วิธีการบำรุง รักษา เครื่องจักร กล

งานซ่อมบำรุงเป็นกิจกรรมที่มีอยู่ตลอดอายุของเครื่องจักรไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งส่งผลต่อผลประกอบการของลูกค้าโดยส่งผลกระทบทั้งทางด้านรายได้และค่าใช้จ่ายของบริษัท ผลกระทบทางด้านรายได้คือ ความไม่พร้อมของเครื่องจักร อุปกรณ์ในการผลิต ทำให้ลูกค้าไม่สามารถสร้างรายได้ หรือไม่มีประสิทธิผลในการผลิตเท่าที่ควร ผลกระทบทางด้านค่าใช้จ่ายคือ ต้นทุนในการซ่อมแซมเครื่องจักร ดังนั้นการเพิ่มสมรรถนะทางด้านบำรุงรักษาจึงเป็นความจำเป็นที่จะส่งผลดีต่อลูกค้าทุกท่าน

วิธีการบำรุง รักษา เครื่องจักร กล

การบำรุงรักษาเครื่องจักร หรือการซ่อมบำรุง เราสามารถแบ่งหัวข้อดังนี้

การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective Maintenance: CM) เป็นวิธีการธรรมดาที่สุดและมีข้อจำกัดที่เห็นได้ชัด และในทุกๆ อุตสาหกรรมยังใช้กลยุทธ์การบำรุงรักษาแบบนี้อยู่ โดยจะดำเนินการก็ต่อเมื่ออุปกรณ์เสียหายทำให้ต้องหยุดเครื่องจนไม่สามารถทำการผลิตได้ หรือเกิดข้อขัดข้องเสียหายในขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงานอยู่โดยไม่รู้มาก่อน และเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ต้องหยุดเครื่องจักรเพื่อทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหาย

การบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) โดยทั่วไประยะเวลาการทำ PM ดังกล่าวสามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้จากคู่มือของเครื่องจักรจากผู้ผลิต หรือจากประวัติของเครื่องจักรที่ผ่านมา เช่น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง, ไส้กรอง, และอื่นๆ

การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition-based maintenance: CBM) โดยอาศัยสัญญาณเตือนจากเครื่องจักรซึ่งโดยทั่วไปเครื่องจักรจะมีสัญญาณเตือนก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดความเสียหายเช่น ความร้อน, เสียง, การสั่นสะเทือน เป็นต้น หากเราสามารถตรวจสอบสันญาณเตือนจากเครื่องจักรได้เราก็สามารถที่จะกำหนดการบำรุงรักษาที่จำเป็นก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดความเสียหายได้ ซึ่งจะทำให้เราลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ได้อย่างเหมาะสมตามสภาพและเวลา กลยุทธ์การบำรุงรักษาตามสภาพจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานอยู่ที่ข้อมูล เหล่านี้เป็นต้น

การบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance) หรือที่เรียกว่า Design out Maintenance หรือ Precision Maintenance คือการแก้ปัญหาที่สาเหตุหลักที่ทำให้เครื่องจักรเสียหาย และทำการแก้ไขปัญหาล่วงหน้าเพื่อลดโอกาสการชำรุดเสียหายของเครื่องจักรซึ่งจะทำให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นเมื่อถูกนำไปใช้งาน อีกทั้งการบำรุงรักษาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งสามวิธีไม่สามารถทำให้อายุการใช้งานของเครื่องจักรเพิ่มขึ้น เพียงแต่เป็นมาตรการที่ทำให้เครื่องจักรใช้งานได้นานที่สุดตามที่ผู้ผลิตได้ออกแบบไว้ ข้อดีของการบำรุงรักษาแบบเชิงรุกคือ อายุการใช้งานของเครื่องจักรเพิ่มขึ้น, ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง, ลดความเสียหายที่เกิดกับเครื่องจักร เพียงแค่เรารวบรวมข้อมูลและทำการแก้ไขในส่วนที่กำลังจะเกิดปัญหาเท่านี้เราก็สามารถยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรของเราได้แล้วครับ

หากท่านต้องการคำปรึกษาทางด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักร

กรุณาติดต่อฝ่ายบริการได้ที่สายด่วน 02-6211055

วิธีการบำรุง รักษา เครื่องจักร กล
          การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลในอุตสาหกรรม

ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ นำเอาเทคโนโลยีเครื่องจักรและอุปกรณ์มาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อใช้งานเครื่องจักรให้เกิดประสิทธิภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการบำรุงรักษาเครื่่องจักร แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

1. การบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุขัดข้อง (Breakdown Maintenance)

เป็นการบำรุงรักษาเมื่อเครื่องจักรเกิดการชำรุดและหยุดการทำงานสามารถเกิดเหตุขัดข้องกับเครื่องจักรได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะมีการบำรุงรักษาที่ดีก็ตาม

2. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

เป็นการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของการเกิดเหตุขัดข้อง ในเครื่ิองจักร เราต้องเช็คทำความสะอาดเครื่องจักร เช็คน้ำมันหล่อลื่น รวมถึงการบำรุงและเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนด

3. การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance)

เป็นการดัดแปลง ปรับปรุงชิ้นส่วนของเครื่องจักร เพื่อขจัดเหตุขัดข้องของเครื่องจักรให้หมดไป
4. การป้องกันเพื่อบำรุงรักษา (Maintenance Prevention)

เป็นการดำเนินการ เพื่อการบำรุงรักษาให้น้อยที่สุด โดยอาศัยการออกแบบเครื่องจักรให้มีความแข็งแรง ทนทาน บำรุงรักษาได้ง่าย รวมถึงเลือกซื้อเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพด้วย

5. การบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance)

เป็นการบำรุงรักษาที่นำเอาการบำรุงรักษา ข้างต้นมาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อส่งเสริมการผลิตให้เกิดผลสูงสุด

6. การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม(Total Productive Maintenance: TPM)

เป็นการบำรุงรักษาของทุกคน ทั้งพนักงานปฏิบัติการในสายการผลิต (Operators) และพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุง (Maintenance group) ซึ่งจะรับผิดชอบในการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องจักรร่วมกัน

การบำรุงรักษานั้นต้องมีการวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรวัตถุประสงค์ของการบำรุงรักษา เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามแผนที่วางไว้ รวมถึงการบำรุงรักษาเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องจักรอีกด้วย