กีฬาแบดมินตันเล่นกี่คะแนนถึงจะเป็นฝ่ายชนะ

แบดมินตัน (Badminton) เป็นกีฬาที่ใช้ไม้ขึงเอ็น เรียกว่า "แร็กเกต" ตีลูก โดยลูกที่ใช้ตี เรียกกันว่า "ลูกขนไก่" เพราะในอดีตใช้ขนไก่มาติดที่ลูกบอลทรงกลมขนาดเล็ก แต่ปัจจุบันผลิตจาก "ขนเป็ด" และลูกบอลทรงกลมทำจาก "ไม้คอร์ก"

รูปแบบการแข่งขัน

แบดมินตัน แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย โดยมี 2 ประเภทการแข่งขัน คือ ประเภทเดี่ยว และ ประเภทคู่ (ชายคู่, หญิงคู่ และ คู่ผสม)

ในการแข่งขันแบบสากล ใน 1 เกม ผู้ชนะจะต้องได้คะแนน 21 คะแนน และตัดสิน แพ้ชนะ 2 ใน 3 เกม

แต่ถ้าหาก ผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ทำคะแนนได้ 20 คะแนนเท่ากัน จะต้องทำการ "ดิวส์" กล่าวคือ จะต้องทำคะแนนให้ห่างจากฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน หากไม่สามารถทำคะแนนห่างกัน 2 คะแนน ก็จะเล่นไปเรื่อยๆ แต่เมื่อได้แต้ม 29 เท่ากัน ฝ่ายใดได้คะแนนที่ 30 ก่อน ก็จะเป็นฝ่ายชนะทันที

พื้นที่ในสนามแบดมินตัน

สนามแบดมินตัน จะประกอบด้วย เส้นด้านข้าง ฝั่งละ 2 เส้น และ เส้นด้านหลังอีก 2 เส้น รวมถึง เส้นด้านหน้า 1 เส้น แต่ละเส้นมีความหนา 40 มิลลิเมตร ความยาวของสนามทั้งหมด 13.4 เมตร และ กว้าง 6.1 เมตร และมีเนตกั้นกลาง ความสูง 1.55 เมตร

ในการแข่งขันประเภทคู่ จะใช้พื้นที่ทั้งหมดของสนามแบดมินตัน คือ เส้นด้านนอก ซ้าย-ขวา และ เส้นด้านหลังสุด แต่ในการแข่งขันประเภทเดี่ยว จะใช้พื้นที่แคบกว่า กล่าวคือ เส้นด้านใน ซ้าย-ขวา แต่ใช้เส้นด้านหลังสุดเช่นกัน

พื้นที่เป้าหมายในการส่งลูก ในการแข่งขันประเภทคู่ จะต้องส่งลูกให้ลงในพื้นที่ ที่อยู่ระหว่าง เส้นด้านหน้า เส้นหลังด้านใน และ เส้นข้างด้านนอก ส่วนกรณี แข่งขันประเภทเดี่ยว จะต้องส่งลูกให้ลงในพื้นที่ ที่อยู่ระหว่าง เส้นด้านหน้า เส้นหลังด้านนอก และ เส้นข้างด้านใน (ดูภาพประกอบ)

กีฬาแบดมินตันเล่นกี่คะแนนถึงจะเป็นฝ่ายชนะ

กีฬาแบดมินตันเล่นกี่คะแนนถึงจะเป็นฝ่ายชนะ

การส่งลูก และการนับคะแนน

ในการส่งลูก ครั้งแรก คะแนนเริ่มต้นที่ 0-0 "ผู้ส่ง" จะส่งจากในพื้นที่ส่งลูก "ด้านขวา" เสมอ โดยจะต้องส่งลูกในมุมทะแยง ไปยังพื้นที่ส่งลูก "ด้านขวา" ของฝ่ายรับลูก เช่นกัน

หากฝ่ายส่งลูก สามารถทำคะแนนได้ต่อเนื่อง ผู้ส่ง จะได้สิทธิส่งลูกในคะแนนต่อไป โดยสลับไปมาระหว่าง พื้นที่ส่งลูกด้านขวา-พื้นที่ส่งลูกด้านซ้าย

เมื่อคะแนนของฝ่ายส่งลูก เป็นเลขคี่ (1,3,5...) จะต้องส่งลูกจากพื้นที่ส่งลูก "ด้านซ้าย" และ คะแนนของฝ่ายส่งลูก เป็นเลขคู่ (2,4,6...) จะต้องส่งลูกจากพื้นที่ส่งลูก "ด้านขวา"

