อัตราแลกเปลี่ยนมีผลกระทบยังไง

การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เช่นเดียวกันกับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการนำเข้า-ส่งออก และการเคลื่อนย้ายเงินทุนในการลงทุนระหว่างประเทศ เนื่องจากเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่สำคัญเพราะประเทศต่างๆในโลกมีระบบเงินตราที่แตกต่างกัน จึงทำให้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศถูกพัฒนาขึ้นมาเพราะหากไม่ทราบอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างระหว่างประเทศจะทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบราคาระหว่างประเทศได้ ทั้งนี้การที่ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าหรือแข็งค่านั้นจะมีผลต่อการแข่งขันและความได้เปรียบเชิงการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เพราะอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) คือ ราคาของหน่วยหนึ่งของเงินตราต่างประเทศเมื่อคิดเป็นเงินตราในประเทศ

การค้าของไทยกับจีนในช่วงแรกค่อนข้างจำกัด เนื่องจากรัฐบาลจีนยังไม่ได้เปิดเสรีทางการค้ามากนัก การค้าระหว่างประเทศในสมัยเหมาเจ๋อตุงเป็นเพียงส่วนเสริมของระบบเศรษฐกิจ คือการนำผลผลิตที่เหลือส่งออกและนำเข้าผลผลิตที่ไม่เพียงพอเท่านั้น แต่หลังยุคเหมาเจ๋อตุงถือว่าการค้าระหว่างประเทศนั้นมีความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หลักฐานที่สำคัญแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศอันดับแรกๆ คือ

  • การลดการควบคุมสินค้าเข้า-ออก โดยการลดหรือยกเลิกรายการสินค้าต้องห้าม รายการสินค้าโควตา กำแพงภาษีศุลกากร
  • การจัดตั้งกลไกนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก รวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการส่งเสริมสินค้าออก
  • การที่รัฐเลิกผูกขาดธุรกิจการค้าต่างประเทศ
  • การเปิดการค้าเสรีตามชายแดนขยายมากขึ้น และ
  • การส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศให้ไปผลิตสินค้าในจีน เช่น ในเขตเศรษฐกิจพิเศษประเภทต่างๆ เพื่อการส่งออกเป็นต้น

และด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆในโลก ทำให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างเสรีและสะดวกรวดเร็ว ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้นโยบายในแต่ละประเทศสนับสนุนการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศ และการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) เพื่อเอื้อประโยชน์และพึ่งพากันระหว่างประเทศคู่ค้า เป็นหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในปี พ.ศ.2544 ทำให้อุปสรรคทางการค้าของจีนกับประเทศต่างๆ ลดลงอย่างมาก รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นจีนได้ที่จะพยายามขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับภูมิภาคและประเทศต่างๆ และในปี พ.ศ.2546 จีนกับอาเซียนได้ทำความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (Asean-China  Free  Trade  Agreement : ACFTA) เพื่อลดภาษีการค้าระหว่างประเทศและได้มีการยกระดับความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า และพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การค้าระหว่างทั้งสองประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว หลังความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนมีการขยายตัวสูงที่สุดในปี พ.ศ.2551 ซึ่งอัตราการเติบโตสะสม (Compound Average Growth Rate: CAGR) ของมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีนเติบโตร้อยละ 210.89 (ดังรูปที่ 1) ก่อนประสบวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) ในปี พ.ศ.2552 หลังจากผ่านวิกฤตเศรษฐกิจโลกมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีนเพิ่มสูงขึ้นจนกระทั้งแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 จนถึงปัจจุบัน

การคาดการณ์แนวโน้มค่าเงินบาทในระยะต่อไปทำได้ยากขึ้น แต่การรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกอัตราแลกเปลี่ยนอย่างถูกต้อง จะช่วยให้สามารถบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้น และสามารถรับมือกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีในระยะยาว

ราคาเงิน 2 สกุลเทียบกัน

อัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate) คือ ราคาของเงินสกุลหนึ่งเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง องค์ประกอบหลักของอัตราแลกเปลี่ยนจึงมี 2 ส่วนคือ เงินสกุลท้องถิ่นกับเงินสกุลต่างประเทศ ซึ่งสามารถแสดงราคาได้สองแบบ

แบบแรก ราคาเงินสกุลต่างประเทศที่แสดงเป็นเงินสกุลท้องถิ่น ส่วนแบบที่สองราคาเงินสกุลท้องถิ่นที่แสดงเป็นเงินสกุลต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ 1 ดอลลาร์เท่ากับเงินบาท 33 บาท ในทางกลับกัน เงิน 1 บาท เท่ากับเงิน 0.03 ดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน

อัตราแลกเปลี่ยนไม่ตายตัวมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่มีผลต่อราคาของเงินแต่ละสกุล ได้แก่ เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ และยังมีปัจจัยเรื่องความต้องการซื้อขายด้วย โดยสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้

ผลของเงินเฟ้อที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน

ณ จุดเริ่มต้น ราคาเงินบาทกับเงินดอลลาร์ควรมีค่าเท่ากัน คือ เงินบาท 1 บาท แลกเงินดอลลาร์ ได้ 1 เหรียญ อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 1:1

แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยเกิดภาวะเงินเฟ้อส่งผลให้เงินบาทด้อยค่าลง จึงต้องใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเป็นเงินสกุลดอลลาร์ ส่วนต่างของเงินเฟ้อระหว่างไทยกับสหรัฐฯ จึงมีผลให้ค่าเงินของสองประเทศไม่เท่ากัน      เงินเฟ้อยิ่งสูงและเฟ้อนานก็ยิ่งทำให้เงินด้อยค่าลงมาก เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนกันก็จะยิ่งทำให้อัตราแลกเปลี่ยนสูง เช่น เงินรูเปียะห์ อินโดนีเซีย ที่มีค่า 13,791 รูเปียะห์ ต่อ 1 ดอลลาร์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2561

ผลของอัตราดอกเบี้ยที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน

อัตราดอกเบี้ยเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน เพราะอัตราดอกเบี้ยที่สูงจะดึงให้เงินไหลเข้าประเทศ โดยธรรมชาติแล้วเงินจะไหลจากที่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ที่ใดให้ผลตอบแทนสูง เงินระยะสั้นจะไหลไปที่นั้น ส่งผลให้เงินสกุลที่มีดอกเบี้ยสูงแข็งค่าขึ้น หากเงินไหลเข้าต่อเนื่องค่าเงินจะแข็งค่าค่อนข้างมาก

สำหรับประเทศไทย อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอยู่ที่ระดับ 1.50% มาเกือบ 3 ปีแล้ว และเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศถือว่าอยู่ในระดับสูงกว่า จึงดึงให้เงินไหลเข้าประเทศเพื่อซื้อพันธบัตรซึ่งมีผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย

ผลของความต้องการซื้อขายที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน

นอกจากเงินระยะสั้นที่ไหลเข้ามาเพื่อผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยที่สูงแล้ว ไทยยังมีเงินตราต่างประเทศไหลเข้าจากการค้าขาย การส่งออกสินค้า และจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศ

เงินที่ไหลเข้าประเทศในส่วนนี้มีผลต่อค่าเงินบาทอย่างไร คำตอบคือ การทำธุรกรรมในประเทศไทยต้องใช้เงินบาท เงินสกุลต่างประเทศที่ไหลเข้ามาต้องแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท เมื่อมีความต้องการซื้อสินค้า (ซึ่งหมายถึงเงินบาท) จากผู้ส่งออก หรือนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ราคาเงินบาทจึงแพงขึ้นหรือแข็งค่าขึ้น

เงินไหลเข้าประเทศมากน้อยแค่ไหนวัดได้จากดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งหมายถึงผลรวมสุทธิของเงินไหลเข้าจากดุลการค้า ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน โดยเงินที่ได้จากการส่งออกสินค้าจะเข้าบัญชีดุลการค้า ส่วนเงินที่ได้จากการท่องเที่ยวจะเข้าบัญชีดุลบริการ

สำหรับประเทศไทย ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลค่อนข้างมากในระดับ 10% ของจีดีพี ความต้องการแลกเงินต่างประเทศเป็นเงินบาทจึงสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าในระดับที่ 33 บาทต่อ 1 ดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของกระแสข่าวเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ยลงบ้างในปีที่ผ่านมา เพราะหวังว่าเมื่อดอกเบี้ยลดลง เงินที่ไหลเข้าเพื่อเก็งกำไรส่วนต่างดอกเบี้ยจะน้อยลงด้วย และลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท ที่ล่าสุดเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2561 เริ่มแข็งค่าขึ้นไปยืนที่ 31 บาทต่อ 1 ดอลลาร์

ค่าเงินบาทแข็งหรืออ่อน

อัตราแลกเปลี่ยนแสดงถึงกำลังซื้อ (Purchasing Power) ของคนในแต่ละประเทศ ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งเงินเฟ้อสูงขึ้นก็จะทำให้มูลค่าของเงินนั้นถูกลง กำลังซื้อก็ลดลง

ยกตัวอย่างเพื่อให้ชัดเจน สมมติว่ามีสินค้าอยู่ 1 ชิ้น โดยไม่มีเงินเฟ้อเลย เมื่อไทยใช้เงินบาทซื้อก็ใช้เงิน 1 บาท ฝั่งอเมริกาซื้อสินค้าชิ้นนี้ก็ใช้เงิน 1 ดอลลาร์เช่นกัน อัตราแลกเปลี่ยนคือ 1:1 กำลังซื้อของสองประเทศเท่ากัน แต่หากฝั่งที่ใช้เงินบาทหรือประเทศไทยมีเงินเฟ้อ และเงินเฟ้อนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มูลค่าเงินบาทลดลง ดังนั้นแทนที่จะใช้เงิน 1 บาทเพื่อซื้อสินค้าชิ้นนี้ กลับต้องใช้เงินมากขึ้นเป็น 31 บาทเพื่อที่จะได้สินค้าชิ้นนี้มา ขณะที่ดอลลาร์ยังคงใช้ 1 ดอลลาร์อยู่ แสดงว่ากำลังซื้อของไทยลดลง

แต่ละประเทศในโลกนี้มีเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และกำลังซื้อไม่เท่ากัน อัตราแลกเปลี่ยนจึงมีความผันผวนและคาดการณ์ได้ค่อนข้างยาก การที่จะบอกว่าเงินสกุลใดแข็งค่าเกินไปหรืออ่อนค่าเกินไป ต้องมีการเปรียบเทียบความเท่าเทียมกันของกำลังซื้อ (Purchasing Power Parity : PPP) ซึ่งตัววัดที่รู้จักกันทั่วโลก คือ Big Mac Index

The Economist ได้ตีพิมพ์ Big Mac Index ขึ้นครั้งแรกในปี 1986 โดยเปรียบเทียบราคาแฮมเบอร์เกอร์ Big Mac ของ McDonald ที่อเมริกากับ Big Mac ที่ขายในหลายประเทศ เพื่อหาว่าค่าเงินของประเทศต่าง ๆ มีค่าสูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเกินความเป็นจริง โดยวัดจาก PPP

เดือนกรกฎาคม 2017 ราคาเฉลี่ย Big Mac ในสหรัฐ คือ 5.30 ดอลลาร์ คิดเป็นเงินบาทที่อัตราแลกเปลี่ยน 33 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 175 บาท ในประเทศไทยขายที่ราคา 123 บาท หมายความว่า ซื้อ Big Mac 1 ชิ้น ในสหรัฐจะต้องใช้เงิน 175 บาท แต่ใช้เงิน 123 บาทเมื่อซื้อในไทย หรือใช้เงินน้อยกว่า 52 บาท แสดงว่าค่าเงินบาทแข็งค่าเกินกว่าเงินดอลลาร์ไปประมาณ 30%

ค่าเงินบาทที่แข็งมีผลต่อการส่งออกและนำเข้า โดยในด้านการส่งออก ราคาสินค้าในสกุลเงินดอลลาร์จะแพงขึ้นเพราะใช้ดอลลาร์มากขึ้นในการซื้อ ทำให้ขายสินค้าได้ในปริมาณน้อยลง หรือหากขายได้ในปริมาณเท่าเดิม แต่เมื่อขายแล้วได้เงินดอลลาร์นำมาแลกเป็นเงินบาท เงินบาทที่ได้ก็จะน้อยลง

เช่น อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 34 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ส่งออกสินค้าได้เงิน 200 ล้านดอลลาร์ เมื่อแลกดอลลาร์กลับมาเป็นเงินบาทจะได้เงินบาท 6,800 ล้านบาท แต่ค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นเป็น 33 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ จะทำให้ได้เงินบาทลดลงเป็น 6,600 ล้านบาท เท่ากับว่ารายได้จากการส่งออกลดลง

ขณะเดียวกัน ฝั่งการนำเข้าจะได้รับประโยชน์ เพราะใช้เงินบาทน้อยลงแต่ซื้อสินค้าได้มากขึ้น ราคาน้ำมันถูกลง สำหรับคนทั่วไปเงินบาทที่แข็งจะส่งผลบวกต่อการบริโภค เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศมีมากขึ้น การลงทุนในต่างประเทศมีมากขึ้น หรือมีการใช้รถส่วนตัวมากขึ้นจากราคาน้ำมันที่ลดลง

ในทางกลับกัน ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจะมีผลกระทบที่รุนแรงในทันที โดยทำให้ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันแพงขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ราคาสินค้าปรับขึ้น ค่าใช้จ่ายของประชาชนทั่วไปสูงขึ้น แต่ในระยะกลางถึงระยะยาว การส่งออกจะดีขึ้นและจะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้

นอกจากดอกเบี้ย เงินเฟ้อและความต้องการซื้อหรือขายมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อค่าเงินด้วย เช่น สถานการณ์การเมือง ดังนั้นค่าเงินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันทีและตลอดเวลา

ค่าเงิน หรืออัตราแลกเปลี่ยน คือปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากการการค้าและลงทุน ความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน ตลอดจนการติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ และหาข้อมูลหรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม จะช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ภาคธุรกิจที่ขยายกิจการไปต่างแดน รวมถึงประชาชนทั่วไปที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ต่างประเทศ สามารถปรับตัวเพื่อรักษาผลตอบแทนจากการลงทุนได้ตามที่ต้องการ และสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากค่าเงินได้ทันการณ์

แนวโน้มของราคาทอง

มั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

ไปดูเหตุผลที่ตลาดไม่เชื่อ หนึ่งในนั้นก็เพราะ กำลังการผลิตนอกกลุ่ม OPEC ก็ยังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ จากตัวเลขแท่นขุดเจาะรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ตั้งแต่ย่างเข้าไป 2017 เป็นต้นมา รวมถึงการเดินกำลังการผลิต Shale Oil และ Shale Gas ที่สะท้อนว่า ต้นทุนการผลิตของเทคโนโลยีนี้ เข้ามาใกล้จุดที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตน้ำดิบได้แล้วถ้ามองภาพใหญ่กว่านั้น ราคาน้ำมันก็โดนกดดันอยู่มาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด หรือ Clean Energy โดยเทคโนโลยีที่จะมาเป็นคู่แข่งพลังงานน้ำมันจริงๆ ก็คือ Power Storage หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า นั้นเอง เพราะตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือ Power Storage จะทำให้การใช้พลังงานสะอาดมีเสถียรภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีตัวเก็บประจุ ก็แปลว่า เราจะใช้ไฟฟ้าได้แค่ตอนช่วงกลางวันเท่านั้น ดังนั้น เทคโนโลยี Power Storage จึงถือว่ามีความสำคัญ และเป็นจุดเปลี่ยนอีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดต่ำลงไปอีก และเข้าถึงคนจำนวนมากกว่าปัจจุบัน

สรุปทิศทางราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันถูกเทขายลงมาที่ ราวๆ 42-43 ดอลลาร์ กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นหลักๆ มาจากตลาดเริ่มไม่เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม