ประเทศไทยมีการใช้พลังงานมากที่สุดในสาขาใด

- ไฟฟ้า  มีการใช้รวมทั้งสิ้น 12,671 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ  ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.2      โดยเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.1 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์  ทั้งนี้เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรม    มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.8  รองลงมาเป็นการใช้ในสาขาธุรกิจการค้า  สาขาบ้านอยู่อาศัย    และสาขาอื่นๆ อีกเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.9  22.1  และ  1.2  ตามลำดับ

คือ พื้นฐานสำหรับการเติบโตของประเทศ ทั้งการสร้าง พัฒนา และรักษา ล้วนแล้วแต่ต้องใช้พลังงานเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศไทย ที่กำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงกระจายความเจริญอย่างต่อเนื่อง

แล้วคุณเคยสงสัยมั้ยว่าแหล่งพลังงานเหล่านี้อยู่ที่ไหนบ้าง ใกล้หรือไกลตัวเราขนาดไหน แล้วแหล่งพลังงานที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่สำหรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในบทความนี้เราจะมาหาคำตอบกัน

ประเภทของพลังงาน

ก่อนจะกล่าวถึงแหล่งพลังงาน ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพลังงานถูกแบ่งออกเป็นสองประเภท ตามแหล่งที่มา ได้แก่

1. พลังงานขั้นต้น (Primary Energy) หรืออีกชื่อคือพลังงานต้นกำเนิด คือพลังงานที่อยู่ในธรรมชาติ สามารถนำมาใช้งานได้โดยตรง เช่น แสง น้ำ ลม ความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น

2. พลังงานขั้นสุดท้าย (Final Energy) คือพลังงานที่เกิดจากการนำพลังงานขั้นต้นมาแปรรูป ปรับปรุงคุณภาพให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น พลังงานปิโตรเลียม พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

สำหรับประเทศไทยนั้น มีแหล่งสำหรับผลิตพลังงานทั้งสองประเภทกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยจะเน้นหนักไปทางพลังงานขั้นต้นเสียส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันมีการผลักดันให้มีการผลิตพลังงานขั้นสุดท้าย อย่างพลังงานน้ำมันและพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน

แหล่งพลังงานในไทยอยู่ที่ไหนบ้าง

ดังที่บอกไปข้างต้นว่าประเทศไทยมีอุตสาหกรรมด้านพลังงานกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมีการผลิตก๊าซธรรมชาติออกมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย น้ำมันดิบ และถ่านหิน ซึ่งมีฐานการผลิตตามนี้

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานมากที่สุดในสาขาใด

ก๊าซธรรมชาติ

สำหรับก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยมีแหล่งผลิตราว 13 แห่งกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค โดยมีแหล่งใหญ่คือ แหล่งบงกช และ แหล่งเอราวัณ ซึ่งทั้งสองแหล่งนี้ตั้งอยู่ในอ่าวไทย และล่าสุดมีแหล่งบงกชใต้เพิ่มเข้ามา ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน

น้ำมันดิบ

แหล่งพลังงานน้ำมันของไทยแบ่งออกเป็นสองประเภท คือแหล่งพลังงานบนบกและแหล่งพลังงานในทะเล สำหรับแหล่งพลังงานบนบกจะมีอยู่ที่ภาคเหนือและภาคกลาง เช่น แอ่งฝาง แอ่งพิษณุโลก เป็นต้น ส่วนแหล่งพลังงานในทะเล เช่น แอ่งจัสมิน แอ่งบานเย็น เป็นต้น

ถ่านหิน

ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออก และโดยส่วนมากเป็นถ่านหินลิกไนต์ ซึ่งเป็นถ่านหินคุณภาพต่ำ โดยแหล่งผลิตถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของไทยที่หลายคนรู้จักกันดีคือเหมืองถ่านหินในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก

นอกเหนือจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ และถ่านหิน ประเทศไทยยังมีการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานน้ำจากเขื่อน หรือพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ทางภาครัฐกำลังผลักดันให้มีสัดส่วนพลังงานในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

สัดส่วนพลังงานในประเทศไทย

เราทุกคนรู้ว่าประเทศไทยต้องการพลังงานอย่างมหาศาล แต่เรารู้หรือไม่ว่าทุกวันนี้ประเทศไทยผลิตพลังงานอะไรมากที่สุด และใช้พลังงานอะไรมากที่สุด (ข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน)

สัดส่วนการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานมากที่สุดในสาขาใด

ตามข้อมูลของแหล่งผลิตพลังงานข้างต้น สิ่งที่ประเทศไทยผลิตในประเทศได้มากที่สุดยังคงเป็นก๊าซธรรมชาติ ตามด้วยน้ำมันดิบ คอนเดนเสท (ก๊าซธรรมชาติเหลว) และ ลิกไนต์ (ถ่านหิน) ซึ่งสัดส่วนการ
ผลิตนี้ดูจะสวนทางกับการใช้งานที่เน้นน้ำมันเป็นหลัก ทั้งการใช้งานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นและการใช้งานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้าย

สัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานมากที่สุดในสาขาใด

สำหรับการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น ไทยยังคงพึ่งพาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตเองภายในประเทศควบคู่ไปกับน้ำมัน ทั้งนี้ทั้งนั้นอัตราการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงจากปี 2560 และยังลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงต้นปี 2562 (อนึ่งกราฟของการใช้พลังงานจะไม่รวมการใช้พลังงานทดแทน) สวนทางกับน้ำมันที่มีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น

สัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้าย

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานมากที่สุดในสาขาใด

ในด้านสัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้าย ประเทศไทยยังคงมีการใช้พลังงานน้ำมันเป็นหลัก และยังมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการเติบโตของการขนส่งและภาคคมนาคม รวมถึงประชากรที่ใช้รถใช้ถนน (อนึ่งกราฟของการใช้พลังงานจะไม่รวมการใช้พลังงานทดแทน)

สัดส่วนการใช้พลังงานในแต่ละหมวดหมู่

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานมากที่สุดในสาขาใด

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าการขนส่งเป็นประเด็นหลักสำหรับการใช้พลังงานในประเทศ และจากกราฟนี้ท่านจะเห็นว่าภาคอุตสาหกรรมเองก็มีการใช้พลังงานใกล้เคียงกัน เนื่องจากประเทศไทยกำลังพัฒนาและขยายตัวอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

ด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้การนำเข้าพลังงานน้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นจากปี 2560 ถึง 15.4% และยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลงแต่อย่างใด

จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ว่าที่จริงแม้ประเทศไทยจะผลิตพลังงานได้ แต่ถ้าเทียบสัดส่วนแล้วก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของภาคประชาชน เพราะอัตราส่วนความต้องการที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเทียบกับระดับสากล แล้วจะทราบได้เลยว่าประเทศไทยยังคงมีการใช้พลังงานโดยรวมเพิ่มขึ้น

นอกจากการผลิตและการใช้งานในประเทศแล้ว ไทยยังมีการส่งออกพลังงานบางส่วนออกไปนอกประเทศด้วย แต่เพราะสาเหตุใดเราจึงต้องส่งออก มาดูในหัวข้อถัดไปกันเลยครับ

ทำไมไทยต้องส่งออกพลังงาน

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานมากที่สุดในสาขาใด

จากหัวข้อที่ผ่านมาเราคงทราบแล้วว่าไทยมีการนำเข้าพลังงานเป็นจำนวนมาก เพื่อความเสถียรทางพลังงานในประเทศ ทว่าก็มีพลังงานบางส่วนที่เราส่งออกไปเช่นกัน แล้วเราส่งออกพลังงานอะไรไปบ้าง ทำไมถึงส่งออก  

น้ำมัน

แม้จะมีการนำเข้าน้ำมันมาเพื่อใช้งานในประเทศ แต่ประเทศไทยก็มีการส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศด้วยเช่นกัน เหตุผล 2 กรณีหลักๆ ด้วยกัน คือ

1. ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นตัวกลางการซื้อขายน้ำมัน กล่าวคือรับน้ำมันดิบเข้ามาในประเทศ ทำการกลั่นเป็นน้ำมันที่สามารถใช้งานได้ และส่งออกในราคาที่สูงขึ้น เพื่อนำกำไรเข้าสู่ประเทศ รวมถึงทำให้โรงกลั่นน้ำมันต่างๆทำงานได้เต็มที่

