กระเบื้อง 1 พาเลทมีกี่กล่อง

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ "นโยบายการใช้คุกกี้" และสามารถเลือกตั้งค่ายินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้" Cookie Policy

Accept

อิฐมวลเบา เป็นวัสดุก่อสร้างที่ปัจจุบันได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถป้องกันความร้อนได้ดี มีส่วนผสมมาจากทราย ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนขาว ยิปซั่ม น้ำ และผงอลูมิเนียม อีกทั้งยังมีฟองอากาศเล็กๆ ในเนื้อวัสดุ ทำให้มีอิฐชนิดนี้มีน้ำหนักเบา ประหยัดโครงสร้าง และเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังเหมาะกับการก่อสร้างผนังหลักของบ้าน อาคาร ที่ต้องการความเย็นสบาย

โดยอิฐมวลเบาเป็นวัสดุที่หลายคนคงจะเคยได้ยินการซื้อ ไม่ว่าจะเป็นอิฐมวลเบา 1 พาเลท 2 พาเลท แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า แล้วแต่ละขนาดของอิฐมวลเบา จะบรรจุบนพาเลทได้เท่าไหร่บ้าง วันนี้เยลลี่ได้หาคำตอบมาให้พี่ ๆ เรียบร้อยแล้วค่ะ

การคำนวณ อิฐมวลเบา ต่อ 1 พาเลท

โดยหากเป็นความหนายอดนิยมอย่าง 7.5 ซม. จะมีอิฐมวลเบา 1 พาเลท จำนวน 200 ก้อน แต่หากอยากดูขนาดอื่น ๆ และตารางเปรียบเทียบตารางเมตร สามารถเปรียบเทียบได้ที่ตารางด้านล่างได้เลยค่ะ

ปริมาณการบรรจุบนพาเลท

ความหนา (ซม.)กว้าง x ยาว (ซม.)ก้อน / ตร.ม.ก้อน / พาเลทตร.ม./ พาเลท7.520 x 608.33200241020 x 608.331501812.520 x 608.33120151520 x 608.331001217.520 x 608.3380102020 x 608.337092520 x 608.33607

แต่หากจะคำนวณว่าแล้วถ้าสั่งเป็นคันรถล่ะ จะได้กี่พาเลท น้องเยลลี่ก็ได้คำนวณมาให้เรียบร้อยแล้วค่ะ หากเป็นความหนา 7.5 ซ.ม.  จะสามารถบรรทุกในรถ

รถบรรทุกหกล้อ = 6 พาเลท หรือ 1,200 ก้อน/เที่ยว
รถเทรลเลอร์ = 20 พาเลท หรือ 4,000 ก้อน/เที่ยว

ข้อควรรู้หากต้องการซื้ออิฐมวลเบาเป็นคันรถในช่วงหน้าฝน

ในฤดูฝน หรือช่วงที่ฝนตกบ่อยๆ อิฐมวลเบาจะขนส่งได้ในปริมาณที่ลดลงเนื่องจากตัวอิฐอาจจะมีการซึมน้ำ ทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นจ้า

ตารางเปรียบเทียบการใช้ปูนก่อมวลเบา

การใช้งานปูนก่ออิฐมวลเบานั้นก็เพียงแค่เอามาผสมกับน้ำ ก็สามารถใช้งานได้ทันที ในหนึ่งถุงของปูนก่ออิฐมวลเบานั้นก็เพียงแค่ใช้น้ำผสมเพียง 14-15 ลิตรเท่านั้น ผสมเอาส่วนผสมทุกอย่างให้มันเข้ากันนำมาก่อร่วมกับอิฐมวลเบา การก่ออิฐมวลเบาขนาดมาตรฐานทั่วไป ถ้าใช้ปูนก่ออิฐมวลเบา 1 ถุงที่มีปริมาณ 50 กิโลกรัม

 ความหนา (ซม.)กก. / ตร.ม.ตร.ม. / ถุง7.51.5331022512.52.5201531617.53.51420412.525510

ตารางการใช้ปูนฉาบกับการก่ออิฐมวลเบา

การฉาบผนังอิฐมวลเบาหลายคนอาจเคยเจอฉาบแล้วเกิดรอยร้าว ซึ่งความจริงแล้วต้องใช้ปูนฉาบสำหรับอิฐมวลเบาโดยเฉพาะ ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดรอยร้าว และการฉาบไม่ต้องฉาบหนาเหมือนผนังอิฐมอญ เพราะก้อนอิฐมวลเบามีผิวเรียบ ได้ขนาด สามารถก่อได้ดิ่ง ได้แนวได้ง่าย ไม่เปลืองปูนฉาบ

 ฉาบหนา (มม.)กก. / ตร.ม.ตร.ม. / ถุง58.95.6712.54.01017.82.81526.71.92035.71.4

วันนี้ทางเยลลี่หาข้อมูลพร้อมความรู้แน่นๆ เรื่องอิฐมวลเบามาให้เพียบ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับพี่ช่างหรือฝ่ายจัดซื้อเพื่อให้ทำงานได้สะดวกมากขึ้นนะคะ

คำถามยอดฮิตที่เฮียเชษฐเจอทุกวันเลยก็คือ กระเบื้องปูพื้น หรือ กระเบื้องแกรนิตโต้ 1กล่อง มีกี่แผ่น ที่คำถามนี้ทุกคนอยากรู้ก็เพราะว่าจะได้วางแผนการซื้อถูก เพราะคงไม่มีร้านค้าไหนแยกขายกระเบื้องทีละแผ่น แต่จะเป็นการขายยกกล่องซะส่วนใหญ่ วันนี้เฮียเลยขอรวบรวมข้อมูลกระเบื้องแต่ละประภทมาให้ ทุกคนจะได้วางแผนการซื้อกระเบื้องให้สะดวกมากขึ้น

กระเบื้อง 1 พาเลทมีกี่กล่อง

สรุปกระเบื้อง 1กล่อง มีกี่แผ่นแบบง่ายๆ?ขนาดกระเบื้อง (ซม.)จำนวนแผ่น ต่อกล่องจำนวนตารางเมตรต่อกล่อง20×2025130×3011140×406160×6041.4460×12021.44

กระเบื้องขนาด 20×20, 30×30, 40×40 โดยส่วนมากแล้วจะเป็นกระเบื้องเซรามิค ผลิตในประเทศ ส่วนมากจะเป็นกระเบื้อง COTTO, SOSUCO, CAMPANA มีความบาง และราคาถูก

กระเบื้องขนาด 20×20 ซม.

  • กระเบื้อง 20×20 1กล่อง บรรจุ 25 แผ่น
  • กระเบื้อง 1 กล่องสามารถนำไปปูได้พื้นที่ 1 ตารางเมตร

หมายเหตุ : กระเบื้องขนาด 20×20 ซม. 1แผ่น จะมีพื้นที่ 0.04 ตารางเมตร ทำให้ 25 แผ่น สามารถปูได้1ตารางพอดิบพอดี

กระเบื้องขนาด 30×30 ซม.

  • กระเบื้อง 30×30 1กล่อง บรรจุ 11 แผ่น
  • กระเบื้อง 1 กล่องสามารถนำไปปูได้พื้นที่ 1 ตารางเมตร

หมายเหตุ : กระเบื้องขนาด 30×30 ซม. จะมีพื้นที่แผ่นละ 0.09 ตารางเมตร 11แผ่น จึงรวมเป็น 0.99 ตารางเมตร เมื่อทำการปัดขึ้น 1กล่องจึงเท่ากับ 1 ตารางเมตร เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณและการซื้อขาย

กระเบื้องขนาด 40×40 ซม.

  • กระเบื้อง 30×30 1กล่อง บรรจุ 6 แผ่น
  • กระเบื้อง 1 กล่องสามารถนำไปปูได้พื้นที่ 1 ตารางเมตร

หมายเหตุ : กระเบื้องขนาด 40×40ซม. จะมีพื้นที่แผ่นละ 0.16 ตารางเมตร 6แผ่น จึงรวมเป็น 0.96 ตารางเมตร แต่โดยทั่วไปร้านค้ามักจะปัดขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ 1กล่องจึงเท่ากับ 1 ตารางเมตร

กระเบื้องขนาด 60×60 ซม.

  • กระเบื้อง 60×60 1กล่อง บรรจุ 4 แผ่น
  • กระเบื้อง 1 กล่องสามารถนำไปปูได้พื้นที่ 1.44 ตารางเมตร

หมายเหตุ : กระเบื้องขนาด 60×60 ซม. 1 แผ่น จะมีพื้นที่ 0.36 ตารางเมตร

กระเบื้องขนาด 60×120 ซม.

  • กระเบื้อง 60×120 1กล่อง บรรจุ 2 แผ่น
  • กระเบื้อง 1 กล่องสามารถนำไปปูได้พื้นที่ 1.44 ตารางเมตร

หมายเหตุ : กระเบื้องขนาด 60×120 ซม. 1 แผ่น จะมีพื้นที่ 0.72 ตารางเมตร

กระเบื้อง 1 พาเลทมีกี่กล่อง

ทำไมกระเบื้องแต่ละขนาดมีจำนวนแผ่นต่อกล่องไม่เท่ากัน?

เนื่องด้วยกระเบื้องแต่ละขนาด สามารถนำไปปูพื้นที่ได้ต่างกันมาก ทำให้หลักในการตั้งจำนวนแผ่นของกระเบื้องต้องใช้พื้นที่เป็นตัวยึด นั่นก็คือ กระเบื้อง1กล่องจะต้องปูได้พื้นที่ใกล้เคียง1ตารางเมตรที่สุด และอีกหนึ่งเหตุผลก็คือ ถ้ามีปริมาณที่มากกว่านี้ จะยากลำบากในการขนส่ง และอาจจะเกิดความเสียหายได้ เพราะกระเบื้องเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก และค่อนข้างมีความเปราะบางกว่าวัสดุก่อสร้างชนิดอื่นๆ เช่น เหล็ก หรือปูน

กระเบื้อง 1 พาเลทมีกี่กล่อง

คำนวณกระเบื้องยังไง ให้สั่งแล้วพอดี?

วิธีที่นิยมในการคำนวณปริมาณกระเบื้องที่จะสั่งมี 2วิธีด้วยกัน ซึ่งการใช้นั้นจะแตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับว่าเรามีเวลามากน้อยในการเตรียมพร้อมขนาดไหน

นับจำนวนแผ่น

ง่ายที่สุดคือการนับจำนวนแผ่นกระเบื้องที่ต้องสั่งเลย โดยเราจะต้องวัดพื้นที่หน้างานมา แล้วเอาด้านกว้างและยาวของกระเบื้องหารกับความยาวของพื้นที่ ซึ่งในที่นี้เราจะสามารถเห็นและวางแผนได้ด้วย ว่าจะเหลือเศษกระเบื้องมากน้อยขนาดไหน แผ่นที่ตัดแล้วจะสามารถนำไปใช้ต่อได้หรือไม่ หรือว่าเศษจะต้องทิ้งเลย

ข้อดี ของวิธีการนี้คือเราจะรู้ปริมาณกระเบื้องที่ใช้จริงๆ และมุมไหนต้องตัดกระเบื้องในรูปแบบใดบ้างเพื่อให้เข้ากับพื้นที่ได้แม่นยำ

ข้อเสีย คือถ้าพื้นที่มีปริมาณมากๆจะเสียเวลาในการคำนวณมาก เราจึงนิยมใช้การประมาณโดยตารางเมตรเอามากกว่าหากเป็นพื้นที่

ประมาณโดยการใช้พื้นที่ตารางเมตร

วิธีนี้คือวิธีที่นิยมใช้กันมากกว่า เพราะใช้เวลาน้อยกว่า และง่ายกว่าในการสั่งซื้อกระเบื้อง คือการนำความกว้างxความยาว ของห้องก็จะได้หน่วยพื้นที่มาเป็นตารางเมตร แต่ข้อเสียของวิธีการนี้คือเราอาจจะต้องเผื่อเศษสักหน่อย เพราะเราไม่รู้ว่ากระเบื้องจะต้องเสียเศษมากน้อยขนาดไหน เพราะหากรูปแบบของห้องมีความซับซ้อนแล้วจะยิ่งต้องเสียเศษมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปก็จะสั่งเผื่อเศษกันประมาณ 2-5% ขึ้นอยู่กับความใหญ่ของโครงการ