้รับค่าจ้าง (wages) เป็นผลตอบแทน

แรงงานแบ่งออกเป็น2กลุ่มใหญ่ๆคือ

1)แรงงานที่มีทักษะ (skilled labor)เป็นแรงงานที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่าดีการปฏิบัติงานใช้กำลังความคิดมากกกว่าใช้แรงกาย เช่น แพทย์ สถาปนิกวิศวกร เป็นต้น

2) แรงงานที่ไม่มีทักษะ (unskilled labor)เป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อนมักทำงานโดยอาศัยกำลังกาย เช่น คนงานรับจ้างทั่วไปคนงานขนข้าวสารในโรงสี เป็นต้น

4. ผู้ประกอบการคือ ผู้ที่นำที่ดินทุนแรงงานมาร่วมดำเนินการผลิตผู้ประกอบการ (entrepreneur)หมายถึงผู้ที่นำที่ดินแรงงานและทุนมาดำเนินการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการผลิต สามารถคาคคะเนแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคและกำลังการผลิตในอนาคตได้นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะผลิตอะไรปริมาณเท่าใดใช้เทคนิคการผลิตแบบใดผลิตแล้วจำหน่ายแก่ใครราคาต่อหน่วยเป็นเท่าใดจึงจะได้ผลตอบแทนสูงสุดผู้ประกอบการจะต้องยอมรับการเสี่ยงในธุรกิจของตนผลตอบแทนที่ผู้ประกอบการได้รับอยู่ในรูปของ กำไร (profit)

ผู้ประกอบการมีบทบาทสำคัญมาในการพัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจประเทศต่างๆทีมีการพัฒนาเศรษฐกิจสูงส่วนใหญ่มาจากการริเริ่มของผู้ประกอบการาปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(Small and Medium scales Enterpreneurs SMEs)

คุณธรรมของผู้ผลิต

ผู้ผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยปกติมีเป้าหมายที่จะแสวงหากำไรสูงสุดและใช้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดแต่ในปัจจุบันจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรมร่วมด้วยนั่นคือคุณธรรมของผู้ผลิตผู้ผลิตที่ขาดคุณธรรมและหวังแต่ผลประโยชน์ของตนจะก่อความเสียหายต่อผู้บริโภคผู้ผลิตรายอื่น สังคมส่วนรวมและประเทศชาติพฤติกรรมการณ์ที่ปรากฏเป็นข่าวบ่อยๆเช่น ละเมิดสิทธิ์โดยการผลิตเทปและซีดีปลอมการผลิตเสื้อผ้า กระเป๋าเลียนแบบสินค้าต่างประเทศยี่ห้อที่มีชื่อเสียงผลิตผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนปลอมใช้สีย้อมผ้าผสมอาหารใส่ฟอร์มาลินแช่อาหารสดฉีดยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนเก็บพืชผลทำให้มีสารพิษตกค้างในผักผลไม้ปล่อยน้ำเสียจากโรงงานหรือฟาร์มลงในแม่น้ำลำคลอง เป็นการสร้างมลภาวะอันเป็นปัญหาของสังคม เป็นต้นการกระทำเหล่านี้นอกจากผิดศีลธรรมแล้ว ยังขัดต่อระเบียบช้อบังคับตามกฎหมายบ้านเมืองด้วย

คุณธรรมทีสำคัญสำหรับผู้ผลิตได้แก่ ความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบ

ความหมายของการบริโภค และผู้บริโภค

การบริโภค(consumption)หมายถึงการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคการบริโภคในทางเศรษฐศาสตร์จึงมิได้หมายถึงเฉพาะการรับประทานอาหารเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการใช้สินค้าและบริการสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยวิธีการอื่นๆ ด้วย เช่น การดื่มเครื่องดื่มการชมภาพยนตร์การฟังเพลงการดมน้ำหอม การอ่านหนังสือพิมพ์การใช้ปากกาการซื้อเสื้อผ้าการเช่าบ้านการรับบริการตรวจรักษาการโดยสารรถประจำทาง เป็นต้น

