การอ่านเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันอย่างไร

  1. การอ่านหนังสือจะเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยพัฒนาเรื่องการจำ รวมถึงชะลอและป้องกันการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

  2. ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียดต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญ และช่วยให้มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีขึ้น

  3. ได้รับความรู้จากเนื้อหา การมีความรู้ติดตัว แม้ว่ายังไม่ได้ใช้ในตอนนี้แต่ยังไงก็ต้องเป็นประโยชน์ในอนาคต

  4. มีทักษะในการสื่อสารที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป

  5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสามารถสร้างสมาธิมากขึ้นเพียงแค่อ่านหนังสือในช่วงเช้าสัก 15-20 นาที

เราทุกคนต่างรู้กันอยู่แล้วว่า “หนังสือ” ให้ประโยชน์กับเราได้อย่างมากมาย ทั้งความรู้ สมาธิ รวมทั้งยังช่วยให้เราได้พักจากเรื่องต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ แต่บางครั้งการอ่านหนังสือนั้นต้องใช้เวลาและสมาธิค่อนข้างมาก หลายคนจึงเลือกไปทำอย่างอื่นแทน ทำให้การหยิบหนังสือมาอ่านกลายเป็นตัวเลือกสุดท้าย ทั้ง ๆ ที่ประโยชน์ของการอ่านหนังสือมีมากมาย

วันนี้ JobThai เลยได้รวบรวมประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้จากการอ่านหนังสือ เพื่อย้ำให้ทุกคนเห็นว่าการอ่านหนังสือนั้นสำคัญแค่ไหน และอาจทำให้คุณต้องหันมาเลือกหยิบหนังสือสักเล่มขึ้นมาอ่าน

1. ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง

สมองของมนุษย์ก็เหมือนมวลกล้ามเนื้อที่ต้องการการขยับ การออกกำลังกาย เพื่อให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งการอ่านหนังสือก็เหมือนเป็นการออกกำลังสมอง ที่ทำให้สมองของเราได้คิดและได้ทำงานตลอดเวลา และจากการศึกษาพบว่า การกระตุ้นการทำงานของสมอง (Mental Stimulation) อย่างสม่ำเสมอจะช่วยชะลอและป้องกันการเป็นโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนี้ก็ยังเป็นการช่วยพัฒนาความจำได้อีกด้วย ยิ่งอ่านหนังสือมาก สมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจดจำก็จะได้ทำงานมาก

2. ความเครียดลดลงและจิตใจสงบมากขึ้น

ความเครียดเกิดขึ้นเมื่อเราจมอยู่กับเรื่องเรื่องหนึ่งที่คิดไม่ตกและยังไม่สามารถหาวิธีแก้ได้ แต่การอ่านหนังสือที่ต้องใช้สมาธิในระดับหนึ่ง ความเครียดจากงานหรือปัญหาที่เราเจอมาจะถูกลืมไปทันที เพราะการอ่านนิยายสนุก ๆ บทความดี ๆ จะทำให้เราจดจ่ออยู่กับเวลาในขณะนั้นและลืมความกังวลต่าง ๆ ไป นอกจากนี้เราอาจได้แง่คิดหรือทัศนคติดี ๆ ผ่านการอ่านเรื่องราวต่าง ๆ ที่ทำให้เราได้เปลี่ยนมุมมองต่อปัญหาที่เราเผชิญอยู่ก็ได้

3. ได้รับความรู้

แน่นอนอยู่แล้วว่าเมื่อเราอ่านหนังสือเราต้องได้ความรู้กลับมา และการมีความรู้ติดตัว แม้ว่ายังไม่ได้ใช้ในตอนนี้แต่ยังไงก็ต้องเป็นประโยชน์ในอนาคตแน่ ๆ ซึ่งเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าจะต้องนำความรู้เหล่านั้นออกมาใช้เมื่อไหร่ แต่ยิ่งมีความรู้มากแค่ไหน ก็จะยิ่งทำให้เราได้เปรียบมากขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ นอกจากนี้สิ่งของหรือเงินทองอาจถูกขโมยไปได้ แต่ความรู้เป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถเอาไปจากเราได้อย่างแน่นอน

4. มีคลังคำศัพท์ที่มากขึ้น มีทักษะการสื่อสารที่ดีขึ้น

ทักษะในการสื่อสารเป็นเรื่องที่ทุกวัยควรมีอยู่แล้ว ทั้งนักศึกษาที่ต้องใช้ทักษะการเขียนในการทำวิทยานิพนธ์ คนหางานที่ต้องใช้ทักษะการพูดเวลาสัมภาษณ์งาน หรือทำงานที่ต้องใช้การสื่อสารเวลาพรีเซนต์งาน ขายงาน ไปจนถึงการติดต่อทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งถ้าเราอ่านหนังสือมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีคลังคำศัพท์เพิ่มมากเท่านั้น และคำศัพท์มากมายเหล่านั้น จะทำให้เราสามารถสื่อสารได้อย่างมืออาชีพมากขึ้น นอกจากนี้การอ่านหนังสือภาษาต่างประเทศก็จะช่วยในการเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ได้ดี และจะทำให้การพูดและการเขียนของเราคล่องขึ้น

5. มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้มากขึ้น

โลกออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเราทุกคนมากขึ้น จนอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราโดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ มีเรื่องต่าง ๆ มากมายที่ดึงดูดความสนใจของเราพร้อมกันในเวลาเดียว หลายคนสามารถทำงาน เช็กอีเมล แชทกับเพื่อน อ่านสเตตัส และดูโทรศัพท์มือถือ ได้ภายในเวลาเพียงแค่ 5 นาที ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้สมาธิและประสิทธิภาพในการทำงานของเราลดลง แต่ถ้าเราได้ลองหันมาอ่านหนังสือ เราก็จะให้ความสนใจและโฟกัสไปที่เรื่องราวในหนังสือเพียงอย่างเดียว ก่อนเริ่มทำงาน ลองหาเวลาอ่านหนังสือ สัก 15–20 นาที แล้วจะพบว่ามันสามารถช่วยให้เรามีสมาธิมากขึ้นเมื่อถึงเวลาทำงาน 


นอกจากนี้อีกหนึ่งประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการอ่านหนังสือก็คือ “ความบันเทิง” ผ่านเรื่องราว และเนื้อหาต่าง ๆ ในหนังสือแต่ละเล่ม ซึ่งในปัจจุบันหากเราไม่สะดวกในการไปห้องสมุดหรือร้านขายหนังสือตามที่ต่าง ๆ เราก็ยังสามารถอ่านหนังสือผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่าง Tablet, Smartphone หรือ Kindle ที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอ่านหนังสือโดยเฉพาะ เพราะทุกวันนี้หนังสือหลายเล่มมีการทำออกมาในรูปแบบของ e-book หรือ PDF ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี

JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน

บทความเดิมได้ถูกเผยแพร่ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2016 และได้รับการอัปเดตโดยทีมงาน JobThai

tags : ไลฟ์สไตล์, ประโยชน์, คนทำงาน, เคล็ดลับสำหรับคนทำงาน, เทคนิคสำหรับคนทำงาน, ทำงานอย่างมีความสุข, ความสุขในการทำงาน, เคล็ดลับความสำเร็จ, เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ, ทำงานให้มีความสุข, แนวคิดในการทำงาน

วัยรุ่นจะฝึกทักษะชีวิตได้อย่างไร

ฝึกทักษะการตัดสินใจ (Decision making)
สรุปประเด็นปัญหา > จัดการกับความรู้สึกของตนเอง (ใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์) > ไม่ควรรับข้อมูลมากเกินไป (พิจารณารับข้อมูลที่สำคัญ) > พิจารณาทางเลือกหลายๆ ทาง > คำนึงถึงผลดี  ผลเสีย > ตัดสินใจเลือกว่าจะเลือกแบบใด

ฝึกทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving)
กำหนดปัญหาที่ชัดเจน (ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร) > กาหนดเป้าหมาย (ต้องการทำอะไรให้สำเร็จ ต้องการค้นพบอะไร) > รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาให้ได้มากที่สุด > วิเคราะห์ข้อมูล > หาวิธีแก้ไขที่เป็นไปได้ > ประเมินวิธีแก้ปัญหาและเลือกว่าจะใช้วิธีใด > ทำตามแผนที่วางไว้ > ประเมินผลลัพธ์ > ปรับวิธีการแก้ปัญหา (ถ้าปัญหายังไม่คลี่คลาย)

ฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative  thinking)
อ่านให้เยอะ > ร่วมมือกับผู้อื่นที่เข้าใจปัญหาหรือสิ่งที่เราอยากทำ > คุยกับผู้คนที่แตกต่างจากเรา > ยอมรับและเรียนรู้จากความล้มเหลว > รู้จักทำแผนที่ความคิด (Mind map) > พาตัวเองออกไป “นอกกรอบความคิดเดิมๆ” เริ่ม ลงมือทาสิ่งใหม่ๆ

ฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking)
รู้จักตั้งคำถาม > ไม่ควรเชื่อข้อมูลจนกว่าจะได้วิเคราะห์ด้วยตนเอง > รู้จักคิดคาดการณ์ล่วงหน้า > เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในบทบาทของผู้อื่น (เอาใจเขามาใส่ใจเรา) > แบ่งเวลาอย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อทากิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมอง

ฝึกทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication)
เข้าใจว่าการสื่อสารคืออะไร (คือกระบวนการถ่ายทอดสัญญาณ/ข้อความ ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารผ่านวิธีการต่างๆ) > กล้าพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด > สบตาผู้รับสาร > แสดงทัศนคติหรือมุมมองที่เป็นประโยชน์ > รู้จักที่จะตั้งใจฟัง > พูดชัดถ้อยชัดคำและใช้ภาษาถูกต้อง

ฝึกทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal relationship)
ใส่ใจเอาใจใส่ผู้อื่น > นับถือผู้อื่น นับถือตนเอง > มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน > มีความยืดหยุ่น > ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ความคิด ความรู้สึก

ฝึกทักษะการตระหนักรู้ในตน  (Self-awareness)
รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง > ไม่บิดเบือนความรู้สึกของตนเอง (โกรธ ไม่ชอบ อิจฉา) > ให้ เวลากับตัวเองในการพัฒนาอารมณ์ > รู้ข้อดี ข้อด้อยของตนเอง ยอมรับข้อด้อยและพร้อมจะพัฒนา > เรียนรู้ที่จะรู้จักตนเองตามความเป็นจริงที่เป็น

ฝึกทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy)
หยุดคิดว่าเราเข้าใจทุกคนเป็นอย่างดี > นิ่งเพื่อรู้จักที่จะฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ > ถามเพื่อต้องการที่จะทำความเข้าใจเพิ่มเติม > จับใจความเพื่อให้เข้าใจตรงกัน > แบ่งเวลา พูดคุย เปิดประสบการณ์กับคนวัยต่างๆ หรือคนที่แตกต่างจากเรา

ฝึกทักษะการจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotion)
เมื่อกำลังมีความรู้สึกในทางลบให้หยุดสิ่งที่กำลังทำอยู่และอยู่กับปัจจุบัน > หายใจลึกๆ > ยิ้ม > หยุดคิดว่า “ไม่มีอะไรจะแย่ไปกว่านี้อีกแล้ว” เพราะจะยิ่งทำให้ความคิดในทางลบยากเกินกว่าจะควบคุม > หยุดคิดแบบเหมารวมว่า “มันจะต้องเป็นแบบนั้นแน่นอน” > ฝึกที่จะรักตัวเองให้มากๆ หยุดคิดว่าความสาเร็จคือคำว่าชนะ > มีเมตตาต่อตัวเอง เข้าใจว่าความเจ็บปวดและความทรมานเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญ > ฝึกมีสติอยู่กับปัจจุบัน > จินตนาการถึงอนาคตที่เราจะสามารถทำมันให้ดีที่สุด เพื่อเพิ่มความรู้สึกทางบวกให้กับตัวเอง