เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทํางานอย่างไร

  • หน้าแรก

  • Knowledge

  • Knowledge

  • หลักการทำงานของระบบเครือข่ายแบบ Client-Server

หลักการทำงานของระบบเครือข่ายแบบ Client/Server ( ไคลเอนต์ เซิร์ฟเวอร์ )

เครือข่ายแบบ Client/Server เป็นรูปแบบหนึ่งของเครือข่ายแบบ server-based โดยจะมีคอมพิวเตอร์หลักเครื่องหนึ่งเป็น เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะไม่ได้ทำหน้าที่ประมวลผลทั้งหมดให้เครื่องลูกข่ายหรือเครื่องไคลเอนต์ (client) แต่เซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่เสมือนเป็นที่เก็บข้อมูลระยะไกล และประมวลผลบางอย่างให้กับเครื่องไคลเอนต์เท่านั้น เช่น ประมวลผลคำสั่งในการดึงข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล (database server) เป็นต้น

Client เรียกอีกอย่างว่า ผู้ขอใช้บริการ คือ คอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบเน็ตเวิร์คที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเครือข่ายได้ และ Client จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างๆ เช่น windows หรือแมคอินทอช เป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าไปขอใช้บริการจาก Server ได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์, สายสื่อสาร, ไฟล์ฐานข้อมูล เรียกว่า Database client และเครื่องพิมพ์บน Server ได้ ราวกับว่าเป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้เอง

Serve เรียกอีกอย่างว่า ผู้ให้บริการ ในระบบ LAN จำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คอยทำหน้าที่ให้บริการทางด้านต่างๆ แก่คอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งเป็นลูกข่าย โดยทั่วไปมีหน้าที่ให้บริการ 3 ประการ คือ

  1. บริการในการจัดเก็บข้อมูล เรียกว่า "File server" (ไฟล์เซิร์ฟเวอร์)
  2. ให้บริการด้านการพิมพ์เอกสารและควบคุมเครื่องพิมพ์ เรียกว่า "Printer server" (ปริ้นเตอร์ เซิร์ฟเวอร์)
  3. ให้บริการควบคุมด้านการสื่อสารที่จะต่อเชื่อมกับอุปกรณ์สื่อสารอื่น เรียกว่า “Communication server” (คอมมูนิเคชั่น เซิร์ฟเวอร์)

ประโยชน์ของระบบ Client/Server

  1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ การเชื่อมโยงสื่อสารระหว่างกัน และแอพพลิเคชันต่างๆ ฯ
  2. ช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลในการทำงานของระบบเครือข่าย เมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ที่ยุ่งยากและราคาแพง มาสู่ระบบเครือข่าย Client and Server ที่มีราคาถูกกว่า
  3. การจัดเก็บข้อมูลง่าย สะดวก และสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานข้อมูลให้ถูกต้อง และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
  4. ช่วยลดค่าใช้จ่ายของการบำรุงรักษา(maintenance costs) ของ Software และ Hardware แต่ละเครื่อง
  5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ workstation

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทํางานอย่างไร

 รู้จักระบบ Client/Server มากขึ้น


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทํางานอย่างไร

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 1

ความเป็นมาและความสำคัญ

        เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ของการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ใช้ในสมัยแรก ๆ นั้น มีจุดประสงค์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ได้ หรือกล่าวได้ว่ามีสมองที่สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้  เช่น การคำนวณทางด้านต่าง ๆ  มนุษย์จะใช้เวลาในการคำนวณมาก และมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ในขณะที่คอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้เร็วกว่ามาก  มีความแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์มาก  มนุษย์เมื่อทำงานด้วยกัน จะให้งานนั้นมีประสิทธิภาพสูงจะ ก็จะต้องมีการสื่อสารซึ่งกันและกัน  ดังนั้น  คอมพิวเตอร์ก็ถูกสร้างมาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ ก็จำเป็นที่ต้องมีการสื่อสารซึ่งกันและกันเช่นกัน  ฉะนั้นคอมพิวเตอร์เครื่องใดที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องอื่นย่อมมีประสิทธิภาพน้อยกว่่าคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย ซึ่งก็เปรียบเสมือนการทำงานร่วมกันกันเป็นทีม มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันนั่นเอง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทํางานอย่างไร

ภาพระบบเครือข่าย
ที่มา https://pixabay.com ,Deedster

       ปัจจุบันอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนารวดเร็ว ถูกพัฒนาและคิดค้นให้ทำงานอย่างชาญฉลาดอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ปัจจุบันนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสารโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็น เทคโนโลยีที่รองรับคอมพิวเตอร์ในสมัยแรก ๆ เท่านั้น  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบให้ใช้งานแบบรวมศูนย์ (Centralized Computing) เช่น เมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งคอมพิวเตอร์จะถูกสร้าง และเก็บไว้ในห้อง ๆ หนึ่ง  เนื่องมาจากสมัยนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงมาก  ผู้ใช้แต่ละคนจะใช้จอภาพ (Dump Terminal) เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องเมนเฟรม แต่ต่อมาก็ได้มีการคิดค้นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก หรือเรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) ซึ่งได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ Personal Computer (PC) , คอมพิวเตอร์พกพา (Notebook หรือ Laptop) และรวมไปถึงพวกสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตในปัจจุบัน เนื่องจากราคาถูกกว่าเดิมและยังมี ประสิทธิภาพไม่น้อยไปกว่าเครื่องเมนเฟรมด้วย  ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเดี่ยว ๆ (Stand-alone)  นั้นจะได้ผลลัพธ์ไม่ดีเท่า ที่ควรนัก การทำงานของมนุษย์นั้นจำเป็นที่จะต้องทำงานกันเป็นกลุ่มหรือทีมถึงจะมีประสิทธิภาพได้คอมพิวเตอร์ก็เช่นกันควรจะทำงานเป็นกลุ่มหรือทีม ซึ่งการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีมของคอมพิวเตอร์นี้จะเรียกว่า “ เครือข่าย (Network) ”

ระบบเครือข่ายเบื้องต้น

         เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป มาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้หรือ อธิบายโดยสรุป ก็คือการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปมาต่อเชื่อมต่อกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากร (Resources) ที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอม สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

         แนวคิดในการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น เริ่มมาจากการที่ผู้ใช้ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เดี่ยว ๆ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลในปริมาณมากอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว แต่ข้อเสียคือ  ผู้ใช้ไม่สามารถแชร์ข้อมูลนั้นกับคนอื่นอย่างมีประสิทธิภาพได้ก่อนที่จะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในหลากหลายวงการ ทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เราพบเห็นกันอยู่ต่างก็ใช้ระบบเครือข่ายเป็นระบบเชื่อมโยงการทำงาน เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่องเพื่อใช้งานในบ้าน หรือในบริษัทเล็ก ๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ ขยายไปจนถึงเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกัน ซึ่งเราเรียกมันว่า  เครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

          เพื่อตอบสนองการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน อีกทั้งเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง โดยปกติแล้ว คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ Standalone PC คือ การใช้งาน PC ซึ่งเดิมใช้เฉพาะส่วนบุคคล (Personal Computer) ในเวลาเมื่อต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูล จำเป็นจะต้องใช้โดยการคัดลอกผ่านสื่อต่าง  ๆ เช่น แผ่นดิสก์ แผ่นซีดี ทรัมป์ไดร์ แต่การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในระบบเครือข่าย จะทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้

          การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีที่มาจากผู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลข้อมูลในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ผู้ใช้ไม่สามารถแชร์ข้อมูลกับคนอื่น ๆ ได้ ดังนั้น ก่อนมีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยการ พิมพ์(print) ข้อมูลออกมาเป็นเอกสารก่อนแล้วค่อยนำไปให้ผู้ใช้ที่ต้องการใช้หรือแก้ไขข้อมูลอีกคนหนึ่ง ซึ่งทำให้เสียเวลาและเป็นวิธีที่ยุ่งยากมากเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว

          ลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็ก ๆ อาจจะอยู่บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เดียวกัน ขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นระบบที่ทำงานร่วมกันในห้องทำงาน ในตึก ระหว่างตึก ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ การจัดแบ่งรูปแบบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงแยกตามขนาดของเครือข่าย ดังตารางดังต่อไปนี้

ตาราง การแบ่งแยกลักษณะของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามระยะทางระหว่างโพรเซสเซอร์

ระยะทางระหว่าง

โพรเซสเซอร์

ลักษณะที่ตั้งของ

โพรเซสเซอร์

ชื่อเรียกเครือข่าย

0.1 เมตร

แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

เครื่องจักรชนิดดาต้าโฟลว์

1 เมตร

 ระบบเดียวกัน

มัลติโพรเซสเซอร์

10 เมตร

ห้อง

มัลติโพรเซสเซอร์

100 เมตร

ตัวอาคาร

เครือข่ายท้องถิ่น

1 กิโลเมตร

หน่วยงานเดียวกัน

เครือข่ายท้องถิ่น

10 กิโลเมตร

เมือง

เครือข่ายท้องถิ่น

100 กิโลเมตร

ประเทศ

เครือข่ายระยะไกล

1000 กิโลเมตร

ระหว่างประเทศ

เครือข่ายระยะไกล

10000 กิโลเมตร

ระหว่างดวงดาว

เครือข่ายระยะไกลมาก

แหล่งที่มา

Mingakamon . ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/kuakaycom/rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr-computer-network

ธนพจน์ บัวบาน . เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/networkofcomputerbytechno/5-phu-cad-tha

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/a/kn.ac.th/kanyavee/pra-yo-chn-khxng-kherux-khay

ศุภกร บุญชัย. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก   https://suppakorn55.wordpress.com/เครือข่ายคอมพิวเตอร์/ข้อดีและประโยชน์ของเคร/

Subnet mask (ซับเน็ตมาร์ค) คืออะไร การแบ่ง IP address ออกเป็นชุดย่อย ๆ . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก  https://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/4112-what-is-subnet-mask.html

Computer Network คืออะไร คอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2221-computer-network-คืออะไร.html

ประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://www.technointrend.com/type-network-computer/

Return to contents


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 2

ประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย

        ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น

       การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวาง และสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้

การเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้นมีข้อดีดังนี้

  1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

  2. สามารถแชร์ทรัพยากร เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไรท์เตอร์ ไว้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

  3. ประหยัดเนื่องจากสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้

  4. สามารถแชร์เอกสาร เช่น บันทึกข้อความ ตารางข้อมูลต่าง ๆ ใบส่งขอ บัญชีต่าง ๆ ใบรายการ สินค้า เป็นต้น

  5. สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ ในการติดต่อผู้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว

  6. การสนทนาผ่านเครือข่าย หรือการแชท (Chat)

  7. การประชุมระยะไกล (Videoconference)

  8. การแชร์ไฟล์ต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิโอ เพลง เป็นต้น

  9. การแชร์ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่น ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นต้น

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้

  1. การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน หรือการใช้ Hardware ร่วมกัน ผู้ใช้งานในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน สามารถใช้อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างสะดวก มีประสิทธิภาพ เช่นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การใช้งาน เครื่องพิมพ์ในสำนักงานต่าง ๆ เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง รวมไปถึง Share Diskspace เป็นการใช้งานร่วมกันของเนื้อที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลซึ่งรวม Harddisk และ CD ROMS (Compact-Disk Read-Only Memory) ซึ่งจะใช้ Harddisk หรือ CD ROMS จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ที่เรียกว่า File Server โดย File Server นี้จะเป็นเครื่องที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (Data) ของ User และ Software ของระบบทั้งหมด รวมทั้งควบคุมการทำงานของระบบ Network ด้วย

  2. การแชร์ไฟล์ และการใช้ Software ร่วมกัน การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเครือข่าย และในกรณีที่ผู้ใช้งานมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายเดียวกัน ผ่านระบบประเภทต่าง ๆ เช่น เครือข่าย LAN , MAN และ WAN ซึ่งกล่าวในหัวข้อถัดไป จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องอุปกรณ์เก็บข้อมูลใด ๆ ทั้งสิ้นในการโอนย้ายข้อมูล ตัดปัญหาเรื่องความจุของสื่อบันทึกมูลสำรองที่เคยใช้กันเช่น แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี ทรัมป์ไดร์ เป็นต้นไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลหลักอย่างฮาร์ดดิสก์ หากพื้นที่เต็มก็คงต้องหามาเพิ่ม

  3. การติดต่อสื่อสาร โดยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย สามารถติดต่อพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกัน หรือการใช้อีเมล์ภายในก่อให้เครือข่าย Home Network หรือ Home Office ผ่านการใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทางด้านการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น

  4. การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่าย สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อกหรือแบบดิจิทัล

  5. ความประหยัด จะเห็นได้ว่า ดังตัวอย่างที่กล่าวไป มีการฝช้งานเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง นอกจากจะเป็นเครื่องพิม์คนละประเภท เช่นในสำนักงานแห่งหนึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 เครื่อง ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ อาจจะต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้วสามารถใช้เครื่องพิมพ์ประมาณ 1-2 เครื่องก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถใช้งานเครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างยิ่ง

  6. สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ องค์กรธุรกิจที่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น

  1. ความเชื่อถือได้ของระบบงาน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่า ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้งาน จะทำให้ระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะ ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เราสามารถทำการสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที

  2. การเชื่อมต่อกับระบบอื่น ในการระบบงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) เมื่อต้องการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC)มาเชื่อมต่อกับระบบอื่น เช่น Mainframe หรือ Computer จะต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อพิเศษเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) นั้นสามารถทำงานร่วมกับระบบอื่นได้ จะเรียกขบวนการนี้ว่า Terminal Emulation ปัญหาก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) 1 เครื่องจะต้องมีอุปกรณ์ พิเศษต่อเชื่อม 1 ชุด ซึ่งปกติจะมีราคาสูงมาก เมื่อมีการทำงานที่มากขึ้น การต่อเชื่อมกันกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) เพียง 1 ชุด อาจไม่เพียงพอในการใช้งาน อาจจำเป็นต้องต่อมากยิ่งขึ้น ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่ถ้ามีระบบ Network อยู่แล้ว สามารถที่จะนำ เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) และอุปกรณ์เชื่อมต่อสำหรับระบบอื่น เพียง 1 ชุด หลังจากนั้น Workstation เครื่องอื่นที่ไม่มีอุปกรณ์ต่อเชื่อมนี้ก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นได้ด้วย เสมือนมี อุปกรณ์เชื่อมต่อติดตั้งทีเครื่องของตนเอง ลักษณะนี้เรียกว่า Gateway

แหล่งที่มา

Mingakamon . ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/kuakaycom/rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr-computer-network

ธนพจน์ บัวบาน . เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/networkofcomputerbytechno/5-phu-cad-tha

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/a/kn.ac.th/kanyavee/pra-yo-chn-khxng-kherux-khay

ศุภกร บุญชัย. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก   https://suppakorn55.wordpress.com/เครือข่ายคอมพิวเตอร์/ข้อดีและประโยชน์ของเคร/

Subnet mask (ซับเน็ตมาร์ค) คืออะไร การแบ่ง IP address ออกเป็นชุดย่อย ๆ . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก  https://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/4112-what-is-subnet-mask.html

Computer Network คืออะไร คอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2221-computer-network-คืออะไร.html

ประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://www.technointrend.com/type-network-computer/

Return to contents


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 3

ประเภทของระบบเครือข่าย

           เครือข่าย (network) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เชื่อมต่อกันโดยสายเคเบิลหรือสายสัญญาณ และทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องทำได้โดยส่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายเส้นนี้ (เป็นที่มาของศัพท์คำว่า On Line) หรือในบางครั้งเรามักจะใช้คำว่า แชร์ (share) เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา

ระบบเครือข่ายที่แบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่

  1. เครือข่ายแบบท้องถิ่น (Lacal Area Network) หรือ LAN เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน  หรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆเป็นเครือข่ายในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่จำเป็นต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์
  1. เครือข่ายวงกว้าง หรือการเชื่อมโยงระยะไกล (Wide Area Network) หรือ WAN เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร คนละจังหวัด คนละประเทศ  ข้ามทวีปหรือทั่วโลก หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสาร จะต้องใช้มีเดีย (Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นสำคัญ
  1. เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN) หรือระบบเครือข่ายเมือง เป็นเครือข่ายที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่ปทุมวัน มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่อโศกเป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายลักษณะพิเศษเพิ่มเติมอีก คือ

  1. เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
  2. เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย

         ระบบเครือข่ายที่แบ่งออกตามลักษณะการทำงาน มีอยู่ 2 แบบ ได้แก่

Peer To Peer

         เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนระบบเครือข่ายมีฐานเท่าเทียมกัน คือทุกเครื่องสามารถจะใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้ และสามารถให้เครื่องอื่นมาใช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบ Peer To Peer มีการทำงานแบบดิสทริบิวท์(Distributed System) โดยจะกระจายทรัพยากรต่างๆ ไปสู่เวิร์กสเตชั่นอื่นๆ แต่จะมีปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลที่เป้นความลับจะถูกส่งออกไปสู่คอมพิวเตอร์อื่นเช่นกันโปรแกรมที่ทำงานแบบ Peer To Peer คือ Windows for Workgroup และ Personal Netware

 Client / Server

          เป็นระบบการทำงานแบบ Distributed Processing หรือการประมวลผลแบบกระจาย โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอ็นต์ แทนที่แอพพลิเคชั่นจะทำงานอย ู่เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็แบ่งการคำนวณของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทำงานบนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย และเมื่อใดที่เครื่องไคลเอ็นต์ต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลบางส่วน จะมีการเรียกใช้ไปยัง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้นำเฉพาะข้อมูลบางส่วนเท่านั้นส่งกลับ มาให้เครื่องไคลเอ็นต์เพื่อทำการคำนวณข้อมูลนั้นต่อไป

รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย LAN Topology

ระบบ Bus

        การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที

แบบ Ring

         การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ

แบบ Star

         การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า

แบบ Hybrid

        เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน

        เครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless LAN) อีกเครือข่ายที่ใช้เป็นระบบแลน (LAN) ที่ไม่ได้ใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อ นั่นคือระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้ การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์พีซี และโน๊ตบุ๊ก และต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย

แหล่งที่มา

Mingakamon . ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/kuakaycom/rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr-computer-network

ธนพจน์ บัวบาน . เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/networkofcomputerbytechno/5-phu-cad-tha

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/a/kn.ac.th/kanyavee/pra-yo-chn-khxng-kherux-khay

ศุภกร บุญชัย. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก   https://suppakorn55.wordpress.com/เครือข่ายคอมพิวเตอร์/ข้อดีและประโยชน์ของเคร/

Subnet mask (ซับเน็ตมาร์ค) คืออะไร การแบ่ง IP address ออกเป็นชุดย่อย ๆ . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก  https://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/4112-what-is-subnet-mask.html

Computer Network คืออะไร คอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2221-computer-network-คืออะไร.html

ประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://www.technointrend.com/type-network-computer/

Return to contents


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 4

Software สำหรับ LAN

       การเชื่อมโยงเครื่องต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันนี้ไม่ได้จบลงเพียงแค่การต่อสายไฟเท่านั้น แต่จะรวมถึงการใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน และในปัจจุบันก็คือตัวระบบปฏิบัติการ หรือ  Operating System (OS) เช่น Windows ,Unix ,Linux

       นอกเหนือไปจากนั้นจะต้องมีรูปแบบการเชื่อมต่อ ที่ถูกต้องตรงกันเปรียบเสมือนคนที่พูดภาษาเดียวกัน เรียกว่า Protocol

Internet

          เป็นแนวความคิดเรื่องระบบเครือข่ายที่ต้องการขยายออกเป็นความพยายามเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น เครือข่ายของวิทยาลัย 2 แห่งเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ดัวยกัน

          ในช่วงเริ่มต้นมีการเชื่องโยงเครือข่ายเข้าสู่ Internet เพียงไม่กี่แห่ง แต่อัตราการเพิ่มของการเชื่อมโยงนั้นเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา

          Internet ก็ไม่แตกต่างกับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก คือ ต้องมีทั้งสายสัญญาณ,มีซอฟต์แวร์ที่รับรู้การเชื่อมโยง และที่สำคัญที่สุดคือต้องมี โปรโตคอล ที่ตรงกันและโปรโตคอลที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับ Internet โดยตรงเรียกว่า TCP/IP  เมื่อมีการเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกันมากขึ้น ปริมาณข้อมูลที่ไหลเวียนอยู่ใน Internet ก็ยิ่งมากขึ้นจนเกิดปัญหา ทำให้ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น Internet นี้ต้องใช้ระบบที่เรียกว่า Client/Server จึงทำให้การใช้ Internet มีความชัดเจนมากขึ้น จนมีซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการเฉพาะด้านได้รับความนิยมสูงมากจนกลายเป็นบริการมาตรฐานงานของ Internet เช่น บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) บริการถ่ายโอนข้อมูล (FTP) บริการค้นหาข้อมูล (Gopher) จนกระทั่งเกิดบริการ World Wide Web (www) ขึ้นในปี 1990 บริการนี้เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างง่าย โดยแบ่งข้อมูลหน้า ๆ เรียกว่า Webpage ปัจจุบัน ได้มีการประยุกต์ใช้ World Wide Web ออกไปในทุก ๆ ด้าน จนทำให้แทบจะเรียกได้ว่า Internet คือ World Wide Web รวมทั้งส่วนประกอบอื่น ๆ เรียกว่า Web Site

โครงสร้างของ World Wide Web

       ในสังคมอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า World Wide Web นั้นประกอบด้วย Web Site เป็นจำนวนมาก แต่ละ Web Site ประกอบด้วย Web Page มากบ้างน้อยบ้าง การติดต่อกันทำโดยเครือข่าย Internet และโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลด้วย HTTP (Hyper Text Transfer Protocol)

      ผู้ที่ต้องการขอดูข้อมูลของแต่ละ Web Site สามารถทำโดยเชื่อมโยงเครื่องตนเองเข้าสู่ Internet แล้วใช้ซอฟต์แวร์ Web Browser เพื่อเปิดดูแต่ละ Web Page

       Web site คือ สถานที่ติดตั้ง Web Page  สามารถรองรับผู้สนใจที่จะ “เปิดอ่าน” ได้พร้อม ๆ กันจำนวนมาก

       Web Server หมายถึงซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ที่เป็นที่ตั้งของ Web Site ผู้สนใจที่เข้ามาขอ ใช้บริการ เปิด Web Site ดู เรียกว่า Web Client

       Web Page คือ หน้าเอกสารต่าง ๆ ของ Web Site

       การติดต่อสื่อสารกันระหว่างหลาย ๆ Web Client กับ 1  Web Server ปัญหาก็คือใน Internet ส่วนของ Web Server ไม่ได้เพียง 1 Server แต่มีเป็นล้าน ๆ Site ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการเข้าไปถึง Web Site ที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง

       Address คือ ที่อยู่ของ Internet ในระบบ Address ของ Internet เดิมใช้มาตรฐานที่เรียกว่า IP Address

(Internet Protocol) ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้   203.200.3.1

       DNS (Domain Name System)   ได้รับการยอมรับว่าการใช้ระบบ Address แบบตัวเลขมาก เพราะเหตุผลว่าเป็นการใช้ระบบตัวอักษรภาษาอังกฤษธรรมดา เช่น www.microsoft.com จริง ๆ แล้วคือหมายเลข IP Address 203.200.3.1

       URL (Uniform Resource Locator) เป็นการนำ DNS มาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของทรัพยากรที่เราต้องการใช้หรือเข้าถึง เช่น DNS

ส่วนประกอบของ Web Page

       Static Web Page คือ web site ที่ไม่มีการโต้ตอบกับปลายทาง เช่น website ที่แสดงอย่างเดียว

       Dynamic Web Page คือ web site ที่มีการโต้ตอบ เช่น msn,qq

บริการ สำหรับ website

      บริการ FTP คือ บริการในการ ถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบของ File และ FTP สามารถให้บริการทั้งรับและส่งข้อมูล ศัพท์ที่ใช้สำหรับการรับข้อมูลเรียกว่าการ “Download” ส่วนการส่งข้อมูลเรียกว่า “Upload”

      บริการ Mail-List คือ บริการการส่ง Mail หรือจดหมายไปยังผู้มาเยือน ทั้งนี้แล้วแต่ว่าผู้มาเยือนจะสนใจหรือไม่โดยการสมัครเป็นสมาชิก

      บริการกลุ่มข่าวและการแลกเปลี่ยนความเห็น เช่น Web Board

      บริการกลุ่มข่าวโดย NNTP คือ สามารถรองรับปริมาณข่าวมาก ๆ และรองรับข้อมูลที่ซ้อนทับกันหลาย ๆ ชั้นได้ รวมทั้งยังสามารถกำหนดค่าตัวแปรต่าง ๆ เพื่อบริหารฐานข้อมูลได้อีกด้วย เช่นกำหนดเวลาหมดอายุของข่าวสาร

       บริการกลุ่มข่าวโดยผ่าน HTTP จะบริการทาง Web Board

       บริการทาง E-Mail

       บริการค้นหาข้อมูล Search

แหล่งที่มา

Mingakamon . ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/kuakaycom/rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr-computer-network

ธนพจน์ บัวบาน . เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/networkofcomputerbytechno/5-phu-cad-tha

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/a/kn.ac.th/kanyavee/pra-yo-chn-khxng-kherux-khay

ศุภกร บุญชัย. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก   https://suppakorn55.wordpress.com/เครือข่ายคอมพิวเตอร์/ข้อดีและประโยชน์ของเคร/

Subnet mask (ซับเน็ตมาร์ค) คืออะไร การแบ่ง IP address ออกเป็นชุดย่อย ๆ . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก  https://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/4112-what-is-subnet-mask.html

Computer Network คืออะไร คอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2221-computer-network-คืออะไร.html

ประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://www.technointrend.com/type-network-computer/

Return to contents


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 5

องค์ประกอบของระบบเครือข่าย

          ระบบเครือข่ายประกอบด้วย ส่วงต่าง ๆ ที่มีหน้าที่เฉพาะแตกต่างกัน หน้าที่หลัก ๆ มีดังนี้

Server คือ เครื่องผู้ให้บริการหรือเครื่องแม่ข่าย เป็นเครื่องที่มีอุปกรณ์ที่ได้แบ่งปันให้กับผู้ใช้ของระบบ อุปกรณ์ที่แบ่งปันกันใช้นี้เรียกว่า ทรัพยากร (Resourece)  เช่น เครื่องพิมพ์ ,อุปกรณ์ต่าง ๆ ,ข้อมูลหรือ File

          Client คือ เครื่องผู้รับบริการหรือเครื่องลูกข่าย

         Media คือ ตัวสายสัญญาณ หรือสื่อช่องทางการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน

         Resource คือ ทรัพยากร ได้แก่ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีการแบ่งปันกันใช้ในระบบเครือข่าย

         Operation System หรือระบบปฏิบัติการ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้บนเครื่องแม่ข่ายและลูกข่ายเพื่อทำให้สามารถติดต่อกันได้

ชนิดของระบบเครือข่าย

แบ่งออกตามลักษณะการจัดการทรัพยากรออกเป็น 2 ชนิด

  1. แบบ Peer to Peer แปลว่าเท่าเทียมกัน เป็นระบบเครือข่ายที่เครื่องทุก ๆ เครื่องในเครือข่ายมีสิทธิ์ที่จะทำตัวเป็นเครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องลูกข่ายก็ได้

               ข้อดี การออกแบบสร้างระบบทำได้อย่างง่ายดาย

               ข้อเสีย คือ การบริหารระบบทำได้ค่อยข้างยาก เนื่องจาก  ทรัพยากรกระจายออกไปในเครื่องหลาย ๆ เครื่อง

