มนุษยสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ไม่

มนุษยสัมพันธ์ของชีวิตในองค์กร

มนุษยสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ไม่

ภาพที่ มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร

ที่มา : (WisdomMax. 2557)

องค์กรเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิต ด้วยว่าองค์กรประกอบด้วยกลุ่มของคนที่เข้ามาทำงานอยู่ร่วมกัน  มีปฏิสัมพันธ์ภายใต้บทบาทหน้าที่ของระบบที่มีการจัดการในระดับหนึ่ง  เมื่อองค์กรมีชีวิตแล้วนั้นจึงมีพลังที่จะสามารถจัดการกันตนเองได้  สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  มีความยืดหยุ่นที่จะปรับตัวและเปลี่ยนแปลง  และมีศักยภาพในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

มนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่สร้างความเข้าอันดีระหว่างบุคคลกับบุคคล  หรือกับหมู่คณะ  เช่น  ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา  เพื่อก่อให้เกิดความเคารพนับถือ  ความจงรักภักดี  ความสามัคคี  ความสำเร็จในการทำงาน  ตลอดจนพฤติกรรมในการแสดงออกทั้งทางกาย  วาจา  ใจต่อผู้อื่นในรูปแบบของการทำงานร่วมกัน

มนุษยสัมพันธ์ทุกคนต้องอยู่ร่วมกันและต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจแก่เพื่อนร่วมงานในฐานะที่มนุษยสัมพันธ์เป็นแกนสำคัญของการทำงาน

ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)

        มีผู้ให้ความหมายของคำว่า มนุษยสัมพันธ์ไว้มากพอสมควร  ซึ่งจะขอยกตัวอย่างบางประการ  ดังต่อไปนี้

คำว่า มนุษยสัมพันธ์เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า มนุษย์และ สัมพันธ์ซึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้ความหมายว่า ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน  ( ราชบัณฑิตยสถาน. 2542 : 238 )

อริสโตเติล ( Aristotle ) นักปราชญ์ชาวกรีก อธิบายว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เป็นหมู่เป็นเหล่ามนุษย์ อยู่ร่วมกัน เป็นกลุ่มเป็นพวก มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน การที่มนุษย์อยู่ร่วมกัน ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย ซึ่งเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า การที่มนุษย์มีสัมพันธ์กัน มนุษย์จึงเป็นสัตว์สังคม ดังที่นักปราชญ์ได้กล่าวไว้

มนุษยสัมพันธ์  หมายถึง กระบวนการจูงใจของบุคคลอย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ โดยมีความพอใจ ในทางเศรษฐกิจ และสังคม มนุษย์สัมพันธ์ จึงเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์เพื่อใช้ใน การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี กับบุคคล การยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ และการให้ความจงรักภักดี ในการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างบุคคล ต่อบุคคล ตลอดจนองค์กรต่อองค์กร ( David, Keith. 1977 )

จากความหมายต่างๆ ของคำว่า มนุษยสัมพันธ์ดังที่กล่าวมาข้างต้น  สรุปได้ว่า  มนุษยสัมพันธ์  หมายถึง  กระบวนการประพฤติปฏิบัติตนทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  และการกระทำของตนที่กระทำต่อบุคคลอื่นให้สามารถครองใจเขาได้  เพื่อให้เกิดความรู้สึกผูกพันที่ดีต่อกัน  เกิดความพอใจ  รักใคร่  นับถือ  ซึ่งก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน  ทำงานด้วยความเต็มใจและมีความสุข  ช่วนให้เป้าหมายของหน่วยงานบรรลุสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวความคิดอันเป็นรากฐานของมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน

แนวความคิดอันเป็นรากฐานของมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน  ปรัชญาดังกล่าวในมนุษย์สัมพันธ์จึงสรุปได้ 4 ประการคือ

1. บุคคลต้องการผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน (Mutual interest) หมายถึง ผลประโยชน์ของคนที่ทำงานในองค์การ กับผลประโยชน์ขององค์การนั้น ๆ ซึ่งการที่คนจะเข้าไปทำงานในองค์การใดหรือการที่องค์การใดจะรับคนเข้าไปทำงานนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกหรือความเชื่อว่าตนจะได้ประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง

2. บุคคลย่อมมีความแตกต่างกัน (Individual difference)มนุษย์มีความแตกต่างกัน (Man is different) ยากที่จะเข้าถึงจิตใจของคนทุกคนได้เพราะนานาจิตตัง จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึงเมื่อแต่ละคนต่างมีความแตกต่างกันมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เราก็ไม่จำเป็นต้องคิดหรือทำเหมือนคนอื่นไปเสียทุกอย่างด้วย ความแตกต่างของบุคคลนี้มีความสำคัญมากสำหรับมากสำหรับการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะได้เข้าใจพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นได้บ้าง โดยเฉพาะผู้บริหารจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องความแตกต่างของบุคคลเพื่อการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาได้เหมาะสม

3. มนุษย์ทุกคนมีแรงจูงใจ (Motivation) ต้องจูงใจผู้อื่นให้มีเจตคติตรงกัน มีจุดหมายร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจูงใจตนเองให้มีระเบียบและความรับผิดชอบเรื่องต่าง ๆ ที่วิชามนุษย์สัมพันธ์ครอบคลุมเป็นการตอบสนองทั้งหมดของบุคคลต่อพลังการจูงใจต่าง ๆ (The total response of individuals to various motivation forces) นั่นก็คือ การที่บุคคลในองค์การมีความสัมพันธ์กันตามที่เป็นอยู่เป็นเพราะเขาถูกกระตุ้นโดยพลังทางจิตวิทยา ทางสังคม และทางเศรษฐกิจซึ่งมีอำนาจที่จะกระตุ้นให้เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ในลักษณะนั้น ๆ โดยเฉพาะ เมื่อเกิดมีการขัดแย้งในแรงจูงใจในคนงานองค์การจะเกิดการแตกร้าว เป็นที่ประจักษ์ว่า ถ้าหัวหน้าและคนงานต่างก็มีแรงจูงใจที่เหมาะสมในการทำงานแล้วผลผลิตจะเพิ่มขึ้น

4. บุคคลทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ( Human dignity )เสมอกัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางปรัชญามากกว่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ มนุษย์นับเป็นสัตว์ประเสริฐที่มีความคิด มีสมอง มีความรู้ผิดชอบชั่วดี มีวัฒนธรรม มีสามัญสำนึก เป็นสิ่งที่อยู่เหนือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น การติดต่อสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกันจึงต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ และตระหนักในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของเขา ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร มีสถานภาพหรือฐานะอย่างไร เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกับเรา ซึ่งต่างก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของแต่ละคน ศักดิ์ศรีของมนุษย์ (Human dignity) เป็นรากฐานปรัชญา จริยศาสตร์และศีลธรรมที่จะบังเกิดผลดีในแง่มนุษย์สัมพันธ์ การวิจัยหลายกรณีแสดงว่ามนุษย์ต้องการการยอมรับการให้เกียรติกันหรือการกระทำด้วยการเคารพนับถือซึ่งกันและกัน มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน

7 วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

มนุษยสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ไม่

ภาพที่2 เทคนิคการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ 

ที่มา : (ฝ่ายบริการวิชาการ siamsafety. 2554)

1. Positive Thinking   เริ่มต้นด้วยการคิดบวก มองโลกในด้านบวก เพื่อให้ตนเองทำงานอย่างมีความสุข มองคนอื่นๆ มองเพื่อนร่วมงานในด้านที่ดีๆของเค้า ไม่จับกลุ่มวงสนทนา วิพากวิจารณ์ผู้อื่น เราต้องเข้าใจอยู่เสมอว่า ไม่มีใครดีพร้อม สมบูรณ์แบบไปทุกด้าน แต่ละคนมีด้านดีและไม่ดีแตกต่างกันออกไป แค่ Positive Thinking ในการทำงานทุกๆวัน ก็จะทำให้เราเป็นสุขแล้ว

2. ให้เกียรติผู้อื่นอยู่เสมอ   การยอมรับและให้เกียรติผู้อื่นทำให้ลดความขัดแย้งในการทำงานลงได้ในทุกๆสถานการณ์ ต้องเข้าใจและยอมรับในความคิดและการตัดสินใจของเพื่อนร่วมงาน โดยอาศัยหลักของเหตุผล และผลประโยชน์ส่วนรวมก่อนเสมอ 

3. สื่อสารให้เป็น   ในการทำงานขาดไม่ได้ในเรื่องของการสื่อสาร หากเราเป็นผู้ที่สื่อสารเป็นแล้วนั้น จะทำให้การทำงานราบรื่นและลดข้อผิดพลาด รวมไปถึงลดความขัดแย้งด้วย โดยการสื่อสารจะต้องตรงจุด ตรงประเด็น ชัดเจน ไม่นำอารมณ์ส่วนตัวมาใช้ในการสื่อสาร ขณะที่เป็นผู้ฟังก็ต้องให้ความใส่ใจตอนที่เพื่อนร่วมงานพูด เพื่อที่จะสามารถเข้าใจถึงสาระสำคัญของเนื้อหา สิ่งนี้ช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิด และเมื่อผู้พูด พูดจบแล้ว คุณก็จะสามารถสรุปสิ่งที่ได้ยิน และสื่อความหมายระหว่างกันได้อย่างตรงประเด็นเช่นกัน

4. ตัดสินใจอย่างเหมาะสมหากเกิดความขัดแย้ง   อย่าปล่อยให้สถานการณ์ที่ย่ำแย่เกิดการลุกลาม จนเป็นเรื่องใหญ่โต รีบแก้ปัญหา ด้วยการปรับเปลี่ยนแผนในการทำงาน เพื่อหาถึงสาเหตุ ของปัญหาที่เกิดขึ้น หากยังไม่สามารถแก้ปัญหากับเพื่อนร่วมงานได้ จึงนำไปปรึกษากับระดับผู้บริหารต่อไป โดยต้องไม่ใส่สี ตีความให้เกินความเป็นจริง การทำงานเราจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทก่อน รายงานผู้บริหารตามความเป็นจริง

5. ระมัดระวังความสัมพันธ์ ในองค์กร   คุณต้องแน่ใจว่า ไม่ได้ปล่อยให้ความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อน เข้ามารบกวนในเนื้อหาของการทำงาน คุณต้องให้ความสนใจไปที่ การจัดลำดับความสำคัญของงานมากกว่า มุ่งเน้นให้งานมาก่อนเสมอและต้องพยายามลดข้อโต้แย้ง ในประเด็นเรื่องส่วนตัว ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานออกไป

6. อ่อนน้อม ถ่อมตน และเปิดใจ   ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงาน ด้วยความสุภาพนอบน้อม กับหัวหน้างานและผู้หลักผู้ใหญ่ในองค์กร รู้จักถ่อมตนและหากได้รับการชื่นชม ต้องรู้จักให้เครดิตเพื่อนๆ พี่ๆ ร่วมงานในทีมเสมอ การทำงานต้องเปิดใจให้กว้าง ให้การเคารพต่อความรู้สึกของเพื่อนร่วมงาน เหมือนอย่างเช่นที่คุณต้องการให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นทำสิ่งเดียวกันนี้กับ คุณเช่นเดียวกัน

7. ยอมรับถึงวัฒนธรรม และลักษณะของบุคคลที่แตกต่างกัน   เพื่อนร่วมงานแต่ละคน ไม่ได้ใช้มาตรฐานแบบเดียวกัน ไม่ได้มีนิสัย ลักษณะอารมณ์ที่เหมือนๆกัน ล้วนแล้วแต่มาจากหลากหลายที่ ในการทำงาน ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มาก ยอมรับในความแตกต่างและต้องรู้จักใช้เหตุผลตัดสิน  


อ้างอิง

1.       พรรณทิวา วรรณพฤกษ์(2553). ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations). [Online].

          Available : https://www.l3nr.org/posts/376728. [2553, -]

2.       จุฬามณี. (2557). แนวความคิดอันเป็นรากฐานของมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน. [Online].

          Available : http://human-thai.blogspot.com/. [2557, ตุลาคม 21]

3.       การจัดการความรู้ กองแผนงาน. (2556). 7 วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน.[Online].

                Available : http://plan.msu.ac.th/kmplan/KMDetails.php?stat=read&kmid=

                183&group=1. [2556, มีนาคม 8]

4.       พรรณราย  ทรัพยะประภา. (2548). จิตวิทยาประยุกต์ในชีวิตประจำวันและในการทำงาน. กรุงเทพฯ:

                โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิงรูปภาพ

1.         WisdomMax. (2557). มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร. [Online].

           Available :http://www.wisdommaxcenter.com/detail.php?WP=
                       GQSgG2rDqYyc4Uuw. [2557, ธันวาคม 23]

2.       ฝ่ายบริการวิชาการ siamsafety. (2554). เทคนิคการสร้างมนุษย์สัมพันธ์. [Online].

            Available : http://www.siamsafety.com/index.php?page=
                        moral%2Fmoral_korkid02072011. [2554, กรกฎาคม 2]

อาจารย์ที่ปรึกษา

ผศ. ปวีณา    สปิลเลอร์

จัดทำโดย

นางสาวเสาวนีย์   แสนเสนา   รหัสนักศึกษา 5711011809099

นักศึกษาสาขาวิชาเลขานุการทางการเเพทย์  หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต