อินเทอร์เน็ตเข้าถึงประเทศไทยเมื่อพศ 2530 โดยมีจุดประสงค์ในการใช้งานคือ

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตเข้าถึงประเทศไทยเมื่อพศ 2530 โดยมีจุดประสงค์ในการใช้งานคือ
อินเทอร์เน็ตเข้าถึงประเทศไทยเมื่อพศ 2530 โดยมีจุดประสงค์ในการใช้งานคือ
 
อินเทอร์เน็ตเข้าถึงประเทศไทยเมื่อพศ 2530 โดยมีจุดประสงค์ในการใช้งานคือ

- พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเตอร์เน็ตครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากการส่งข้อมูลล่าช้า
- พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (
Nectect) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันเช่าสายโทรศัพท์เพื่อต่อพ่วงคอมพิวเตอร์แต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน โดยเรียกเครือข่ายสมัยนั้นว่า "เครือข่ายไทยสาร"
- พ.ศ. 2537 เครือข่ายไทยสารเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีหน่วยงานต่างๆของราชการเข้ามาเชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อมาทางหน่วยงานเอกชนมีความต้องการใช้บริการมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บิษัทต่างๆ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเรียกบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ว่า
ISP (Internet Service Provider)
   ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

อินเทอร์เน็ตเข้าถึงประเทศไทยเมื่อพศ 2530 โดยมีจุดประสงค์ในการใช้งานคือ

อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา

     เมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบนี้ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ซึ่งปกติระบบการสื่อสารจะถูกทำลายหรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังสามารถทำงานได้ โดยใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ

     ฝ่ายวิจัยขององค์กรได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์คขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เป็นอย่างมาก

     หลังจากประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) หรือที่เรารู้จัก คือ E-mail นั่นเอง ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสาร และส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก

     ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น 

อินเทอร์เน็ตเข้าถึงประเทศไทยเมื่อพศ 2530 โดยมีจุดประสงค์ในการใช้งานคือ

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

     ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการรับและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือสถาบันเอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์

     จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand