อุตสาหกรรม ชิ้น ส่วน อากาศยาน

อุตสาหกรรม ชิ้น ส่วน อากาศยาน

เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานมาตรฐานสากลชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย พัฒนาสู่การเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการบินของภูมิภาคยุโรป(EASA) และสหรัฐอเมริกา (FAA) และพัฒนาธุรกิจการซ่อมอากาศยาน รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องสู่การเป็นผู้นำระดับ 1 ใน 3 ของภูมิภาคเอเชียภายใน 10 ปี เพื่อให้บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ขับเคลื่อนไปสู่วิสัยทัศน์ในการ เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานมาตรฐานสากลชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย


หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน


  : หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน   : Bachelor of Technology Program in Aircraft Part Manufacturing Technology   ชื่อปริญญา   : เทคโนโลยีบัณฑิต(เทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน)   : ทล.บ.(เทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน)   : Bachelor of Technology(Aircraft Part Manufacturing Technology)   : B.Tech.(Aircraft Part Manufacturing Technology)   เวลาเรียน ตลอดหลักสูตร 4 ปี จำนวน 137 หน่วยกิต   : แผนการศึกษา / อธิบายรายวิชา [ Link ]   หลักสูตรที่ผ่านการรับรองจาก สกอ. และ กพ.   : เอกสาร [ ไฟล์PDF ]   : วิธีค้นหา [ ไฟล์PDF ]  

ทันทีที่ ‘อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน’ ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย ก็จุดประกายให้ผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพปรับแนวคิดในการดำเนินธุรกิจ เตรียมขยายสายการผลิตรองรับกระแสอุตสาหกรรมคลื่นลูกใหม่ เริ่มปูแนวคิดทั้งแบบคิดใหญ่ ทำใหญ่ หรือคิดใหม่ ทำใหม่ตามสไตล์ไทยแท้ที่กล้าคิด กล้าทำ แม้ว่าเมื่อพิจารณาจากความชัดเจนของปัจจัยการผลิตและบริบทที่แวดล้อมต่าง ๆ แล้วจะพบว่าอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในประเทศไทยเวลานี้อาจจะยังไม่ส่องประกายเจิดจ้า หากก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสามารถมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

อุตสาหกรรม ชิ้น ส่วน อากาศยาน

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงโอกาสและความท้าทายของการก้าวสู่การเป็น ‘ฮับแห่งอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน’ ในภูมิภาคอาเซียน ยังคงมีความเป็นไปได้ และมีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะล่าสุดที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) และหนึ่งในนั้น คือ ‘อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน’ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะชี้ชะตาว่า … ‘อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน’ จะเป็นอุตสาหกรรมคลื่นลูกใหม่ที่มีอนาคตสดใส หรือจะเป็นเพียงกับดักกระแส ที่เพียงแค่ผ่านมาแล้วผ่านไปให้ตื่นเต้นและตื่นตัวในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ???

มองสถานการณ์ธุรกิจการบินทั่วโลก

ก่อนประเมินโอกาสผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในประเทศไทย

หากพิจารณาสถานการณ์อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ จะพบว่าผู้ประกอบการและนักลงทุนต่างชาติมีความตื่นตัวอย่างเห็นได้ชัด บรรยากาศการลงทุนค่อนข้างคึกคัก เห็นได้ชัดจากการที่ ‘Rollsroyce’ (โรลส์-รอยซ์) ผู้ผลิตเครื่องยนต์สำหรับอากาศยานรายใหญ่ของโลก ซึ่งมีโรงงานผลิตเครื่องยนต์อากาศยานในประเทศสิงคโปร์นั้นมีแผนที่จะเพิ่มปริมาณการผลิต และลงทุนพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคอาเซียนอย่างจริงจัง โดยมุ่งทลายข้อจำกัดด้านพื้นที่ของสิงคโปร์ สะท้อนถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อขยายการลงทุน อีกทั้งยังอยู่ระหว่างการศึกษาถึงแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านอากาศยานในภูมิอาเซียน อาทิ ประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนามอีกด้วย

ขณะเดียวกัน ทางด้าน บริษัท โบอิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ ‘โบอิ้ง’ (The Boeing Company) อีกหนึ่งบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานชั้นนำของโลก ที่ถือเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินที่มีรายได้มากที่สุดในโลก ทั้งยังมีสัดส่วนการตลาดมากถึงร้อยละ 55 ก็มีแผนที่จะรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ เพื่อให้สอดรับกับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปริมาณความต้องการใช้เครื่องบินในภูมิภาคอาเซียน    ตอกย้ำถึงศักยภาพการเติบโตที่ดีของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยานอย่างต่อเนื่อง

โอกาสประเทศไทย กับการก้าวสู่ ‘ฮับแห่งอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน’ ในอาเซียน

นอกเหนือจากความได้เปรียบดังกล่าวข้างต้น สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องคำนึงถึงและเร่งพัฒนาศักยภาพ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ก็คือ มาตรฐานของกระบวนการผลิต เนื่องจากชิ้นส่วนอากาศยานนั้นต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานระดับโลก ซึ่งจำเป็นต้องมีกระบวนการควบคุมคุณภาพ (Quality Control : QC ) และการประกันคุณภาพ (Quality Assurance : QA) ควบคู่ไปด้วยกัน โดยหนึ่งในมาตรฐานที่ต้องได้รับการรับรอง อาทิเช่น มาตรฐาน AS9100 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มีความเข้มงวดในกระบวนการผลิตสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตเครื่องบิน เครื่องยนต์ บริภัณฑ์ต่างๆ และ ชิ้นส่วนอะไหล่ที่ใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบิน และอากาศยาน รวมไปถึงการซ่อมบำรุงและการส่งกำลังบำรุงของเครื่องบินอีกด้วย

ถึงจุดนี้ต้องบอกว่า … เส้นทางที่ประเทศไทยจะก้าวสู่ ‘ฮับแห่งอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน’ จึงอาจไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากแต่ต้องอาศัยกลไกจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผนึกกำลังร่วมกันขับเคลื่อน ก่อนที่จะติดปีกเร่งเครื่องอุตสาหกรรมคลื่นลูกใหม่ ให้ทะยานต่อไปในอนาคต ซึ่งแม้จะไม่ง่ายนัก แต่ก็เชื่อว่าผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานมือใหม่ในประเทศไทยไฟแรงพอที่จะ … ‘ฝันให้ไกลและไปให้ถึง’

สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://issuu.com/mmthailand/docs/06_16_mm_low_res/c/smot9no
ที่มา: MM Machine Tools & Metalworking ฉบับเดือน มิถุนายน 2559 – คอลัมน์ SEE/SAW/SEEN