การลาออกจากงาน ทันที ได้ เงินเดือน ไหม

ลาออกจากงานแต่ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า บริษัทไม่จ่ายเงินเดือนได้หรือไม่

จขกท.เป็นเจ้าหน้าที่บุคคล แต่ไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้โดยตรง อยากจะสอบถามกฎหมายเกี่ยวกับการลาออกจากงาน
เนื่องจากบริษัทที่จขกท.ทำงานอยู่ มีกฎของการลาออกจากงานคือ ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน (ตามรอบการจ่ายเงินเดือน) แต่ลูกจ้างได้งานใหม่จึงออกจากงานโดยที่ไม่ได้แจ้งทางบริษัท ดังนั้นบริษัทจึง HOLD เงินเดือนของลูกจ้างไว้ (ไม่โอนเงินให้ลูกจ้าง)  ลูกจ้างบางรายบริษัทแจ้งออกจากประกันสังคม โดยระบุสาเหตุที่ออกว่า (ปลดออก หรือ ไล่ออก) ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถรับสิทธิกรณีว่างงานได้ อยากสอบถามว่า
1.บริษัทไม่จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างได้หรือไม่?
2.ถ้าไม่ได้ ลูกจ้างจะสามารถเรียกร้องอะไรจากทางบริษัทได้บ้าง?
3.ในการณีที่นายจ้างแจ้งประกันสังคมว่า ถูกปลดออกหรือไล่ออก ลูกจ้างจะเสียประวัติหรือไม่?
ปล.ปกติแล้วบริษัทอื่นๆเขาก็จ่ายให้หมดไม่ว่าลูกจ้างจะทำงานกี่วันก็ตาม

ทั่วไป

05 ก.พ. 2565 เวลา 14:17 น.80.7k

ลาออกไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน ไขข้อสงสัย สรุปทำได้หรือไม่ได้กันแน่? ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ลาออกจากงาน ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน สามารถออกจากงานได้ทันที ทาง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีการโพสต์ให้ข้อมูลที่ระบุว่า ลาออกจากงาน ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน ตามกฎหมายแล้ว เมื่อลูกจ้างยื่นจดหมายลาออกให้กับบริษัท เท่ากับว่าการลาออกเสร็จสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องรอการอนุมัติจากนายจ้าง สามารถออกได้ทันที และต้องได้ค่าตอบแทนถึงวันที่ทำงานวันสุดท้ายนั้น

ทาง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ตามมาตรา 17 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ลูกจ้างลาออกต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ถ้าไม่บอกกล่าวก่อน หรือออกไปทันที แม้ไม่ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติ การลาออกก็ตาม หากเกิดความเสียหาย นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ และหากไม่เกิดความเสียหาย หรือนายจ้างพิสูจน์ไม่ได้ว่าเสียหายอย่างไร ศาลก็เพียงแต่ยกฟ้องเท่านั้น

โดยตามฎีกาที่ 10614/2558 เรื่อง ลูกจ้างลาออกจากงานไม่ถูกต้อง เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 อันเป็นเหตุให้นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้แต่การกำหนดจำนวนค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาล ทั้งนี้โพสต์ดังกล่าว ไม่ตรงกับข้อกฎหมายส่งเสริมให้ลูกจ้างทำการลาออกไม่ถูกต้องตามระเบียบ สัญญา และตามข้อกฎหมาย แม้ไม่มีโทษทางอาญาแต่ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาแรงงาน ปัญหาการฟ้องร้องกันไปมาได้

แต่อย่างไรก็ตาม หากสัญญาจ้างของหน่วยงาน มีการระบุเกี่ยวกับการแจ้งลาออกล่วงหน้าก่อน 30 วัน ลูกจ้างควรต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของหน่วยงานนั้นๆ

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://www.labour.go.th/ หรือโทรสายด่วน 1506 กด 3

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : มาตรา 17 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แต่กรณีที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานนั้นๆ

การลาออกจากงาน ทันที ได้ เงินเดือน ไหม

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน , ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

HR Board

  • เข้าสู่ระบบ

ปัทมวรรณ

สอบถามค่ะ ว่า ถ้าพนักงานมาทำงาน 10 วันแล้วหายไป ไม่ได้แจ้งออก ไม่ได้เขียนใบลาออก พนักงานจะต้องได้รับค่าจ้างไหมคะ บริษัทต้องทำจ่ายโดยไม่ต้องรอให้พนักงานไปเขียนใบลาออกไหมคะ ถ้าไม่เขียนจะไม่ได้รับค่าจ้างแบบนี้ผิดกฎหมายไหมคะ

1

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

2 คำตอบ

  • นราธิป ทองบ่อ (Neti Nara Law office)

    ช่างเป็นคำถามที่น่าสนใจมากครับ ผมขอแยกตอบเป็น 2 ประเด็น เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ

    1. ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ค่าจ้าง หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้ เมื่อทราบความหมายแล้ว ดังนั้นการที่ลูกจ้างหายไป ไม่บอกไม่กล่าว ไม่มาทำงานในวันที่ 11 เป็นต้นไปและไม่มาทำงานอีกเลย ก็เป็นแต่เพียงก่อให้เกิดสิทธิ์ที่นายจ้างจะเลิกจ้าง และไม่จ่ายค่าจ้างในวันที่ไม่มาทำงาน แต่สำหรับวันที่ลูกจ้างมาทำงาน จำนวน10 วัน นายจ้างมีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ

    2.การที่นายจ้างจะออกกฎหรือระเบียบว่า หากลูกจ้างไม่มาเขียนใบลาออกจะไม่จ่ายค่าจ้างให้ ถือเป็นระเบียบที่ขัดต่อ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน อันเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมเป็นโมฆะ ตามป.พ.พ. มาตรา 150 ดังนั้นแล้วก็ไม่สามารถใช้บังคับได้ และผมขอแถมเป็นเกร็ดเล็กๆให้อีกว่า การที่นายจ้างทำแบบนี้ไม่เพียงแต่จะต้องจ่ายค่าจ้าง หากลูกจ้างไปร้องเรียนขึ้นมาว่านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง อาจต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 9 แห่งพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ให้แก่ลูกจ้างก็เป็นได้

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

หากต้องการอ่านคำตอบทั้งหมด
กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก
(ใช้เวลาไม่นานในการสมัคร)

ออกจากงานโดยไม่แจ้งล่วงหน้ามีความผิดไหม

ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ตามมาตรา 17 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ลูกจ้างลาออกต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ถ้าไม่บอกกล่าวก่อน หรือออกไปทันที แม้ไม่ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติ การลาออกก็ตาม หากเกิดความเสียหาย นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ และหากไม่เกิดความเสียหาย ...

ลาออกกระทันหันได้ไหม

ทาง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ตามมาตรา 17 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ลูกจ้างลาออกต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ถ้าไม่บอกกล่าวก่อน หรือออกไปทันที แม้ไม่ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติ การลาออกก็ตาม หากเกิดความเสียหาย นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ และหากไม่เกิดความเสียหาย ...

ใบลาออก มีผลวันไหน

กฎบริษัทฯส่วนใหญ่ ระบุไว้ว่า ลาออกให้ “แจ้งล่วงหน้า 30 วัน” ความจริงแล้ว หลานๆ สามารถยื่นลาออกให้มีผลวันถัดไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน แม้จะลาออกแบบผิดกฎบริษัทฯ บริษัทฯ ห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ที่หลานได้ทำไปแล้ว

ลาออกจากงานจะได้อะไรบ้าง

กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา : รับเงินทดแทน 30 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน กรณีไม่ได้ทำงานจากเหตุสุดวิสัย : รับเงินทดแทน 50 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน.
ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย.
ทุพพลภาพ.
คลอดบุตร.
สงเคราะห์บุตร.
ชราภาพ.