External harddisk ใช้ยังไง

SOLUTIONS CORNER
ฮาร์ดดิสพกพามีประโยชน์อย่างไร แล้วมีหลักการเลือกซื้อให้คุ้มอย่างไรบ้าง
External harddisk ใช้ยังไง

ฮาร์ดดิสพกพามีประโยชน์อย่างไร แล้วมีหลักการเลือกซื้อให้คุ้มอย่างไรบ้าง


External harddisk ใช้ยังไง

ฮาร์ดดิสคือส่วนอุปกรณ์สำคัญของคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลต่อการใช้งานของผู้ใช้โดยตรง ทั้งในเรื่องของการเก็บรักษาข้อมูลและความรวดเร็วในการใช้งาน ซึ่งจำนวนความจุและประเภทของฮาร์ดดิสคือข้อสำคัญที่เราต้องเลือกให้ดีเพื่อการใช้งานอุปกรณ์ให้ได้เต็มประสิทธิภาพ และนอกจากฮาร์ดดิสในแบบที่เป็นอุปกรณ์ที่ติดมากับตัวคอมพิวเตอร์แล้ว ก็ยังมีฮาร์ดดิสพกพาที่เป็นอุปกรณ์สำหรับการเก็บสำรองข้อมูลที่สามารถพกพาไปไหนก็ได้ แถมยังมีความจุมากอีกด้วย

ข้อดีและประโยชน์ของฮาร์ดดิสพกพา


สำหรับข้อดีของฮาร์ดดิสพกพาประการแรกเลยก็คือขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา และพกพาสะดวก ทำให้เจ้าฮาร์ดดิสขนาดเล็กนี้เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้สำหรับการเก็บข้อมูลสำรองจากคอมพิวเตอร์หลัก หรือจะเอาไว้เก็บข้อมูลสำคัญที่ต้องการความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ด้วยความจุที่มากและหลากหลายขนาด ทำให้ฮาร์ดดิสพกพาเป็นอุปกรณ์ที่คนใช้คอมพิวเตอร์ทำงานและเพื่อความบันเทิงทุกคนต่างก็ต้องมีติดตัวเอาไว้สำรองและเก็บไฟล์ต่าง ๆ

ข้อดีอีกอย่างก็คือความทนทานที่มากกว่า อย่างที่เราจะเห็นกันว่า USB Flash Drive สมัยนี้จะมีปริมาณความจุที่มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถึงแม้ว่าจะมากจนใกล้เคียงกับฮาร์ดดิสมากแค่ไหนก็ตาม แต่เรื่องประสิทธิภาพของการทำงานนั้นรับรองเลยว่าเทียบกันไม่ได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความทนทานจากการใช้งานที่บอกไป หรือจะเป็นความรวดเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่เหนือชั้นกว่า และประสิทธิภาพในการเรียกใช้และอ่านข้อมูลได้ใกล้เคียงกับฮาร์ดดิสในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว

เลือกฮาร์ดดิสพกพาอย่างไรให้ใช้แล้วคุ้ม


ด้วยการออกแบบที่หลากหลายและความแตกต่างทั้งประเภทและยี่ห้อของฮาร์ดดิสพกพา เพื่อให้การเลือกซื้อของเราได้ของที่คุ้มค่าก็จะต้องพิจารณาถึงประเภทของฮาร์ดดิส ซึ่งเป็นเรื่องระหว่าง HDD กับ SSD ว่าเราจะเลือกประเภทไหน ถ้าเป็นการเก็บข้อมูลทั่วไปที่ไม่ได้ต้องการการถ่ายโอนข้อมูลที่เร็วมากมาย ลำพังแค่ HDD ก็เพียงพอ แต่ถ้าหากว่าคุณเน้นไปที่ความเร็วในการอ่านและโอนย้ายให้ไวไว้ก่อน SSD จะสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าเมื่อแรงและไวกว่า ราคาก็สูงกว่าเช่นกัน และการดูในเรื่องของความสามารถในการป้องกันแรงกระแทกต่าง ๆ ด้วย เพราะฮาร์ดดิสที่พกได้จะต้องพบเจอกับแรงกระแทกเสมอ แต่จะมากจะน้อยก็แล้วแต่ผู้ใช้งาน นั่นหมายความว่าเพื่อความปลอดภัยเราควรที่จะเลือกแบบที่มีความสามารถในการกันกระแทก Ruggedness ติดมาด้วย