               ระบบเครือข่ายแบบนี้จึงจะใช้กับระบบที่มีจำนวนเครื่องไม่มากนัก ซึ่งต้นทุนของการดำเนินการต่ำมาก และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ซอฟแวร์สำหรับจัดการเครือข่ายแบบ Peer to Peer

  1. ระบบเครือข่ายแบบ Server Based คือ มีเครื่องแม่ข่ายเป็นหลัก เป็นระบบเครือข่ายที่รวบรวมเอาทรัพยากรของระบบที่ใช้ร่วมกันไว้ในเครื่องแม่ข่ายเพียงตัวเดียวหรือกลุ่มเดียว

               ข้อดี การต่อแบบนี้คือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทำได้ดีกว่า การสำรองข้อมูลสำคัญ ๆ ทำได้ง่าย การรองรับจำนวนเครื่องทำได้ปริมาณมาก

               ข้อเสีย การออกแบบระบบซับซ้อน การบริหารยากกว่า มีราคาแพงกว่า ระบบปฏิบัติการสำหรับเครือข่ายแบบ Server Based Windows NT Server,ระบบ Net ware ของบริษัท Novell ,ระบบ Unix,ระบบ Linux เป็นต้น

คำศัพท์อื่น ๆ สำหรับระบบเครือข่ายแบบ Server Based

        Dedicated Server คือ เป็นเครื่องแม่ข่ายที่จะทำตัวเป็นแม่ข่ายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องลูกข่ายได้

        Specialized Server คือ การนำ Sever ของระบบมาใช้เพื่องานใดงานหนึ่งเป็นการเฉพาะ

        File Server คือ เครื่องลูกข่ายที่ทำหน้าที่เก็บรักษาและแบ่งปันแฟ้มข้อมูลเป็นหลัก

        Application Server คือ เครื่องแม่ข่ายที่ใช้ซอฟต์แวร์ในรูปแบบ Client/Server นั่นคือ จะมีการนำซอฟต์แวร์ส่วนที่เรียกว่า Server มาทำงานที่เครื่อง Server

การออกแบบระบบเครือข่าย ประกอบด้วย Topology คือ แบบ BUS , แบบ Star ,แบบ Ring ,แบบ Token Ring

แบบ BUS

      แบบ BUS จะเป็นการจัดเรียงคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เรียงรายกันบนสายเคเบิ้ลกลางเพียงเส้นเดียวจะเรียกว่า สาย Backbone (กระดูกสันหลัง) การติดต่อในระบบนี้จะเป็นการติดต่อแบบถึงกันหมด เช่น ถ้าเครื่อง A จะติดต่อกับเครื่อง B สัญญาณที่ส่งลงไปในสายเครือข่าย จะปรากฏที่เครื่องทุก ๆ เครื่องที่อยู่บนสายเดียวกัน  เครื่องต่าง ๆ นอกเหนือจากเครื่อง A พิจารณาพบว่าไม่ใช้ข้อมูลที่ส่งถึงตนจะไม่สนใจข้อมูลเหล่านั้น

          Terminator คือ อุปกรณ์ที่ช่วยในการปิดหัวท้ายสายเคเบิ้ลกลาง (สาย Backbone)  เพื่อทำการดูดซับสัญญาณไม่ให้สะท้อนกลับ

          T-Connector คือ อุปกรณ์ที่ใช้เป็นหัวต่อแบบ 3 ทาง

          เมื่อต้องการเพิ่มความยาวสายสาย Bus สามารถขยายเพิ่มความยาวได้โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Barrel Connector  ซึ่ง เปรียบเสมือนการเชื่อมสาย 2 ท่อนให้รวมกันกลายเป็นสายเดียว เมื่อมีการเพิ่มสายสัญญาณยาวมาก ๆ จะทำให้สัญญาณเริ่มอ่อนลง บางครั้งอาจจะต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater) เพื่อเร่งให้สัญญาณเร็วขึ้นและไปได้ไกลมากขึ้น ปัญหาของการเชื่อมโยงแบบ Bus  เนื่องจากเครื่องทุกเครื่องต้องอยู่บนสายเดียวกัน ดังนั้นหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหาหรือเสีย เช่น ลัดวงจร หรือสายสัญญาณหลุด ก็จะทำให้เสียทั้งระบบ

          ข้อดี

          ราคาถูก และติดตั้งระบบเครือข่ายได้ง่าย สามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย

แบบดาว Star

        การเชื่อมโยงแบบดาว เป็นการโยงเครื่องต่าง ๆ เข้าไปยังจุดจุดเดียวกันเรียกว่า ฮับ (Hub) หรือ Switch การส่งข้อมูลจากเครื่อง ๆ หนึ่งจะส่งไปที่ Switch จากนั้น Switch จะส่งข้อมูลไปยังเครื่องต่าง ๆ ที่โยงกับตัวมันทุกเครื่อง เครือข่ายของเครื่องในลักษณะนี้จะสิ้นเปลืองค่าสายมากกว่าแบบ Bus แต่ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นก็จะเกิดเฉพาะเครื่องนั้น ๆ เครื่องอื่น ๆ จะไม่ได้รับผลกระทบไปด้วย

ข้อดี

     ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยังผู้รับได้หลายเครื่องพร้อมกันถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียระบบจะไม่เสียไปด้วย

ข้อเสีย

      ถ้า Switch เสียจะเสียทั้งระบบ สายเคเบิ้ลสามารถมีความยาวได้ไม่เกิน 100 เมตรเพราะจะทำให้สัญญาณอ่อน

แบบวงแหวง Ring

          การเชื่อมโยงแบบวงแหวนก็คือ การเชื่อมโยงแบบ Bus เพียงแต่จะเชื่อมปลายทั้งสองของ Bus ด้วยสายอีกเส้นหนึ่งเข้าด้วยกัน (แทนที่จะปิดด้วย Terminator) แต่ในการเชื่อมโยงแบบนี้เครื่องแต่ละเครื่องจะทำหน้าที่ขยายสัญญาณก่อนจะส่งต่อไปยังเครื่องถัดไป  แต่การวางสายยาวกว่า และแพงกว่าแบบบัสเล็กน้อย และยังคงมีปัญหาของบัสอยู่คือ เมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งเกิดปัญหาขึ้น จะกระทบเครื่องที่เหลือทั้งหมด

ระบบเครือข่าย Token Ring

          การเชื่อมโยงแบบวงแหวนแท้ ๆ นั้นไม่มี ที่มีอยู่เป็นการประยุกต์แบบวงแหวนออกไปโดยมีชื่อเรียกว่า โทเคนริง (Token Ring) ของบริษัท IBM โดยกำหนดรายละเอียดการรับส่งข้อมูลหรือ Token คือ การสื่อสารข้อมูลจะส่งจากต้นทางเป็น Token เมื่อเดินทางไปถึงเครื่องถัดไป เครื่อง (คาร์ดหรือเครือข่าย) ก็จะตรวจสอบ Token ว่าเป็นข้อมูลของตนเองหรือไม่ถ้าใช่ก็จะรับ วิธีการนี้ทำให้ข้อมูลที่ผ่านแต่ละจุดในแง่ของความแรงของสัญญาณเสมือนออกจากต้นแหล่งเสมอ

