ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ

พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากป้องกันไม่รัดกุมไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน เครื่องจักร อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นกัน

Show

ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ

การเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. สภาพการณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย (hard ware) เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย

2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (soft ware) เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน ไม่มี WI

3. ตัวบุคคลประมาท (human ware) พนักงานไม่มีความระมัดระวัง ทำงานด้วยความประมาท ชอบเสี่ยง ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

จากข้อ 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

– การทำงานข้ามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน
– ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
– การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
– ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
– ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคค PPE
– ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท , ดัดแปลงหรือแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
– การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ไม่พร้อมปฏิบัติงาน
– ทำงานด้วยความรีบร้อน เร่งรีบ เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  1. การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย source เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลา และ ทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูง หรือ การแก้ไขทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นบริษัทหรือโรงงานใหญ่ๆที่ให้ความสำคัญด้าน safety จริงๆจึงจะยอมลงทุนแก้ไขด้วยวิธีการนี้
  2. การป้องกันที่ทางผ่าน Path เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ การแก้ไขคือให้ทำการเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
  3. การแก้ไขที่ตัวบุคคล Receivers เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและรวดเร็วประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่ PPE แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุดใน 3 วิธีที่กล่าวมาและบ่อยครั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดอยู่ซ้ำตามเดิม

การป้องกันอุบัติเหตุและทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้นยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเข้ามาช่วย เช่น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
  • ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร                                                                          
  • สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร
  • จัดให้มีแสงสว่างภายในโรงงานที่เพียงพอตามมาตรฐานพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
  • พื้นที่ทำวานมีการระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น
  • การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ หรือทำ 5ส ในบริษัทอย่างจริงจัง เป็นต้น

สรุป: ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของเราโดยไม่โยนให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อให้เรานั้นทำงานและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

แหล่งที่มา: [1]

          

ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

 กฎหมายด้านความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย

อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ได้กำหนดให้นายจ้าง

ต้องจัดให้ลูกจ้างดังกล่าวได้รับการฝึกอบรม ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องมือทีอาจก่อให้เกิดอันตราย

ได้โดยสภาพ เพื่อให้มีการชำนาญในการใช้เครื่องจักรและเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ

 สาเหตุของอุบัติเหตุจากเครื่องจักร

         อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรนั้น ส่วนใหญ่ค่อนข้างร้ายแรง อาจถึงขั้นสูญเสียอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือ มือ หรือแขน เป็นต้น

อันเป็นผลให้ผู้บาดเจ็บต้องพิการไปตลอดชีวิต สาเหตุหลักๆของการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องจักร ได้แก่

         จากเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ (Hardware) ไม่มีการติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรที่เรียกว่า การ์ดหรือเซฟการ์ดที่เหมาะสม

ให้กับเครื่องจักรที่มีส่วนจุดที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะเครื่องปั้มโลหะ เครื่องจักรบางเครื่องที่มีการติดตั้งเซฟการ์ดเฉพาะด้านที่คิดว่าผู้ปฏิบัติงาน

หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะไปสัมผัสหรือทำงาน แต่ด้านที่ไม่มีเซฟการ์ดมักทำให้ช่างซ่อมบำรุงได้รับอันตรายอยู่เสมอ นอกจากนี้เครื่องจักรบางเครื่องได้มีการติดตั้ง

เซฟการ์ดเรียบร้อยแต่ปรากฏว่ารูหรือช่องตะแกรงของเซฟการ์ดนั้นมีขนาดโตเกินไป ทำให้นิ้วหรืออวัยวะของร่างกายลอดผ่านเข้าไปได้

         การป้องกันอันตรายที่เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ก็คือการจัดทำเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ หรือที่เรียกว่า

การ์ดหรือเซฟการ์ดของเครื่องจักร โดยการออกแบบหรือตามหามาตรการป้องกันมิให้มีอันตรายได้ จึงต้องมีการจัดการทำการ์ดเครื่องจักรให้ถูกต้อง

และเหมาะสมที่สุดลักษณะของการ์ดที่ดี ควรจะมีลักษณะดังนี้

         1. เป็นการป้องกันอันตรายที่ต้นเหตุ

         2. เป็นการป้องกันมิให้ส่วนของร่างกายเข้าใกล้เขตอันตราย ในบางครั้งการควบคุมหรือการตัดการส่งกำลังของเครื่องจักร อาจทำไม่ได้หรืออาจก่อความเสียหาย

แก่ระบบการทำงานของเครื่องจักรโดยส่วนรวม ดังนั้น การต่อเติมบางส่วนเข้าไปเพื่อป้องกันอันตรายได้ จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการป้องกันอันตราย

         3. ให้ความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงานได้เช่นเดียวกับที่ไม่ได้ใส่การ์ดป้องกัน การ์ดที่ดีไม่ควรรบกวนต่อการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นการมอง การจับชิ้นงาน

         4. การควบคุมการทำงาน และการตรวจสอบขนาดงาน

         5. การ์ดที่ดี ต้องไม่ขัดขวางการทำงาน

         6. การ์ดควรเหมาะสมกับงานและเครื่องจักร

         7. การ์ดควรมีลักษณะติดมากับเครื่องจักร

         8. การ์ดที่ติดตั่งแล้ว ควรง่ายต่อการตรวจและการซ่อมเครื่องจักร

         9. การ์ดควรทนทานต่อการใช้งานปกติได้ดีและง่ายต่อการบำรุงรักษา

ต้องฝึกอบรม TRAINING ก่อนใช้เครื่องจักร

 

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ

         - ห้ามใช้เครื่องจักรที่คุณยังไม่ได้รับการฝึกอบรมการใช้งานและยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้

         - ความปลอดภัยกับเครื่องจักรนั้น เริ่มจากการฝึกอบรมคุณควรเข้าใจวิธีการทำงานของเครื่องจักรและทราบว่าต้องทำอย่างไร หากเครื่องจักรเดินเครื่องผิดปกติ

         - ต้องตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องจักรก่อนการใช้งาน และสังเกตการเคลื่อนไหว เสียง หรือกลิ่นที่ผิดปกติ รวมถึงการรั่วไหลของของเหลว

รู้จักและใช้ปุ่ม ปิดฉุกเฉินเป็น EMERGENCY SHUT OFF

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ

         - ควรทราบวิธีการปิดและตัดไฟเคร่ืองจักรที่เดินเครื่องอยู่ ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

         - สังเกตปุ่มฉุกเฉินหรือวาล์ว เพื่อตัดแหล่งพลังงาน ซึ่งอาจเป็นไฟฟ้า ก๊าซอัดระบบไฮดรอลิค ระบบไอน้ำหรือรูปแบบอื่นๆ

 

สังเกตป้ายแจ้งเตือน SAFETY TAG

 

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ

         - ควรปฎิบัติตามป้ายสัญญาณและป้ายแจ้งเตือนอย่างเคร่งครัด

         - เครื่องจักรที่ไม่ปลอดภัย หรือเครื่องจักรรอการซ่อมแซม ควรมีป้ายเตือนชัดเจนและควรล็อกไว้

         - อุปกรณ์ล็อกและป้ายเตือนต้องถอดออกได้ โดยบุคคลผู้ได้รับมอบหมายเท่านั้น

ระวังอันตรายจากความร้อนและแสงไฟHEAT AND LIGHT

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ
 

         - เครื่องจักรบางชนิด มีอันตรายจากความร้อน แสงเลเซอร์ และแสงยูวี จึงควรติดป้ายเตือนอันตรายไว้ในจุดที่เห็นได้ชัดเจน

         - ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันความร้อนและแสงที่แหล่งกำเนิด

         - สวมอุปกรณ์อันตรายส่วนบุคคล เช่น แว่นตา กระบังหน้า และถุงมือกันความร้อนในขณะทำงาน 

 

ระวังพลังงานตกค้างSTORED ENERGY

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ

         เครื่องบางประเภทเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่อาจมีพลังงานสะสมตกค้าง ไว้ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องอยู่ก็อาจก่อให้เกิด การบาดเจ็บ ขึ้นได้

เนื่องจากการทำงานอาจไม่ได้หยุดทันทีหลังจากปิดการใช้งาน อาจเป็นกระแสค้างในตัวเก็บประจุไฟฟ้า ซึ่งอาจปล่อยไฟกลับมาให้เครื่องทำงานอีกครั้ง

หรือพลังงานกลที่คงเหลือใน SPRINGS และส่วนที่มีการหมุนจึงควรระมัดระวังเมื่ออยู่ใกล้เครื่องจักรเหล่านี้และควรศึกษาหลักการทำงานของเครื่องจักร

เพื่อให้ทราบถึง ความอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นได้

หลีกเลี่ยงไฟฟ้าแรงสูงและอันตรายจากไฟฟ้า

HIGH VOLTAGE AND ELECTTRICAL HAZARDS

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ

         จัดเก็บสายไฟหรือสายเคเบิ้ลให้ถูกที่ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ากับเครื่องจักรและปิดฝาครอบให้เรียบร้อย หากพบสายไฟที่หลุดรุ่ย

หรือฉีกขาดควรเร่งแจ้งช่างไฟผู้เชี่ยวชาญทำการเปลี่ยน  เพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต หรือ ไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งนอกจากจะเป็นอันตรายกับผู้สัมผัสแล้ว 

ยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดไฟไหม้อีกด้วย

ตรวจสอบก๊าซ ระบบไฮดรอลิค และระบบอัดอากาศ

GAS , HYDRAULIC , AND COMPRESSED AIR

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ

                  เครื่องจักรส่วนมากมีแหล่งพลังงาน จากระบบก๊าซ ระบบอัดอากาศ หรือระบบไฮดรอลิคท่อและสายส่ง จึงควรทำการตรวจเช็ครอยรั่วด้วยการสังเกตกลิ่น 

         เสียง และ แรงดัน อยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรเสียหายหรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัยได้

มีสติเมื่อปฏิบัติงานพื้นที่ลื่นSLIPPERY FLOORS

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ

                  น้ำมัน หรือ ของเหลว บนพื้นที่รอบเครื่องจักรสามารถทำให้คุณ เกิดอันตรายร้ายแรงหากเกิดการลื่นหรือเสียการทรงตัวและหกล้มเข้าไปในตัวเครื่องจักร

         ฉะนั้นควรรักษาพื้นที่ให้แห้งและสะอาดเสมอ

 

ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันจุดอันตราย

SAFETY GUARD

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ

                  ติดตั้งฝาครอบส่วนของเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนไหว เช่น สายพาน รอก เฟืองโซ่และจุดหมุนอื่นๆ ซึ่งสามารถ หนีบ หรือ ดึงนิ้วมือ ผม เสื้อผ้าหรือส่วนอื่นๆ 

         ของร่างกายอันเป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บได้

สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

PERSONAL PROTECTIVE EQUIPMENT (PPE)

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ
 

                  สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเมื่อต้องทำงานที่มีความเสี่ยงเช่น สวม EAR PLUG หรือ EAR MUFF เมื่อทำงานกับเครื่องจักรที่มีเสียงดังสวมถุงมือ

         เมื่อทำงานกับส่วนที่สัมผัสความร้อนหรือ ส่วนที่มีความเหลมคมของเครื่องจักร สวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาเมื่อทำงานกับเครื่องจักรที่สามารถจับชื้นงานหรือเศษของชิ้นงาน

         ออกมาได้และสวมหน้ากากนิรภัย เมื่อต้องทำงานในบรรยากาศที่มีไอระเหยของสารเคมี ฝุ่น และ ไอโลหะ

อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นสิ่งที่เราสามารถป้องกันได้หากคนทำงานทุกคนมี SAFETY MIND

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม20ข้อ