ประชาชนควรมีวิธีการป้องกันและระวังภัยจากสึนามิอย่างไร

จากกรณีสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของตองกาประกาศเตือนภัยสึนามิ เนื่องจากการปะทุของภูเขาไฟ ฮังกา-ตองกา-ฮังกา-ฮายาไป ( Hunga-Tonga-Hunga-Ha’apai ) ที่ตั้งอยู่ใต้ทะเล เมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิขนาด 1.2 เมตร ซัดกระหน่ำบ้านเรือนของประชาชนชาวตองกาที่อยู่ตามชายฝั่ง

ทางด้านสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ได้ประกาศเตือนภัยสึนามิ แนะนำประชาชนบนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ออกห่างจากชายฝั่ง เพื่อเป็นการป้องกันคลื่นสึนามิจากภูเขาไฟระเบิด

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายนพดล มากทอง โฆษกมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ TNN ช่อง 16 ระบุว่าเหตุภูเขาไฟใต้ทะเลปะทุระเบิดขึ้นเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่บ่อย ซึ่งหลังเกิดเหตุทางมูลนิธิได้มีการประสานงานและบูรณาการข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามและประเมินความรุนแรง

ซึ่งขณะนี้พบคลี่คลายแล้ว สึนามิลูกหลักผ่านไปแล้ว ประเทศต่างๆได้ลดระดับคำเตือนลงมาเป็นการเฝ้าระวัง

โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นหมู่เกาะที่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีความเสี่ยงอยู่แล้วเมื่อเกิดแผ่นดินไหว เพราะอยู่บนวงแหวนแห่งไฟ และยืนยันว่าสึนามิที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลกระทบถึงประเทศไทย เนื่องจากไทยอยู่ห่างจุดเกิดเหตุมากกว่าหมื่นกิโลเมตร และยังมีเกาะแก่ง รวมถึงประเทศต่างๆขวางกั้น พร้อมให้ความมั่นใจถึงระบบเตือนภัยพิบัติสึนามิของไทย

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีการเผยแพร่เกี่ยวกับมาตรการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ โดยระบุไว้ ดังนี้

1. เมื่อรู้สึกว่ามีการสั่นไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจากบริเวณชายฝั่ง ไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจากทางการ เนื่องจากคลื่นสึนามิเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง

2. เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้โดยด่วน

3. สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่งหากทะเลมีการลดระดับของน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยงให้อยู่ห่างจากฝั่งมาก ๆ และอยู่ในที่ดอนหรือที่น้ำท่วมไม่ถึง

4. ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิดคลื่น สึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมาก ๆ จะมีขนาดเล็ก

5. คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอซักระยะเวลาหนึ่งจึงสามารถลงไปชายหาดได้

6. ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

7. หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรงในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ

8. หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง

9. วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่น กำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น

10. จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง

11.ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหว

12.วางแผนล่วงหน้าหากเกิดสถานะการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณะสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น

13. อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีได้ทัน

14. คลื่นสึนามิในบริเวณหนึ่ง อาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาทให้เตรียมพร้อมรับสถานะการณ์

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะวิธีเอาตัวรอดจาก "สึนามิ" อยู่บนเรือ-บนชายหาด-ที่พักอาศัย ให้รอดปลอดภัยต้องทำอย่างไร อ่านที่นี่ 

หลังเกิดกระแสกรณีการแชร์ข่าวคำเตือนให้ระวัง "สึนามิ" ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ พังงา ระนอง ภูเก็ต กระบี่ สตูล เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 ริกเตอร์ บริเวณนอกชายฝั่งหมู่เกาะนิโคบาร์ รวมแล้วกว่า 27 ครั้ง และหากพบว่า แผ่นดินไหวเกิน 6.5 ริกเตอร์ ควรอพยพทันที ทำให้แฮชแท็ก #สึนามิ ติดเทรนด์ในทวิตเตอร์ และถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง สร้างความกังวลใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่

 

กระทั่ง กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกมาย้ำกับประชาชนว่า อย่าไปเชื่อข่าวลือว่า จะมีการเกิดสึนามิ เนื่องจากขณะนี้ (7 กรกฎาคม 2565 ) ไม่มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สามารถทําให้เกิดสึนามิได้

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมไว้ ก่อนภัยมา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ได้เผยแพร่วิธีเอาตัวรอดให้ปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุ แผ่นดินไหว-สึนามิ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ช่วงเวลา สถานที่ และความรุนแรงได้ล่วงหน้า ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 

ลักษณะภัย กลุ่มของคลื่นขนาดใหญ่ที่สร้างความเสียหายรุนแรงต่อพื้นที่ บริเวณชายฝั่ง และอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า ข้อควรจำ คลื่นสึนามิจะไม่เกิดเพียงระลอกเดียว จะเกิดขึ้นได้หลายระลอกคลื่น และคลื่นลูกหลังอาจใหญ่กว่าคลื่นลูกแรก เมื่อน้ำทะเลลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติให้คาดว่าอาจเกิดสึนามิ สึนามิมักเกิดหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในทะเล หากอยู่บริเวณชายฝั่งจะเป็นอันตราย

ข้อควรปฏิบัติ

  • ตรวจสอบดูว่าที่พักอาศัยอยู่นั้นตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิหรือไม่
  • ควรรู้ระดับความสูงของถนนเมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเล และระยะห่างของถนนจากชายฝั่ง
  • สร้างความคุ้นเคยกับป้ายสัญญาณเตือนภัยสึนามิ
  • จัดทำแผนอพยพหนีภัย
  • เลือกพื้นที่ที่เป็นที่สูง
  • เตรียมอุปกรณ์ชุดยังชีพเพื่อพร้อมอพยพหนีภัย
  • ห้ามลงทะเล ห้ามลงไปอยู่บริเวณชายหาดเมื่อมีประกาศเตือนภัยสึนามิ
  • ควรมีวิทยุแบบใช้แบตเตอรี่เพื่อฟังข่าว

วิธีการปฏิบัติ

  • ถ้าคาดว่าจะเกิดสึนามิให้หนีออกจากบริเวณชายฝั่งโดยทันที เรือให้ออกจากฝั่งสู่ทะเลลึก
  • ติดตามข้อมูลทางวิทยุ โทรทัศน์ ถ้ามีประกาศเกิดสึนามิให้อพยพทันที
  • ให้หนีห่างจากชายฝั่งให้ไกลที่สุด ไปยังพื้นที่สูงที่คาดว่าปลอดภัย
  • ให้ช่วยเหลือ เด็ก คนชรา คนพิการ ผู้ที่อ่อนแอกว่า พาหนีภัยด้วย
  • ควรหนีภัยด้วยการเดินเท้าเพื่อหลีกเลี่ยงกาตจราจรติดขัด จะกลับสู่ที่พักอาศัยก็ต่อเมื่อมีประกาศจากทางราชการเท่านั้นว่าปลอดภัย

แนวทางใดเป็นการเตรียมการป้องกันภัยพิบัติสึนามิ

8. หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงสูง 9. วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่น กำหนดสถานที่ในการอพยพแหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น 10. จัดผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง 11. ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ประชาชน ในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิ และแผ่นดินไหว

สึนามิมีอันตรายอย่างไรบ้าง

1. สูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน เช่น บ้านเรือนเสียหาย ระบบสาธารณูปโภคถูกทำลาย 2. กระทบต่อการประกอบอาชีพของประชาชน เช่น การทำประมง การค้าขายบริเวณชายหาด ธุรกิจที่พักริมทะเล 3. ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง

มาตรการป้องกันจากสึนามิที่สำคัญได้แก่อะไรบ้าง

มาตราการป้องกันภัยจากสึนามิ 1. ขณะที่อยู่บริเวณชายฝั่งเมื่อรู้สึกว่ามีแผ่นดินไหวหรือพบว่าระดับน้ำทะเลลดลงมากผิดปกติ ให้รีบอพยพไปยังบริเวณที่สูงทันที 2. เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวในทะเล ให้เตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดสึนามิตามมาได้

หลังเกิดสึนามิแล้วควรปฏิบัติตนอย่างไร

-ให้อยู่ในอาคารจนกว่าการสั่นสะเทือนหยุด จึงออกไปภายนอกบริเวณที่ ปลอดภัย อันตรายส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งของหล่นใส่ -คาดว่าหรือตระหนักเสมอว่า ไฟฟ้าอาจดับ หรือสปริงเกอร์อาจทางาน หรือ มีเสียงเตือนไฟไหม้ -อย่าใช้ลิฟต์ ขณะมีการสั่นไหว ถ้าอยู่ในลิฟต์ กดทุกปุ่มและออกจากลิฟต์ ทันที -อย่ากรูกันวิ่งออกนอกอาคาร