ระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบพาราซิมพาเทติกทำหน้าที่สัมพัน์ในรูปแบบใด

ระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบพาราซิมพาเทติกทำหน้าที่สัมพัน์ในรูปแบบใด

ความเครียดไม่ใช่เรื่องไร้สาระหรอกครับ ความจริงแล้วความเครียดคือสัญญาณเตือนภัยเพื่อช่วยให้ร่างกายเตรียมพร้อมต่อภัยอันตรายที่สมองคาดการณ์ว่ามันอาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาขณะนั้น 

.

ซึ่งกลไกที่ว่ามานี้มันมีประโยชน์อย่างยิ่งในยุคสมัยที่มนุษย์ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในป่า

.

ลองนึกถึงวันหนึ่งขณะที่บรรพบุรุษของเรากำลังเดินหาอาหาร ทันใดนั้นสมองก็รับรู้ถึงสัญญาณไม่น่าไว้วางใจบางอย่าง (เช่นเสียงแปลกๆ ตรงกอหย้าที่ห้างออกไปไม่ใกลนัก) 

.

ถึงแม้ในขณะนั้นสมองอาจจะยังไม่สามารถทราบได้อย่างแน่ชัดว่าสัญญาณผิดปรกตินั้นแท้จริงแล้วมคืออะไร (อาจจะเป็นเสือหิวโซซักตัวหนึ่งที่กำลังซุ่มรอเราอยู่ หรืออาจจะไม่ใช่ก็ได้) แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาทในการเอาชีวิตรอด สมองของเราจึงสั่งให้ระบบประสาททั่วร่างกายผลิตความเครียดขึ้นมาเตรียมรับมือในทันที

.

เพื่อการนี้ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic system) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตุ้นความตื่นตัวของร่างกายจะทำงานอย่างเต็มที่ ดังนั้นหัวใจจึงเต้นเร็วขึ้นเพื่อเร่งการสูบฉีดเลือดให้เพียงพอต่อการลำเลียงพลังงานไปแจกจ่ายกับกล้ามเนื้อทุกส่วน ม่านตาและต่อมเหงื่อก็ขยายตัวออก การตอบสนองของระบบประสาทก็จะเพิ่มความฉับไวมากยิ่งขึ้น 

.

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจุดประสงค์สำคัญเพียงหนึ่งเดียวคือ “การเอาชีวิตรอด”

.

แต่เนื่องจากมนุษย์เปลี่ยนมาใช้ชีวิตแบบสังคมเมืองกันมาได้หลายพันแล้ว โดยไม่ได้อาศัยอยู่ในป่าดงดิบแบบยุคดึกดำบรรพ์อีกต่อไป (ทุกวันนี้เรากังวลกับค่าผ่อนรถผ่อนบ้านรวมถึงหนี้สินบัตรเครดิตมากกว่ากังวลเรื่องเสือที่คอยจะจับเรากินอยู่ตามพุ่มไม้) 

.

ก็อย่างที่เคยกล่าวอยู่เป็นประจำว่าสมองของเราวิวัฒนาการตามสังคมและเทคโนโลยีไม่ทัน ดังนั้นกลไกของความเครียดที่ดูเหมือนว่าจะเคยมีประโยชน์จึงกลายมาเป็นของล้าสมัยที่แทบไม่มีประโยชน์อะไรเลยในยุคนี้

.

ถามว่าตอนนี้อะไรคือศัตรูตัวฉกาจโดยเฉพาะกับชีวิตของชาวเมืองมากที่สุด คำตอบคงไม่ใช่เสือหรือจระเข้ หากแต่จะเป็น “ความเครียด” เองนี่แหละที่เป็นตัวก่อเกิดปัญหาได้อย่างร้ายกาจที่สุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพจิต สุขภาพกาย หรือปัญหาการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมก็ตาม

.

เนื่องจากสมองของเรายังเป็นสมองรุ่นโบราณ กว่าจะวิวัฒนาการให้สอดคล้องกับรูปแบบชีวิตสมัยใหม่ได้ก็คงจะยังอีกนาน (ไม่น่าจะรอกันไว้) ดังนั้นการไปคาดหวังให้สมองไม่ผลิตความเครียดขึ้นมานั้นคงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ 

.

แต่อย่างไรก็ตามเราก็สามารถที่จะจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

.

ในเมื่อสมองของเรามีระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous system) สำหรับการกระตุ้นความตื่นตัวของร่างกายแล้ว สมองของเราก็ยังมีระบบประสาทอีกชุดหนึ่งที่เรียกว่า พาราซิมพาเทติก 

(Parasympathetic system) ที่ทำหน้าที่ในการทำให้เกิดการคลายตัวลงด้วย

.

พาราซิมพาเทติกนี่แหละที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

เราจะสามารถทำให้ระบบประสาท พาราซิมพาเทติก ในร่างกายทำงานได้อย่างไร? 

.

ความจริงแล้วมีวิธีการมากมายที่จะทำให้ พาราซิมพาเทติกทำงาน (เพื่อคลายการทำงานให้กับส่วนต่างๆของร่างกาย) 

.

“วิธีการที่ง่ายที่สุดก็เช่นการหายใจลึกๆ”

.

โดยหายใจเข้าให้ลึกที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ กลั้นลมหายใจไว้สักประมาณ 2-3 วินาที จากนั้นก็หายใจออกช้าๆ โดยผ่อนคลายร่างกายไปด้วย การหายใจเข้าลึกๆ ช่วยขยายปอดและทำให้เราจำเป็นที่จะต้องหายใจออกยาวๆ ตามไปด้วยโดยปริยาย 

.

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหายใจออก ดังนั้นการที่เราจะต้องหายใจออกยาวๆ ช้าๆ แบบนี้จึงมีส่วนกระตุ้นให้พาราซิมพาเทติกทำงานไปด้วยโดยอัตโนมัติ

.

นอกจากนี้เราก็ยังสามารถใช้การจินตนาการในการสร้างความผ่อนคลายได้ด้วย

.

เคยมีคนพูดว่า “ถ้าการจับเจ่าอยู่ตรงนี้มันทำให้รู้สึกเครียดมากแล้วล่ะก็ ทำไมเราจึงไม่ลองออกไปเดินเล่นข้างนอกดูบ้างล่ะ?” 

.

อย่าลืมว่าสมองของเราตอบสนองไปตามสิ่งที่มันกำลังรับรู้ นี่คือกฎพื้นฐานที่สำคัญ ดังนั้นหากสิ่งที่กำลังรับรู้ทำให้เกิดความเครียด เราก็เพียงแต่เปลี่ยนสิ่งที่กำลังรับรู้เสียก็สิ้นเรื่อง

.

แล้วเราจะสามารถเปลี่ยนสิ่งที่กำลังรับรู้ได้อย่างไร? ง่ายที่สุดก็คือการอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า “จิตนาการ”

.

เพียงแต่หาที่สงบๆ นั่งหรือนอนแล้วหลับตาลง จากนั้นก็จินตนาการว่าเรากำลังอยู่ในสถานที่ที่สวยงามและเงียบสงบแห่งหนึ่ง อาจจะเป็นภูเขา ทะเล สวนดอกไม้ หรือที่ไหนก็ได้ที่คิดว่าหากเราได้ไปอยู่ที่นั่นจริงๆ แล้วล่ะก็ จิตใจของเราก็คงจะสงบและผ่อนคลายลงได้อย่างรวดเร็ว 

.

ขอให้จินตนาการถึงภาพ (รวมถึงเสียงและความรู้สึก) เช่นนี้ไปสักครู่หนึ่ง ใช้เวลาไม่นานนักระบบประสาทก็จะเริ่มตอบสนองต่อสิ่งที่มันกำลังรับรู้ ทำไห้ร่างกายและจิตใจของเราสามารถผ่อนคลายลงได้อย่างรวดเร็ว

.

และวิธีการสุดท้ายที่จะขอกล่าวถึงก็คือการกำหนดความรู้สึกผ่อนคลายตามร่างกายไปทีละส่วน วิธีการแบบนี้เป็นการบังคับให้ระบบพาราซิมพาเทติกทำงานโดยตรง วิธีการนี้ได้ผลดีเสียจนแม้แต่หน่วยรบพิเศษยังต้องบรรจุเอาไว้เป็นเทคนิคสำหรับใช้ในการนอนหลับพักผ่อนในสนามรบกันเลยทีเดียว 

.

โดยหาที่นอนพักผ่อนสบายๆ สักที่หนึ่ง หลับตาลงผ่อนคลายร่างกาย แล้วกำหนดความรู้สึกว่ากล้ามเนื้อแต่ละส่วนในร่างกายกำลังคลายตัวออกทีละส่วน (โดยหลักนิยมแล้วเรามักเริ่มต้นจากอวัยวะที่อยู่ด้านบนเช่นศีรษะหรือใบหน้าก่อนแล้วจึงค่อยๆ ไล่ลำดับ

ลงไปหาอวัยวะที่อยู่เบื้องล่างเช่นปลายเท้าหรือฝ่าเท้า) ใจเย็นๆ ค่อยๆ สร้างความรู้สึกผ่อนคลายไปทีละส่วน ใช้เวลาไม่นานนักทั้ง

ร่างกายและจิตใจก็จะรู้สึกผ่อนคลายได้อย่างน่าอัศจรรย์

.

วิธีการนี้นอกจากจะช่วยคลายความเครียดที่สะสมมาตลอดทั้งวันได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว มันยังช่วยทำให้เราสามารถเข้าสู่สภาวะ

หลับลึกได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมอย่างมากโดยเฉพาะกับคนที่มีความเครียดสะสมเสียจนนอนไม่หลับ

.

วิธีการต่างๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วนี้เป็นกลยุทธ์พื้นฐานง่ายๆ ที่เราสามารถนำไปใช้กับการจัดการความเครียดที่กำลังเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอให้ทุกท่านได้นำไปทดลองใช้ดูสักวิธีการหนึ่ง (หรือมากกว่านั้น) ที่คิดว่าเหมาะสมต่อตัวท่านเองมากที่สุด

อะไรประกอบไปด้วยระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

ตารางเปรียบเทียบการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกกับพาราซิมพาเทติก ... .

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกมีหน้าที่อะไร

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic) เป็นระบบประสาทที่ทำงานในสภาวะพักของร่างกาย ในสภาพนี้ ระบบย่อยอาหารทำงาน หัวใจเต้นช้า หายใจเข้าเพื่อนำอากาศเข้าปกติ

ระบบประสาทซิมพาเทติกมีผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายอย่างไร

อาการ/ปฏิกิริยาขานรับต่างๆที่เรียกว่า 'สู้หรือหนี' เกิดจากการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก/ ประสาทซิพาเทติก ได้แก่ ปฏิกิริยาขานรับจากระบบหัวใจและหลอดเลือด: เช่น ความดันโลหิตสูง, หัวใจเต้นเร็วและแรง, หลอดเลือดขยาย, ซึ่งจะช่วยเพิ่มเลือดเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนของร่างกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ที่รวมถึงกล้ามเนื้อทุกชนิด

หน่วยปฏิบัติงานใด อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทซิมพาเทติกอย่างเดียว

1 2. หน่วยปฏิบัติงาน ที่มีเฉพาะระบบประสาทซิมพาเทติก ไปควบคุมมี 3 อวัยวะ คือ อะดรีนัล เมดุลลา ม้าม และต่อ เหงื่อ 3. หน่วยปฏิบัติงานที่มีเฉพาะระบบประสาทพาราซิม- พา เทติกไปควบคุมมีอวัยวะเดียวคือ ตับอ่อน Page 4 BRAIN. CRANIAL NERVES.