สังคมคาดหวังให้วัยรุ่นมีแนวทางการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสังคมอย่างไร


สังคมคาดหวังให้วัยรุ่นมีแนวทางการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสังคมอย่างไร
เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่น เด็กจะเริ่มมีบทบาทในสังคมมากขึ้น และโดยเหตุที่วัยรุ่นกำลังอยู่ในระหว่างเปลี่ยนแปลงใหม่ๆทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนทางอารมณ์ด้วย ฉะนั้น ในสังคมที่เด็กคลุกคลีอยู่ก็พลอยเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ดังนั้น การที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมจึงมักจะก่อปัญหาต่างๆขึ้นแก่ผู้ใหญ่และตัวเด็กเองอยู่เสมอ

และอีกประการหนึ่ง ผู้ใหญ่บางคนก็ยอมรับว่าวัยรุ่นนั้นเป็นผู้ใหญ่แล้ว จึงให้อิสระเสรีแก่วัยรุ่นเหมือนผู้ใหญ่ทุกประการ แต่ในทางตรงกันข้ามผู้ใหญ่บางคนก็เห็นว่าวัยรุ่นนั้นยังเป็นเด็กอยู่ จึงให้การรับรองแก่เด็กแตกต่างกันออกไป ทำให้วัยรุ่นวางตัวลำบาก และเป็นช่องทางให้เกิดปัญหาต่างๆอยู่เสมอ

สังคมที่วัยรุ่นเกี่ยวข้อง

สังคมที่วัยรุ่นเกี่ยวข้องด้วยนั้นพอจะแยกกล่าวเป็นข้อๆได้ดังนี้

 

สังคมคาดหวังให้วัยรุ่นมีแนวทางการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสังคมอย่างไร
 บ้าน 

1. เด็กเกิดมาและเจริญเติบโตอยู่ภายในบ้านหลายปี ก่อนที่จะเข้าโรงเรียนและยังคงอยู่ในบ้านอีกหลายปีก่อนที่จะแยกออกไป เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น เด็กพยายามปลีกตนออกจากสังคมภายในบ้าน และหันไปสมาคมกับเพื่อนที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ในระยะนี้ความคิดเห็นต่างๆของเด็กก็คล้อยตามเพื่อนฝูงมากกว่าที่จะเห็นตามบิดามารดาหรือญาติพี่น้องภายในครอบครัว เด็กเริ่มมีความสนิทสนมกับบิดามารดาน้อยกว่าวัยที่ผ่านมา บางครั้งทำให้เด็กคิดไปว่าตนกับบิดามารดาไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจกันได้ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้วัยรุ่นไม่กล้าปรึกษาเรื่องส่วนตัวกับบิดามารดา ปกปิดมารดาเมื่อกระทำความผิด และในที่สุดก็รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระที่บิดามารดาต้องเลี้ยงดู จากทัศนคติของเด็กที่มีต่อบิดามารดาเช่นนี้ ทำให้เด็กรู้สึกว่าบิดามารดาเป็นปัญหาที่ตนไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ ด้วยเหตุนี้ บิดามารดาจึงควรช่วยเหลือวัยรุ่นในปกครองของตน โดยอาจจะถือแนวทางปฏิบัติต่อเด็กดังนี้

2.สร้างความสัมพันธ์อันดีภายในบ้าน บิดามารดาควรมีความรักใคร่ปรองดองซึ่งกันและกัน ควรหลีกเลี่ยงการแยกกันอยู่หรือการหย่าร้าง หรือการทะเลาะเบาะแว้งกันภายในบ้าน รวมทั้งการให้หลักประกันแก่ครอบครัวในด้านการเงินและสังคม บิดามารดาควรประกอบอาชีพเป็นหลักฐานเป็นตัวอย่างอันดีแก่บุตรธิดา

3. นอกจากนี้ ควรให้ความรักแก่บุตรเท่าเทียมกัน และไม่ควรทอดทิ้งบุตรมากเกินไป ควรหาเวลารับประทานอาหารภายในบ้านพร้อมกัน เด็กๆจะได้ไม่เที่ยวจนค่ำมืด ในระหว่างที่รับประทานอาหาร ควรสนทนากันถึงเรื่องที่แต่ละคนได้ประสบมาวันหนึ่งๆ เมื่อบุตรและบิดามารดามีความสนิทสนมกันเช่นนี้ เด็กก็จะเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนให้บิดามารดาฟังจะได้ช่วยแก้ปัญหาเสียก่อนที่จะลุกลามต่อไป

4. นอกจากนั้น บิดามารดาและบุตรควรมีกิจกรรมที่สนใจร่วมกัน เช่น การทำงานอดิเรก ปลูกต้นไม้ เป็นต้น เด็กที่มีความสุขพอจะไม่เป็นเด็กที่เที่ยวเกะกะอยู่ตามถนนหรือสถานที่อันไม่สมควร

5.บิดามารดาหรือผู้ปกครองควรถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานของตนบิดามารดาไม่ควรหวังพึ่งครูด้านเดียว ทั้งนี้เพราะปัจจุบันครูไม่อาจตามไปดูแลเด็กได้ทั่วถึง เมื่อเด็กพ้นรั้วโรงเรียนไปแล้ว เด็กอาจจะเถลไถลไปไกลที่อื่นหรือมั่วสุมกับอบายมุขต่างๆได้ บิดามารดาจึงควรให้ความร่วมมือและถือเป็นหน้าที่อันสำคัญที่จะต้องเอาใจใส่ดูแลความเป็นอยู่ของวัยรุ่นของตนให้มาก

 6.บิดามารดาควรให้เด็กรู้สึกเสมอว่าตนเป็นสมาชิกที่สำคัญคนหนึ่งของบ้าน ให้เด็กรู้จักรับผิดชอบในกิจการบ้านเรือนบ้าง ให้เด็กได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของครอบครัว เช่น รายได้ รายจ่าย เพื่อให้เด็กได้คิดว่าตนควรใช้เท่าใดจึงจะทำให้ครอบครัวไม่ลำบาก ควรให้เด็กรู้จักรับผิดชอบในการเงินของตน เช่น จ่ายเงินให้เด็กใช้เป็นอาทิตย์หรือเป็นเดือน พยายามอบรมให้เด็กรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง เริ่มจากสิ่งง่ายๆเช่น รู้จักเลือกเสื้อผ้าสิ่งของเครื่องใช้ เลือกคบเพื่อน เลือกวิชาเรียน และการเลือกคู่ในที่สุด โดยมีผู้ปกครองคอยเป็นผู้แนะแนวทางให้

 

สังคมคาดหวังให้วัยรุ่นมีแนวทางการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสังคมอย่างไร
 โรงเรียน 

1. ชีวิตของเด็กครึ่งหนึ่งต้องอยู่ภายในโรงเรียน เกี่ยวข้องกับการเรียนการศึกษาอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้เด็กคลุกคลีอยู่ในโรงเรียนมากขึ้น วัยรุ่นทุกคนอยากเรียนอยากศึกษาทั้งนั้น แต่บางคนไม่ได้ศึกษาต่อ ก็เป็นเพราะความจำเป็นบางประการหรือความบีบคั้นทางเศรษฐกิจ หรือความสามารถทางสมองมีน้อย การที่เด็กต้องคลุกคลีอยู่กับโรงเรียนมากย่อมมีช่องทางที่จะสร้างปัญหาต่างๆภายในโรงเรียนได้มาก เช่นเดียวกับภายในครอบครัว

2. ปัญหาที่สำคัญของเด็กเกี่ยวกับโรงเรียนก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กเอง และปัญหาเกี่ยวกับการเรียนวิชาต่างๆเช่น เด็กบางคนกังวลเรื่องวิชาคำนวณ บางคนก็กลัดกลุ้มเรื่องความจำไม่ดี และปัญหาใหญ่ก็คือ เด็กส่วนมากลัวสอบไล่ตก นั่นคือกลัวความไม่สำเร็จนั่นเอง ทั้งนี้เป็นเพราะเด็กขาดทักษะในกาเรรียน หรือเด็กเข้ากับครูและเพื่อนฝูงไม่ได้ เป็นต้น ฉะนั้น โรงเรียนจึงควรหาทางช่วยเหลือเด็ก ซึ่งอาจจะอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้ได้

3. ครูทุกคนควรมีความรู้พื้นฐานจิตวิทยาวัยรุ่น โดยเฉพาะครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มี่ส่วนเกี่ยวข้องกับวัยรุ่นมาก เพื่อจะได้ศึกษาให้ซึ้งถึงธรรมชาติและจิตใจของเด็ก ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆขึ้นมา แทนที่ครูจะพร่ำว่าศิษย์ของตนเป็นคนเลวไม่เอาถ่าน และคงจะเรียนดีไม่ได้เหล่านี้ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าครูไม่เข้าใจเด็ก นักการศึกษาเชื่อว่า ถ้าครูมีความเข้าใจเด็กจะช่วยแก้ไขอบรมเด็กให้เป็นคนดีได้มาก ครูในปัจจุบันจึงเห็นความสำคัญในจิตวิทยามากขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจเด็กของตนได้ดีขึ้นนั่นเอง

4.ครูควรสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเด็ก เมื่อครูมีความเข้าใจถึงจิตใจของเด็กแล้ว ครูยังต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเด็กอีกด้วย เด็กบางคนไม่สามารถปรึกษาปัญหาบางอย่างกับบิดามารดา เพราะบิดามารดาไม่มีเวลาว่าง หรือไม่มีความรู้พอที่จะให้คำแนะนำในปัญหาบางประการได้ เด็กก็จะเข้าหาครูซึ่งเป็นผู้ที่มีความเข้าใจและมีความรู้พอที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้เด็กได้ เด็กที่มีทั้งพ่อแม่ครูที่มีความเข้าใจ จึงนับว่าเป็นเด็กโชคดีที่สุด

5. หลักสูตร วิชาที่จัดสอนขึ้นในโรงเรียนมัธยม ควรจัดขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อชีวิตนักเรียน ในขณะที่วิชาต่างๆได้เพิ่มแขนงขึ้นอย่างมากมาย โรงเรียนก็ควรจัดวิชาเลือกขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เลือกเรียนตามความสนใจ ตามความถนัด และเพื่อเตรียมตัวเด็กสำหรับเลือกอาชีพด้วย เด็กวัยนี้แทนที่จะให้เป็นผู้รับฝ่ายเดียว ครูควรสอนให้เด็กรู้จักแสดงออก ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพของเด็กไม่ให้เป็นคนขี้อาย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น กีฬา ดนตรี การสังคม ฯลฯ การให้เด็กมีกิจกรรมทำมากๆในโรงเรียน จะช่วยให้เด็กไม่ไปเกะกะอยู่ในสถานที่อันไม่สมควรอีกด้วย

6.การแนะแนว ซึ่งนับว่าเป็นพัฒนาการใหม่ในวงการศึกษา แม้ว่าจะยังไม่มีอยู่ทั่วไป โรงเรียนทีดีย่อมมีการบริการแนะแนวให้แก่เด็ก ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือเด็กเป็นรายบุคคล ทั้งในปัญหาในด้านต่างๆ โรงเรียนที่มีบริการแนะแนว จะช่วยลดจำนวนปัญหาของเด็กและการลงโทษเด็กให้น้อยลงด้วย

7.สมาคมผู้ปกครองและครู มีจุดประสงค์เพื่อความเข้าใจระหว่างกันและกัน รวมทั้งหาทางส่งเสริมเด็กและหาทางป้องกันปัญหาซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ การปฏิบัติดังกล่าวถ้าได้รับความร่วมมือทั้งสองฝ่าย จะช่วยลดปัญหาวัยรุ่นได้มาก

สังคมคาดหวังให้วัยรุ่นมีแนวทางการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสังคมอย่างไร
 เพื่อนฝูง 

เด็กวัยนี้รู้สึกว่าการคบเพื่อนเป็นสิ่งสำคัญมาก ฉะนั้น อิทธิพลของกลุ่มจึงมีต่อเด็กมากเช่นเดียวกัน การคบเพื่อนเป็นความต้องการประการหนึ่งของวัยรุ่น และต้องการคบเพื่อนต่างเพศด้วย การเลือกเพื่อนของวัยรุ่นโดยมากมักเลือกผู้ที่มีรสนิยมตรงกัน มีทัศนคติคล้ายคลึงกัน และขนาดร่างกายเท่าๆกัน เด็กชายจะรวมกลุ่มกับเด็กชายด้วยกันก่อน ในทำนองเดียวกันเด็กหญิงก็จะรวมกลุ่มและมีกิจกรรมต่างๆร่วมกัน

 

สังคมคาดหวังให้วัยรุ่นมีแนวทางการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสังคมอย่างไร
 สื่อมวลชนต่างๆ 

1.เช่น หนังสือพิมพ์ หนังสืออ่านเล่นหรือที่เรียกว่านวนิยาย วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ สิ่งเหล่านี้จัดเป็นเครื่องชักจูงความประพฤติของเด็กให้เป็นไปในทางที่ดีและในทางที่เสียหาย ฉะนั้น เพื่อที่จะได้ร่วมมือกันสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้แก่เด็ก ควรจะได้มีการควบคุมสื่อมวลชนดังนี้

2. หนังสือพิมพ์ควรเสนอเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา และถูกต้องตามหลักวิชาการเสนอเรื่องราวถูกต้องตาม ความเป็นจริงและใช้ภาษาสุภาพ 
หนังสืออ่านเล่น บทละครภาพยนตร์ ละครวิทยุโทรทัศน์ ตลอดจนรายการดนตรี ควรให้อรรถรสทางศิลปะวรรณคดีและวัฒนธรรมในด้านต่างๆ

3. การควบคุมภาพยนตร์และการแสดงต่างๆที่มาจากต่างประเทศอันอาจเป็นภัยต่อจิตใจของเด็ก ควรแยกประเภทไปว่าภาพยนตร์ประเภทใดเด็กดูแล้วไม่เป็นภัยต่อจิตใจของเด็ก และประเภทใดที่อนุญาตให้ดูเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น นอกจากนี้ ควรจะได้มีการควบคุมสิ่งตีพิมพ์ต่างๆที่เห็นว่าจะเป็นภัยต่อจิตใจของเด็กอย่างจริงจัง

 

สังคมคาดหวังให้วัยรุ่นมีแนวทางการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสังคมอย่างไร
 ตัวเด็ก 

จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของปัญหาวัยรุ่น วัยรุ่นไม่ใช่เด็กเล็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ แต่อยู่ในวัยที่กำลังจะเป็นผู้ใหญ่ และเริ่มรับผิดชอบในพฤติกรรมของตนเองได้แล้ว นอกจากนี้ เด็กวัยนี้ยังมีปัญญาเฉลียวฉลาด ได้รับการศึกษาดีกว่าแต่ก่อน ย่อมเข้าใจดีว่าระบอบประชาธิปไตยนั้นสิทธิย่อมควบคู่มากับความรับผิดชอบเสมอ เด็กได้รับความรักใคร่เอ็นดูจากบิดามารดา และบิดามารดาก็ได้ส่งเสียบุตรให้เล่าเรียนจนประสบความสำเร็จ ด้วยความร่วมมือของโรงเรียนและสังคมสมัยนี้ ก็มีส่วนช่วยให้เด็กได้รับความสุขขึ้น ฉะนั้น เด็กจึงควรคิดว่าตนมีความรับผิดชอบต่อบิดามารดา ครูอาจารย์ สังคมและตนเองเพียงใด

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ ๑  (วิเคราะห์ความคาดหวังของสังคมที่มีต่อวัยรุ่น)

กิจกรรมที่ ๑  (ทักษะการวิเคราะห์)

            .๑  ครูทบทวนเรื่องการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น

            ๑.๒ครูตั้งคำถามกับนักเรียนว่าการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

            ๑.๓ สังคมที่วัยรุ่นเกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง

            ๑.๔ ครูชมเชยนักเรียนที่ร่วมตอบคำถามและเฉลยว่า สังคมที่วัยรุ่นเกี่ยวข้องได้แก่ บ้าน โรงเรียน เพื่อนฝูง และสื่อมวลชน

            ๑.๕ แบ่งนักเรียนออกเป็นนักเรียนชาย ๔ กลุ่ม นักเรียนหญิง ๔  กลุ่ม

            ๑.๖ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ความคาดหวังของสังคมที่มีต่อวัยรุ่น ดังนี้

..๑ นักเรียนชายและหญิงกลุ่มที่ ๑ วิเคราะห์ถึงความคาดหวังของครอบครัวที่มีต่อนักเรียน

            ๑..๒ นักเรียนชายและหญิงกลุ่มที่ ๒ วิเคราะห์ถึงความคาดหวังของโรงเรียนที่มีต่อนักเรียน

            ๑..๓ นักเรียนชายและหญิงกลุ่มที่ ๓  วิเคราะห์ถึงความคาดหวังของเพื่อนฝูงที่มีต่อนักเรียน

            ..๔ นักเรียนชายและหญิงกลุ่มที่ ๔ วิเคราะห์ถึงความคาดหวังของสื่อมวลชนที่มีต่อนักเรียน

            ๑.๗ กำหนดเวลา ๕ นาที หลังจากนั้นให้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอโดยเขียนบนกระดาน บนตารางดังนี้

ความคาดหวังของ

ครอบครัว

โรงเรียน

เพื่อนฝูง

สื่อมวลชน

นักเรียนหญิง

นักเรียนชาย

            .๘ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาอธิบายและแสดงเหตุผลถึงการวิเคราะห์อย่างนั้น

๒. กิจกรรมที่ ๒  (ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล )

            ๒.๑ ให้แบ่งออกเป็น ๘ กลุ่มเช่นเดิม  (ใช้กลุ่มเดิม)

            ๒.๒ ครูแจกใบความรู้และใบงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษา และช่วยกันสรุปในใบงาน

กำหนดเวลา ๑๐ นาที  (ใบความรู้และใบงานอิทธิพลและความคาดหวังของสังคมต่อการเปลี่ยนแปลง

ของวัยรุ่น)

            ๒.๓ ครูให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน พร้อมบอกเหตุผล

            ๒.๔  ครูและนักเรียนสรุปบทเรียนร่วมกัน

ชั่วโมงที่ที่ 2 (ความคาดหวังของสังคมที่มีต่อวัยรุ่น)

๑.  กิจกรรมที่ ๑(ทักษะการคิดคล่อง )

            ๑.๑ นักเรียนและครูช่วยกันทบทวนความรู้ที่เรียนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

            ๑.๒ ให้นักเรียนชมคลิปวีดีโอหนังสั้นเรื่อง  One more minutes

            ๑.๓นักเรียนและครูร่วมกันสรุปข้อคิดของคลิปวีดีโอหนังสั้นเรื่อง  One more minutes

            ๑.๔ให้นักเรียนแต่ละคนรับใบงานและสรูปความรู้จากการชมคลิปวีดีโอหนังสั้น

เรื่องOne more minutes

            ๑.๕ ครูและนักเรียนสรุปบทเรียนร่วมกัน

ชั่วโมงที่ ๓  (สื่อโฆษณาที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น)

๑. กิจกรรมที่ ๑

            ๑.๑  ครูทบทวนภาระงานที่มอบหมายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

            .๒  ครูเปิด  POWER  POINT  สรุปบทเรียนสังคมกับวัยรุ่น

            .๓ครูชื่นชมนักเรียนที่มีความตั้งใจในการฟังครูสรุปบทเรียน

            ๑.๔ ให้นักเรียนนำภาระงานที่ครูมอบหมายในสัปดาห์ที่ผ่านมา (งานคู่)  สรุปความรู้ความเข้าใจ 

วิเคราะห์ว่าสื่อโฆษณาเข้ามามีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นอย่างไร       

            ๑.๕  ครูและนักเรียนสรุปบทเรียนร่วมกัน

การวัดและประเมินผล

. แบบประเมินความรู้ สรุปความคิด

.แบบประเมินทักษะ กระบวนการกลุ่ม     

.แบบประเมินทักษะ ใบงานกลุ่ม

.แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์


ระดับ

K

สรุปความคิด

เขียนวิเคราะห์ ไม่ครบถ้วน

ผลงานขาดความเรียบร้อย

เขียนวิเคราะห์ และอธิบายได้ถูกต้องแต่ยังไม่ครบ

ผลงานขาดความเรียบร้อย

เขียนวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี ครบถ้วน เขียนผิดบ้างเล็กน้อย

ผลงานมีความเรียบร้อย

เขียนวิเคราะห์ ได้เป็นอย่างดี ใช้ภาษาได้ดี ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ผลงานเรียบร้อยสวยงาม

P

กระบวนการกลุ่มในการทำกิจกรรม

ให้ความร่วมมือกับเพื่อนน้อย ไม่ยอมรับการเป็นผู้นำ ผู้ตาม

ให้ความร่วมมือกับเพื่อน ยอมเป็นผู้นำ ผู้ตาม ต้องให้ครูตัดสิน

ให้ความร่วมมือกับเพื่อน ยอมรับผู้นำ ผู้ตาม ยังไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นของเพื่อน

ให้ความร่วมมือกับเพื่อนเป็นอย่างดี ยอมรับการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี เชื่อฟังผู้นำ

A

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างน้อย ๓ ข้อ

ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างน้อย ๔ ข้อ

๑.ทำงานเสร็จได้ตรงเวลาด้วยตนเอง ๒.ไม่ลอกและไม่ให้ผู้อื่นลอกผลงาน   

๓.ตั้งใจทำงานอย่างเต็มความสามารถ

๔.ค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆที่หลากหลาย

๕.มีแหล่งอ้างอิงในการค้นคว้า

ความคาดหวังของสังคมใด มีอิทธิพลต่อชีวิตของวัยรุ่นมากที่สุด

สถาบันทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมากที่สุดคือ กลุ่มเพื่อน เพื่อนเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น ทั้งความคิด ค่านิยม การเรียนรู้ วัยรุ่นมักเลือกคบเพื่อนที่มีรสนิยม ทัศนคติคล้ายคลึงกันเด็กชายจะรวมกลุ่มกับ เด็กชายด้วยกันก่อน เด็กหญิงก็จะรวมกลุ่มและมีกิจกรรมร่วมกัน เพราะการมีเพื่อน สนิทเป็นสิ่งสาคั ...

เมื่อนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายจะปฏิบัติตนอย่างไร

1. ยอมรับและเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งของตนเองและเพื่อนเป็นเรื่องธรรมชาติ 2. ดูแลรักษาอนามัยของตนเอง ได้แก่ ผิว เล็บ ฟัน เครื่องแต่งกายให้สะอาดอยู่เสมอ 3. ดูแลใส่ใจสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสารเสพติด

การปรับตัวในวัยรุ่นปัจจุบันควรเป็นอย่างไร

1. ศึกษาเรียนรู้เรื่องอารมณ์สาเหตุ ผลกระทบ และ แนวทางแก้ไข แล้วนามาปรับใช้ให้เหมาะสม 2. ฝึกสารวจและควบคุมอารมณ์ของตนเอง 3. ฝึกตนเองให้กล้าเผชิญกับปัญหา 4. ฝึกเปิดใจให้กว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 5. ฝึกจิตใจให้ร่าเริง ปฏิบัติกิจกรรมที่สร้างสรรค์เช่น เล่นกีฬา ฝึกสมาธิ เรื่อง วัยรุ่นกับการเปลี่ยนแปลง