วงแหวนไฟ มีความสําคัญอย่างไร

แผ่นดินไหวเขย่าเอกวาดอร์ ชาติภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือทวีปอเมริกาใต้ ริมมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อช่วงค่ำวันเสาร์ 16 เม.ย.2559 ตามเวลาท้องถิ่น ขนาดแรงสั่นสะเทือน 7.8 แมกนิจูด...

ก่อนหน้านั้น 14 เม.ย.แผ่นดินไหวขนาด 6.4 แมกนิจูด ตามด้วยแผ่นดินไหวอีกครั้งแรงขึ้นขนาด 7.1 แมกนิจูดเมื่อวันเสาร์ 16 เม.ย. เขย่าพื้นที่ภาคกลางบนเกาะคิวชู ฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นในทวีปเอเชีย...

ธรณีพิโรธรุนแรงที่เกิดขึ้นในทั้งสองประเทศ แม้อยู่ห่างคนละซีกโลก แต่ทั้งสองชาติต่างตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่เรียกกันว่า “Ring of Fire” หรือ “วงแหวนไฟ”

“วงแหวนไฟ” หรือแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลกบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ไล่เลาะเป็นรูปทรงเกือกม้าขนาดใหญ่ ความยาวโดยรวมราว 40,000 กม. พื้นที่นี้มีภูเขาไฟปะทุตั้งอยู่ 452 ลูก หรือมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของภูเขาไฟปะทุที่มีอยู่บนผิวโลก แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบนผิวโลกราว 90 เปอร์เซ็นต์ รุนแรงที่สุดราว 81 เปอร์เซ็นต์ เกิดขึ้นบนแนววงแหวนไฟแห่งนี้

เฉพาะแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดของโลกถึงขนาด 9.0 แมกนิจูด ล้วนเกิดขึ้นบนแนววงแหวนไฟ ไล่ตั้งแต่ 22 พ.ค.ปี 2503 แผ่นดินไหว 9.5 แมกนิจูด เขย่าภาคใต้ชิลี คร่าผู้คน 1,716 ชีวิต // 28 มี.ค.ปี 2507 แผ่นดินไหว 9.2 แมกนิจูด เขย่ารัฐอลาสกา คร่าผู้คน 131 ชีวิต // 26 ธ.ค.ปี 2547 แผ่นดินไหว 9.1 แมกนิจูด เขย่าอินโดนีเซียและเกิดสึนามิ คร่าชีวิตผู้คน 230,000 ชีวิต // 11 มี.ค.ปี 2554 แผ่นดินไหว 9.0 แมกนิจูด เขย่าพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือญี่ปุ่น คร่าผู้คนกว่า 18,000 ชีวิต

ประเทศหรือดินแดนบนแนวรอยเลื่อน “วงแหวนไฟ” ไล่ตั้งแต่ทวีปเอเชียจากนิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี อินโดนีเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น รัสเซีย แอนตาร์กติกา แคนาดา สหรัฐฯ เม็กซิโก คอสตาริกา เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย และชิลี แต่ใช่ว่า ที่อื่นจะปลอดภัยไร้กังวล

ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยดิ โอเพ่น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ ศาสตราจารย์เดวิด โรเธอรี ชี้ว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นกับเอกวาดอร์คราวนี้ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง แต่แผ่นดินไหวในเอกวาดอร์ขนาด 7.8 แมกนิจูด ได้ปลดปล่อยพลังงานรุนแรงมากกว่าแผ่นดินไหวในญี่ปุ่นขนาด 7.1 แมกนิจูด เมื่อวันเสาร์ถึงราว 6 เท่า เพราะแผ่นดินไหวในเอกวาดอร์เกิดนานและรุนแรงกว่าที่ญี่ปุ่น

แผ่นดินไหวที่เอกวาดอร์ยังเกิดใต้ผิวดินตื้นกว่าญี่ปุ่น ยิ่งทำให้ความเสียหายที่เอกวาดอร์มากกว่าญี่ปุ่น นอกเหนือจากระบบโครงสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างในเอกวาดอร์ด้อยกว่าญี่ปุ่นมาก

บทเรียนจากแผ่นดินไหวในเอกวาดอร์ สิ่งสำคัญที่สุดน่าจะเป็นเรื่องการพัฒนายกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างอาคารและการจัดระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานให้มั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น

ส่วนญี่ปุ่นต้องเพิ่มระแวดระวังผลกระทบดินถล่มหลังเหตุแผ่นดินไหวและจัดการกลุ่มคนปล่อยข่าวลือ ข่าวร้าย ข่าวลวงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ปลุกเร้าสถานการณ์ให้แย่ลงอีก...

วันนี้ ผมจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับ "วงแหวนแห่งไฟ" หรือ Ring of Fire ต้นตอแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในญี่ปุ่น แต่เราก็ต้องอยู่กับ วงแหวนแห่งไฟ นี้ไปอีกชั่วนาตาปี จนกว่าโลกใบนี้จะแตกดับ และจะต้องเจอกับโศกนาฏกรรม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และ คลื่นยักษ์สึนามิ ตลอดไปเช่นเดียวกัน

นี่คือ ชะตากรรม ที่เราไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้

วงแหวนแห่งไฟ  Ring of Fire เป็นรอยแยกของเปลือกโลกใต้มหาสมุทร แปซิฟิก มีลักษณะโค้งเป็นรูปเกือกม้ายาวประมาณ 40,000 กิโลเมตร ตลอดรอยแยกของวงแหวนแห่งไฟนี้ มีภูเขาไฟตั้งอยู่ทั้งหมด 452 ลูก เป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นแอ็กทีฟพร้อมที่จะระเบิดได้ทุกเมื่อถึง 75 เปอร์เซ็นต์

แผ่นดินไหวร้อยละ  90  ที่เกิดขึ้นในโลก  และ  แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ร้อยละ 80 ล้วนเกิดขึ้นที่บริเวณ วงแหวนแห่งไฟ ที่เหลือ ร้อยละ 17 เกิดขึ้นใน แนวเทือกเขาอัลไพน์ ตั้งแต่ หมู่เกาะชวา ผ่านเทือกเขาหิมาลัย ไปถึง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อีก ร้อยละ 5–6 เกิดขึ้นแถบ มหาสมุทรแอตแลนติก

มาดูกันต่อครับ ประเทศที่ตั้งอยู่บนวงแหวนแห่งไฟ มีประเทศอะไรบ้าง

เอาเฉพาะชื่อคุ้นๆ เช่น โบลิเวีย, บราซิล, แคนาดา, โคลอมเบีย, ชิลี, คอสตาริกา, เอกวาดอร์, ติมอร์ตะวันออก, เอลซัลวาดอร์, ฟิจิ, กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, นิการากัว, ปาปัวนิวกินี, ปานามา, เปรู, ฟิลิปปินส์, รัสเซีย, หมู่เกาะโซโลมอน, สหรัฐฯ เป็นต้น

ไม่กี่ปีมานี้ หลายประเทศรอบวงแหวนแห่งไฟ เจอแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง เช่น ชิลี, อินโดนีเซีย, นิวซีแลนด์ และ ญี่ปุ่น แต่ละครั้งรุนแรงอันดับต้นๆของโลก เช่น ชิลี เจอหนักสุด 9.5 ริกเตอร์, อินโดนีเซีย 9.1 ริกเตอร์, นิวซีแลนด์ 7.1 ริกเตอร์ ล่าสุด ญี่ปุ่น 9.0 ริกเตอร์ เสียหายรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ในความเป็นจริง ความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นครั้งนี้ ไม่ใช่เกิดจากแผ่นดินไหวโดยตรง แต่เกิดจาก คลื่นยักษ์สึนามิสูงกว่า 10 เมตร ที่ทะลักฝ่าเขื่อนป้องกัน กวาดเอาชีวิตผู้คน รถยนต์ บ้านเรือน แม้กระทั่งเครื่องบินรบ

ทุกประเทศที่ตั้งอยู่บน วงแหวนแห่งไฟ ต่างก็รู้ตัวดี ต้องมีชะตากรรมอย่างนี้ในวันใดวันหนึ่ง อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เพราะย้ายประเทศหนีไม่ได้

ตราบใดที่ "ทรัพยากรใต้โลก" ยังถูกมนุษย์ขุดขึ้นมาใช้จนหมดไปเรื่อยๆ  "แผ่นดินไหว–ภูเขาไฟระเบิด–คลื่นยักษ์สึนามิ"  ก็จะเกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อปรับสมดุล ในขณะที่ "ประชากรโลก" เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แย่งกันกิน แย่งกันใช้ สุดท้ายทรัพยากรในโลกนี้ก็ต้องหมดไป มหันตภัยล้างโลกก็จะตามมา นี่คือ กฎแห่งสัจธรรม.

เหตุแผ่นดินไหวที่นิวซีแลนด์ขนาด 7.8 แมกนิจูด เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2559 ทำให้เกิดเหตุอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายร้อยครั้ง ซึ่งรวมถึงแผ่นดินไหวอีกครั้งขนาด 6.3 แมกนิจูดด้วย เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 คน โดยจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ใกล้เมืองท่องเที่ยวไคคูรา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองไครสต์เชิร์ช

แผ่นดินไหวครั้งนี้ถูกคาดการณ์ว่า จะเกิดเหตุอาฟเตอร์ช็อกไปอีก 2-3 เดือนข้างหน้า และมีความรุนแรงกว่าครั้งที่แล้วในปี 2554 อย่างไรก็ตามแผ่นดินไหวครั้งนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายเท่าครั้งที่แล้ว ที่คร่าชีวิตประชาชนไปกว่า 185 คน เพียงแต่อาคารบ้านเรือนและระบบสาธารณูปโภคเกิดความเสียหายกว่าแผ่นดินไหวครั้งก่อน

วงแหวนไฟ มีความสําคัญอย่างไร

Photo: Handout, Reuters/profile

ทางการนิวซีแลนด์เร่งอพยพคนออกจากพื้นที่

ล่าสุดทางการนิวซีแลนด์ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์และเรือเร่งอพยพนักท่องเที่ยวหลายร้อยคนออกจากเมืองไคคูรา ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังในเกาะทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์ หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.8 แมกนิจูด เมื่อเที่ยงคืนของวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2559

การลำเลียงน้ำและอาหารไปยังพื้นที่เสียหายในเมืองไคคูราเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในตอนนี้ ซึ่งคาดการณ์ว่ามีนักท่องเที่ยวกว่า 1,200 คน ติดอยู่ในพื้นที่เป็นเวลา 2-3 วันแล้ว ขณะนี้บ้านเรือนไม่มีไฟฟ้าและการสื่อสารถูกตัดขาด ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเข้าไปในพื้นที่ เพราะถนนและทางรถไฟถูกตัดขาด ทั้งนี้ความรุนแรงของแผ่นดินไหวทำให้ทางการนิวซีแลนด์เตือนให้ประชาชนในเมืองไครสต์เชิร์ชสำรองอาหารและสิ่งของจำเป็นไว้ล่วงหน้า

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ขณะนี้ประชาชนในพื้นที่อยู่ในสภาวะเดียวกัน คืออดนอน และเศร้าโศกกับการเสียชีวิตหรือการสูญหายของสมาชิกในครอบครัว อย่างไรก็ตาม ชาวนิวซีแลนด์มีความคุ้นเคยกับเหตุประสบภัยธรรมชาติ ทำให้ทุกคนพร้อมช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามยากลำบากและแบ่งปันที่อยู่อาศัยให้กับคนที่บ้านเรือนเสียหาย

สถานที่ดูวาฬในเมืองไคคูราของนิวซีแลนด์ อยู่ห่างจากเมืองไครสต์เชิร์ช 150 กิโลเมตร และเป็นสถานท่องเที่ยวสำคัญของนิวซีแลนด์ ขณะนี้ถูกตัดขาด เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้เช่นกัน

ความเสียหายหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 แมกนิจูด

แผ่นดินไหวรุนแรงครั้งนี้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล ทำลายพื้นที่ไร่สวน และตึกสูงในย่านธุรกิจในเมืองเวลลิงตัน ที่ตั้งอยู่บนเกาะเหนือ อย่างสำนักงานสถิติของนิวซีแลนด์ ที่เป็นสถานที่เก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจของประเทศนั้นเสียหายทั้งหมด ขณะนี้ทางการสั่งให้ประชาชนทำงานที่บ้าน

จอห์น คีย์ (John Key) นายกรัฐมนตรีของนิวซีแลนด์ ได้เดินทางไปที่เมืองไคคูรา และกล่าวว่า แผ่นดินถล่มกว่า 80,000-100,000 ครั้งที่มีสาเหตุมาจากแผ่นดินไหวนั้นร้ายแรงมาก เบื้องต้นคาดการณ์ว่าค่าเสียหายจะมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

วงแหวนไฟ มีความสําคัญอย่างไร

Photo: Reuters Photographer, Reuters/profile

นิวซีแลนด์แผ่นดินบริเวณวงแหวนแห่งไฟ

บริเวณวงแหวนแห่งไฟคือพื้นที่ที่ครอบคลุมภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่กว่า 452 ลูก และตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีความยาวกว่า 40,000 กิโลเมตร และมีลักษณะเป็นแนวโค้งแบบเกือกม้า โดยแนวของวงแหวนเริ่มจากอเมริกาใต้ทางชายฝั่งของเมริกาเหนือข้ามช่องแคบเบริง (Bering Strait) จนมาถึงญี่ปุ่นและลงมาใต้สุดที่นิวซีแลนด์

แผ่นเปลือกโลกบริเวณนี้จะมีลักษณะคล้ายกับจิ๊กซอว์ที่แผ่นเปลือกโลกยังคงเคลื่อนไหว จึงทำให้บางครั้งแผ่นเปลือกโลกบริเวณนี้ยังชนกัน (Convergent Boundaries) ดึงออกจากกัน (Divergent Boundaries) หรือเสียดสีกัน (Transform Boundaries)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มาร์ก ควิกลีย์ (Mark Quigley) แห่งมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นอธิบายว่า “แผ่นเปลือกโลกบริเวณวงแหวนแห่งไฟนั้นมีอายุนาน และมีความเย็น เพราะอยู่บริเวณมหาสมุทร ดังนั้นแผ่นเปลือกโลกบริเวณนี้จะหนักและหนาแน่น ซึ่งพอเปลือกโลกบริเวณนี้ไปชนกับแผ่นเปลือกโลกอื่น แผ่นเปลือกโลกที่หนักกว่าจึงมีโอกาสที่จะจมและละลาย กลายเป็นหินหลอมละลายที่ร้อนมากใต้ผิวโลก และปะทุเป็นภูเขาไฟ”

วงแหวนไฟ มีความสําคัญอย่างไร

Photo: GILLES ADT, Reuters/profile

ภูเขาไฟที่ยังมีพลังกว่า 75% อยู่บริเวณวงแหวนแห่งไฟ ทั้งภูเขาไฟในคาบสมุทรคัมชัตคา (Kamchatka Peninsula) ในรัสเซีย ภูเขาไฟรัวเปฮู (Ruapehu) ในนิวซีแลนด์ ภูเขาไฟกรากะตัว (Krakatoa) ในอินโดนีเซีย ภูเขาไฟฟูจิในญี่ปุ่น และภูเขาไฟโปโปคาเตเปตล์ (Popocatépetl) ในเม็กซิโก ซึ่งเป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่อันตรายที่สุดที่ตั้งอยู่บริเวณวงแหวนแห่งไฟ

แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดที่ผ่านมาล้วนเกิดขึ้นบริเวณวงแหวนแห่งไฟ ทั้งแผ่นดินไหวขนาด 9.5 แมกนิจูด ที่ชิลี และที่ญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 อีกทั้ง 90% ของเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นบริเวณวงแหวนแห่งไฟ

อ้างอิง:
     – BBC
– Reuters
– http://nationalgeographic.org/encyclopedia/ring-fire/

Author

  • วงแหวนไฟ มีความสําคัญอย่างไร