การยกเลิกการใช้กฎหมายทำได้กี่ลักษณะอย่างไรบ้าง

กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 3

  • 20 November 2012
  • กฎหมายน่ารู้

การตีความกฎหมาย  หมายถึง การค้นหาความหมายของถ้อยคำในตัวบทกฎหมายเพื่อนำไปปรับใช้กับข้อเท็จจริง เนื่องมาจากการใช้กฎหมายอาจเกิดปัญหาว่า ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายไม่ชัดเจน เคลือบคลุมหรือมีความหมายได้หลายนัย จึงจำเป็นจะต้องมีการตีความกฎหมาย ซึ่งกระทำได้ 2 กรณี คือ การตีความตามตัวอักษร และการตีความตามเจตนารมณ์

การตีความตามตัวอักษร เป็นการค้นหาความหมายจากตัวอักษรของกฎหมาย มีหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. กรณีที่เป็นภาษาสามัญ ต้องตีความหมายอย่างที่เข้าใจกันโดยทั่วไปตามธรรมดาสามัญ หรือให้ถือเอาตามพจนานุกรม
  2. กรณีที่เป็นศัพท์วิชาการหรือศัพท์เทคนิค ต้องตีความหมายอย่างที่เข้าใจกันในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ
  3. กรณีที่กฎหมายประสงค์จะให้มีความหมายพิเศษไปจากที่เข้าใจกันตามธรรมดาสามัญ ในกฎหมายนั้นจะทำบทวิเคราะห์ศัพท์หรือนิยามไว้ในมาตราแรก ๆ ก็ต้องถือเอาความหมายตามบทวิเคราะห์ศัพท์หรือนิยามนั้น เช่น ประมวลกฎหมายอาญา บทนิยาม มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า “กลางคืน” หมายความว่า เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น เป็นต้น

การตีความหมายตามเจตนารมณ์ เป็นการตีความเพื่อหยั่งทราบความมุ่งหมายหรือความต้องการของกฎหมายนั้น ๆ ซึ่งมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา คือ คำปรารภของทนาย เหตุท้ายมาตราต่าง ๆ รายงานการประชุมยกร่างกฎหมายนั้น เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะบอกได้ว่า เพราะเหตุใด หรือ ต้องการอะไร จึงบัญญัติกฎหมายไว้เช่นนี้  สำหรับกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษรุนแรงถึงประหารชีวิต และกระทบกระเทือนสิทธิ เสรีภาพของประชาชน การตีความกฎหมายอาญาจึงต้องมีกฎเกณฑ์พิเศษ คือ

  1. ต้องตีความโดยเคร่งครัด หมายความว่า จะถือเป็นความผิดและลงโทษผู้กระทำผิดได้ จะต้องเป็นกฎหมายระบุไว้โดยชัดแจ้งเท่านั้น
  2. จะตีความให้เป็นผลร้ายแก่บุคคลมิได้ กล่าวคือ จะตีความขยายความให้เป็นการลงโทษ หรือเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดให้หนักขึ้นไม่ได้
  3. กรณีเป็นที่สงสัย จะต้องตีความให้เป็นผลดีแก่ผู้กระทำความผิด กล่าวคือ ถ้าพยานหลักฐานไม่ชัดเจน ยังเป็นที่เคลือบคลุม ยังสงสัย หรือไม่แน่ใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย ถือว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งเป็นไปตามสุภาษิตทางกฎหมายที่ว่า “ปล่อยคนผิดสิบคนดีกว่าการที่จะลงโทษคนบริสุทธิ์คนเดียว”

ช่องว่างของกฎหมาย  หมายถึง กรณีที่ผู้ใช้กฎหมายไม่สามารถจะหาตัวบทกฎหมายปรับใช้กับคดีที่เกิดขึ้น เพราะเหตุการณ์ยังไม่เคยเกิดขึ้น จึงไม่ได้บัญญัติไว้ จึงจำเป็นจะต้องมีวิธีการอุดช่องว่างของกฎหมาย

การอุดช่องว่างกฎหมาย  ถ้ากฎหมายกำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้แล้ว จะต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายนั้นกำหนดไว้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรค 2 และวรรค 4 กำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้ว่า เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ให้ใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็ให้ใช้หลักกฎหมายทั่วไป ในกรณีที่กฎหมายนั้นไม่ได้กำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้ ศาลจะต้องพยายามหาหลักเกณฑ์มาพิจารณาวินิจฉัยให้ได้เสมอ ศาลจะอ้างเหตุไม่รับฟ้องหรือยกฟ้องคดี โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายที่จะนำมาใช้ปรับแก่คดีไม่ได้ ในกฎหมายอาญานั้น ศาลอาจจะอุดช่องว่างของกฎหมายได้ ก็เฉพาะในทางที่เป็นคุณหรือเป็นผลดีแก่จำเลยเท่านั้น

การยกเลิกกฎหมาย คือ การทำให้กฎหมายสิ้นสุดการบังคับใช้ ซึ่งกระทำได้ทั้งการยกเลิกโดยตรงและโดยปริยาย

การยกเลิกกฎหมายโดยตรง เป็นกรณีที่ที่มีกฎหมายระบุให้ยกเลิกไว้อย่างชัดแจ้ง มีหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. กฎหมายนั้นกำหนดวันยกเลิกเอาไว้เอง เช่น บัญญัติเอาไว้ว่า “พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปเป็นเวลาสองปี” เมื่อครบกำหนด 2 ปี กฎหมายนั้นก็สิ้นสุดการบังคับใช้ไปเอง
  2. ออกกฎหมายใหม่มายกเลิก โดยกฎหมายฉบับใหม่ที่ออกมานั้นเป็นกฎหมายเรื่องเดียวกัน และมีบทบัญญัติระบุให้ยกเลิก เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มีบัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 เป็นต้น
  3. เมื่อรัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด พระราชกำหนดเมื่อประกาศใช้แล้ว จะต้องให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติอีกครั้งหนึ่ง ถ้ารัฐสภามีมติไม่อนุมัติ พระราชกำหนดนั้นก็จะสิ้นสุดการบังคับใช้

การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายใดระบุให้ยกเลิกไว้อย่างขัดแจ้ง มีหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. เมื่อกฎหมายใหม่และกฎหมายเก่ามีบทบัญญัติกรณีหนึ่งเป็นอย่างเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายใหม่ ถือว่ากฎหมายเก่าถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
  2. เมื่อกฎหมายใหม่มีข้อความขัดแย้งกับกฎหมายเก่า ให้ใช้กฎหมายใหม่ถือว่ากฎหมายเก่าถูกยกเลิกไปโดยปริยายทั้ง 2 กรณี ดังกล่าวต้องใช้กฎหมายใหม่ เพราะเหตุว่า บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าขึ้น สถานการณ์บ้านเมืองย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กฎหมายเก่าที่ใช้มาเป็นเวลานานอาจจะไม่เหมาะสมกับยุคสมัย การใช้กฎหมายใหม่ย่อมเหมาะสมกับสถานการณ์มากกว่า
  3. กฎหมายแม่บทถูกยกเลิก กฎหมายบริวารถูกยกเลิกด้วย กฎหมายบริวารหรือกฎหมายลูกที่ออกมาใช้โดยอาศัยกฎหมายแม่บท เมื่อกฎหมายแม่บทถูกยกเลิก ถือว่ากฎหมายบริวารถูกยกเลิกไปโดยปริยาย

หมายเหตุ: การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า กฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นย่อมตกไป ก็ถือว่าเป็นการยกเลิกกฎหมายอีกวิธีหนึ่ง

การดำเนินการเพื่อยกเลิก "กฎหมาย" ที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้ภาครัฐได้ทบทวนกฎหมายในความรับผิดชอบ การใช้บังคับกฎหมายจึงจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้อย่างแท้จริง

สิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยรัฐจะดำเนินการที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจเท่านั้น  กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่ากฎหมายส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  ดังนั้น การตรากฎหมายจึงควรกระทำอย่างมีคุณภาพและเท่าที่จำเป็น กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่สอดคล้องกับการป้องกันแก้ไขปัญหาหรือส่งเสริมและพัฒนาสังคม และเมื่อบังคับใช้แล้ว เป็นกฎหมายที่ทำงานได้ตามเป้าหมายโดยไม่สร้างภาระให้แก่ผู้ที่ต้องปฏิบัติตามมากจนเกินสมควร สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ สร้างผลสัมฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
 

 

การเก็บสะสมกฎหมายไว้โดยไม่มีการทบทวนแก้ไขให้เหมาะสมกับปัจจุบันกฎหมายที่เคยว่าดี ก็อาจเกิดผลเป็นโทษ เป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้เพื่อลิดรอนสิทธิและกีดกันเสรีภาพของประชาชนได้โดยใช่เหตุ  ด้วยเหตุนี้ "คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย" สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงได้ดำเนินการรวบรวมกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นเพื่อเสนอยกเลิกอยู่เป็นประจำตั้งแต่ปี 2546 ในการพิจารณายกเลิกกฎหมาย คณะกรรมการพัฒนากฎหมายจะศึกษาและตัดสินใจจากข้อเท็จจริง 2 ประเด็น คือ 

 

การยกเลิกการใช้กฎหมายทำได้กี่ลักษณะอย่างไรบ้าง

1. ความจำเป็นในการมีกฎหมาย โดยจะพิจารณาว่าวัตถุประสงค์ของกฎหมายยังมีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันหรือไม่ ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. 2548 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการกำหนดมาตรการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีอย่างเข้มงวด แต่เมื่อเทคโนโลยีได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ผลิตภัณฑ์ซีดีได้กลายเป็นอุปกรณ์ที่ตกยุคและแทบจะไม่มีผู้ใช้งานอีกแล้ว ประกอบกับการป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในปัจจุบันก็มีกฎหมายที่กำกับดูแลโดยตรง คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งครอบคลุมการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาโดยอาศัยเทคโนโลยี ซึ่งเป็นมาตรการที่เหมาะสมกับสภาพการณ์มากกว่า พระราชบัญญัตินี้จึงหมดความจำเป็นลง  

 

การยกเลิกการใช้กฎหมายทำได้กี่ลักษณะอย่างไรบ้าง

 

2. ความซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น จะเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ คือ ความซ้ำซ้อนในวัตถุประสงค์ของการมีกฎหมาย หรือความซ้ำซ้อนในมาตรการที่กำหนดในกฎหมาย เมื่อสังคมพัฒนาเติบโตปัญหาในลักษณะใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นตามไปด้วย ในหลายครั้งที่รัฐเลือกที่จะตรากฎหมายใหม่ขึ้นมาเพื่อรับมือกับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น โดยไม่ได้ย้อนกลับไปแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายที่ใช้อยู่ก่อนหน้า ทำให้การกำกับดูแลการกระทำเรื่องหนึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลายฉบับพร้อม ๆ กัน สร้างภาระให้แก่ประชาชนโดยไม่จำเป็น ดังเช่นตัวอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นกรณีการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีซึ่งมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่ซ้ำซ้อนกับพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์และบทบัญญัติที่ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้ครอบคลุมยิ่งกว่า จึงเป็นข้อสังเกตว่าในการพิจารณาว่ากฎหมายฉบับใดยังมีความจำเป็นหรือหมดความจำเป็น จะต้องกระทำควบคู่ไปกับการศึกษาความซ้ำซ้อนของกฎหมายอยู่เสมอ และการเสนอยกเลิกกฎหมายครั้งนี้เป็นการดำเนินการเป็นครั้งที่ 4 โดยคณะกรรมการพัฒนากฎหมายได้เสนอยกเลิกกฎหมายทั้งหมด 7 ฉบับ อาทิ พระราชกำหนดควบคุมและดำเนินงานภารธุระการทำเหมืองแร่ทองคำ พุทธศักราช 2483 พระราชบัญญัติกำหนดวิธีการระงับการค้ากำไรเกินสมควรจากราชการ พ.ศ. 2491 และพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. 2548

 

การยกเลิกการใช้กฎหมายทำได้กี่ลักษณะอย่างไรบ้าง

 

การดำเนินการเพื่อยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเปิดโอกาสให้ภาครัฐได้ทบทวนกฎหมายในความรับผิดชอบ การใช้บังคับกฎหมายจึงจะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้อย่างแท้จริงโดยกฎหมายไม่กลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง ซึ่งกระบวนการยกเลิกกฎหมายนี้จะบรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการร่วมกันสะท้อนความคิดเห็นและผลกระทบที่ได้รับ  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะร่วมพัฒนากฎหมายเพื่อสังคมที่ดีและน่าอยู่ไปด้วยกัน

การยกเลิกกฎหมายกระทำได้อย่างไร

การยกเลิกกฎหมาย คือการสิ้นสุดการใช้กฎหมาย ทำได้ 2 วิธี คือ 1. การยกเลิกกฎหมายโดยตรงหรือโดยชัดแจ้ง มี 3 กรณี คือ 1.1 กฎหมายกำหนดวันยกเลิกไว้ในกฎหมายฉบับนั้นเอง อาจกำหนดยกเลิกบางบท บางมาตรา หรือทั้งฉบับ 1.2 กฎหมายใหม่ที่มีลักษณะเช่นเดียวกันระบุยกเลิกกฎหมายเก่า

ข้อใดเป็นการยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย

82 2. การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย หมายถึงกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติชัดแจ้ง ระบุให้ยกเลิก แต่เป็นที่เห็นได้จากกฎหมายฉบับใหม่ ว่าจะต้องยกเลิกกฎหมายเก่าไป LW 104 Page 3 ในตัวด้วย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีกฎหมายสองฉบับใช้เวลาเดียวกัน ซึ่งมีข้อความ

กฎหมายจะสิ้นผลใช้บังคับเมื่อใด

โดยสรุปแล้ว กฎหมายจะสิ้นผลลงได้ก็แต่เฉพาะโดยเงื่อนไขและวิธีการที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น หากกฎหมายฉบับใดแม้จะมิได้นํามาบังคับใช้เป็นเวลานาน ก็ไม่เป็นเหตุให้กฎหมายนั้นถูกยกเลิกหรือสิ้นสุดลงอันทําให้หมดสภาพการบังคับใช้ และเมื่อเกิดกรณีที่เข้าข่ายแห่งกฎหมายนั้นเมื่อใด ย่อมนํากฎหมายนั้นมาใช้บังคับได้ทันที ซึ่งตรงกับสุภาษิต ...

วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายแต่ละฉบับของประเทศไทยมีกรณีอะไรบ้าง

วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายอาจกำหนดแตกต่างกัน คือ 1. บังคับใช้ในวันที่ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เป็นกฎหมายที่ต้องการบังคับใช้อย่างเร่งด่วน 2. บังคับใช้ในวันถัดจากวันที่ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา คือกำหนดให้ประชาชนทราบล่วงหน้าหนึ่งวัน