วิธีเช็ค ปั้ ม ไฮ ด รอ ลิ ค

ไฮดรอลิกปั๊ม เปรียบเสมือนหัวใจของระบบไฮดรอลิก เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานจากการหมุนของเพลาซึ่งถูกขับโดยมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ เป็นแรงดันน้ำมันไฮดรอลิกเคลื่อนไปตามท่อและอุปกรณ์ไฮดรอลิกที่นำมาติดที่ตัวปั๊ม ปั๊มที่ต่อเข้ากับเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้าโดยตรง เมื่อเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้าหมุน ปั๊มก็จะทำงานไปด้วย ชนิดของปั๊มไฮดรอลิกแบ่งใหญ่ๆออกเป็น 3 ชนิด คือ

  1. เกียร์ปั๊ม (Gear Pump)
  2. ปั๊มแบบพัด (Vane Pump)
  3. ปั๊มแบบลูกสูบ (Piston Pump)

ผู้นำในการให้บริการงานด้านไฮดรอลิก

  • ออกแบบและตรวจเช็คระบบไฮดรอลิก โดยทีมงานผู้เชียวชาญ
  • ออกแบบสร้างและซ่อม กระบอกไฮดรอลิก
  • ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิก
  • รับออกแบบและผลิต Subplate ตามความต้องการของลูกค้า
  • รับแก้ไขปัญหาและปรับปรุงคุณภาพในระบบไฮดรอลิก

นิวแอนด์ไฮด์ จำหน่ายไฮดรอลิกปั้ม ยี่ห้อ Rexroth และเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ (Rexroth Thailand) 

วิธีเช็ค ปั้ ม ไฮ ด รอ ลิ ค
  
วิธีเช็ค ปั้ ม ไฮ ด รอ ลิ ค

ปั๊มไฮดรอลิก แบบฟันเฟือง (Gear pump)

เกียร์ปั๊มหรือปั๊มแบบฟันเฟือง เป็นปั๊มที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบัน จุดเด่นของปั๊มนี้คือ มีขนาดเล็กและเบา, มีโครงสร้างไม่สลับซับซ้อน, ดูแลรักษาง่ายและเสียได้ยาก สามารถสร้างแรงดันได้มากถึง 210 bar – 250 bar, อัตราการไหลของปั๊มที่สูงประมาณ 1-200 ซีซีต่อรอบ จำนวนรอบของปั๊มประมาณ 600-4,000 รอบต่อนาที ซึ่งเกียร์ปั๊มจะแบ่งอีกเป็น 2 ประเภทคือ

  • คือปั๊มที่เกียร์จะขบกันอยู่ภายในตัว ปั๊มแบบเฟืองในจะมีแรงดันอยู่ที่ 140 – 300 bar อัตราการไหลอยู่ที่ 20-64 ซีซีต่อรอบ ความเร็วรอบ 200 – 2,500 รอบต่อนาที และประหยัดพลังงานมอเตอร์ไฟฟ้าถึง 35%
วิธีเช็ค ปั้ ม ไฮ ด รอ ลิ ค
รูปหลักการทำงานของเกีย์ปั๊มแบบเฟืองใน (Internal Gear Pump)

หลักการทำงานของเกียร์ปั๊มแบบเฟืองใน (Internal Gear Pump)

น้ำมันไฮดรอลิกจะถูกส่งเข้ามาทาง In แล้วเข้ามาเติมในส่วนของช่องว่าง เมื่อปั๊มเริ่มหมุนตัว เฟืองและตัวโรเตอร์จะเริ่มทำการหมุนเพื่อผลักดันน้ำมันในจังหวะการอัด ทำให้มีความเร็วและอัตราการไหลสูงขึ้น

