แนวทางและเทคนิควิธีการและทักษะการพัฒนาสุขภาพมีกี่แนวทางอะไรบ้าง

แนวทางและเทคนิควิธีการและทักษะการพัฒนาสุขภาพมีกี่แนวทางอะไรบ้าง

สุขภาพอารมณ์ (Emotional Health) เป็นส่วนหนึ่งของ EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความสามารถของคนเราในการยอมรับและบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้ โดยเฉพาะเมื่อกำลังเผชิญกับความท้าทายหรือการเปลี่ยนแปลง (ที่มีผลกระทบกับการใช้ชีวิต) คนที่มีสุขภาพอารมณ์ที่ดีจะสามารถทำความเข้าใจและตามอารมณ์ของตัวเองได้ สุขภาพอารมณ์นั้นหมายรวมถึงความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และการควบคุมอารมณ์ สุขภาวะทางอารมณ์ถือเป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพจิต อย่างไรก็ตาม การไร้อารมณ์ไม่ได้แปลว่ามีสุขภาพอารมณ์ที่ดี และการไม่เจ็บป่วยทางจิตก็ไม่ได้แปลว่ามีสุขภาพจิตดี คนที่ชอบกดข่มอารมณ์ตัวเองไว้มักมีสุขภาพอารมณ์ดีไม่เท่าคนที่เปราะบางและแสดงอารมณ์ตัวเองออกมา ภาวะอารมณ์เศร้าโศกและกังวลใจมักนำไปสู่ภาวะเจ็บป่วยที่ไม่ใช่แค่จิตใจ แต่รวมถึงร่างกายได้ เช่น โรคหัวใจ หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง และยังโยงไปถึงการติดสารเสพติดและพฤติกรรมผิดปกติอื่น ๆ อีกด้วย ในภาวะที่สังคมและโลกรอบตัวมีการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน และเกิดวิกฤตการณ์รอบด้าน จึงยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่คนเราจะมีภาวะอารมณ์เศร้าโศกและกังวลใจเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว ซึ่งนั่นก็จะยิ่งเพิ่มความเสีี่ยงต่อการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจ และส่งผลให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เกิดปัญหาความเจ็บป่วยทางร่างกายตามมาอีก ดังนั้น คนที่มีวิถีชีวิตที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพอารมณ์ที่ดีนั้นจึงช่วยได้มาก มาดู 5 วิธีพัฒนาและรักษาสุขภาพอารมณ์ที่ดีเพื่อให้คุณพร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลง ที่คุณสามารถทำได้เลย 1. ฝึกสมาธิและสติ วิธีการนี้มีงานวิจัยสนับสนุนมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงคุณประโยชน์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพอารมณ์และสุขภาพจิตที่ดี รวมถึงการฝึกสมาธิและสติคือการฝึกให้มีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองในภาวะเผชิญปัญหา (Resilience) 2. รักษาความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับคนอื่น การมีคนที่ใกล้ชิดคอยเป็นกำลังใจและสนับสนุนเมื่อคนเรากำลังเผชิญปัญหานั้นมีผล อย่างมากที่จะช่วยให้คนเราฟันฝ่าอุปสรรคและก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ได้ รวมทั้งมีงานวิจัยที่ยืนยันว่าคนที่ไม่มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับคนอื่นนั้น มีความเสี่ยงจะมีปัญหาสุขภาวะมากกว่าการสูบบุหรี่หรือภาวะอ้วนซะอีก อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องมีเพื่อนจำนวนมาก ๆ เสมอไป เพราะถึงแม้เพื่อนน้อยแต่ความสัมพันธ์เหล่านั้นมีคุณภาพ คนเหล่านั้นคอยสนับสนุนและอยู่เคียงข้างคุณเสมอ นั่นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สุดยอด

แนวทางและเทคนิควิธีการและทักษะการพัฒนาสุขภาพมีกี่แนวทางอะไรบ้าง

3. บริหารความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะทักษะการบริหารเวลาอย่างได้ผล การออกกำลังกาย และการรู้จักปล่อยวางเรื่องที่ตัวเองควบคุมไม่ได้ เหล่านี้จะช่วยลดระดับความเครียดได้ ยิ่งเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพอารมณ์ หลักการคือ คุณควรพยายามควบคุมสิ่งที่ควบคุมได้ และพยายามจัดการไม่ให้ยุ่งเหยิงจนกลายเป็นความเครียดโดยไม่จำเป็น เช่น หากบริหารเวลาไม่ดี ชีวิตที่ยุ่งเหยิง เกิดความเครียดได้ หรือการไม่ออกกำลังกายจนละเลยสุขภาพ อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาจนมีความเครียด แบบนี้เป็นต้น 4. แสดงอารมณ์ในวิธีที่เหมาะสม เช่น การเขียนบทความ การเขียนบันทึกส่วนตัว การส่งผ่านอารมณ์ออกมาทางศิลปะ หรือการพูดคุยกับเพื่อนหรือคนรัก ถือเป็นกลยุทธ์ให้คุณได้แสดงอารมณ์ออกมาอย่างสร้างสรรค์ หรือหากใครที่กำลังโกรธจัด ๆ ก็อาจจะยกระดับความรุนแรงขึ้นมาอีกหน่อย แต่ยังอยู่ในระดับที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร เช่น การชกหมอน การเขียนระบายอารมณ์ลงในกระดาษแล้วขยำหรือฉีกทิ้ง เป็นต้น

ดูตัวช่วยจัดการความโกรธอย่างเหมาะสม >> 5. ฝึกอธิบายอารมณ์ความรู้สึกตัวเองออกมาเป็นคำพูด จะช่วยให้คุณตระหนักรู้ตัวเองมากขึ้น หัดสังเกตมากขึ้น รวมถึงสามารถอธิบายสิ่งที่กำลังรู้สึกอยู่นั้นออกมาให้ทั้งตัวเอง หรือคนอื่นได้เข้าใจ สิ่งนี้ก็ถือเป็นการแสดงออกอารมณ์อย่างเหมาะสมเช่นกัน ซึ่งปัญหานี้มักพบในคนที่ทำงานโดยอยู่กับตรรกะและเหตุผลเสมอ จนละเลยความรู้สึก ไม่รู้จักความรู้สึก และอธิบายออกได้เพียงแค่ความคิด และระบุอารมณ์ไม่เป็น ดูเครื่องมือช่วยอธิบายอารมณ์ความรู้สึกออกมาเป็นคำพูด >> อารมณ์ถือว่าเป็นเรื่องของจิตใจ ที่เชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับร่างกาย และพฤติกรรม หากส่วนใดส่วนหนึ่งทำงานบกพร่องไป หรือเป็นลบมากไป ก็จะส่งผลต่อส่วนอื่นที่เหลือ โดยเฉพาะในภาวะที่โลกกำลังปั่นป่วน เกิดความเครียด ความวิตกกังวลกันมากขึ้น คุณจึงยิ่งต้องดูแลสุขภาพอารมณ์ของตัวเองให้ทำงานได้อย่างปกติ เพื่อจะได้มีสมองที่ปลอดโปร่ง ความคิดโลดแล่น เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาที่อาจเข้ามา

การดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว

การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว เป็นเรื่องที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ตัวของเราเองและบุคคลในครอบครัวเกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกทุกคนในครอบครัว เกิดความรักในครอบครัวซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว 

คำว่า “สุขภาพดี” ในแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่สภาวะสังคม หรือรูปแบบของวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วสุขภาพดีอย่างน้อยจะต้องหมายถึง ความสมบูรณ์ของทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดได้เนื่องจากการดูแลเอาใจใส่ระบบต่างๆ ที่สำคัญของร่างกาย การที่จะมีสุขภาพดีได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของตนเองหรือของบุคคลในครอบครัว ไม่ใช่เป็นสิ่งเกิดขึ้นได้ด้วยความบังเอิญ 

หากแต่จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนในการดูแลสุขภาพล่วงหน้าซึ่งจะช่วยให้เกิดผลดี ดังนี้ 

แนวทางและเทคนิควิธีการและทักษะการพัฒนาสุขภาพมีกี่แนวทางอะไรบ้าง

-สามารถที่จะกำหนดวิธีการหรือเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตัวเราเองหรือบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม 

-สามารถที่จะกำหนดช่วงเวลาในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม อาจจะมีกิจกรรมการออกกำลังกายในช่วงเช้า หรือในบางครอบครัวอาจจะมีเวลาว่างในช่วงเย็น ก็อาจจะกำหนดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในช่วงเย็นก็ได้ หรืออาจจะกำหนดช่วงเวลาในการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม

 -เป็นการเฝ้าระวังสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว ไม่ให้ป่วยด้วยโรคต่างๆ นับว่าเป็นการสร้างสุขภาพ ซึ่งจะดีกว่าการที่จะต้องมาซ่อมสุขภาพ หรือการรักษาพยาบาลในภายหลัง

 -ช่วยในการวางแผนเรื่องของเศรษฐกิจและการเงินในครอบครัว เนื่องจากไม่ต้องใช้จ่ายเงินไปในการรักษาพยาบาล 

-ส่งเสริมสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว

-ทำให้คุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและสมาชิกในครอบครัวดีขึ้น 

การดูแลสุขภาพตนเอง

การรู้จักและสร้างนิสัยที่ดีในการเสริมสร้างสุขภาพหรือดูแลสุขภาพของตนเองให้สมบูรณ์ แข็งแรง ทั้งกายและใจ อารมณ์และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้าตัวเองมีวินัยเรื่องสุขภาพมีความรู้เรื่องสุขภาพก็จะเป็นผลดีต่อทุกๆด้านซึ่งการดูแลสุขภาพของคนนั้นพัฒนาตามวัย ได้แก่ วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ โดยต้องดูแลแตกต่างกันไป การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่ดีสามารถทำได้ดังนี้ 

– ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายอย่างถูกวิธีของการออกกำลังกาย สัปดาห์ละ ๓-๕ วัน จะทำให้ร่างกายแข็งแรงจิตใจแจ่มใส และช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคได้เป็นอย่างดี เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้

– การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง รับประทานอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย มีอาหารครบถ้วนทั้ง ๕ หมู่ เสริมด้วยผักผลไม้ทุกๆมื้อ เพื่อช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย ช่วยเสริมสร้างสมอง ช่วยป้องกันโรคอ้วน เบาหวน มะเร็ง สมองเสื่อม 

– การพักผ่อนและการนันทนาการ การพักผ่อนเป็นการสร้างภูมิต้านทานโรคเป็นการผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน เป็นการพักการทำงานของกล้ามเนื้อให้ลดการทำงานหนักๆ เพื่อฟื้นคืนสู่สภาพปกติ การพักผ่อนมีหลายวิธี รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ แต่การพักผ่อนวิธีที่ดีที่สุด คือการพักผ่อนตอนกลางคืน วันละ ๖-๘ ชม.

– หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง หมายถึง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่บ่อนทำลายสุขภาพ หรือเป็นสาเหตุของการที่จะเกิดอุบัติภัยและภัยอันตราย เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การเสพสารเสพติดที่จะเป็นตัวทำลายระบบประสาทและสมอง การสำส่อนทางเพศและพฤติกรรมประมาท

– สร้างทักษะในชีวิตเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การใช้ชีวิตร่วมกันในครอบครัวต้องมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สาธารณสุขหรือความเป็นอยู่ทั่วไป ซึ่งต้องเน้นการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมีความสามารถที่จะเผชิญเหตุการณ์ต่างๆทางสังคมที่เป็นลบ เช่น การมั่วสุมสารเสพติด หรือ การถูกชักชวนให้มีพฤติกรรมเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม โดยอาศัยทักษะที่จำเป็น เช่น ทักษะในการจัดการกับความขัดแย้งในครอบครัว

– การมีพัฒนาการทางด้านปัญญา ซึ่งมีวิธีหลากหลายที่จะช่วยให้บุคคลและความเห็นแก่ตัว มุ่งเข้าถึงความดี เช่น การศึกษา การเล่นกีฬา การศาสนา การรวมกลุ่ม การเจริญภาวนา การสัมผัสธรรมชาติ เป็นต้น ที่จะทำให้เข้าถึงความสุขทางปัญญาทำให้สุขภาพจิตดี ซึ่งจะส่งผลต่อการมีสุขภาพดีตามมา 

– มีการเรียนรู้ที่ดี เช่น การอ่านหนังสือ เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ก็เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสนุก ทำให้เกิดปัญญา เกิดความคิด ความสุข สร้างแรงจูงใจที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากขึ้น

– การจัดสิ่งแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อสุขภาพ ทั้งทางกายภาพ ทางชีวภาพ และทางสังคม สามารถทำได้ เช่น การมีสุขาภิบาลที่ดีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปราศจากมลพิษ ปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค การมีสัมพันธภาพและมิตรไมตรีต่อกัน

ครอบครัวเป็นสังคมเล็กๆ สังคมหนึ่ง มีสมาชิกเพียงแค่พ่อ แม่ ลูก หรือเป็นสังคมของกลุ่มญาติอันประกอบด้วยบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ลูก ซึ่งสมาชิกในครอบครัวจะมีบทบาทหน้าที่ต่างกัน แต่ทุกคนต้องมีความห่วงใย มีความรัก เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ให้ความช่วยเหลือดูแลกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านการดูแลสุขภาพ แต่ละคนมีหน้าที่ดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ซึ่งเมื่อทุกคนต่างก็ดูแลสุขภาพตนเองไม่ให้เจ็บไข้แล้ว สุขภาพส่วนรวมหรือสุขภาพของครอบครัวก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ตามไปด้วย