นอกจากนั้นแล้วก็อย่าลืมเรื่องของปริมาณความจุของข้อมูลที่อย่างน้อยตอนนี้ควรจะเลือกฮาร์ดดิสพกพาที่มีความจุ 1 TB ขึ้นไป เพราะจากที่สังเกตแล้วขนาดของไฟล์ประเภทต่าง ๆ นั้นดูท่าว่าจะใช้เนื้อที่มากขึ้นโดยเฉพาะกับไฟล์เพลงและภาพยนตร์ และเพื่อความคุ้มค่าที่มากกว่าอย่างไรก็อย่าลืมศึกษาเรื่องของวิธีการใช้งานที่ถูกต้องเอาไว้ด้วย ฮาร์ดดิสที่รักจะได้อยู่กับเราไปได้นาน ๆ

ควิกเซิร์ฟ
  • •  ติดต่อเรา
  • •  เกี่ยวกับเรา
  • •  ลูกค้าที่ไว้วางใจ
  • •  สิทธิส่วนบุคคล
  • •  แผนผังเว็บไซต์
สินค้า
  • •  เซิร์ฟเวอร์
  • •  ไฮเปอร์คอนเวิร์จ
  • •  สตอเรจ
  • •  เบรคเซิร์ฟเวอร์
  • •  เครื่องสำรองไฟ
  • •  อุปกรณ์เครือข่าย
  • •  เวิร์คสเตชั่น
  • •  อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  • •  โปรแกรมสำเร็จรูป
งานระบบ
  • •  Domain Controller
  • •  File & Print Sharing
  • •  E-mail
  • •  Virtualization
  • •  Backup & Recovery
  • •  Business Security
  • •  Internet Data Center
  • •  Internet Logging
  • •  Internet Security
บริการ
  • •  ขอรับใบเสนอราคา
  • •  การชำระเงิน
  • •  การจัดส่งสินค้า
  • •  ระบบสมาชิก
  • •  Technology Update
  • •  Solution Conner
กิจกรรม
  • •  กิจกรรมเพื่อสังคม
  • •  กิจกรรมของบริษัทฯ
ออนไลน์
  • •  Facebook
  • •  YouTube
  • •  Commercial
  • •  Cloud Quickserv

ฮาร์ดดิสก์พกพา (External HDD) มีตัวเลือกเยอะมาก สเปกในส่วนของความจุน่ะเรารู้ว่าควรจะเลือกใหญ่แค่ไหนดี เพราะมันขึ้นอยู่กับความต้องการเนื้อที่ของเรา แต่ว่าชนิดของฮาร์ดดิสก์พกพานี่สิมีเยอะจัง มีทั้งถูกและแพง แล้วมันแตกต่างกันยังไง ควรจะเลือกใช้ยังไงถึงจะคุ้มค่า บล็อกตอนนี้จะลองมาแนะนำให้ครับ

เท่าที่ดูตามท้องตลาด ถ้านับเฉพาะส่วนที่เป็นฮาร์ดดิสก์พกพา (กรณีศึกษานี้คือจากยี่ห้อ SanDisk และ WD นะครับ) ก็มีทางเลือกอยู่หลักๆ 5 ตัวเลือก ดังนี้ครับ

💻 ฮาร์ดดิสก์พกพาแบบปกติ เช่น WD My Passport หรือ WD My Passport Ultra

💻 เอาฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊กมาใส่กล่องฮาร์ดดิสก์

💻 SSD พกพา (External SSD) เช่น WD My Passport SSD

💻 เอา SSD มาใส่กล่องฮาร์ดดิสก์

💻 ฮาร์ดดิสก์พกพาแบบไร้สาย เช่น WD My Passport Wireless หรือ WD My Passport Wireless Pro

💻 SSD พกพาแบบไร้สาย เช่น WD My Passport Wireless SSD

ซึ่งแต่ละตัวเลือก มันก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป เหมาะสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน ผมขอแนะนำแบบนี้ก็แล้วกันครับ

ฮาร์ดดิสก์พกพาแบบทั่วไป – ตัวเลือกที่คุ้มค่าที่สุด

พวกนี้คือการเอาฮาร์ดดิสก์ความเร็ว 5,400 รอบมาใช้ มีอินเทอร์เฟซเป็น SATAIII เชื่อมต่อผ่าน USB-A ซะมาก เพราะความเร็วของฮาร์ดดิสก์พวกเนี้ย จะอยู่ที่ 110-130MB/s ทั้งอ่านและเขียน ไม่ได้ต้องการแบนด์วิธอะไรมากมาย แค่ USB 3.2 Gen 1 (หรือเมื่อก่อนเรียก USB 3.0) ที่ให้แบนด์วิธ 5Gbps ก็เหลือเฟือแล้ว

External harddisk ใช้ยังไง

ฮาร์ดดิสก์พกพาแบบทั่วไปแบบนี้ มีราคาต่อความจุที่คุ้มค่าที่สุดแล้วครับ และด้วยความที่มันใช้ฮาร์ดดิสก์แบบทั่วๆ ไป ความจุสูงสุดที่มีวางจำหน่ายก็เลยบิ๊กเบิ้มสุดเช่นกันคือ เริ่มต้นที่ 1TB และเบิ้มสุดคือ 5TB ราคาเริ่มต้น 1TB 1,299 บาท และไปสุดที่ 5TB แค่ 3,380 บาทเท่านั้น พวกนี้เหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ขนาดไฟล์ใหญ่ๆ แต่ไม่ได้ต้องการความเร็วสูงปรี๊ด (อารมณ์ประมาณรอได้) หรือ เอาไว้เก็บข้อมูลที่ไม่ได้ต้องการใช้บ่อยๆ เช่น การเอาไฟล์งานวิดีโอไปส่งให้ลูกค้า การสำรองข้อมูลออกจากเซิร์ฟเวอร์หรือ NAS หรือ สำรองข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

เอาฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊กมาใส่กล่องฮาร์ดดิสก์ – ฮาร์ดดิสก์พกพาแบบรียูส

ในกรณีที่คุณอัปเกรดโน้ตบุ๊กจากฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กเป็น SSD แล้วไม่รู้จะเอาฮาร์ดดิสก์ตัวเก่านี่ไปทำอะไร จะทิ้งก็เสียดาย บางทีการไปหาซื้อกล่องใส่ฮาร์ดดิสก์มาใช้ เพื่อแปลงมันเป็น External HDD ก็อาจจะดีก็ได้นะ

External harddisk ใช้ยังไง

อย่างไรก็ดี อยากให้รู้ว่าตัวกล่องใส่ฮาร์ดดิสก์ที่เราซื้อมา ถ้าของมันห่วย ความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูลมันก็จะต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเยอะมาก และจากที่ผมลองใช้แม้จะเป็นของดีๆ ก็ตาม ความเร็วที่ได้จากการใช้กล่องพวกนี้ มันก็ต่ำกว่าพวกฮาร์ดดิสก์พกพาที่ถูกออกแบบมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะนะ ฉะนั้น การใช้งานแบบนี้ ถ้าไม่ใช่เพราะคุณมีฮาร์ดดิสก์เหลือใช้ ผมไม่แนะนำให้จงใจหาซื้อทั้งฮาร์ดดิสก์และกล่องมาใช้งานนะครับ

จริงๆ กล่องใส่ฮาร์ดดิสก์แบบนี้ ผมเอาไว้ใช้ในกรณีที่จำเป็นต้องถอดฮาร์ดดิสก์หรือ SSD (แบบ SATAIII) เพื่อเอามาเสียบกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เพื่อใช้ดึงข้อมูลมากกว่า

SSD พกพา (External SSD) – แพงแต่เร็ว

แนวคิดของการออกแบบผลิตภัณฑ์ตัวนี้ก็จะคล้ายๆ กับฮาร์ดดิสก์แบบพกพา (External HDD) ต่างกันแค่สิ่งที่อยู่ในผลิตภัณฑ์มันไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็ก แต่เป็น SSD (Solid State Drive) ข้อดีของ SSD คือ น้ำหนักเบามาก บางตัวไม่ถึง 100 กรัม มีขนาดเล็กพกพาสะดวกกว่ามาก มีความทนทานต่อการตกกระแทกกว่าฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็ก ไม่ต้องกลัวข้อมูลหายเวลาเจอแรงแม่เหล็กด้วย และบางรุ่นนี่กันฝุ่นกันน้ำได้อีกกว่าอีก ที่สำคัญ ความเร็วในการเขียนและอ่านสูงกว่ามากมาย ถ้าเป็นตัวที่ใช้อินเทอร์เฟซแบบ SATAIII นี่ก็วิ่งได้สุดๆ ระดับ 500MB/s เลย และหากใช้ SSD M.2 NVMe นี่อาจจะวิ่งได้ระดับ 1GB/s กันไปเลย (เช่น WD My Passport SSD โฉมใหม่ปี 2020 ที่ผมได้รีวิวไป)

External harddisk ใช้ยังไง

แต่ข้อจำกัดของ SSD แบบพกพาหลักๆ เลยก็คือเรื่องของราคา ที่แบบว่าแพงกว่า 5-10 เท่า เลยทีเดียว ลองคิดง่ายๆ WD My Passport 2TB ราคา 1,700 บาท แต่ถ้าเป็น WD My Passport SSD 2TB นี่จะราคา 9,190 บาท และหากเป็นโฉมใหม่ปี 2020 ก็จะราคา 10,990 บาท และด้วยราคามหาโหดนี่แหละ ทำให้เขายังไม่กล้าทำ SSD แบบพกพาขนาดบิ๊กเบิ้มออกมาขาย ใหญ่สุดที่ทำมาขายก็ 2TB นี่แหละ

ถ้าจะซื้อ SSD พกพาไปใช้ ถ้าไม่ใช่เพราะคุณห่วงเรื่องการพกพา กลัวมันจะตกหล่นแล้วข้อมูลเสียหาย หรือต้องการรุ่นที่มันทนต่อฝุ่นต่อน้ำหน่อย (ไม่ได้หมายความว่าจะแช่น้ำได้นะ แต่แบบ ตากฝนนิดหน่อยไม่พังอะ) ก็ต้องเป็นเพราะคุณอยากได้ความเร็วในการอ่านและเขียนสูงๆ แบบว่าจะถ่ายโอนไฟล์ใหญ่ๆ เบิ้ม หรือ จำนวนไฟล์มากๆ ได้รวดเร็ว หรือสามารถทำงานที่ต้องอ่านหรือเขียนข้อมูลเร็วๆ ได้จากตัวไดร์ฟเลย โดยไม่ต้องเสียเวลาก๊อปปี้มันลงในคอมพิวเตอร์ที่มี SSD ความเร็วสูงๆ อยู่ พวกช่างภาพ ช่างวิดีโอ คนทำงานด้านกราฟิกหรือตัดต่อวิดีโอ จะได้ประโยชน์จากเจ้านี่มากที่สุด

External harddisk ใช้ยังไง

ในผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ WD เขามี WD My Passport Wireless SSD ด้วย จุดเด่นคือ มันสามารถเชื่อมต่อกับพวกสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตผ่าน WiFi ได้ มีตัวอ่าน SD card ในตัว สามารถก๊อปปี้ข้อมูลจาก SD card ลงตัว WD My Passport Wireless SSD ได้เลย เหมาะกับพวกช่างภาพ ที่ไม่ไว้ใจ SD card เพราะมีโอกาสที่การ์ดจะเสีย หรือชำรุดได้ง่ายกว่าพวก SSD เวลาถ่ายภาพเสร็จ ก็จะได้สำรองข้อมูลเอาไว้ก่อนได้ หรือถ่ายโอนข้อมูลออกมา เพื่อจะได้เอาการ์ดไปถ่ายอย่างอื่นต่อได้อีก แล้วไม่อยากพกคอมพิวเตอร์ไปเพื่อใช้ถ่ายโอนข้อมูล แถมเจ้านี่ยังมีแบตเตอรี่ 6,700mAh ในตัว ถ้าฉุกเฉินจริงๆ เอามาใช้งานเป็น PowerBank ใช้ชาร์จพวกอุปกรณ์ต่างๆ ได้อีก

เอา SSD มาใส่กล่องฮาร์ดดิสก์ – ใช้เพื่อรียูสหรือเมื่อต้องการความเร็วสุดจี๊ด

คล้ายๆ กับกรณีของการเอาฮาร์ดดิสก์มาใส่กล่องนั่นแหละ ถ้าไม่ใช่เพราะว่าคุณมี SSD เหลือๆ มาจากการอัปเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์ การซื้อเอามาใส่ในกล่องเพื่อใช้งานมันไม่ค่อยคุ้มเท่ากับการไปซื้อ SSD แบบพกพามาใช้เลยหรอกครับ นอกจากนี้ กล่องฮาร์ดดิสก์มักจะรองรับแค่ USB 3.2 Gen 1 แบนด์วิธ 5Gbps ที่ให้ความเร็วสูงสุด 625MB/s เหมาะกับ SSD แบบ SATAIII มากกว่า ส่วนพวก SSD แบบพกพาอย่าง WD My Passport SSD โฉมใหม่ปี 2020 นี่ เขาใช้ NVMe ความเร็วมันต้อง USB 3.2 Gen 2 แบนด์วิธ 10Gbps ถึงจะพอใช้อะ

External harddisk ใช้ยังไง

ถ้าจะดันทุรังใช้ SSD แบบ M.2 NVMe ใส่กล่องให้ได้ ขั้นต่ำๆ ก็ต้องใช้กล่องที่รองรับ USB 3.2 Gen 2 ที่ราคาก็จะแพงขึ้นไปอีกหน่อย (ประมาณเกือบๆ พัน หรือ พันต้นๆ) ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมแล้วไม่คุ้มเท่าไหร่

อีกเหตุผลนึงที่ทำให้เราต้องเลือกแบบใส่กล่องก็คือ เราดันต้องการ SSD แบบพกพาที่มีความเร็วในการเขียนและอ่านโคตรสูงแบบใช้ SSD M.2 NVMe ความเร็วระดับ 1.5GB/s ขึ้นไป ซึ่งแบนด์วิธของ USB 3.2 Gen 2 มันไม่พอแล้ว (มันได้สูงสุด 1.25GB/s ในทางทฤษฎี) แต่ในกรณีนี้ก็ต้องซื้อกล่องที่รองรับ Thunderbolt 3 ครับ (เช่น JEYI ที่ผมรีวิวไป เป็นต้น) แต่กล่องพวกนี้ก็มีราคาโหดหน่อยคือ 2-4 พันบาทเลยทีเดียว และก็ต้องใช้กับโน้ตบุ๊กที่รองรับ Thunderbolt 3 ด้วยนะครับ

โพสต์อื่นๆ ที่อาจสนใจ

External Harddisk ปลอดภัยไหม

เก็บข้อมูลใน External Harddisk มีความปลอดภัยสูง ปัจจุบัน External Harddisk สามารถตั้งรหัสผ่าน เพื่อเก็บรักษาข้อมูลสำคัญได้ ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลหายหรือโดนขโมยข้อมูล ยิ่งถ้าต้องเดินทางไปทำงานนอกสถานที่อยู่ตลอด การใช้ External Harddisk ทั้งเสถียรและตอบโจทย์ได้ดีทีเดียว

Hard Disk ใช้ยังไง

ฮาร์ดไดรฟ์ใช้ทำอะไร ฮาร์ดไดรฟ์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเก็บรักษาไฟล์และข้อมูลของคุณในระยะยาว เมื่อใดก็ตามที่คุณบันทึกไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ คุณจะบันทึกไฟล์ลงในฮาร์ดไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดไดรฟ์เปรียบเสมือนตู้เก็บไฟล์ดิจิทัลของคุณ

ฮาร์ดดิสพกพาไว้ทำอะไร

สำหรับข้อดีของฮาร์ดดิสพกพาประการแรกเลยก็คือขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา และพกพาสะดวก ทำให้เจ้าฮาร์ดดิสขนาดเล็กนี้เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้สำหรับการเก็บข้อมูลสำรองจากคอมพิวเตอร์หลัก หรือจะเอาไว้เก็บข้อมูลสำคัญที่ต้องการความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ด้วยความจุที่มากและหลากหลายขนาด ทำให้ ...

External Hardware คืออะไร

[...] ฮาร์ดแวร์อื่นๆ ปลอดภัย รวมทั้งฮาร์ดดิสก์ภายนอก และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะส่วนหนึ่ง โดยยึดติดกับกำแพง