บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา เปรียบผู้ดูถูกช่างศิลป์เป็นคนอย่างไร

  • 1. 

    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับบทเสภาสามัคคีเสวก

    • A. 

      บทเสภาสามัคคีเสวกเกิดขึ้นในราวปี พ.ศ.2457

    • B. 

      บทเสภาสามัคคีมี 4 ตอน คือ กิจการแห่งนที กวีนิรมิต วิศวกรรมาและสามัคคีเสวก

    • C. 

      บทเสภาสามัคคีแต่งด้วยกาพย์ยานีกับกลอนสุภาพ

    • D. 

      บทเสภาสามัคคี ใช้สำหรับขับอธิบายนำเรื่องในการฟ้อนรำตอนต่างๆ

  • 2. 

    อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่าใครใครเห็นไม่เป็นที่จำเริญตา เขาจะพากันเย้ยให้อับอายคำประพันธ์ข้างต้นใช้โวหารภาพพจน์แบบใด

    • A. 

      คำอุปมา

    • B. 

      คำอุปลักษณ์

    • C. 

      คำสัญลักษณ์

    • D. 

      คำนามมัย

  • 3. 

    "เพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ โอสภใดจะสมานซึ่งหัวใจ"คำว่า "โอสถ" ในที่นี้หมายถึงข้อใด

    • A. 

      ยารักษาโรค

    • B. 

      ความร่ำรวย

    • C. 

      งานศิลปะ

    • D. 

      ความรัก

  • 4. 

    "เหมือนคนป่าคนไพรไม่รุ่งเรือง จะพูดด้วยนั้นก็เปลืองซึ่งวาจา"ข้อความในข้อใดสัมพันธ์กับข้อความที่กำหนดให้

    • A. 

      เพราะการช่างนี้สำคัญอันวิเศษ ทุกประเทศนานาทั้งน้อยใหญ่

    • B. 

      ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย

    • C. 

      อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ ต้องมัวรบรานรอนหาผ่อนไม่

    • D. 

      ใครดูถูกผู้ชำนาญในการช่าง ความคิดขวางเฉไฉไม่เข้าเรื่อง

  • 5. 

    แม้พวกเราชาวไทยตั้งใจช่วย   เอออำนวยช่างไทยให้ทำของ  ช่างคงใฝ่ใจผูกถูกทำนอง   และทำของงามงามขึ้นตามกาลคำประพันธ์นี้กล่าวด้วยน้ำเสียงตรงกับข้อใด

    • A. 

      เตือนสติ

    • B. 

      ขอร้อง

    • C. 

      ตำหนิ

    • D. 

      เชิญชวน

  • 6. 

    ประการหนึ่งพึงคิดในจิตมั่น   ว่าทรงธรรม์เหมือนบิดาบังเกิดหัว ควรเคารพยำเยงและเกรงกลัว ประโยชน์ตัวนึกน้อยหน่อยจะดีจากคำประพันธ์ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร

    • A. 

      ให้ข้าราชการทำเพื่อส่วรรวม

    • B. 

      ให้ทุกคนทำประโยชน์เพื่อตนเอง

    • C. 

      ให้ประชาชนยึดมั่นในตนเอง

    • D. 

      ให้จงรักภักดีต่อพระเจ้าเเผ่นดิน

  • 7. 

    ในบทเสภาสามัคคีเสวกสาระสำคัญของเรื่องตรงกับข้อใดมากที่สุด

    • A. 

      ประเทศชาติจะไปรอดเพราะทุกคนเข้าใจกัน

    • B. 

      ความเห็นแก่ตัวนำไปสู่ความล้าหลัง

    • C. 

      ข้าราชการมีความสามัคคีทำให้เกิดความเจริญ

    • D. 

      ข้าราชบริพารล้วนแต่ซื่อสัตย์สุจริต

  • 8. 

    "แม้ต่างคนต่างเถียงเกี่ยงแก่งแย่ง  นายเรือจะเอาแรงมาแต่ไหน"ข้อใดมีความสัมพันธ์แสดงผลของคำประพันธ์นี้ 

    • A. 

      นายจะสั่งสิ่งใดไม่เข้าจิต จะต้องติดตันใจให้ขัดขวาง

    • B. 

      จะยุ่งแล้วยุ่งเล่าไม่เข้าทาง เรือก็คงอับปางกลางสาคร

    • C. 

      ควรเคารพยำเยงและเกรงกลัว ประโยชน์ตัวนึกน้อยหน่อยจะดี

    • D. 

      ควรนึกว่าบรรดาข้าพระบาท ล้วนเป็นราชบริพารพระทรงศรี

  • 9. 

    ในบทเสภาสามัคคีเสวกข้อใดเปรียบเทียบไม่ถูกต้อง

    • A. 

      ลูกเรือ = ข้าราชบริพาร

    • B. 

      กัปปิตัน = พระมหากษัตริย์

    • C. 

      นาวา = ประเทศไทย

    • D. 

      คลื่นลมแรง = ความสามัคคี

  • 10. 

    เหล่าเสวกตกที่กะลาสี   ควรคิดถึงหน้าที่นั้นเป็นใหญ่ รักษาตนเคร่งคงตรงวินัย สมานใจจงรักพระจักรี ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง   สามัคคีเป็นกำลังพลังศรี ควรปรองดองในหมู่ราชเสวี ให้สมที่ร่วมพระเจ้าเราองค์เดียวข้อใดไม่ได้กล่าวถึงในคำประพันธ์

    • A. 

      ความเพียรพยายาม

    • B. 

      ความสามัคคี

    • C. 

      ความรับผิดชอบ

    • D. 

      ความีวินัย

บทเสภาสามัคคีเสวก

เมื่อเห็น บทเสภาสามัคคีเสวก ครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนต้องเผลออ่านคำว่า เสวก เป็น (สะ-เหวก) แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วคำว่าเสวกนั้นต้องอ่านให้ถูกต้องว่า (เส-วก) ที่มีความหมายถึงผู้ใกล้ชิด เป็นยศของข้าราชการในราชสำนักนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้ไม่เพียงแต่จะสอนอ่านให้ถูกต้อง แต่จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องย่อวรรณคดีไทยอย่างบทเสภาสามัคคีเสวกกันอีกด้วย โดยจะเป็นเรื่องราวแบบไหน มีลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่ออย่างไรบ้าง เราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

บทเสภาสามัคคีเสวกและประวัติความเป็นมา

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา เปรียบผู้ดูถูกช่างศิลป์เป็นคนอย่างไร

บทเสภาสามัคคีเสวก มีที่มาจากที่ในสมัยก่อน ทุกวันเสาร์ ข้าราชการในราชสำนักจะจัดงานเลี้ยงที่พระราชวังสนามจันทร์ซึ่งในงานเลี้ยง จะมีการแสดงเพื่อความบันเทิง และในครั้งที่เจ้าพระยาธรรมธิกรณาธิบดี หรือ หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยง ก็ได้ทูลขอให้พระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวคิดการละเล่นขึ้นมาอย่างหนึ่ง พระองค์จึงได้ผูกระบำสามัคคีเสวกขึ้น ซึ่งเป็นระบำที่ไม่มีบทร้อง มีเพียงดนตรีของวงพิณพาทย์บรรเลง โดยในระหว่างที่ให้วงพิณพาทย์พักเหนื่อย พระองค์ก็ทรงพระราชนิพนธ์บทเสภาขึ้นมาสำหรับขับร้องระหว่างตอน

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา เปรียบผู้ดูถูกช่างศิลป์เป็นคนอย่างไร

ลักษณะคำประพันธ์

กลอนเสภาที่มีฉันทลักษณ์เหมือนกลอนสุภาพ

เรื่องย่อของบทเสภาสามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา เปรียบผู้ดูถูกช่างศิลป์เป็นคนอย่างไร

บทเสภาสามัคคีเสวกมีด้วยกันทั้งหมด 4 ตอน ได้แก่

1. กิจการแห่งพระนนที เป็นบทกล่าวสรรเสริญพระนนทีว่าเป็นเทพเสวกที่ดี รับใช้พระอิศวรอย่างซื่อสัตย์

2. กรีนิรมิต เป็นบทกล่าวสรรเสริญพระคเณศ เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา

3. วิศวกรรมา เป็นบทกล่าวสรรเสริญพระวิศวกรรมเทพ ผู้ให้กำเนิดการก่อสร้างและช่างต่าง ๆ

4. สามัคคีเสวก เป็นบทกล่าวถึงความสามัคคีในหมู่ราชการ ให้มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ และขยันทำงาน

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา เปรียบผู้ดูถูกช่างศิลป์เป็นคนอย่างไร

ตอนที่เราจะศึกษากันในวันนี้มีด้วยกัน 2 ตอน คือ วิศวกรรมาและสามัคคีเสวกค่ะ

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา เปรียบผู้ดูถูกช่างศิลป์เป็นคนอย่างไร

บทวิศวกรรมา มีทั้งหมด 13 บท เป็นบทที่กล่าวสรรเสริญพระวิศวกรรมผู้เป็นเทพแห่งการสร้าง การช่าง นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของศิลปะ

บทประพันธ์เด่น

แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม

เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร

เพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ

โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ

ถอดความ คนที่ไม่สนใจในศิลปะ เมื่อถึงเวลาที่เศร้าก็จะไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เพราะทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจไม่สามารถใช้ยาช่วยได้

อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์

เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า

ใครใครเห็นไม่เป็นที่จำเริญตา

เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย

ถอดความ ชาติใดก็ตามที่ไม่มีช่างฝีมือด้านศิลปะ ก็เหมือนผู้หญิงที่ไม่มีเสน่ห์ ไม่สวย ใครเห็นก็รู้สึกไม่ชอบและพากันดูถูกได้ว่าเป็นเมืองที่ไร้ศิลปะ

สรุปแนวคิดในตอนวิศวกรรมา

เป็นบทที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของงานฝีมือและศิลปะว่ามีความสำคัญมาก เพราะศิลปะจะช่วยเยียวยาจิตใจ ให้ความเพลิดเพลิน บำรุงประเทศให้งดงาม และนอกจากนี้ยังส่งเสริมให้คนไทยภาคภูมิใจและสนับสนุนงานศิลปะ เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาฝีมือช่างไทยแล้วยังเป็นการพัฒนาชาติให้เจริญรุ่งเรืองอีกด้วย

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา เปรียบผู้ดูถูกช่างศิลป์เป็นคนอย่างไร

มีทั้งหมด 9 บท มุ่งเน้นที่จะสอนข้าราชการให้จงรักภักดีและทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อให้ประเทศเจริญก้าวหน้า

บทประพันธ์เด่น

ประการหนึ่งพึงคิดในจิตมั่น

ว่าทรงธรรม์เหมือนบิดาบังเกิดหัว

ควรเคารพยำเยงและเกรงกลัว

ประโยชน์ตัวนึกน้อยหน่อยจะดี

ควรนึกว่าบรรดาข้าพระบาท

ล้วนเป็นราชบริพารพระทรงศรี

เหมือนลูกเรืออยู่ในกลางหว่างวารี

จำต้องมีมิตรจิตรสนิทกัน

ถอดความ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนบิดาที่ควรเคารพ และสอนให้ข้าราชการนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนอีกด้วยว่าข้าราชการเหมือนลูกเรือกะลาสี เรือเปรียบเหมือนประเทศชาติ

แม้ลูกเรือเชื่อถือผู้เป็นนาย

ต้องมุ่งหมายช่วยแรงโดยแข็งขัน

คอยตั้งใจฟังบังคับกัปปิตัน

นาวานั้นจึ่งจะรอดตลอดทะเล

ถอดความ ข้าราชการที่เหมือนลูกเรือ ต้องสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ และตั้งใจฟังกัปตันหรือก็คือพระมหากษัตริย์เพื่อพาประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัยไปตลอดรอดฝั่งได้

แม้ต่างคนต่างเถียงเกี่ยงแก่งแย่ง

นายเรือจะเอาแรงมาแต่ไหน

แม้ไม่ถือเคร่งคงตรงวินัย

เมื่อถึงคราวพายุใหญ่จะครวญคราง

ถอดความ สื่อถึงว่าหากลูกเรือหรือบรรดาข้าราชการแตกคอกัน แม้แต่พระมหากษัตริย์เองก็สู้ไม่ไหว และถ้าหากเกิดเรื่องไม่ดีก็อาจจะทำให้ประเทศเดือดร้อนได้

ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง

สามัคคีเป็นกำลังพลังศรี

ควรปรองดองในหมู่ราชเสวี

ให้สมที่ร่วมพระเจ้าเราองค์เดียว

ถอดความ เป็นการสอนให้ข้าราชการไม่ลำเอียง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง วางตัวเป็นกลาง และควรปรองดองกันในหมู่ราชการ สามัคคีกัน

สรุปแนวคิดที่ในตอนสามัคคีเสวก

เป็นบทที่มุ่งเน้นสอนข้าราชการเกี่ยวกับการทำงาน ความซื่อสัตย์ ให้นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม เคร่งครัดในระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีและสามัคคีปรองดองกัน

สิ่งที่ทำให้กลอนเสภาเรื่องนี้แตกต่างจากบทเสภาทั่วไป คือการอัดแน่นไปด้วยแนวคิดมากกว่าจะเล่าเรื่องราว เรียกได้ว่าเป็นวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยความรู้และข้อคิดมากมายเลยค่ะ และเพื่อให้น้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจกันมากขึ้น ก็สามารถตามไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้ม ในคลิปครูอุ้มจะอธิบายตัวบทเด่น ๆ และยังมีคำศัพท์น่ารู้อีกมากมายเลยค่ะ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

ตอน สามัคคีเสวก

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยใหม่ๆ ได้ใน nockacademy

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมา เปรียบผู้ที่ดูถูกช่างศิลป์เป็นคนอย่างไร

การช่างมีคุณค่าทาให้ประเทศเจริญรุ่งเรือง มีความงดงาม ผู้พบเห็นสบายตาสบายใจ คลายความเศร้าหมอง ทุกประเทศจึงยกย่อง ศิลปกรรม บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา การใช้ภาพพจน์อุปมา ใครดูถูกผู้ชานาญในการช่าง ความคิดขวางเฉไฉไม่เข้าเรื่อง เหมือนคนป่าคนไพรไม่รุ่งเรือง จะพูดด้วยนั้นก็เปลืองซึ่งวาจา

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา มีสาระสําคัญอย่างไร

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมมา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการกล่าวถึงคุณค่าและความสำคัญของศิลปะที่มีต่อบุคคลและต่อชาติบ้านเมืองบทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมมา กล่าวถึงการสมานสามัคคีในหมู่ราชเสวก ผู้สวามิภักดิ์ใต้เบื้องยุคลบาทให้มั่นคง ในความจงรักภักดี ซื่อตรง และขยันต่อการงาน ให้รักษา ...

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา มุ่งแสดงถึงข้อใด

มุ่งแสดงความสำคัญของศิลปะที่มีต่อชาติบ้านเมือง มุ่งแสดงความสำคัญของศิลปะที่มีต่อเทพเจ้าแห่งการก่อสร้าง

ผู้แต่งบทเสภาสามัคคีเสวกเปรียบเทียบผู้ที่ดูถูกวิชาศิลปะกับสิ่งใด

เปรียบเทียบผู้ดูถูกวิชาช่าง เหมือนคนด้อยความรู้ขาดความ ชานาญไม่น่าคบหา Page 30 การใช้ภาพพจน์อุปมา ตอนสามัคคีเสวก ๑. เปรียบเทียบประเทศชาติกับเรือใหญ่ที่แล่นไปในทะเล ๒. เปรียบพระมหากษัตริย์เหมือนกัปตันเรือ ๓. เปรียบข้าราชบริพารเหมือนกะลาสีเรือ