          ข้อดี อีกประการหนึ่งเมื่อเทียบกับแบบ Bus จริงก็คือ ในเวลาใดเวลาหนึ่งแต่ละส่วนของสายเครือข่ายสามารถมีข้อมูลต่าง ๆ กันได้ ในขณะ Bus จะเป็นข้อมูลอันเดียวกันตลอดทั่วเครือข่าย แบบ Token Ring จึงทำงานได้เร็วกว่าและมั่นคงกว่าแบบบัส

แบบผสม

          การเชื่อมโยงทั้งระบบบัสและแบบดาวมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันเพื่อจะย้อนเอาข้อดีของทั้ง 2 ระบบเข้าด้วยกัน จึงได้มีการออกแบบโยงสายเครือข่ายแบบผสมขึ้น

แบบดาว-บัส

          มักจะใช้แบบบัสเพื่อเชื่อมโยงฮับต่างเข้าด้วยกันและต่อจากฮับจะต่อแบบดาว ช่วยให้ประหยัดสายแล้วยังรวมข้อดีแบบดาวไปในตัวอีกด้วย

แบบดาวซ้อน

          คือ แทนที่แต่ละช่องของฮับจะต่อไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดแต่กลับต่อไปที่ ฮับ อีกตัวหนึ่งช่วยให้สามารถรองรับจำนวนเครื่องได้มากขึ้น

แหล่งที่มา

Mingakamon . ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/kuakaycom/rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr-computer-network

ธนพจน์ บัวบาน . เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/networkofcomputerbytechno/5-phu-cad-tha

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/a/kn.ac.th/kanyavee/pra-yo-chn-khxng-kherux-khay

ศุภกร บุญชัย. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก   https://suppakorn55.wordpress.com/เครือข่ายคอมพิวเตอร์/ข้อดีและประโยชน์ของเคร/

Subnet mask (ซับเน็ตมาร์ค) คืออะไร การแบ่ง IP address ออกเป็นชุดย่อย ๆ . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก  https://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/4112-what-is-subnet-mask.html

Computer Network คืออะไร คอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2221-computer-network-คืออะไร.html

ประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://www.technointrend.com/type-network-computer/

Return to contents


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 6

สายสัญญาณ Cable

          การเชื่อมโยงเครือขายไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดต้องอาศัยสายสัญญาณ (Cable) เกือบทั้งสิ้นสายสัญญาณที่นิยมใช้กันอยู่มีดังนี้

  1. สายแกนร่วม (Coaxial)

          เป็นสายสัญญาณที่ประกอบด้วยตัวนำไฟฟ้า 2 ตัว หรือ 2 เส้น คือสายสัญญาณกับสายดิน โดยสายสัญญาณจะเป็นสายทองแดงวางไว้ตรงกลางโดยมีสายดินเป็นตาข่ายล้อมรอบสายสัญญาณโดยมีฉนวนไฟฟ้าคั่น การวางสายสัญญาณลักษณะนี้ช่วยให้สัญญาณไม่ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอก เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ข้อเสียของสายชนิดนี้ก็คือ ราคาค่อนข้างแพง

  1. สายคู่ตีเกลียว (Twisted Pair)

        เป็นสายสัญญาณที่ประกอบด้วยตัวนำไฟฟ้า  2         เส้น เช่นเดียวกันกับสายแบบแกนร่วมสายทั้ง 2 นี้จะเดินคู่ขนานกันไป เหมือนสายไฟฟ้าตามบ้าน แทนที่จะเป็นสายแกนร่วมจึงได้ผลิตสายคู่ตีเกลียวขึ้นมาเพื่อให้มีราคาถูกลง ส่วนวิธีการแก้ปัญหาสัญญาณรบกวนจากปัจจัยภายนอกนั้นโดยใช้วิธีตีเกลียวสายทั้ง 2 เส้นเข้าด้วยกัน ผลก็คือหากระยะเกลียวใกล้กันเพียงพอสนามแม่เหล็กในสายทั้งสองก็จะหักล้างกัน ช่วยลดโอกาสและผลของสัญญาณรบกวนลงได้พอสมควรแต่อย่างไรก็ตามไม่เหมาะสำหรับการวางผ่านสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงเช่น ผ่านมอร์เตอร์ขนาดใหญ่ รวมทั้งไม่สามารถเดินได้ในระยะไกล ๆ (ห้ามเดินเกิน 100 เมตรต่อ 1 เส้น)

การเข้าหัว RJ45

1 แบบ T568B Crossover

RJ-45   CABLE (CAT 5)

Pin      Symbol          Color

1        TD+    ขาวส้ม

2        TD-     ส้ม

3        RX+    ขาวเขียว

4        Not Assigned   น้ำเงิน

5        Not Assigned   ขาวน้ำเงิน

6        RX-     เขียว

7        Not Assigned   ขาวน้ำตาล

8        Not Assigned   น้ำตาล

2 แบบ T568A (Cross)

RJ-45   CABLE (CAT 5)

Pin      Symbol          Color

1        TD+    ขาวเขียว

2        TD-     เขียว

3        RX+    ขาวส้ม

4        Not Assigned   น้ำเงิน

5        Not Assigned   ขาวน้ำเงิน

6        RX-     ส้ม

7        Not Assigned   ขาวน้ำตาล

8        Not Assigned   น้ำตาล

วิธีการเข้าหัวทั้ง 2 แบบ

- การเข้าแบบธรรมดา เป็นการเชื่อมต่อแบบต่างอุปกรณ์ เช่น การใช้สายต่อกันระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ Switch หรือ HUB

Crossover Cable

RJ-45 PIN        RJ-45 PIN

1 Rx+  1 Rc+

2 Rc-   2 Rc-

3 Tx+  3 Tx+

6 Tx-   6 Tx-

Straight Through Cable

RJ-45 PIN        RJ-45 PIN

1 Tx+  1 Rc+

2 Tx-   2 Rc-

3 Rc+  3 Tx+

6 Rc-   6 Tx-

Crossover Cable

RJ-45 PIN        RJ-45 PIN

1 Rx+  3 Tx+

2 Rc-   6 Tx-

3 Tx+  1 Rc+

6 Tx-   2 Rc-

 Straight Through Cable

RJ-45 PIN        RJ-45 PIN

1 Tx+  1 Rc+

2 Tx-   2 Rc-

3 Rc+  3 Tx+

6 Rc-   6 Tx-

- การเข้าแบบไขว้ หรือ Cross เป็นการเข้าสายแบบ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน เช่น HUB to HUB ,Switch To Swich หรือ คอมพิวเตอร์ กับ คอมพิวเตอร์               เราสามารถที่จะใช้ระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ NoteBook

  1. Fiber Optic Cable สายใยแก้ว

      สายส่งแบบไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) เป็นการส่งสัญญาณด้วยใยแก้ว และส่งสัญญาณด้วยคลื่นแสงมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสามารถส่งข้อมูลได้ด้วยเร็วเท่ากับแสง ไม่มีสัญญาณรบกวนจากภายนอกสายFiber Optic 1 เส้นจะเชื่อมโยงการสื่อสารในทิศทางเดียวเป็นแบบจุดต่อจุด