2. น้ำมันดิบในไทยมีสารปรอทปนเปื้อนสูง ซึ่งส่งผลเสียต่อโรงกลั่นน้ำมัน ทำให้เราต้องมีการส่งออกน้ำมันออกไปเพื่อกลั่นนอกประเทศ

ถ้าแบบนั้น ทำไมจึงไม่สร้างโรงกลั่นเพื่อกลั่นน้ำมันดิบในประเทศ ? สาเหตุเพราะการส่งออกน้ำมันไปกลั่นนอกประเทศมีความคุ้มค่ากว่าการสร้างโรงกลั่นเอง อีกทั้งต้นทุนจากการสร้างโรงกลั่นจะส่งผลกระทบต่อราคาขายน้ำมันหน้าปั้มให้ถีบตัวสูงขึ้น ก็เพราะว่าถ้ามีการสร้างโรงกลั่น จะส่งผลให้ราคาขายน้ำมันหน้าปั๊มสูงขึ้น การส่งออกไปกลั่นจะช่วยประหยัดเงินในส่วนนี้ได้มากกว่า

ก๊าซธรรมชาติ

ประเทศไทยมีการส่งออกก๊าซธรรมชาติเช่นกัน เพราะมีปริมาณการผลิตที่สูงและสามารถใช้งานได้หลากหลายโดยเฉพาะในภาคครัวเรือน โดยเน้นส่งออกไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา มาเลเซีย และสปป.ลาว ตามลำดับ

ทิศทางอนาคตพลังงานไทย

ปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญในพลังงานหลักๆ สองด้าน คือ ด้านพลังงานทดแทนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และด้านการเพิ่มเสถียรภาพทางพลังงานภายในประเทศ เพื่อการใช้พลังงานที่ยั่งยืนมากที่สุด โดยส่งผลต่อภาคประชาชนน้อยที่สุด

พลังงานทดแทน  

สำหรับทิศทางของพลังงานทดแทน ประเทศไทยจะเน้นด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทน รวมไปถึงการส่งเสริมการลงทุนและการลดต้นทุนทางการผลิต เพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานทดแทนได้มากขึ้น และลดสัดส่วนพลังงานจากฟอสซิลให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงการพัฒนาและผลักดันการแก้กฎหมายด้านพลังงานทดแทนให้สามารถใช้ได้จริงและทั่วถึง

และยังมีการสนับสนุนการเปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถพลังงานไฟฟ้า พัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ด้านพลังงานในนิคมอุตสาหกรรม EEC ให้เป็นต้นแบบในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เสถียรภาพทางพลังงาน

ทางรัฐบาลมีการส่งเสริมด้านเสถียรภาพทางพลังงานอย่างครอบคลุมตั้งแต่การผลิตพลังงาน จนถึงภาคการใช้งานพลังงาน

การผลิตพลังงาน

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานมากที่สุดในสาขาใด

จะมีการเร่งรัดให้จัดหาปิโตรเลียมทั้งบนบกและทะเลให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมถึงให้ความรู้กับภาคประชาชนเกี่ยวกับพลังงาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้มากขึ้น และผลักดันโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงทางพลังงาน พัฒนาระบบรองรับสภาวะฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขวิกฤตพลังงานที่อาจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

โดยในปี 2021 ไทยได้มีการปรับแผนเข้าสู่พลังงานทดแทนใหม่ๆ มากมาย ตั้งแต่การสร้างฟาร์มโซลาร์เซลล์บนน้ำที่ใหญที่สุดในไทยที่เขื่อนสิรินธร การวางแผนทำโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อการจ่ายไฟฟ้าที่ดีขึ้น และการตั้งโรงไฟฟ้าจากขยะเพื่อไม่ให้การผลิตไฟฟ้าเกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม

การใช้งานพลังงาน

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานมากที่สุดในสาขาใด

มีการออกมาตรการการใช้งานในโรงงานและอาคาร พัฒนากฎหมายและระเบียบให้เอื้อต่อพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน ส่งเสริมการใช้ LED เน้นให้ภาครัฐเป็นต้นแบบให้ภาคประชาชนด้านการประหยัดพลังงาน

มีการอบรมบุคลากร ลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานในโครงสร้างหน่วยงานเกี่ยวกับพลังงาน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว และรัดกุมมากยิ่งขึ้น

ตอนนี้เราคงทราบแล้วว่าประเทศไทยมีแหล่งพลังงานอยู่ที่ไหน และมีเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ รวมไปถึงอนาคตจะมีทิศทางแบบใด ถึงแม้ว่าภาครัฐจะออกนโยบายมาดีแค่ไหน แต่เราก็ยังคงต้องขอความร่วมมือจากภาคประชาชน ให้ทุกคนเห็นค่าของพลังงาน ช่วยกันใช้พลังงานอย่างมีคุณค่า เพื่อที่ประเทศไทยจะสามารถใช้พลังงานที่มีอยู่ได้อย่างยั่งยืนตราบนานเท่านาน

นอกเหนือจากนั้น ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ยังมีแนวคิดการรื้อโครงสร้างค่าไฟฟ้าครั้งใหญ่ เพื่อทำให้การคิดค่าไฟฟ้าง่าย สะดวก รองรับการผลิตไฟ้าจากหลายพื้นที่ยิ่งขึ้นกว่าเดิม เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในการผลิตพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

สรุป

ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานมากมายหลากหลายรูปแบบ ทั้งพลังงานฟอสซิลและพลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่างๆ แน่นอนว่าการบริหารจัดการที่ดีย่อมเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ทิศทางพลังงานไทยเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ท้ายสุดแล้วภาคประชาชนยังคงมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ใช้พลังงาน

การให้ความร่วมมือในการประหยัดพลังงาน รู้คุณค่าของพลังงาน และใช้พลังงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นหนทางสำคัญที่ทำให้การใช้แหล่งพลังงานเป็นไปได้อย่างคุ้มค่า และทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางพลังงานไปตราบนานเท่านาน

ปัจจุบันประเทศไทยใช้พลังงานในด้านใดมากที่สุด

ร้อยละ 90 ของพลังงานที่ใช้ในเมืองไทยผลิตในรูปแบบดั้งเดิม จากรูปแบบของการใช้พลังงานเชื้อเพลิงเช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และถ่านหิน โดยส่วนที่เหลือเป็นพลังงานจากพลังงานทางเลือก อาทิ มวลชีวภาพ แก๊สชีวภาพ พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ฯลฯ

พลังงานชนิดใดที่ประเทศไทยนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

1.5.1.3 การใช้พลังงานของประเทศไทยเป็นไปในลักษณะเดียวกับการใช้พลังงานของ ประเทศต่าง ๆ ในโลก กล่าวคือ พลังงานเชิงพาณิชย์ (Commercial Energy) ซึ่งได้แก่ น้ามัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า เป็นรูปแบบของพลังงานที่มีบทบาทสาคัญและมีการใช้มากที่สุด

แหล่งพลังงานในประเทศไทย มีอะไรบ้าง

2. แหล่งพลังงานในไทยอยู่ที่ไหนบ้าง ?.
ก๊าซธรรมชาติ สำหรับก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยมีแหล่งผลิตราว 13 แห่งกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค โดยมีแหล่งใหญ่คือ แหล่งบงกช และ แหล่งเอราวัณ ซึ่งทั้งสองแหล่งนี้ตั้งอยู่ในอ่าวไทย และล่าสุดมีแหล่งบงกชใต้เพิ่มเข้ามา ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน.
น้ำมันดิบ ... .
ถ่านหิน.

จังหวัดใดที่มีการใช้พลังงานมากที่สุด

แม้กรุงเทพฯ จะเป็นจังหวัดที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุดในประเทศไทย โดยในปี 2558 มีการใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ 35,246,701,063 kWh คิดเป็นสัดส่วน 20.71% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ แต่เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหัวประชากรพบว่าจังหวัดที่มีการใช้ไฟฟ้าต่อหัวสูงสุด คือ .ระยอง เท่ากับ 10,968 หน่วยต่อปี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวม ...