ช่างเครื่องโยกคัตเอาต์ cut out ให้มอเตอร์ทำงานเป็นการควบคุมมอเตอร์วิธีใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ช่างเครื่องโยกคัตเอาต์ cut out ให้มอเตอร์ทำงานเป็นการควบคุมมอเตอร์วิธีใด

สะพานไฟ, คัตเอาต์ (อังกฤษ: cut-out) หรือ ตัวตัดวงจร, เซอร์กิตเบรกเกอร์ (อังกฤษ: circuit breaker) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตัดตอนแหล่งจ่ายไฟฟ้าออกจากวงจรไฟฟ้า เช่น ตัดวงจรไฟฟ้าภายในบ้านออกจากแหล่งจากไฟภายนอกเป็นต้น นอกจากทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าเมื่อผู้ใช้สั่งการแล้ว ยังทำหน้าที่ตัดการจ่ายไฟโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีเหตุ ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด ไฟรั่ว ไฟตก ไฟเกิน ได้แล้วแต่ความสามารถของสะพานไฟที่ใช้

สะพานไฟแบบคันโยก[แก้]

สะพานไฟจะตัดการจ่ายไฟเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านมากเกินกว่าที่กำหนดหรือเกิดการลัดวงจรภายในวงจรไฟฟ้า โดยใช้ฟิวส์ที่ติดดยู่ในสะพานไฟ เป็นตัวตัดวงจรไฟฟ้า โดยสะพานไฟมีส่วนประกอบหลัก คือ

  1. คันโยก สำหรับเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า
  2. ฟิวส์
  3. ฉนวนกระเบื้อง เป็นฉนวนไว้ป้องกันกระแสใหลผ่านในส่วนที่มีฟิวส์ติดอยู่ (ส่วนนี้จะติดกับผนัง)
  4. ฉนวนพลาสติก (ฝาครอบ)
  5. สายไฟ
  6. แผ่นทองแดง สำหรับเป็นตัวนำไฟฟ้าเข้าสู่ตัวบ้าน และเป็นขั้วระหว่างคันโยกกับตัวนำไฟฟ้าที่ส่งเข้าสู่บ้าน

แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์[แก้]

แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Air Circuit Breaker) เป็นอุปกรณ์เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า และป้องกันกระแสไฟฟ้า เพื่อจำกัดกระแสไฟฟ้าไม่ให้ไหลผ่านตัวมันเกินพิกัด โดยทั่วไปจะใช้เป็นตัวหลัก (Main) สำหรับป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน (Over Current) กระแสไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) เมื่อเกิดความผิดปรกติของวงจรมันจะทำหน้าที่ปลดวงจร (Open Circuit) โดยอัตโนมัติ และสามารถเปิดใช้งานใหม่ได้เมื่อวงจรไฟฟ้าเป็นปรกติ แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์นำไปใช้ในอาคาร สถานที่ที่มีการใช้กำลังไฟฟ้ามาก ๆ เช่นโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล อาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อาคารสูง มีขนาดตามพิกัด เช่น 800, 1000, 1250, 1600, 2000, 2500, 3200, 4000 แอมแปร์ เป็นต้น นอกจากนี้ แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์จะต้องสามารถทนกระแสฉับพลัน (Interrupting Current) มีหน่วยเป็น กิโล-แอมแปร์ (Kilo-Ampere) หรือ KA. ซึ่งเป็นตัวกำหนดพิกัดของแอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์อีกค่าหนึ่งด้วย เช่น 42,65,100 กิโล-แอมแปร์ (1 Kilo-Ampere = 1000 Ampere)

อ้างอิง[แก้]

  • ข้อมูลเกี่ยวกับสะพานไฟ เก็บถาวร 2009-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ระหว่าง คัทเอาท์ และ เบรกเกอร์ การใช้งานมันต่างกันไหมครับ และส่วนมากบ้านที่มีหลายห้อง ใช้แบบไหนกันครับ

กระทู้คำถาม

ไฟฟ้า บ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า

1.ระหว่าง คัทเอาท์ และ เบรกเกอร์ การใช้งานมันต่างกันไหมครับ และส่วนมากบ้านที่มีหลายห้อง ใช้แบบไหนกันครับ

2.แล้วแบบที่เป็น แบบกล่องสีเหลี่ยม สวิต off/on อยู่ทางขวา  และกระปุกฟิวอยู่ด้านซ้าย

แบบนี้เขาเรียกว่าอะไรหรอครับ

ขอรบกวนด้วยครับ

0

0

ช่างเครื่องโยกคัตเอาต์ cut out ให้มอเตอร์ทำงานเป็นการควบคุมมอเตอร์วิธีใด

สมาชิกหมายเลข 1751614

2.1 บทนำ

การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าหมุนในทิศทางเดียว หมายถึง การเริ่มเดินหรือหยุดเดินเครื่องมอเตอร์ไฟฟ้า จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ควบคุมหรือเครื่องควบคุมมอเตอร์ (Motor controller) ซึ่งในบางกรณีเครื่องควบคุมมอเตอร์ก็ยังสามารถใช้ในการปรับแต่งความเร็วรอบของมอเตอร์ได้ด้วยในบางครั้งจึงมีผู้เรียกอุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าว่า “อุปกรณ์เริ่มเดินมอเตอร์” (Motor starter)

2.2 พิกัดของเครื่องควบคุมมอเตอร์

เครื่องควบคุมมอเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์หรือชุดของอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บังคับหรือควบคุมให้มอเตอร์เริ่มเดินหรือหยุดเดินเครื่องได้ เครื่องควบคุมมอเตอร์โดยทั่วไปจะประกอบด้วยคอนแทคเตอร์และวงจรควบคุม ขนาดพิกัดกำลังของคอนแทคเตอร์จะต้องไม่น้อยกว่าขนาดพิกัดกำลังของมอเตอร์

2.3   วงจรควบคุมมอเตอร์สัญลักษณ์มาตรฐาน IEC

โดยทั่วไปวงจรควบคุมมอเตอร์แบ่งออกได้ 2 ส่วนคือ

-วงจรกำลัง (Power circuit)

-วงจรควบคุม (Control circuit)

2.3.1 วงจรกำลัง

วงจรกำลัง คือวงจรที่จ่ายกำลังไฟฟ้าให้แก่มอเตอร์ 3 เฟส เพื่อให้มอเตอร์สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นระบบไฟฟ้าที่จ่ายแรงดันไฟฟ้า จึงเป็นระบบ 3 เฟส 4 สาย  380 / 220 V  โดยจ่ายไฟฟ้า 3 เฟส 380 V  ให้แก่วงจรกำลัง

2.3.2 วงจรควบคุม

วงจรควบคุม คือวงจรที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เริ่มเดินมอเตอร์เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดวงจรควบคุมส่วนใหญ่จะเป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 220 V

2.4 การเริ่มเดินมอเตอร์กับแรงดันเต็มพิกัด

การเริ่มเดินมอเตอร์กับแรงดันไฟฟ้าเต็มพิกัด หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "การสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง" หรือการเริ่มเดินมอเตอร์แบบ DOL หมายถึง การต่อมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ากับสายเมนโดยได้รับไฟฟ้าเต็มพิกัด

2.4.1 การเริ่มเดินมอเตอร์โดยควบคุมด้วยมือ

ก.การเริ่มเดินมอเตอร์ 3 เฟสด้วยคัทเอาท์

การเริ่มเดินมอเตอร์ 3 เฟสด้วยคัทเอาท์ นิยมใช้กับมอเตอร์ขนาดเล็กหากใช้กับมอเตอร์ขนาดใหญ่จะมีอาร์ค (Arc) เกิดขึ้นมาก ระหว่างหน้าสัมผัสของคัทเอาท์ในขณะต่อหรือปลดวงจรเมื่อใช้งานไปนานๆอาจทำให้หน้าสัมผัสหลอมละลายได้อันเป็นสาเหตุทำให้คัทเอาท์ชำรุด

การทำงานของวงจร

เมื่อยกขาสับของคัตเอาขึ้น ใบมีดของคัทเอาต์จะต่อมอเตอร์เข้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้า ถ้าต้องการให้มอเตอร์หยุดหมุน ให้ยกขาสับของคัทเอาต์ลง

การเริ่มเดินมอเตอร์ด้วยวิธีนี้ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้งานอย่างถาวร เพราะไม่มีอุปกรณ์ป้องกันมอเตอร์โดยตรง และเกิดการอาร์คมาก ควรเลือกใช้วิธีการเริ่มเดินแบบอื่น

ข.การเริ่มเดินมอเตอร์ 3 เฟสด้วยสวิตช์ตัดกระแส

สวิตช์ตัดกระแส เป็นสวิตช์สำหรับติดตั้งไว้บนแผงด้านหน้าของตู้สวิทซ์บอร์ดซึ่งอาจมีลักษณะเป็นแคมหรือดรัมสวิตช์ เนื่องจากสวิตช์แบบนี้ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอยู่ในตัวมัน ดังนั้นการใช้งานจึงต้องใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์ป้องกันแบบอื่นด้วย เช่น ฟิวส์ หรือ CB เป็นต้น

การทำงานของวงจร

สวิตช์ตัดกระแสสามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้ 2 ตำแหน่งคือ O กับ I เมื่อต้องการเริ่มเดินมอเตอร์ก็บิดสวิตช์ไปที่ตำแหน่ง I สวิตช์ จะทำการต่อมอเตอร์เข้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้า มอเตอร์ก็จะเริ่มหมุน เมื่อต้องการหยุดมอเตอร์ก็ให้บิดสวิตช์มาที่ตำแหน่ง O

2.5  วงจรควบคุมมอเตอร์สัญลักษณ์มาตรฐานอเมริกา/แคนาดา

โดยทั่วไปวงจรควบคุมมอเตอร์สัญลักษณ์มาตรฐานของอเมริกา/แคนาดา มักแบ่งวงจรออกเป็น 2 แบบ คือ

-ไวริง ไดอะแกรม

- ไลน์ ไดอะแกรม หรือ แลดเดอร์ ไดอะแกรม

2.6  วงจรการเริ่มเดินมอเตอร์กับแรงดันเต็มพิกัด

2.6.1  การเริ่มเดินมอเตอร์ 3 เฟสด้วยคอนแทคเตอร์

ก. วงจรควบคุมโดยใช้สวิตซ์ปุ่มกด “สตาร์ท-หยุด”

ในรูปที่ 2-15  เป็น ไวริ่ง  ไดอะแกรม  ของวงจรเริ่มเดินมอเตอร์ 3 เฟสวงจรกำลังแสดงด้วยเส้นหนาคือจาก  L1  ผ่านคอนแทคเมนส์ ผ่านฮีตเตอร์ ของโอเวอร์โหลดรีเลย์ครบวงจรที่ T1 ในทำนองเดียวกัน จาก l2  และ l 3  ผ่านคอนแทคเมน ผ่านฮีตเตอร์ของโอเวอร์โหลดรีเลย์ครบวงจรที่  t2  และ  t3  ตามลำดับวงจรควบคุมแสดงด้วยเส้นบางเริ่มต้นจาก l1 ผ่านหมายเลข 1 ของปุ่มกด  stop  ผ่านหมายเลข 2 ไปยังปุ่ม start  และคอนแทคช่วย  m  ไปยังหมายเลข 3  ผ่านคอยล์ของคอนแทคเตอร์  m  ไปยังหมายเลข 4 ผ่านคอนแทคปกติปิดของโอเวอร์โหลดรีเลย์ที่หมายเลข 4 หมายเลข 5 และหมายเลข 6 ครบวงจรที่หมายเลข 7 หรือ l2 วงจรควบคุมดังกล่าวนำมาเขียนเป็นไลน์หรือแลดเดอร์ ไดอะแกรมได้

ข.  วงจรควบคุมมอเตอร์โดยใช้สวิตช์ปุ่มกด 2 ชุด

ในรูปที่ 2-22  เป็นไวริ่ง ไดอะแกรม ของวงจรเริ่มเดินมอเตอร์ 3 เฟสโดยใช้สวิตช์ปุ่มกดสตาร์ท-หยุด จำนวน 2 ชุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการทำงานของมอเตอร์ 3 เฟสจากสถานที่ 2 แห่งสำหรับรูปที่ 2-23 เป็นไลน์หรือแลดเดอร์ ไดอะ แกรม ของวงจรควบคุมดังกล่าว

ค.วงจรควบคุมมอเตอร์โดยใช้สวิตช์ปุ่มกด 3 ชุด

ในรูปที่ 2-24  เป็นไวริ่งไดอะแกรม กล้องวงจรเริ่มเดินมอเตอร์ 3 เฟสโดยใช้สวิตซ์ปุ่มกดสตาร์ท-หยุดจำนวน 3 ชุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการทำงานของมอเตอร์ 3 เฟสจากสถานที่สามแห่งสำหรับรูปที่ 2-2 5 เป็นไลน์หรือแลดเดอร์ไดอะแกรม วงจรควบคุมดังกล่าว

ง. วงจรควบคุมโดยใช้สวิตซ์ปุ่มกด “สตาร์ท-จ็อก-หยุด”

ในรูปที่ 2-26 ก.  เป็นไวริ่งไดอะแกรม ขอวงจรควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส โดยใช้สวิตซ์ปุ่มกด  “สตาร์ท-จ็อก-หยุด” สำหรับรูปที่ 2-26 ข. เป็นไลน์หรือแลดเดอร์ ไดอะแกรม แสดงเฉพาะวงจรควบคุม การทำงานของวงจร เมื่อกดปุ่ม “สตาร์ท” จะมีกระแสไหลจาก l1 ผ่านปุ่ม “หยุด” และปุ่ม “สตาร์ท” ผ่านคอยล์ของรีเลย์ช่วย CR ไปครบวงจรที่  l2 คอนแทคปกติเปิด CR  ทั้ง 2 อันจะต่อวงจร ทำให้มีกระแสไหลผ่านคอยล์ M คอนแทคปกติเปิด M ทุกอันจะต่อวงจรทำให้มอเตอร์เริ่มทำงาน เมื่อปล่อยมือจากปุ่มกด “สตาร์ท” ทั้งคอยล์ของรีเลย์ช่วย  cr  และคอยล์ M ยังคงทำงานต่อไป