รายได้เกิน 1.8 ล้าน บุคคลธรรมดา

การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือภาษีที่คนทั่วไปจ่ายให้รัฐ เมื่อมีเงินได้ก็ต้องเสียภาษี แต่จะทำอย่างไรให้เสียภาษีในอัตราที่ต่ำที่สุด หลักการง่าย ๆ คือ

  1. กะจายรายได้
  2. เพื่อลดหย่อน
  3. ระบุประเภทรายได้ให้เสียภาษีน้อยที่สุด
  4. จดทะเบียนสมรส

การกระจายรายได้

เนื่องจากประเทศไทยใช้ภาษีอัตราก้าวหน้า ภาษาอังกฤษใช้คำว่า PROGRESSIVE RATE ไม่ทราบว่าใครบัญญัติศัพท์ภาษาไทยคำนี้นะครับ คำว่าอัตราก้าวหน้าฟังดูแล้วรู้สึกดีเหมือนถ้าเสียภาษีแล้วจะก้าวหน้า แต่ผมว่าน่าจะเรียกอัตราขูดรีดมากกว่า หลักการของภาษีอัตราก้าวหน้าคือถ้ามีเงินได้น้อย เสียในอัตราที่ต่ำกว่า แต่ถ้าเงินได้สูงจะเสียในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ถ้าได้เงิน 500,000 บาท อาจเสียภาษีแค่ 50,000 บาท หรือ 10% แต่ถ้ารายได้ 2 ล้านบาท จะไม่เสียที่ 10% อาจเสียที่ 20% กลายเป็น 400,000 บาท จากตัวอย่างดังกล่าว ถ้ารับเงินสองล้าน แทนที่จะรับก้อนเดียวสองล้านอาจเปลี่ยนเป็นเงิน 4 ก้อน ก้อนละ 500,000 ก็จะจ่ายภาษีเท่ากับ 50,000 X 4 = 200,000 บาท ไม่ต้องจ่าย 400,000 บาทเหมือนกับก้อนใหญ่ก้อนเดียว

วิธีการกระจายเงินได้ทำได้ 2 ลักษณะหลัก ๆ ได้แก่

  1. การหาคนมาช่วยรับเงิน ตัวอย่างเช่น ทำงาน 4 คนค่าจ้าง 2 ล้านบาท แทนที่จะรับคนเดียว 2 ล้าน อาจจะเจรจากับผู้จ้างว่าให้จ่าย 4 คนคนละ 500,000 แบบนี้ก็จะทำให้เสียภาษีน้อยลง
  2. การกระจายงวดการรับเงิน เช่น เงิน 2 ล้าน แทนที่จะรับครั้งเดียว อาจเปลี่ยนเป็นรับเงิน 2 ครั้ง เช่น ถ้ารับเงินช่วงเดือน ธ.ค. อาจขอให้จ่าย 1 ล้านบาทในเดือน ธ.ค. และอีก 1 ล้านไปจ่ายในเดือน ม.ค. แบบนี้ก็จะช่วยทำให้เสียภาษีน้อยลง ในอดีตคนที่รับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนจะมีเทคนิคในการกระจายรายได้คือการจดคณะบุคคล แต่ปัจจุบันกรมสรรพากรได้ทำการจำกัดการจดคณะบุคคลทำให้ไม่สามารถที่จะใช้ได้อย่างง่าย ๆ จึงจำเป็นต้องศึกษาเทคนิคอื่น ๆ ในการวางแผนภาษีต่อไป

เพิ่มค่าลดหย่อน

ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายมากมายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ และที่มักจะพูดถึงกันมากคือประกันชีวิตและกองทุน ซึ่งเป็นการลดหย่อนเต็ม ๆ นอกจากนั้นก็มีเรื่องของดอกเบี้ยผ่อนบ้าน เลี้ยงดูบุพการี เงินบริจาค ฯลฯ รายละเอียดเหล่านี้สามารถหาศึกษาได้ทั่ว ๆ ไป นอกจากค่าลดหย่อนทั่ว ๆ ไปแล้ว หากรายได้ของคุณเป็นงานพวกรับเหมา คุณสามารถหารายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มค่าลดหย่อนได้ด้วย เช่น หากรับเหมาก่อสร้าง ค่าแรงคนงานสามารถนำมาหักลดหย่อนได้ แต่ต้องมีหลักฐานชัดเจนว่าคนงานคนนี้ ได้มารับเงินจากเราไปจำนวนเงินเท่าไหร่

ระบุประเภทรายได้ให้เสียภาษีน้อยที่สุด

หากถามว่าอาชีพไหนเสียภาษีสูงที่สุดก็ต้องตอบว่ามนุษย์เงินเดือนเป็นอาชีพที่เสียภาษีสูงที่สุด ดังนั้นเมื่อไหร่ที่คุณมีรายได้ จำไว้ว่าต้องไม่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง รายได้คนเรามีหลายประเภท เช่น

  • เงินเดือน ค่าจ้าง
  • ดอกเบี้ย เงินปันผล
  • วิชาชีพอิสระ
  • รับเหมา
  • ขนส่ง
  • เกษตรกร

จริง ๆ มีมากกว่านี้ครับ ซึ่งเราควรได้ศึกษาประเภทรายได้ต่าง ๆ ว่ามีวิธีการเสียภาษีอย่างไร และพยายามปรับเงื่อนไขรายได้ของเราให้เข้าสู่รายได้ประเภทนั้น ๆ โดยดูว่ารายได้แต่ละประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ ยิ่งรายได้นั้นสามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูง ก็จะทำให้เงินได้สุทธิลดลงก็จะทำให้เสียภาษีน้อยลง ตัวอย่างเช่น หากเราขายข้าวเปลือกหรือข้าวสาร สมมติขายได้ 1 ล้านบาท ถ้าเป็นอาชีพขายสินค้าที่มิได้ผลิตเอง คุณจะมีเงินได้สุทธิ 200,000 บาท แต่หากคุณบอกว่าคุณเป็นเกษตรกร คุณจะมีเงินได้สุทธิ 150,000 บาท จะเสียภาษีน้อยลง ถ้ามีคนจ้างคุณขับรถส่งของ สมมติถ้ามีเงินได้ 500,000 บาท ถ้าเป็นค่าจ้างมีเงินได้ 410,000 บาท แต่ถ้าเป็นรับจ้างขนส่งเงินได้สุทธิจะเหลือแค่ 100,000 บาท ถ้าคุณรับจ้างพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สมมติถ้ารายได้ 1.5 ล้านบาท ถ้าเป็นค่าจ้างจะมีเงินได้สุทธิ 1.4 ล้าน บาท เสียภาษีประมาณสองแสนห้า แต่หากเป็นงานรับเหมาจะมีเงินได้สุทธิแค่ 450,000 เสียภาษีแค่สามหมื่นบาท จากตัวอย่างก่อนจะมีรายได้หากเราได้ลองศึกษาเรื่องภาษีและพยายามที่จะดันเงื่อนไขการรับเงินเข้าสู่รายได้ให้ถูกประเภทแล้ว คุณจะเสียภาษีน้อยลงมาก เรื่องเงื่อนไขการรับเงินนี้มักจะเป็นปัญหากับสรรพากรมาก เพราะการระบุประเภทรายได้นั้นไม่มีกฎระเบียบเงื่อนไขที่แน่นอน เรื่องนี้คงต้องอาศัยความสามารถในการเจรจาต่อรอง อย่างไรก็ดีในการระบุประเภทรายได้ให้ระวังอีกเรื่องหนึ่งคืออาชีพบางประเภทหากรายได้เกิน 1.8 ล้านต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ด้วย ซึ่งประเด็นนี้กลายเป็นจุดอ่อนให้สรรพากรรีดภาษีจากเราได้อีก ดังนั้นการรับรายได้ถ้าคอยระวังอย่าให้เกิน 1.8 ล้านจะดีที่สุด

จดทะเบียนสมรส

ในอดีตการจดทะเบียนสมรสจะทำให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น เพราะจะบังคับให้รายได้บางส่วนต้องยื่นรวมเป็นรายได้สามี แต่หลังจากศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าสิ่งนี้ผิดรัฐธรรมนูญ ทำให้กรมสรรพากรต้องเปลี่ยนเงื่อนไขใหม่ ปัจจุบันกลายเป็นว่าการจดทะเบียนสมรสจะทำให้เสียภาษีน้อยลง เช่น

  • รายได้บางส่วนของสามี สามารถโอนมาเป็นรายได้ของภรรยาได้
  • ถ้าสามีมีรายได้ฝ่ายเดียว รายได้บางส่วนสามารถหารสองคำนวณภาษีได้

ในเรื่องการจดทะเบียนสมรสแล้วจะทำให้เสียภาษีน้อยลงนั้นมีผลประโยชน์อีกมากมาย สามารถศึกษาได้ทั่วไปครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังเป็นข้อจำกัดคือสำหรับคนทำงานกินเงินเดือน ประเด็นนี้ไม่ค่อยช่วยอะไรมากนัก

ที่มา : www.slawconsult.com

ตามหลักการแล้วไม่ว่าใครก็ตามที่มีรายได้จากการค้าขายและบริการ ทั้งที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และที่จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เมื่อมีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี

โดยในธุรกิจบางประเภทอาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ยกเว้น VAT หากอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด หรือบางธุรกิจที่กฎหมายบังคับให้ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากเป็นไปตามเงื่อนไขก็จะได้รับยกเว้นเช่นกัน และอีกหลายๆ ธุรกิจที่ถึงแม้จะได้รับยกเว้นแต่ถ้ามีความประสงค์จะจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็สามารถทำได้

ดังนั้น เจ้าของธุรกิจที่ดำเนินกิจการจนมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีไปแล้ว และกำลังจะจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ควรเช็กให้แน่ใจก่อนว่าตนเองอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับยกเว้นหรือไม่ รวมถึงใครที่กำลังมองหาธุรกิจเป็นของตัวเอง ก็ควรทราบก่อนว่าธุรกิจที่ตนเองสนใจนั้น เป็นธุรกิจที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

หากเป็นธุรกิจที่ไม่ต้อจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะทำให้การดำเนินธุรกิจคล่องตัวยิ่งขึ้น หมดกังวลเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีธุรกิจใดบ้างต้องไปติดตาม

  • ทำความรู้จักกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายและการให้บริการภายในประเทศ รวมถึงสินค้านำเข้า ซึ่งปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% โดยกฎหมายมีการบังคับให้ผู้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณจากรายได้ทั้งหมดของธุรกิจ ยกเว้นรายได้จากงานประจำไม่ต้องนำมาคำนวณ

และให้ยื่นจดไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท พร้อมกับนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกๆ เดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป แต่ถ้าหากมีรายได้ตลอดทั้งปีเท่ากับ 1.8 ล้านบาทพอดี ยังถือว่าไม่เข้าเกณฑ์ก็จะได้รับการยกเว้นยังไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ประเภทธุรกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจด VAT

ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม และกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นแต่สามารถขอจดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้

1.ธุรกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม คือธุรกิจที่กฎหมายกำหนดว่า หากประกอบธุรกิจตามประเภทที่กฎหมายกำหนด แม้ว่าจะมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ก็ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งประกอบด้วย

1.1 ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

1.2 ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

1.3 ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

1.4 ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43)

1.5 ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

2.ธุรกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีสิทธิ์แจ้งขอจดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งธุรกิจบางประเภทที่ได้รับการยกเว้นไม่นำมานับรวมเป็นรายได้ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีสิทธิแจ้งขอจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

2.1 ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

2.2 ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย และมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

2.3 การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน

2.4 การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

2.5 การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ที่มีความประสงค์จะจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิ์เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.01

  • อาชีพใดบ้างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจด VAT

ประเภทธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นทั้ง 5 ประเภทดังที่กล่าวไปแล้ว สามารถแยกย่อยเป็นอาชีพที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจด VAT แม้ว่าจะมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ดังนี้

1.สินค้าหรือบริการที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี

2.การขายปลาป่น อาหารสัตว์

3.การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น

4.การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งไม่ใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล

5.การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์

6.การให้บริการนักแสดงสาธารณะ เฉพาะบริการในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

7.การให้บริการงานทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

8.การนำเข้าสินค้า

9.การให้บริการผู้ประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ

10.การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์

11.การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น แต่ไม่รวมบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้หรือผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นกิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม

12.การค้าขายสัตว์มีชีวิตและไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์

13.ขายยาหรือเคมีภัณฑ์พืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์

14.การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล

15.การให้บริการสถานศึกษาราชการและเอกชน

16.การให้บริการทางวิจัยและวิชาการ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการตามที่กรมสรรพากรกำหนด

17.การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน

18.การขายสินค้าและบริการเพื่อประโยชน์แก่ศาสนาและการกุศล

19.การให้บริการขนส่งในประเทศ

20.การขายสินค้าและบริการให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย

21.การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร

22.การให้บริการรักษาพยาบาล

23.การให้บริการสีข้าว

24.การค้าขายปุ๋ย

25.การค้าขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร

26.การขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ในราคาที่ไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้ (อาชีพที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 81)

สรุป

หากใครกำลังจะลงหลักปักฐานทำธุรกิจของตัวเองสักอย่าง นอกจากเลือกธุรกิจที่ถนัด เป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว อาจต้องศึกษาเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย และช่วยประหยัดภาษีได้ด้วย

-----------------------------------
Source : Inflow Accounting
อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่

รายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านต้องเสียภาษีไหม

1.ธุรกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม คือธุรกิจที่กฎหมายกำหนดว่า หากประกอบธุรกิจตามประเภทที่กฎหมายกำหนด แม้ว่าจะมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ก็ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งประกอบด้วย 1.1 ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

เมื่อผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายสินค้าเกิน 1.8 ล้านบาท ผู้ประกอบการจะต้องทำอย่างไรบ้าง

กรณีที่บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่ขายสินค้าหรือ ให้บริการในราชอาณาจักร มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เกิน 1.8 ล้านบาท โดยสามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการที่จดทะเบียนบุคคลธรรมดามีรายได้เท่าใดไม่จำเป็นต้องยื่นเสียภาษี

สำหรับยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บาทที่ไม่ต้องเสียภาษีนั้น มันเป็นอีกเรื่องที่ กฎหมายยกเว้นภาษีให้ ตามพระราชกฤษฏีกา 470 ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ออกมาเพื่อบรรเทาภาระภาษีที่ต้องจ่าย ต่างหากครับ ทีนี้... ถ้าไม่ยื่นจะผิดไหม? เพราะยังไงก็ไม่เสียภาษีอยู่แล้ว

ประชาชนคนไทยที่มีรายได้หลักจำนวนเท่าใดต่อเดือนถึงต้องไปยื่นภาษีแบบบุคคลธรรมดา

แม้ว่ากฎหมายจะบังคับให้คุณยื่นภาษีเมื่อมีรายได้ แต่ถ้าเป็นกรณีต่อไปนี้ คุณเลือกจะไม่ยื่นภาษีก็ไม่มีใครว่า มีรายได้จากเงินเดือนเพียงทางเดียว ตลอดทั้งปีไม่เกิน ฿120,000 หรือตกเดือนละ ฿10,000. มีรายได้ทางอื่นด้วยตลอดทั้งปีไม่เกิน ฿60,000 หรือเดือนละ ฿5,000.