กรณีที่ฝ่ายส่งลูก เสียคะแนน ฝ่ายรับลูก จะได้คะแนน และ สลับเป็นฝ่ายส่งลูก ในคะแนนต่อไปทันที

ในการแข่งขันประเภทคู่ ผู้รับลูก ที่อยู่ทะแยงมุมกับ ผู้ส่งลูก จะต้องเป็นผู้รับลูกส่งเสมอ แต่หลังจากรับลูกแล้ว สามารถตีลูกได้อย่างอิสระ ไม่เหมือนกีฬาปิงปอง ที่ผู้เล่นจะต้องสลับกันตีลูก

กติกาอื่นๆ

ในระหว่างการตีโต้กัน ห้ามนำส่วนใดส่วนหนึ่งของร่ายการ หรือ ไม้แร็กเกต สัมผัสโดน "เน็ต" โดยเด็ดขาด รวมถึง ห้ามตีลูกขนไก่ ที่ยังไม่ข้ามเนตมาในแดนของตนเอง ถือว่าเป็นการผิดกติกา และเสียคะแนน

ในการส่งลูก และ ในระหว่างการแข่งขัน ลูกขนไก่ สามารถสัมผัสด้านบนของเนต และข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามได้ โดยไม่ผิดกติกา

เพราะนักกีฬาที่เล่นพลาดยังมีโอกาสไล่กลับมาพลิกเกมได้ ต่างจากการเล่น 11 คะแนนเป็นเกมที่สั้น ถ้าใครพลาดก่อน

โอกาสไล่กลับมาชนะในเกมนั้น จะค่อนข้างยาก

ในเมื่อความคิดเห็นยังต่างกันอยู่ ดังนั้นสหพันธ์ฯ จึงจะมาถกพร้อมๆกับโหวตว่าจะใช้วิธีใดในการนับแต้มกัน

ในการประชุมสหพันธ์แบดมินตันโลกแบบออนไลน์ วันที่ 22 พ.ค.นี้

กรณีถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง ก็ยังจะใช้วิธีเดิม

แต่หากเสียงส่วนมากต้องการให้ปรับเปลี่ยน ก็จะมีการนำระบบคิดคะแนนใหม่มาใช้ในรายการแข่งขัน หลังจากจบกีฬาโอลิมปิกเกมส์ และพาราลิมปิกเกมส์ 2020 ทันที

สหพันธ์ แบดมินตันนานาชาติ ( IBF) ได้กำหนดให้ ทดลองใช้ระบบการนับคะแนนการแข่งขันกีฬาแบดมินตันใหม่ ในระบบ 3 x 21 คะแนน ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป

รายละเอียดของกติกาการนับคะแนนมีดังนี้
1. แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม
2. ทุกประเภทของการแข่งขัน  ฝ่ายที่ได้ 21 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นเมื่อได้ 20 คะแนนเท่ากันต้องนับต่อให้มีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน ฝ่ายใดได้คะแนนนำ 2 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ  แต่ไม่เกิน 30 คะแนน หมายความว่าหากการเล่นดำเนินมาจนถึง 29 คะแนนเท่ากัน  ฝ่ายใดได้ 30 คะแนนก่อน เป็นผู้ชนะ
3. ฝ่ายชนะเป็นฝ่ายส่งลูกต่อในเกมต่อไป
4. ฝ่ายชนะการเสี่ยงสิทธิ์เป็นฝ่ายส่งลูกได้ก่อน  หากฝ่ายตรงข้ามทำลูก “เสีย” หรือลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น  ผู้เลือกส่งลูกก่อนจะได้คะแนนนำ 1-0 และได้ส่งลูกต่อ  แต่หากผู้ส่งลูกทำลูก “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น  ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนตามมาทันทีเป็น 1-1 และฝ่ายตรงข้ามจะได้สิทธิ์ส่งลูกแทน  ดำเนินเช่นนี้ต่อไปจนจบเกม
5. ประเภทคู่ให้ส่งลูกฝ่ายละ 1 ครั้ง ตามคะแนนที่ได้  ขณะที่เปลี่ยนฝ่ายส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคี่ ผู้อยู่คอร์ดด้านซ้ายเป็นผู้ส่งลูก  หากคะแนนเป็นจำนวนคู่ผู้อยู่คอร์ดด้านขวาเป็นฝ่ายส่งลูก

มารยาทผู้เล่น

1. ผู้แข่งขันต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผู้เข้าแข่งขันเป็นนักกีฬาสมัครเล่น ซึ่งต้องมีน้ำใจเป็นนักกีฬาอยู่เสมอ และพร้อมที่จะให้อภัยแกความผิดพลาดทุกโอกาส โดยไม่คำนึงถึงผลแพ้ชนะเป็นสำคัญจนเกินไป

2. ผู้เข้าแข่งขันแต่งกายด้วยชุดกีฬาสีขาว สะอาด เรียบร้อย

3. ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อคู่แข่งขันแสดงออกถึงมิตรภาพความสุภาพ อ่อนโยนด้วยการสัมผัสมือ หรือเปิดโอกาสให้คู่แข่งขันได้วอร์ม รวมทั้งไม่เอาเปรียบคู่ต่อสู้หรือคู่แข่งขันในการเสี่ยง ให้โอกาสคู่ต่อสู้เป็นผู้นำการเลือกเสี่ยงก่อน

4. ไม่แสดงกริยาที่ไม่ดีเมื่อทำเสียเอง ด้วยท่าทางหรือคำพูด รวมทั้งการกล่าวตำหนิผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน

5. ใช้คำพูดที่สุภาพในการแข่งขัน

6. การถามข้อสงสัย หรือถามคะแนนต่อผู้ตัดสินในระหว่างการแข่งขันควรจะใช้ถ้อยคำที่สุภาพ

7. การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ตัดสิน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้แข่งขันควรจะใช้ถ้อยคำที่ระมัดระวัง และเมื่อได้ทำการอุทธรณ์แล้ว ผู้อุทธรณ์ต้องอยู่ในความสงบ และพร้อมที่จะทำการแข่งขันต่อไปได้ และเมื่อผู้ตัดสินชี้ขาดอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ

8. เมื่อขณะดำเนินการแข่งขันอยู่หากจะหยุดพัก เช่น ขอเช็ดเหงื่อ ดื่มน้ำ เปลี่ยนแร็กเกต เปลี่ยนรองเท้าถุงเท้า ฯลฯ ต้องขออนุญาตผู้ตัดสินทุกครั้ง เมื่อได้รับอนุญาติแล้วจึงปฏิบัติได้

9. ในการส่งลูกเสียไปให้คู่ต่อสู้จะต้องส่งลูกข้ามตาข่ายไปให้เสมอ การส่งลูกลอดใต้ตาข่ายไปให้คู่ต่อสู้ถือว่าเป็นการเสียมารยาทอย่างรุนแรง

10. ในระหว่างการแข่งขัน ถ้าผู้ตัดสินทำหน้าที่ผิดพลาดแต่เราอยู่ในฐานะได้เปรียบไม่ควรใช้ความได้เปรียบนั้นเป็นประโยชน์

11. การตีลูกเสีย นักกีฬาที่ดีต้องร้องออกมาดัง ๆ ว่า “เสีย” โดยไม่ต้องรอให้ผู้ตัดสินร้องออกมาก่อน แต่ถ้าผู้ตัดสินดูไม่ทัน ผู้ตีลูกเสียไม่ควรจะฉวยโอกาสเล่นต่อไปด้วย เพราะการฉวยโอกาสเช่นนี้เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต

12. เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้นลง ถ้าเราเป็นฝ่ายชนะจะต้องไม่แสดงความดีใจจนเกินควร ต้องเข้าไปจับมือคู่แข่งขันทันทีพร้อมแสดงความเสียใจ ถ้าเป็นฝ่ายแพ้ไม่ควรจะแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวต้องควบคุมอารมณ์ และรีบไปแสดงความยินดีกับคู่แข่งโดยทันทีเหมือนกัน

13. ยอมรับและเชื่อฟังการตัดสินโดยไม่โต้แย้ง และเมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันควรแสดงความเคารพผู้ตัดสิ้น

14. ในสนามที่มีผู้มารอเล่นอยู่มาก และไม่ใช่การแข่งขัน ไม่ควรเล่นกันนานจนเกินไป ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้าง

=====

อุปกรณ์ในการเล่น

อุปกรณ์ในการเล่นแบดมินตันจะประกอบด้วยกัน 3 อย่างคือ สนาม ลูกขนไก่

และแร็กเกต

1. สนามและอุปกรณ์สนาม

1.1สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้นกว้างขนาด 40 มม. ตามภาพผัง ก.

1.2เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสีเหลือง

1.3เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้

1.4เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตรจากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 1.10 โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้ามาในสนาม (เฉพาะรายการที่รับรองโดย IBF จะต้องใช้ระเบียบนี้ จนกระทั่ง 1 สิงหาคม 2547 ทุกรายการที่แข่งขันจะต้องยึดตามระเบียบนี้)

1.5เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ตามที่ได้แสดงไว้ในภาพผัง ก. โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นประเภทเดี่ยวหรือเล่นคู่

1.6ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15 มม. และไม่เกิน 20 มม.

1.7ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มม. และความยาวอย่างน้อย 6.1 เมตร

1.8ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสอง ขนาดกว้าง 75 มม. ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว

1.9เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา

1.10สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นที่ตรงกึ่งกลางสนาม 1.524 เมตร และ 1.55 เมตร เหนือเส้นเขตข้างของประเภทคู่

1.11ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา ถ้าจำเป็น ต้องผูกร้อยปลายตาข่ายทั้งหมดกับเสา

2. ลูกขนไก่

2.1ลูกขนไก่อาจทำจากวัสดุธรรมชาติ และ/หรือ วัสดุสังเคราะห์ ไม่ว่าลูกนั้นจะทำจากวัสดุชนิดใดก็ตาม ลักษณะวิถีวิ่งทั่วไป จะต้องเหมือนกับลูกซึ่งทำจากขนธรรมชาติ ฐานเป็นหัวไม้ก๊อก หุ้มด้วยหนังบาง

2.2ลูกขนไก่ต้องมีขน 16 อัน ปักอยู่บนฐาน

2.3วัดจากปลายขนถึงปลายสุดของฐาน โดยความยาวของขนในแต่ละลูกจะเท่ากันหมด ระหว่าง 62 มม. ถึง 70 มม.

2.4ปลายขนแผ่เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 58 มม. ถึง 68 มม.

2.5ขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้ายหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม

2.6ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. ถึง 28 มม. และส่วนล่างมนกลม

2.7ลูกขนไก่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 ถึง 5.50 กรัม

2.8ลูกขนไก่ที่ไม่ใช้ขนธรรมชาติ

2.8.1ใช้วัสดุสังเคราะห์แทนขนธรรมชาติ

2.8.2ฐานลูก ดังที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.6

2.8.3ขนาดและน้ำหนักของลูกต้องเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.3, 2.4 และ 2.7 อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของความถ่วงจำเพาะ และคุณสมบัติของวัสดุสังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับขนธรรมชาติ ยอมให้มีความแตกต่างได้ถึง 10%

2.9เนื่องจากมิได้กำหนดความแตกต่างในเรื่องลักษณะทั่วไป ความเร็วและวิถีวิ่งของลูกอาจมีการเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้โดยการอนุมัติ จาก องค์กรแห่งชาติที่เกี่ยวข้องในที่ซึ่งสภาพความกดอากาศสูงหรือสภาพดินฟ้าอากาศ เป็นเหตุให้ลูกขนไก่ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม

3 แร๊กเกต

3.1เฟรมของแร็กเกตยาวทั้งหมดไม่เกิน 680 มม. และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 230 มม. ส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ 4.1.1 ถึง 4.1.5 และได้แสดงไว้ในภาพผัง ค.

3.1.1ด้านจับ เป็นส่วนของแร๊กเกตที่ผู้เล่นใช้จับ

3.1.2พื้นที่ขึงเอ็น เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก

3.1.3หัว บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น

3.1.4ก้าน ต่อจากด้ามจับถึงหัว (ขึ้นอยู่กับกติกาข้อ 4.1.5)

3.1.5คอ (ถ้ามี) ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง

3.2พื้นที่ขึงเอ็น

3.2.1พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ ด้วยการร้อยเอ็นเส้นขวางขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นทั่วไป โดยพื้นที่ตอนกลาง ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น ๆ และ

3.2.2พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน 280 มม. และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 220 มม. อย่างไรก็ตามอาจขึงไปถึงคอเฟรม หากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน 35 มม. และความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน 330 มม.

3.3แร๊กเกต

3.3.1ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่ หรือยื่นออกมา ยกเว้นจากส่วนที่ทำเพื่อจำกัดและป้องกันการสึกหรอ ชำรุดเสียหาย การสั่นสะเทือน การกระจายน้ำหนัก หรือการพันด้ามจับให้กระชับมือผู้เล่น และมีความเหมาะสมทั้งขนาดและการติดตั้งสำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว และ