ผู้บริโภค (consumer)หมายถึงผู้ซื้อสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของตนจุดมุ่งหมายที่สำคัญของผู้บริโภค คือ ความพอใจสูงสุดจากการบริโภคสินค้าและบริการที่ซื้อมา

คำว่า ผู้บริโภค เป็นคำกลางๆ ยังมีคำอื่นๆ ที่ใช้เรียกผู้บริโภคในลักษณะต่างๆ ได้อีก เช่น คำว่า ผู้ซื้อลูกค้าผู้ชมผู้อ่านผู้ฟังผู้เช่าผู้โดยสารเป็นต้น

หลักการและวิธีเลือกสินค้าและบริการ

ในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการควรคำนึงถึงหลักการและวิธีการ ดังนี้

ความประหยัด

ในการบริโภคสินค้าและบริการ ควรคำนึงหลักความประหยัด ซึ่งเป็นการบริโภคตามความเหมาะสม

ไม่เกินความจำเป็น ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคไม่เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร

ประโยชน์

ประโยชน์ในทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า อรรถประโยชน์ (utility)

อรรถประโยชน์ (utility) หมายถึง ความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งในเวลาหนึ่งๆในการบริโภคสินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนว่า สินค้าหรือบริการที่จะเลือกบริโภคนี้มีประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัวอย่างแท้จริงเพียงใด ผู้บริโภคจะต้องพิจารณาว่าสินค้าหรือบริการนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องบริโภคหรือไม่ หากเป็นสิ่งจำเป็นจึงควรบริโภคสินค้าและบริการบางอย่างเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย มีความจำเป็นหรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของเราน้อย เราก็ไม่จำเป็นต้องบริโภคสินค้าหรือบริการนั้น วิธีพิจารณาอย่างง่ายๆ ก็คือ หากเราไม่ซื้อสินค้าและบริการนั้น จะมีผลเสียต่อการดำเนินชีวิตของเรามากน้อยเพียงใดหากไม่มีผลกระทบหรือมีผลกระทบน้อย เราก็ไม่ควรบริโภคสินค้าหรือบริการนั้น

คุณภาพและราคา

สินค้าและบริการโดยทั่วไปที่มีคุณภาพสูงมักจะมีราคาสูงตามไปด้วยแม้แต่สินค้าประเภทเดีวกันก็มีคุณภาพแตกต่างกัน เช่น น้ำตาลทรายข้าวสารเป็นต้นการประหยัดของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสิน้าและบริการควรคำนึงเรื่องคุณภาพควบคู่ไปด้วย

ในการบริโภคสินค้าผู้บริโภคจะต้องวิเคราะห์สิน้าหรือบริการนั้น เป็นสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพมากน้อยเพียงใด เช่น นักเรียนจะซื้อเสื้อสักหนึ่งตัว ก่อนอื่นจะต้องพิจารณาก่อนว่า เสื้อที่นั้กเรียนจะซื้อ จะสวมใส่ไปงานใด โอกาสใดบ้าง จึงค่อยพิจารณานต่อไปว่า จะซื้อเสื้อที่มีเนื้อผ้าอย่างไร แบบและสีใด ควรจะเลือกเนื้อผ้าที่มีความทนทาน ดูแลรักษาง่าย ต่อไปจึงค่อยพิจารณาราคาของเสื้อ ยี่ห้อต่างๆ ควรพิจารณาราคาตามคุณภาพของเสื้อว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ เสื้อบางยี่ห้อตั้งราคาสูงเกินความเป็นจริง ก็ไม่ควรซื้อ ไม่ควรซื้อสินค้าตามความนิยมโดยไม่ได้พิจารณาราคาและคุณภาพ

ปลอดภัย

ในยุคที่เทคโนโลยีการผลิตทันสมัยทำให้มีการนำมาใช้ในกรรมวิธีการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต หรือทำให้สินค้าคงทนมีสีสันสดุดตาโดยใช้วัสดุที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ฉะนั้นผู้บริโภคจะต้องดูฉลากก่อนการบริโภค โดยคำนึงถึงส่วนผสม และวันหมดอายุ

6, กฎหมายของการคุ้มครอบผู้บริโภค

การคุ้มครองผู้บริโภคหมายถึง การป้องกันดูแลประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย ความเป็นธรรมและความประหยัด ในการบริโภคสินค้าและบริการ

ความปลอดภัยหมายถึง เมื่อนำสินค้าและบริการไปใช้จะต้องไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภคตัวอย่างสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่น อาหารที่มีสารพิษตกค้าง เช่น ยาฆ่าแมลง สารถนอมอาหร เป็นต้นเครื่องใช้ไม้สอยที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ ของเล่นเด็กที่มีลักษณะล่อแหลมต่อการเกิดอันตราย เช่น สีหรือวัสดุที่ไม่เหมาะกับทารก เป็นต้น

ความเป็นธรรมหมายถึง การที่ผู้ผลิตหรือผู้ขาย หรือผู้ประกอบธุรกิจจะต้องไม่หลอกลวงผู้บริโภคด้วยกลวิธีต่างๆ เช่น การปลอมปนคุณภาพการติดราคาสินค้าที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงการโฆษณามอมเมาให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและต้องตกอยู่ในฐานะผู้เสียประโยชน์ เป็นต้น

ความประหยัดหมายถึง การส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรมในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยไม่กำหนดราคาสินค้าในลักษณะที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในมูลค่าสูงกว่าราคาที่แท้จริงของสินค้าและบริการนั้นๆดังนั้นผู้บริโภคจึงควรรู้จักการประหยัดและมีความระมัดระวังในการซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น

การคุ้มครองผู้บริโภคของภาคเอกชนและภาครัฐบาลกระทำได้ดังนี้

1. การคุ้มครองผู้บริโภคของภาคเอกชนการให้การคุ้มครองผู้บริโภคของภาคเอกชนหมายถึงผู้ประกอบการ และผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั่วไป

1)ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายสินค้าให้ผู้บริโภคมักมุ่งแสวงหากำไรสูงสุดโดยการลดต้นทุนการผลิตให้กับธุรกิจแนวคิดของผู้ประกอบการโดยทั่วไปมักไม่เน้นการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคมากนักมีบางส่วนที่มีนโยบายคืนกำไรสู่สังคมเช่น โครงการให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนยากจนโครงการนำบางส่วนของราคาสินค้าที่จำหน่ายได้สมทบทุนเพื่อสาธารณกุศลการเก็บค่าบริการหรือขายสินค้าราคาต่ำแก่นักเรียน นิสิตนักศึกษา เป็นต้น

2)ผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั่วไปผู้บริโภคได้รวมตัวร่วมมือกันในรูปของสมาคมมูลนิธิชมรมกลุ่มไม่น้อยกว่า 50 องค์กรทำการรณรงค์เพื่อผู้บริโภคตลอดจนกระจายข่าวข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคบางกลุ่มศึกษาวิจัยปัญหาของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผู้บริโภคยังไม่ทราบสิทธิของตนในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในสังคมไทยผู้บริโภคยังไม่ทราบสิทธิของตนในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคเนื่องจากไม่ได้ให้ความสนใจรับรู้ข่าวสารในเรื่องนี้ หรือไม่ทราบว่าจะร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการใดขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้เข้ามีบทบาทเพิ่มขึ้น

2. การคุ้มครองผู้บริโภคของภาครัฐบาลเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะแก้ปัญหาความเดือดร้อนจากการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนโดยตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น พระราชบัญญัติอาหารและยาพระราชบัญญัติเครื่องสำอางเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมความปลอดภัย และเป็นแนวทางให้ผู้บริโภคปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามสิทธิและเหน้าที่ที่พึงมีหากผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถติดต่อสายด่วนผู้บริโภคกับ อย.1556 หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นอกจากนี้หากพบเห็นผู้จำหน่ายเกินราคาหรือใช้มาตรฐานชั่งตวงวัดที่ไม่เป็นไปตามสภาพความเป็นจริงก็สามารถแจ้งได้ที่กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์โทรศัพท์ 0-2547-4771-7

7. สิทธิของผู้บริโภค

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไว้5ประการ ดังนี้

1. สิทธิที่จะได้รั้บข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการหมายความว่า ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูล การโฆษณา การแสดงฉลากตามความเป็นจริงและเพียงพอที่จะไม่ทำให้หลงผิดในการซื้อสินค้าและบริการ

2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการหมายความว่า ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการได้ตามความสมัครใจปราศจากการาบีบบังคับด้วยวิธีการต่างๆเช่น การผูกขาดทางการค้าการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรมการส่งสินค้าท่ามิได้สั่งซื้อหรือตกลงใจซื้อมาให้ เป็นต้น

3. สิทธิที่จะได้รั้บความปลอดภัยด้านสุขลัษณะและสุขอนามัยจากการใช้สินค้าหรือบริการหมายความว่า สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคได้รับจะต้องมีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้หรือบริโภคไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายหรือทรัพย์สินเมื่อใดใช้หรือบริโภคตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าและบริการนั้นๆ แล้ว

4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญาหมายความว่าในกรณีที่การซื้อสินค้าและบริการต้องมีการทำสัญญากัน ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาที่ไม่เป็นการเอารัดเอา

เปรียบจากผู้ขายหรือผู้ประกอบธุรกิจ

5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณา และชดเชยความเสียหายหมายความว่าเมื่อมีการละเมิดสิทธิ 4ประการแรก ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะดำเนินการร้องเรียนและฟ้องร้อง เพื่อให้มีการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น

3.หน่วยเศรษฐกิจ

การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การผลิตการจำแนกแจกจ่ายการแลกเปลี่ยนและการบริโภคจำเป็นต้องมีผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อปฏิบัติภารกิจให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และสามารถสนองความต้องการของผู้บริโภคได้สูงสุดผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเรียกว่า หน่วยเศรษฐกิจ(economic units)

หน่วยเศรษฐกิจแบ่งตามภาระหน้าที่ได้3ฝ่าย คือ

1. ฝ่ายครัวเรือน (household)ทำหน้าที่2ประการ ได้แก่

1) ขายปัจจัยการผลิตของคนแก่ฝ่ายผลิต

2)บริโภคสินค้าและบริการต่างๆ

จุดมุ่งหมายสำคัญคือต้องการให้สมาชิกทุกคนในครัวเรือนได้รับความพอใจสูงสุดหรือได้รับสวัสดิการสูงสุด

2. ฝ่ายผลิต (firm)หรือฝ่ายธุรกิจ (business) ทำหน้าที่2ประการ ได้แก่

1)ผลิตสินค้าและบริการ

2)กระจายสินค้าและบริการ และกระจายรายได้ให้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิต

จุดมุ่งหมายสำคัญ คือ ต้องการแสวงหากำไรสูงสุดจากการประกอบการ

3. ฝ่ายรัฐบาล (government)ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิตผู้บริโภคและเจ้าของปัจจัยการผลิตโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมสนับสนุนและควบคุมดูแลฝ่ายอื่นๆในระบบเศรษฐกิจให้เป็นไปตามที่ประเทศต้องการ

4. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากการที่ทรัพยากรเศรษฐกิจมีจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดทำให้ทุกสังคมประสบปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจซึ่งจำแนกออกได้เป็น 3ปัญหา คือ

จะเลือกผลิตอะไร(What to produce)

ผลิตอย่างไร(How to produce)

ผลิตเพื่อใด(For Whom to produce)

1.ปัญหาว่าจะผลิตอะไร (What)เนื่องจากมีทรัพยากรจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการดังนั้นจึงต้องมีการตัดสินใจว่าควรจะเลือกทรัพยากรที่มีอยู่นำไปผลิตสินค้าและบริการอะไรได้บ้างที่จำเป็นและเป็นจำนวนเท่าใดจึงจะสามารถสนองความต้องการและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคมตัวอย่างเช่นประเทศชาติมีทรัพยากรจำกัดก็ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดนั้นไปในการผลิตอาหารเพื่อปากท้องของพลเมืองอย่างทั่วถึง หรือควรจะผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารให้เป็นประเทศมหาอำนาจ เป็นต้น

2.ปัญหาว่าควรผลิตอย่างไร (How)หลังจากตัดสินใจได้ว่าจะผลิตอะไรเป็นจำนวนสักเท่าใดแล้วปัญหาที่เราจะต้องตัดสินใจขั้นต่อไปก็คือเราจะใช้เทคนิคและกรรมวิธีการผลิตสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการวิธีการใด และจะใช้ปัจจัยการผลิตมากน้อยในสัดส่วนเท่าใดจึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดหรือเสียต้นทุนต่ำที่สุดเนื่องจากผู้ผลิตมีเทคนิคและกรรมวิธีการผลิตสินค้าได้หลายวิธีที่สามารถให้ผลผลิตเท่าเทียมกันจึงต้องเลือกใช้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตัวอย่างเช่น เกษตรกรต้องการปลูกข้าวให้ได้ข้าวเปลือก 1,000

เกวียนอาจเลือกใช้ที่นาจำนวนมากโดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์การเกษตรจำนวนน้อย หรืออาจเลือกใช้ที่นาจำนวนน้อยโดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรจำนวนมากไม่ว่าเราใช้การผลิตวิธีใดก็สามารถได้ข้าวเปลือก 1,000 เกวียนเท่ากันเป็นต้น

3.ปัญหาวาจะผลิตเพื่อใคร (For Whom)ปัญหาว่าจะผลิตสินค้าและบริการเพื่อใครคำตอบก็คือผลิตเพื่อประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค หลังจากผลิตสินค้าและบริการได้แล้วก็จะมีการจำหน่ายจ่ายแจกไปยงผู้บริโภคเงินที่ผู้บริโภคใช้จ่ายเพื่อเป็นเจ้าของสินค้าและบริการจะตกไปอยู่กับใครจำนวนเท่าใดเป็นการศึกษาถึงการผลิตการบริโภคและการแบ่งสรรทรรัพยากรการผลิตโดยการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันการที่ผู้บริโภคแต่ละคนจะได้สินค้าและบริการมากินมาใช้มากน้อยแค่ไหนหรือรัฐบาลของบาง ประเทศอาจเป็นผู้กำหนดตามนโยบายของรัฐบาลว่าจะจัดสรรให้แก่กลุ่มบุคคลใดด้วยวิธีการอย่าง

การตัดสินใจว่าเราควรจะผลิตอะไรผลิตอย่างไรและผลิตเพื่อใครดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของการจัดสรรทรพัยากรการผลิตที่มีอยู่จำกัดเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและอำนวยประโยชน์สูงสุดต่อสังคมเศรษฐกิจส่วนการแก้ปัญหาจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ

เศรษฐกิจภาครัฐ

ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่เน้นทางด้านทุนนิยมรัฐบาลมีหน้าที่คอยดูแลความปลอดภัยความยุติธรรมเสรีภาพสวัสดิการ บริการสาธารณะตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐบาลก็ทำนองเดียวกับภาคเอกชนรัฐบาลจำเป็นต้องแสวงหารายได้ให้เพียงพอที่จะนำไปใช้จ่ายบริหารประเทศให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนโดยส่วนรวม

การศึกษาเศรษฐกิจภาครัฐบาลนั้นอาจแตกต่างจากการศึกษาเศรษฐกิจภาคเอกชนไปบ้างในแง่ของวิธีการวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการแสวงหารายได้ และการใช้จ่ายของภาครัฐบาลมุ่งใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหากำไรซึ่งในบทนี้นักเรียนจะได้ศึกษาทำความเข้าใจเศรษฐกิจภาครัฐบาลต่อไป

ความหมายและวัตถุประสงค์ของเศรษฐกิจภาครัฐ

เศรษฐกิจภาครัฐ (public economy) เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐทางด้านรายได้หนี้สาธารณะและรายจ่ายของรัฐนโยบายที่รัฐกำหนดระดับและโครงสร้างของรายได้ ผลกระทบจากการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐและผลของการใช้จ่ายที่มีต่อเศรษฐกิจสังคมและการเมืองเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม

วัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจหมายความรวมถึงการมีงานทำและการมีรายได้การรรักษาเสถียรภาพของระดั้บราคา การรักษาเสถียรภาพของดุลการชำระเงิน การผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมั่นคง เป็นต้น

ความสำคัญของเศรษฐกิจภาครัฐ

การจัดเก็บรายได้การก่อหนี้ หรือการใช้จ่ายเงินจำนวนมากจากภาครัฐสู่ภาคเอกชนย่อมก่อผลกระทบต่อการผลิตการบริโภคและการจ้างงานอย่างมากโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาด้วยแล้วเศรษฐกิจภาครัฐยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เช่นงานสาธารณูปโภครัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

การที่เศรษฐกิจภาครัฐมีความสำคัญมากขึ้นเช่นนี้เราพอสรุปได้ว่ามาจากสาเหตุสำคัญ2 ประการ คือ

1. รัฐบาลของประเทศต่างๆมีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นไม่เพียงแต่ในด้านการบริหารงานของรัฐเพื่อให้เกิดความสงบสุขและรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมเท่านั้นแต่รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหลายประเภทซึ่งเอกชนดำเนินการอยู่ เช่น การค้าขายการอุตสาหกรรมการมีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นนี้ ทำให้รัฐบาลต้องการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็มีหน้าที่ที่จะต้องหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่ายเช่นการเก็บภาษีอากรการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้นด้วยเหตุนี้เศรษฐกิจภาครัฐบาลจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะผูกพันอยู่กับงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาล

2. การเก็บภาษีอากรการใช้จ่าย และการกู้เงินของรัฐบาลมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการผลิตการบริโภคการแลกเปลี่ยนและการกระจายรายได้ซึ่งเรียกว่า การคลังรัฐบาล

การคลังรัฐบาล (public finance)หมายถึงการใช้จ่ายเพื่อบริหารประเทศของรัฐบาลวิธีการแสวงหารายได้และการบริหารรายได้ของรัฐบาลการก่อหนี้สาธารณะ (หนี้ของภาครัฐ ซึ่งเกิดจาการยืมโดยตรงของรัฐบาล หรือการกู้ยืมของรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันโดยประชาชนทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ)ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายและการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสิ่งที่จะช่วยให้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ดีขึ้น ได้แก่ งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นแผนการเกี่ยวกับการหารายได้ การกู้ยืม และการใช้จ่ายตามโครงการต่างๆของรัฐบาลในแต่ละปีรัฐบาลจะต้องทำงบประมาณประจำปี เพื่อแสดงให้ประชาชนทราบว่าในปีต่อไปรัฐบาลมีโครงการจะทำอะไรบ้างแต่ละโครงการต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าใดและรัฐบาลจะหารายได้จากทางใดมาใช้จ่ายตามโครงการนั้นๆ

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

1. ความหมายของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการกำหนดแผนงานล่วงหน้าในการวางโครงการแผนงานวิธีปฏิบัติ และการจัดหาทรัพยากรหรือเงินทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายในระยะเวลาที่กำหนดแบ่งเป็น3ระดับ คือ

1. การวางแผนระดับชาติ เป็นการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจรวมของประเทศโดยอาจแบ่งเป็นแผนระยะยาวหรือแผนประจำปีและมีการกำหนดเป้าหมายต่างๆ ไว้เช่นอัตราเพิ่มของรายได้ประชาชาติ เป็นต้น

2. การวางแผนระดับภาคเศรษฐกิจเป็นการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจตามภาคเศรษฐกิจ เช่น แผนพัฒนาอุตสาหกรรมแผนพัฒนาเกษตรกรรมแผนพัฒนาการค้าต่างประเทศ เป็นต้น

3.การวางแผนระดับโครงการเป็นการวางแผนเป็นรายโครงการมีรายละเอียดมากกว่าแผนระดับชาติและแผนระดับภาคเศรษฐกิจโดยกำหนดแผนการดำเนินงานวิธีการดำเนินงานและกำหนดหน่วยปฏิบัติไว้เป็นระเบียบแบบแผน

5. ระบบเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง หน่วยเศรษฐกิจที่รวมตัวกันทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้รูปแบบการปกครองจารีตประเพณีสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเพื่อกำหนดว่าจะผลิตอะไรจำนวนมากน้อยเท่าใดใช้วิธีการผลิตอย่างไรและผลิตเพื่อขายให้ใคร

ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันที่สำคัญมี3 รูปแบบคือ

1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)

2.ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับซึ่งแยกเป็นแบบสังคมนิยมเสรี (Socialism)และแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)

3.ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

ระบบทุนนิยมหรือเสรีนิยมหมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่เอกชนสามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆมีเสรีภาพในการเลือกที่จะประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ไม่ว่าในเรื่องการกำหนดนโยบายในการผลิตว่าผลิตอะไรผลิตอย่างไรและผลิตเพื่อใคร ระบบนี้จะมีการแข่งขันระหว่างเอกชนอย่างเสรีหน่วยงานของรัฐจะเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับเป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐจะเป็นผู้วางแผนการผลิตจากส่วนกลางมีการจำกัดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลและการทำงานของกลไกราคาแต่เน้นการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมแก่ประชาชนระบบนี้มี2รูปแบบ คือ

ระบบสังคมนิยมคือ ระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเข้าไปเป็นผู้ดำเนินการผลิตโดยเน้นในด้านสวัสดิการของประชาชนในประเทศเป็นหลักรัฐบาลเป็นผู้กำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและกิจการขนาดใหญ่ที่สำคัญ เช่นกิจการสาธารณูปโภค

เอกชนไม่มีเสรีภาพในการตัดสินใจเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ยังมีกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินส่วนตัวและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจขนาดเล็กประชาชนทั่วไปยังมีเสรีภาพอยู่บ้าง

ระบบคอมมิวนิสต์เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกชนิดโดยรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการในการตัดสินใจทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม โดยรัฐบาลจะกำหนดว่าจะให้ประชาชนในประเทศผลิตสินค้าและบริการอะไรผลิตอย่างไรและเพื่อส่งให้ใครบริโภคประชาชนไม่มีเสรีภาพในการถือครองทรัพย์สินไม่มีเสรีภาพในการเลือกประกอบอาชีพหรือการเลือกซื้อสินค้าและบริการมาบริโภค

ระบบเศรษฐกิจแบบผสมคือ ระบบเศรษฐกิจที่นำลักษณะสำคัญของระบบทุนนิยมและสังคมนิมยมมารวมไว้ด้วยกันกล่าวคือมีทั้งส่วนที่ปล่อยให้เอกชนตัดสินใจดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจเองและส่วนที่รัฐบาลเข้าไปควบคุมและวางแผนทางเศรษฐกิจ

6.กลไกราคา

ราคาสินค้าคือ มูลค่าของสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการทำการผลิตได้และนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค เช่น นาย ก. ผลิตปากกาออกขายให้แก่นักเรียนในราคาด้ามละ 5 บาทเป็นต้นในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบเศรษฐกิจแบบผสมซึ่งการผลิตการบริโภคส่วนใหญ่เป็นเรื่องของภาคเอกชนโดยผ่านกลไกของราคา นั้น ราคาสินค้าและบริการจะทำหน้าที่ 3ประการ คือ

กำหนดมูลค่าของสินค้าในการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางราคาจะทำหน้าที่กำหนดมูลค่าเพื่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าในมูลค่าที่คุ้มหรือไม่คุ้มกับเงินที่เขาจะต้องเสียไปราคาสินค้าบางแห่งก็กำหนดไว้แน่นอนตายตัวแต่บางแห่งก็ตั้งไว้เผื่อต่อเพื่อให้ผู้ซื้อต่อรองราคาได้

กำหนดปริมาณสินค้า ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันนั้นถ้าสินค้ามีราคาถูกผู้ซื้อจะซื้อปริมาณมากขึ้นส่วนผู้ขายจะเสนอขายในปริมาณน้อยลงแต่ถ้าสินค้ามีราคาแพงผู้ซื้อจะซื้อปริมาณน้อยลงส่วนผู้ขายจะขายในปริมาณมากขึ้นราคาจึงเป็นตัวกำหนดปริมาณสินค้าที่จะซื้อขายกัน

กำหนดปริมาณการผลิตของผู้ประกอบการในระบบเศรษฐกิจแบบผสมซึ่งการผลิตส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเอกชนนั้น จะมีปัญหาว่าผู้ผลิตควรจะผลิตในปริมาณสักเท่าใดจึงจะพอดีกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้เขาได้กำไรสูงสุดตามที่ต้องการโดยสังเกตความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน) ของสินค้าที่เราทำการผลิตในระดับราคาต่างๆ กันเพื่อหา ดุลยภาพซึ่งเป็นระดับที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะทำการซื้อขายกันในปริมาณและราคาที่ตรงกันปริมาณที่มีการซื้อขายจุดดุลยภาพ เรียกว่า ปริมาณดุลยภาพ และผู้ซื้อมีความต้องการซื้อส่วนราคาที่ดุลยภาพ เรียกว่า ราคาดุลยภาพอันเป็นราคาที่ผู้ผลิตควรพิจารณาในการตั้งราคาขาย

กลไกราคา (price mechanism)หมายถึงตัวกำหนดการจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจทีมีปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคา คือ อุปสงค์ (demand)และอุปทาน (supply)

อุปสงค์ (Demand)คือ ปริมาณความต้องการซิ้อสินค้าและบริการของผู้ซื้อในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งระดับราคาต่างๆ กัน ความต้องการซื้อจะแตกต่างจากความต้องการทั่วไป (want)แต่จะต้องรวมอำนาจซื้อ (purchasing power)คือเต็มใจและมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายซื้อสินค้านั้นด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณความต้องการซื้อนี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีปัจจัยกำหนดอุปสงค์ตัวอื่นๆ เปลี่ยนแปลงด้วย เช่น รายได้ของผู้ซื้อรสนิยมราคาสินค้าชนิดที่ใช้ทดแทนกันได้ เช่น เนื้อหมูกับเนื้อไก่ เป็นต้น

อุปทาน (supply)คือ ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการของผู้ขายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ระดับราคาต่างๆ กันโดยผู้ขายเต็มใจจะขายกล่าวคือ ถ้าราคาต่ำปริมาณที่เสนอขายก็จะลดต่ำลงด้วยและใน่ทางตรงกันข้ามหากระดับราคาสูงขึ้นก็จะมีปริมาณเสนอขายเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นไปตามกฎของอุปทาน (Law of Supply)ปัจจัยที่ทำให้อุปทานเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิตราคาของปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล การคาคคะเนราคาสินค้าและบริการของผู้ขาย

ตลาด ตลาดในความหมายทางเศรษฐศาสตร์จะกว้างกว่าความหมายทั่วๆ ไปที่เป็นสถานที่ที่มีผู้ขายจำนวนมากนำสินค้ามาวางขายแต่ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์จะเกิดขึ้นทันที่ที่มีการตกลงซื่อขายกันต่อรองราคาหรือมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยไม่จำเป็นต้องมีสินค้าและบริการปรากฏอยู่สถานที่นั้น

องค์ประกอบของตลาดจะประกอบด้วย ผู้ซื้อผู้ขาย สินค้า และ ราคาซึ่งอาจจะมีพ่อค้าคนกลางร่วมด้วยปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารได้ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายใกล้ชิดกันมากขึ้นโดยอาศัยคนกลางน้อยลงนอกจากนี้ความสะดวกสบายรวดเร็วของสื่อที่ใช้ในการชำระค่าสินค้าก็ทำได้คล่องตัวขึ้น เช่น ระบบเครดิต เป็นต้น

ระบบตลาดขึ้นอยู่กับกลไกราคาซึ่งราคาตลาดถุกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ (Interaction)ระหว่างผู้ซื้อจำนวนมากผู้ขายจำนวนมากช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ช่วงต้นฤดูทุเรียนหมอนทองราคากิโลกรัมละ 40บาทผู้ซื้อต้องการซื้อ 200 ล้านกิโลกรัม / สัปดาห์ในขณ๊ะที่ผู้ขายต้องการขาย200 ล้านกิโลกรัม / สัปดาห์ เช่นกันไม่มีของเหลือของขาดทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างพอใจในภาวการณ์ที่เป็นอยู่ราคาตลาดดังกล่าวเป็นราคาดุลยภาพและราคาตลาดนี้จะเปลียนแปลงไปถ้าอุปสงค์หรืออุปทานเปลี่ยน หรือเปลี่ยนทั้งอุปสงค์และอุปทาน