ไปเที่ยวยุโรป ต้องมีเงิน เท่า ไหร่

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

หนึ่งในทวีปที่เป็นตัวเลือกของผู้คนสนใจย้ายเข้าไปอาศัยอยู่ยาว ๆ คือ ยุโรป เพราะมีความหลากหลายและน่าทึ่งทางด้านวัฒนธรรม โดยสหภาพยุโรป (อียู) ครอบคลุมประเทศสมาชิก 27 ประเทศตั้งแต่ไอร์แลนด์ทางตะวันตกไปจนถึงบัลแกเรียทางตะวันออก จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่มีแสงแดดจ้าผ่านสแกนดิเนเวียไปจนถึงแถบอาร์กติก

ผู้คนมากกว่า 500 ล้านคนเรียกยุโรปว่าบ้าน และพวกเขาก็มีส่วนทำให้เกิดวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และอื่น ๆ อีกมาก กลายเป็นสิ่งที่ทำให้การใช้ชีวิตในยุโรปน่าตื่นเต้น และแค่ได้สัมผัสจากทริปท่องเที่ยวไม่กี่วัน หลายคนบอกว่าสามารถซึมซับวัฒนธรรม ภาษา และอาหารที่แตกต่างออกไปได้อย่างลงตัว ทำให้หลายคนสนใจอยากไปอาศัยอยู่ในระยะยาวหรือถึงขั้นอาศัยถาวรกันเลย

ว่ากันว่าเหตุผลที่ยุโรปกลายเป็นจุดหมายในการเข้าไปพำนักอาศัยกันยาว ๆ เช่น การเดินทางทั่วยุโรปนั้นง่ายมาก หากหากนั่งเครื่องบินจากเมืองหลวงสู่เมืองหลวงในยุโรปสนนราคาตั้งแต่ 30 ยูโรขึ้นไป ถ้าใช้บริการรถไฟ นอกจากจะมีระบบที่ยอดเยี่ยมทั่วทั้งยุโรป ราคาก็อยู่แถว ๆ 10 ยูโร

เช่นเดียวกับการกินอยู่ นอกจากจะมีร้านขายของชำขนาดใหญ่ทันสมัย ยังมีตลาดสดให้เดินจับจ่ายซื้อของที่ผลิตจากคนท้องถิ่นทั้งสดและอร่อย ตั้งแต่ชีสแบบโฮมเมดไปจนถึงแฮมสดและขนมปัง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้อย่างเหลือเชื่อ นอกจากนี้คนยุโรปส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารกับครอบครัวและเพื่อนฝูงเช่นทุกวันอาทิตย์จะเป็นวันเพื่อพบปะครอบครัวและเพื่อนฝูงในร้านอาหารหรืองานสังสรรค์ในชุมชน

และแน่นอนเวลาเดินทางท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ต้องได้เห็นปราสาท รูปปั้น สัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์อันงดงาม สถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ และถนนที่ปูด้วยหินทั่วยุโรปแต่คำถาม คือ จะขอใบอนุญาตเพื่ออาศัยอยู่ในยุโรปได้อย่างไร

เริ่มจากถ้าหากมีพาสปอร์ตเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area : EEA) สามารถทำงานและใช้ชีวิตอย่างอิสระในประเทศอียูใดก็ได้ รวมถึงไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และนอร์เวย์

หากหนังสือเดินทางของคุณมาจากที่อื่น คุณต้องได้รับใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ มีตัวเลือกมากมาย

วีซ่าตามรายได้

ผู้ที่จะได้วีซ่าตามรายได้ ต้องพิสูจน์ได้ว่าสามารถเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องไปทำงานในประเทศนั้น ๆ หรือเมื่อเข้าไปอาศัยอยู่แล้วไม่ต้องพึ่งบริการหรือสวัสดิการทางสังคม ซึ่งรัฐบาลประเทศนั้นจะขอดูหลักฐาน เช่น ต้องพิสูจน์ได้ว่ามีรายได้แบบ Passive Income เช่น รายได้จากค่าเช่าหรือเงินปันผลจากการลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งแต่ละประเทศจะยินดีต้อนรับผู้อยู่อาศัยใหม่ที่สามารถพิสูจน์รายได้ในระดับที่เหมาะสมเพื่อเลี้ยงดูตัวเอง หมายความว่า หากมีแหล่งรายได้ที่มั่นคงอาจมีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาตให้อาศัยได้ถาวร