วิธีเช็ค ปั้ ม ไฮ ด รอ ลิ ค
รูปขั้นตอนการทำงานของเกียร์ปั๊มแบบเฟืองใน (Internal Pump)
  • เกียร์ปั๊มแบบเฟืองนอก (External Gear Pump) คือเกียร์ปั๊มที่มีเกียร์สองตัวโดยที่ฟันของเกียร์ทั้งสองตัวนั้นขบกัน ปั๊มแบบเฟืองนอกจะมีความดันอยู่ที่ 2,000 – 4,200 เมกะปาสคาล อัตราการไหลประมาณ 0.6 – 90 ซีซีต่อรอบ
วิธีเช็ค ปั้ ม ไฮ ด รอ ลิ ค
รูปหลักการทำงานของเกียร์ปั๊มแบบเฟืองนอก (External Gear Pump)<

หลักการทำงานของเกียร์ปั๊มแบบเฟืองนอก (External Gear Pump)

คือเกียร์ปั๊มที่มีเกียร์สองตัวโดยที่ฟันของเกียร์ทั้งสองตัวนั้นขบกัน ปั๊มแบบเฟืองนอกจะมีแรงดันสูงสุดถึง 210 bar อัตราการไหลประมาณ 0.6 – 90 ซีซีต่อรอบ โดยเกียร์ปั๊มชนิดนี้นิยมใช้กันมากที่สุดในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน, ราคาถูก และง่ายต่อการบำรุงรักษา

วิธีเช็ค ปั้ ม ไฮ ด รอ ลิ ค
รูปหลักการทำงานของเกียร์ปั๊มแบบเฟืองนอก (External Gear Pump)

ปั๊มไฮดรอลิก แบบใบพัด (Vane pumps)

เวนปั๊มหรือปั๊มแบบใบพัด เป็นปั๊มที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความเร็วรอบที่สูง และเหมาะสำหรับใช้กับงานที่ต้องการอัตราการไหลสูงแต่แรงดันต่ำไปจนถึงขนาดปานกลาง และมีทั้งแบบที่ใบพัดคงที่กับแบบปรับค่าได้ด้วยการย้ายจุดศูนย์กลาง ของตัวหมุนที่ใบพัดเสียบอยู่

วิธีเช็ค ปั้ ม ไฮ ด รอ ลิ ค
ส่วนประกอบของปั๊มแบบใบพัด (Vane Pump)

สามารถแบ่งออกเป็นลักษณะได้ดังนี้

1.1 ปั้มแบบใบพัดชนิดค่าคงที่ (Fix displacement Vane pumps) เป็นปั้มที่อาศัยการทำงานของใบเวนในการกวาดน้ำมันในตัวเรือนปั้มเพื่อสร้างอัตราการไหลของปั้ม โดย สามารถสร้างอัตราการไหลได้สูงสุด 115cc/rev ที่แรงดันตั้งแต่ 70 bar (ในรุ่นแรงดันต่ำ) และ 210 bar (ในรุ่นแรงดันปานกลาง)

1.2 ปั้มแบบใบพัดชนิดปรับค่าได้ (Variable Displacement Vane pumps) เป็นปั้มอีกชนิดที่อาศัยการทำงานของใบเวนในการกวาดน้ำมันเพื่อสร้างอัตราการไหลปั้มขนิดนี้สามารถ ปรับแรงดันและอัตราการไหลของปั้มได้ โดยการปรับแรงดันสามารถปรับได้ที่ วาล์วจำกัดความดัน (Relief valve) ที่ตัวปั้ม ส่วนการปรับอัตราการไหลสามารถปรับได้โดยอาศัยการปรับที่สกรูเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งการเยื้องศูนย์ของตัวเรือน ภายใน ปั้มลักษณะนี้เหมาะกับงานประเภทที่ต้องการกำหนดความดัน (Hold Pressure) ในระบบ ปั้มชนิดนี้สามารถสร้างแรงดันได้ 70bar (ในรุ่นแรงดันต่ำ) และ 140 bar (ในรุ่นแรงดันปานกลาง)

หลักการทำงานของเวนปั๊ม (Vane pump)

น้ำมันไฮดรอลิกจะถูกส่งเข้ามาทาง ช่อง In แล้วเข้ามาเติมในส่วนช่องว่าง เมื่อปั๊มเริ่มหมุนตัว ใบพัดก้จะถูดสลัดออกมาสัมผัสกับตัวเรือน โดยแกนของใบพัดจะติดอยู่เยื้องกับจุดศูนย์กลางของตัวเรือน จากการที่แกนใบพัดติดอยู่เยื้องกับจุดศูนย์กลาง ทำให้ช่องว่างระหว่างใบพัดแต่ละช่วงไม่เท่ากัน โดยในช่วงจังหวะดูด ช่องว่างระหว่างใบพัดจะถูกขยายออกจนมีช่องว่างมากที่สุด หลังจากนั้น ช่องว่างจะเริ่มลดลงเป็นจังหวะการอัด การทำงานของตัวปั๊มจึงเงียบ ไม่มีเสียงดังรบกวน

วิธีเช็ค ปั้ ม ไฮ ด รอ ลิ ค
ขั้นตอนการทำงานของปั๊มแบบใบพัด (Vane Pump)

ปั๊มไฮดรอลิก แบบลูกสูบ (Piston pumps)

ปั๊มแบบลูกสูบ เป็นปั๊มอีกประเภทที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีความทนทานสูง, มีอัตราการไหลให้เลือก และสามารถสร้างแรงดัน 160 bar (ในรุ่นแรงดันปานกลาง) และ 350 bar (ในรุ่นแรงดันสูง) และยังประหยัดพลังงานหรือลดภาระการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับ Fix pump ชนิดอื่นๆ เป็นชนิดที่เหมาะกับงานที่ต้องการ Hold pressure ในระบบ และต้องการแรงดันที่สูงพร้อมๆกับอัตราการไหลที่มาก ปั๊มลูกสูบแบบปรับค่าอัตราการไหลได้ ปั๊มแบบลูกสูบสามารถปรับจำนวนน้ำมันที่อยู่ในปั๊มได้ โดยการหมุนชาร์ฟที่มีแผ่น Swash plate ติดอยู่ด้วยทำให้เปลี่ยนมุมของแผ่น Swash plate ไปดันลูกสูบ ปั๊มแบบลูกสูบใช้กันมากในระบบไฮดรอลิกเนื่องจากเมื่อต้องการให้น้ำมันน้อยลง เราสามารถปรับเปลี่ยนความเอียงของแผ่น Swash plate และมีผลในทันที และเมื่อไม่มีการทำงานปั๊มสามารถหยุดการจ่ายน้ำมันได้ในทันที

วิธีเช็ค ปั้ ม ไฮ ด รอ ลิ ค
รูปส่วนประกอบของปั๊มแบบลูกสูบ (Piston Pump)

หลักการทำงานของปั๊มแบบลูกสูบ (Piston pump)

แผ่น Swash plate ที่ติดกับตัว Shaft ของปั๊ม จะหมุนตามตัว Shaft ไปรอบๆ ที่แผ่น Swash plate จะมีสกรูให้สามารถขันปรับค่าความเอียงของแผ่น Swash plate ได้ จึงทำให้สามารถปรับค่าอัตราการไหลได้ เมื่อ Swash plate เริ่มหมุน ส่วนที่สูงของแผ่น Swash plate ไปสัมผัสกับด้านล่างของลูกสูบก็จะดันลูกสูบเข้า กลายเป็นจังหวะอัดของลูกสูบ เมื่อแผ่น Swash plate หมุนต่อไปจนถึงส่วนที่ต่ำของแผ่น Swash plate สัมผัสกับด้านล่างของลูกสูบ ทำให้ลูกสูบเริ่มเคลื่อนที่ออกกลายเป็นจังหวะดูดของลูกสูบ การทำงานจะสลับอย่างนี้เรื่อยไป เพื่ออัดฉีดน้ำมันไฮดรอลิกออกจากตัวปั๊มไปยังระบบไฮดรอลิกให้ทำงาน