เช่น ฝรั่งเศส ต้องโชว์ว่ามีรายได้ราว 50,000 บาทต่อเดือน สเปน 87,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม กฎกติกาข้อจำกัดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเทศและโปรแกรมวีซ่า เช่น สเปนมีวีซ่าประเภทเรียกว่า Spain Non-Lucrative visa ซึ่งเหมาะกับนักธุรกิจ ฟรีแลนซ์ และผู้เกษียณอายุ โดยหากไปเป็นครอบครัวก็แสดงรายได้ราว 1,000,000 บาท บวกกับรายได้สมาชิกครอบครัวอีก 250,000 บาท และอย่าลืมทุกคนต้องทำประกันสุขภาพก่อนยื่นสมัครด้วย

หรือแสดงรายได้ประมาณ 31,000 บาทต่อเดือนก็ยื่นขอใบอนุญาตเป็นผู้พำนักในเยอรมนีได้ มีข้อแม้เพียงต้องแสดงว่ามีที่อยู่อาศัยในเบอร์ลินและต้องเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของเบอร์ลินได้ นอกจากนี้ หากอายุ 45 ปีขึ้นไปจะต้องมีแผนบำนาญที่เพียงพอ และหากอายุเกิน 67 ปี ต้องแสดงเงินบำนาญขั้นต่ำ 50,000 บาทต่อเดือน

วีซ่าสตาร์ทอัพ

ทุกประเทศในยุโรปสนับสนุนการทำธุรกิจและเป็นผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพยิ่งยินดีต้อนรับ โดยหลายประเทศเสนอสิ่งจูงใจและการสนับสนุนเต็มี่เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถและการลงทุนเข้ามาในประเทศตัวเอง

เช่น เดนมาร์กจะประเมินการสมัครวีซ่าและอนุมัติให้ภายใน 6 สัปดาห์ พร้อมเสนอให้อาศัยได้นานถึง 2 ปี ถ้าสามารถแสดงศักยภาพว่าสตาร์ทอัพไปได้ดีก็สามารถยื่นขอขยายเวลาได้เรื่อย ๆ ที่สำคัญไม่เพียงแต่เจ้าตัวเท่านั้น รวมถึงคู่สมรสและลูกที่มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการรวมถึงระบบสุขภาพและการศึกษาอีกด้วย

ส่วนรัฐบาลโปรตุเกส พยายามดึงดูดผู้อพยพผ่านการลงทุนสตาร์ทอัพ ถึงขั้นตั้งโครงการ On the Spot Firm เพื่อสนับสนุนให้การตั้งธุรกิจใหม่ได้ภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมง ซึ่งศูนย์บ่มเพาะธุรกิจนี้เกิดจากการร่วมมือของภาครัฐและเอกชน มีทั้งภาษาโปรตุเกสและภาษาอังกฤษ โดยเงื่อนไขเบื้องต้น คือ สตาร์ทอัพต้องเน้นเทคโนโลยีและแสดงศักยภาพในการสร้างงานและสร้างรายได้ราว 13,000,000 บาทต่อปี

ที่เนเธอร์แลนด์ มีโครงการ The Netherlands Entrepreneur Visa ขอเพียงมีไอเดียที่น่าสนใจในการเริ่มทำธุรกิจ และสร้างความมั่นใจให้รัฐบาลได้ว่าจะสามารถทำธุรกิจแล้วมีรายได้ 500,000 บาทเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ก็จะมีโอกาสได้วีซ่าเริ่มต้น 12 เดือน ที่สำคัญสามารถต่ออายุได้และเป็นหนทางสู่การเป็นพลเมืองและอยู่อาศัยถาวรได้

วีซ่าฟรีแลนซ์

สำหรับผู้ที่ยังไม่มั่นใจว่าจะไปใช้ชีวิตในยุโรปได้หรือไม่ ขอแนะนำให้เริ่มต้นจากการถือวีซ่าที่ทำงานไปเดินทางทั่วยุโรปไป พูดง่าย ๆ ทำงานเป็นฟรีแลนซ์ เช่น อาชีพนักแปล นักเขียนบทความ นักวาดรูป โดยจะได้วีซ่าอยู่ในยุโรป 90 วัน แล้วค่อยตัดสินใจอีกครั้งว่ายุโรป เหมาะกับการใช้ชีวิตระยะยาวหรือไม่

ไปเที่ยวยุโรป ต้องมีเงิน เท่า ไหร่

ค่าครองชีพ

ถ้าพูดถึงค่าครองชีพในยุโรปนั้นมีตั้งแต่แพงสุดถึงถูกเหลือเชื่อ ถ้าเงินไม่ใช่ประเด็นและต้องการความสนุกและสิ่งดี ๆ ในชีวิต ต้องเลือกอาศัยในแถบสแกนดิเนเวียและสวิตเซอร์แลนด์ ถ้าต้องการค่าครองชีพที่สมเหตุสมผลให้มุ่งลงใต้ไปยังโปรตุเกสหรือสเปน ต้าเน้นค่าครองชีพในระดับค่อนข้างต่ำให้ไปที่ประเทศในยุโรปตะวันออก เช่น โปแลนด์ โรมาเนีย และสาธารณรัฐเช็ก โดยจะขอยกตัวอย่างค่าครองชีพในยุโรปบางประเทศที่เป็นที่ใฝ่ฝันของคนไทยในการอยากไปใช้ชีวิต

  • ฝรั่งเศส

เริ่มต้นกันที่ราคาเช่าอพาร์ตเมนต์ในปารีส ถ้าเป็นหนึ่งห้องนอนสนนราคา 40,000 บาทต่อเดือน ส่วนสองห้องนอนก็ 50,000 – 66,0000 บาทต่อเดือน แต่ระดับนี้จะได้พื้นที่ขนาดเล็ก แต่ถ้าอยู่คนเดียวก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก สามารถหาเช่าได้ในราคา 33,0000 บาทต่อเดือน

ในทางตรงกันข้ามหากเป็นเมืองอื่น ๆ ถือว่าราคาจะคุ้มค่ากว่า เช่น ในเมืองลียงที่สวยงามในภูมิภาค Rhône-Alps สามารถหาอพาร์ตเมนต์แบบสองห้องนอนได้ในราคา 30,000 – 40,000 บาทต่อเดือน ยิ่งถ้าอยู่รอบนอกเมืองจะได้ราคาที่ถูกกว่านี้ และถ้าไปอาศัยในเมืองบลัวส์ ตั้งอยู่ตอนกลางฝรั่งเศส สามารถเช่าบ้านสามห้องนอนได้ในราคาไม่ถึง 30,000 บาทต่อเดือน และอพาร์ตเมนต์แบบสองห้องนอนเริ่มต้นที่ 26,000 บาทต่อเดือน ดังนั้น หากสนใจไปอาศัยในฝรั่งเศสอย่าจำกัดและพุ่งเป้าไปแค่ปารีส เพราะยังมีอีกหลายเมืองที่น่าอยู่และสวยงาม

สำหรับค่าอาหารรายสัปดาห์เมื่ออาศัยอยู่ในฝรั่งเศส ก็ขึ้นอยู่กับว่าซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือที่ร้านขายของชำในท้องถิ่น และแน่นอนว่าแต่ละมื้อกินมากแค่ไหน โดยทั่วไปแล้วก็มีค่าใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภคประมาณ 16,000 บาทต่อเดือน และถ้าเดินตลาดสด ทำกับข้าวกินเอง ประหยัดมากขึ้น จะทำให้ค่าใช้จ่ายต่อเดือนก็ลดลงได้พอสมควร

ในส่วนของบิลค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ สภาพอากาศ ขนาดของอุปกรณ์ จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ความถี่ในการใช้งาน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับว่าใช้จากพลังงานไหน เช่น ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ หรือพลังงานแสงอาทิตย์ แต่โดยเฉลี่ยแล้วราคาจะอยู่ราว 4,000 – 5,000 บาทต่อเดือน ส่วนเคล็ดลับในการประหยัดให้มากกว่านี้ คือ ใช้ไฟฟ้านอกชั่วโมงเร่งด่วนนั่นเอง

มาถึงเรื่องการเดินทาง เมืองใหญ่แทบทุกแห่งในฝรั่งเศสมีเครือข่ายรถโดยสารสาธารณะที่ครอบคลุม มีบริการรถไฟใต้ดินที่เรียกว่า เมโทร ซึ่งมีระบบที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว โดยราคาของตั๋วรถโดยสารหรือรถไฟใต้ดินอาจแตกต่างกันตั้งแต่ 37 บาท – 63 บาทต่อเที่ยว ดังนั้นเพื่อความประหยัดควรซื้อตั๋วแบบรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี

  • เยอรมัน

เยอรมัน ประเทศอันดับต้น ๆ ที่คนไทยใฝ่ฝันอยากไปเที่ยวหรือไปอาศัยถาวร และมิวนิคก็เป็นเมืองเป้าหมายเบอร์หนึ่ง โดยค่าครองชีพสำหรับ 2 คน สามารถเช่าอพาร์ตเมนต์ขนาดสองห้องนอนพร้อมเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้ที่ราคา 53,000 บาทต่อเดือน ส่วนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก็ส ค่าเก็บขยะ รวมกันแล้วราว 8,000 บาทต่อเดือน, ค่าอินเทอร์เน็ต รวมมือถือและทีวี ราว 3,000 บาทต่อเดือน, ค่าประกันสุขภาพตกคนละ 8,000 – 27,000 บาทต่อเดือน, ค่าอยู่ค่ากินรวมแอลกอฮอล์ราว 18,000 บาทต่อเดือน ส่วนค่าเดินทางก็ควรใช้ระบบขนส่งสาธารณะจะประหยัดที่สุด

  • สเปน

ถ้าพูดถึงสเปน กรุงมาดริดก็เป็นสถานที่ผู้คนอยากไปชีวิตอันดับต้น ๆ เพราะมีความสะดวกสบาย อากาศดี ผู้คนเป็นมิตร และมีทีมฟุตบอลที่อุดมไปด้วยผู้เล่นระดับโลก โดยสามารถเช่าอพาร์ตเมนต์แบบสตูดิโอพร้อมเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้ที่ราคา 28,000 บาทต่อเดือน, ค่าน้ำ ค่าไฟ 3,000 บาทต่อเดือน, อินเทอร์เน็ต รวมมือถือและทีวี ราว 2,800 บาทต่อเดือน, ค่าฟิตเนส 2,000 บาทต่อเดือน ส่วนค่าเดินทางระบบสาธารณะราว 500 บาทต่อเดือน

ถ้าสนใจไปอาศัยที่บาร์เซโลน่า สามารถเช่าอพาร์ตเมนต์สองห้องนอนพร้อมเฟอร์นิเจอร์ได้ที่ราคา 45,000 บาทต่อเดือน, ค่าน้ำ ค่าไฟ อินเทอร์เน็ต รวมมือถือและทีวี ราว 7,000 บาทต่อเดือน, ค่าฟิตเนส 3,000 บาทต่อเดือน ส่วนค่าเดินทางระบบสาธารณะราว 1,000 บาทต่อเดือน

  • โปรตุเกส

ถ้าสนใจไปอาศัยในโปรตุเกสก็ต้องนึกถึงลิสบอน โดยสามารถเช่าอพาร์ตเมนต์สองห้องนอนพร้อมเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้ที่ราคา 58,000 บาทต่อเดือน, ค่าน้ำ ค่าไฟ 3,000 บาทต่อเดือน, ค่าอินเทอร์เน็ต รวมมือถือและทีวี ราว 3,000 บาทต่อเดือน, ค่าเดินทางระบบสาธารณะทุกประเภทราว 4,000 บาทต่อเดือน

ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ยังมีอีกมากมายที่ต้องทำการศึกษา ที่สำคัญแต่ละประเทศจะมีเงื่อนไขแตกต่างกัน ดังนั้น ต้องเจาะลึกในรายละเอียดก่อนตัดสินใจไปอาศัยในประเทศเป้าหมาย

ไปเที่ยวยุโรป ต้องมีเงิน เท่า ไหร่

#WealthMeUp