หลักการทำงาน

      Fiber Optic นั้นจะเปลี่ยนสัญญาณ(ข้อมูล)ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงออกเป็นห่วงๆผ่านสายใยแก้วนำแสง (สายใยแก้วนั้นทำมาจาก แก้ว, สารซิลิก้า หรือ พลาสติก) ซึ่งจะส่งลำแสงผ่านสายได้ทีละหลายๆลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน ส่วนลำแสงที่ส่งไปนั้นจะสะท้อนไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทางซึ่งจะใช้เวลาไม่นาน

สายส่งข้อมูลแบบไฟเบอร์ออฟติกจะประกอบด้วยเส้นใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ตรงแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก โดยที่ใยแก้วทั้ง 2 นี้จะมีดัชนีในการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงที่ส่งจากปลายด้านหนึ่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้สายFiber Optic 1 เส้นจะเช่อมโยงการสื่อสารในทิศทางเดียวเป็นแบบจุดต่อจุด

ภายในระยะ 100 ก.ม.จะส่งข้อมูลได้ถึง 1Gbps โดยไม่ต้องมีเครื่องทบทวนสํญญาณเลยและสามารถมีช่องทางได้มากถึง20,000-60,000ช่องทางแต่ถ้าส่งในระยะใกล้ๆไม่เกิน 10 ก.ม.อาจจะมีถึง100,000ช่องทางเลยทีเดียว ความผิดพลาดในการส่งจะมีน้อยมากแค่ 1ใน10 ล้านบิตต่อการส่ง 1,000ครั้งเท่านั้นและยังป้องกันการรบกวนสัญญาณจากภายนอกโดยสิ้นเชิง

ถึงจะมีประสิทธิภาพจะมีมากแต่ต้องนึกถึงความเหมาะสมด้วยอย่างเช่น

- ราคาของสาย Fiber Optic ,อุปกรณ์ประกอบ ที่มีราคาแพง

- ใช้อุปกรณ์พิเศษในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นคลื่นแสง

มาตรฐาน Internet และ TCP/IP

กระบวนการกำหนดมาตรฐาน Internet

          เนื่องจาก Internet ไม่มีใครหรือองค์กรใดเป็นเจ้าของ ซึ่งผลดีคือ ทำให้ไม่มีต้นทุน ผู้ใช้มีโอกาสใช้บริการได้ในราคาถูก แต่ผลเสียก็คือ หากขาดการควบคุม มาตรฐานก็จะไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันเพราะต่างคนต่างกันพัฒนา จึงกำหนดมาตรฐานโปรโตคอล TCP/IP ของ Internet ขึ้น บริหารงานโดยกลุ่มอาสาสมัครในนาม Internet society (ISOC) โดยตีพิมพ์ในเอกสารที่เรียกว่า Request For Comment (RFC)

ได้กำหนดมาตรฐาน TCP/IP ดังนี้

 7 Layers of OSI Refercnce Model

7 Application  จัดการเกี่ยวกับ Promgrames ต่าง ๆ ที่ใช้ใน Internet เช่น FTP://

6 Presentation จัดการเกี่ยวกับจัดส่งข้อมูล นำเสนอรูปแบบ HTTP://

5 Secsion มาตรฐานการเชื่อมโยงเส้นทางการติดต่อ

4  Transport ทำการแบ่งข้อมูลและทำการส่งมาตรฐาน TCP,UDP

3 Network การทำงานแบบ Router โดยจะเลือกเส้นทางที่สะดวกที่สุด

2 Data Link จัดส่งข้อมูลลักษณะเป็น Frame (ชุดข้อมูล)

1 Physical จัดทำการเกี่ยวกับ H/W

แหล่งที่มา

Mingakamon . ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/kuakaycom/rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr-computer-network

ธนพจน์ บัวบาน . เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/networkofcomputerbytechno/5-phu-cad-tha

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/a/kn.ac.th/kanyavee/pra-yo-chn-khxng-kherux-khay

ศุภกร บุญชัย. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก   https://suppakorn55.wordpress.com/เครือข่ายคอมพิวเตอร์/ข้อดีและประโยชน์ของเคร/

Subnet mask (ซับเน็ตมาร์ค) คืออะไร การแบ่ง IP address ออกเป็นชุดย่อย ๆ . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก  https://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/4112-what-is-subnet-mask.html

Computer Network คืออะไร คอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2221-computer-network-คืออะไร.html

ประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://www.technointrend.com/type-network-computer/

Return to contents


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 7

ตัวเชื่อมโยงเครือข่ายแบบต่าง ๆ

          เครือข่ายต่าง ๆ ล้วนมีข้อจำกัดหลาย ๆ ด้าน เช่น ที่อยู่ ปริมาณข้อมูลที่ถ่านโอน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการแบ่งเครือข่ายย่อย ๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีตัวเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกัน จะมีหลายแบบแบ่งตามหน้าที่การทำงานได้ดังนี้ คือ

Repeater

       คือ ตัวทวนสัญญาณ จุดประสงค์ของตัวทวนสัญญาณคือ ขยายระยะทางการเชื่อมโยงให้ยาวไกลมากยิ่งขึ้น

         เครื่อง A ส่งข้อมูลไปให้เครื่อง B ระยะห่างจากเครื่อง A กับ เครื่อง B ห่างกันมากจึงทำให้เครื่อง B ไม่สามารถรับข้อมูลจากเครื่อง A ได้

         เครื่อง A ส่งข้อมูลไปให้เครื่อง B ระยะห่างจากเครื่อง A กับ เครื่อง B ห่างกันมากจึงนำ Repeater (ตัวทวนสัญญาณ) เพื่อเพิ่มสัญญาณให้แรงขึ้น จึงทำให้เครื่อง B รับข้อมูลได้

Bridge (สะพาน) ทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายในลักษณะคล้ายกับ Repeater แต่มีฟังก์ชันการทำงานมากว่าคือ สามารถพิจารณา MAC Address ที่ประกอบอยู่กับข้อมูลว่าเป็นเครือข่ายย่อยใด

        เมื่อเครื่อง A ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่อง E ซึ่งอยู่คนละเครือข่ายกันโดยทำการเชื่อมโยงโดย Bridge ดังนั้น Bridge จะทำการเช็ค MAC Address ในเครือข่าย ว่าเป็นของเครื่อง E หรือไม่ ถ้าใช่ก็ทำการส่งข้อมูล

Gateway

          ตัวเชื่อมโยงเครือข่ายแบบ Bridge จะเชื่อมโยงเครือข่ายที่มีลักษณะหรือระบบเดียวกัน เช่น Ethernet กับ Ethernet แต่หากว่าเครือข่ายย่อยที่จะเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นคนละแบบ คนละระบบหรือแม้แต่ละโปรโตคอลอุปกรณ์ตัวเชื่อมโยงที่ใช้จะเรียกว่า Gateway

Router

       อุปกรณ์Gatewayพิเศษชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกว่าRouterหรือตัวกำหนดเส้นทาง การทำงานของRouterนอกจากสามารถจะตรวจดู Addressของข้อมูลในระบบโปรโตคอล(Bridge ตรวจในระดับHardware Address)แล้วยังสามารถคัดเลือกเส้นทางที่ควรจะส่งข้อมูลออกไปอีกด้วย

IP Address

การสื่อสารไม่ว่าจะเป็นของคอมพิวเตอร์ หรือของมนุษย์ก็ตาม คือการรับส่ง หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยผ่านสื่อต่างๆ ส่วนประกอบสำคัญของการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันก็คือ ตัวข่าวสารเอง กับ “ที่อยู่”ของผู้รับ

เป็นต้นว่าการส่งจดหมายของคน จะประกอบด้วยข่าวสารคือข้อความในจดหมาย และ “ที่อยู่”ที่จ่าไว้ที่หน้าซองจดหมาย

          สำหรับการสื่อสารของคอมพิวเตอร์ “ที่อยู่”จะขึ้นกับโปรโตคอลที่ใช้ เช่น หากใช้โปรโตคอล NetBEUI หรือ IPX/SPX “ที่อยู่”ที่ใช้คือ NetBIOS Name หรือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง

ส่วนที่อยู่ในโปรโตคอล TCP/IP เรียกว่าIP Address

        IP Address ประกอบด้วย 2ส่วนคือNetwork ID หรือตัวบ่งชี้เครือข่ายกับ HOST ID หรือตัวบ่งชี้เครื่อง เครื่องทุกๆ เครื่องที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันจะต้องมี Network ID เหมือนกันหมดในขณะที่HOST ID จะซ้ำกันไม่ได้เลย

      Network ID จึงเปรียบเสมือน ชื่อถนน ในขณะที่Host Id เปรียบเสมือนเลขที่บ้านนั่นเอง

      HOST หรือเรียกว่าเครื่อง อาจหมายถึงเครื่องแม่ข่าย,เครื่องลูกข่าย, ตัว Router หรืออุปกรณ์อื่นใดก็ตาม ที่สามารถอ้างถึงในเครือข่าย

การทำงานของหมายเลข IP Address

IP Address : 1000 0011 0110 1011 0000 0011 0001 1000

IP Address เป็นตัวเลขฐาน 2 ขนาด 32 bit ซึ่งแน่นอนว่า ไม่สะดวกสำหรับมนุษย์ในการนำมาใช้หรืออ้างถึง จึงมีการแบ่งตัวเลขฐาน 2 เหล่านี้เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 8 bit แล้วแปลงตัวเลข 8 bit ให้เป็นเลขฐานสิบ ซึ่งก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255 เวลาอ่าน Address นี้เป็นเลขฐานสิบ จะมีการคั่นแต่ละจำนวนด้วยจุด การอ่านแบบนี้จึงมีชื่อเรียกว่า dotted decimal notation 

ตัวอย่าง

รูปแบบฐาน2   1000 0011    0110 1011    0000 0011    0001 1000

รูปแบบฐาน10         131    .         107     .          3        .           24  

การแปลงเลขฐาน 2 เป็นฐาน 10

วิธีการแปลงเลขฐาน 2 เป็นฐาน10 ทำได้โดยการนำตัวเลข ( 0หรือ1) ศูนย์กับค่าน้ำหนักประจำหลัก

ค่าน้ำหนักประจำหลักมีสูตรคำนวณว่า 2 จำนวน 8 bit จึงมีค่าดังนี้

หลักที่   8        7        6        5        4        3        2        1

น้ำหนัก 128     64      32      16      8        4        2        1

ดังนั้นเลขฐาน 2 จำนวน 10000011 จึงมีค่าเมื่อแปลงเป็นฐาน 10ดังนี้

(1x128)+(0x64)+(0x32)+(0x16)+(0x8)+(0x4)+(1x2)+(1x1)

=128+2+1

=131

แหล่งที่มา

Mingakamon . ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/kuakaycom/rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr-computer-network

ธนพจน์ บัวบาน . เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/networkofcomputerbytechno/5-phu-cad-tha

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/a/kn.ac.th/kanyavee/pra-yo-chn-khxng-kherux-khay

ศุภกร บุญชัย. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก   https://suppakorn55.wordpress.com/เครือข่ายคอมพิวเตอร์/ข้อดีและประโยชน์ของเคร/

Subnet mask (ซับเน็ตมาร์ค) คืออะไร การแบ่ง IP address ออกเป็นชุดย่อย ๆ . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก  https://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/4112-what-is-subnet-mask.html

Computer Network คืออะไร คอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2221-computer-network-คืออะไร.html

ประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://www.technointrend.com/type-network-computer/

Return to contents


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 8

ชั้นของ Address

เพื่อให้การกำหนดหมายเลข IP Address เป็นไปอย่างมีระเบียบจึงได้มีการแบ่งชั้น (Class) ของ Addressไว้ โดยพิจารณาจากบิตเริ่มต้นบางบิตในแต่ละชั้นซึ่งจะมีการแบ่งส่วนของ Network ID และ Host ID ไว้ชัดเจน

การพิจารณาชั้นของ Address ใช้วิธิพิจารณาจาก 8 บิตแรกของIP Address โดยมีชื่อเรียกแต่ละชั้นว่า ชั้น A, ชั้น B, ชั้น C เป็นต้น

CLASS  A

ชั้น A เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่มีจำนวนเครื่อง (Host) ในเครือข่ายมาก ชั้น A นี้ จะถือว่าเลขฐาน 10 ตัวแรกเป็น Network ID อีก 3 ตัวหลังจะเป็น Host  ID

วิธีการพิจารณาว่า ID ใดเป็นเลข ชั้น A จะดูจากบิตบนสุดของ Address ถ้าบิตนี้เป็น 0 จะถือว่า IP Address อยู่ใน Class A

ตัวอย่าง

          3.1.1.1

เมื่อแปลงเป็นเลขฐานสอง แล้วจะได้

00000011.00000001.00000001.00000001

เมื่อพิจารณาจาก บิตแรกเป็น 0 จะถือว่าเป็น Class A ในตัวเลขในชุดแรกคือ 00000011 จะเป็น Network ID และ ตัวเลข 3 ชุดที่เหลือจะเป็น Host ID  ค่าแต่ละช่วงจะมีค่าระหว่าง 000 0000จนถึง 111 1111 แต่ TCP/IP ขอยกเว้นค่าที่เป็น 0 หมดกับ 1 หมดค่าที่เป็นไปได้จึงอยู่ระหว่าง 000 0001 ขึ้นถึง 111 1110 หรือมีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 126 นั่นเอง ในชั้น A จึงสามารถมีทั้งสิ้น 126 เครือข่ายแต่ละเครือข่ายมีเครื่องได้ราว 17 ล้านเครื่อง

CLASS   B

 การพิจารณา Class B โดย ให้ดูบิตบนสุดต้องเป็น 1 (Class A เป็น 0 ) บิตรองลงมาจะต้องเป็น 0 เสมอ ทำให้ค่าที่เป็นไปได้สำหรับฐานสิบหลักแรกจะเป็น

          1000 0000 หรือ 128  จนถึง

          1011 1111 หรือ 191

ในชั้นนี้ 2 หลักแรกเป็น Network  ID และ 2 หลักหลังเป็น HOST ID

ถ้า IP Address = 1000 1001 . 1100 1001 . 1001 1000 . 0001 0111

เลขฐานสิบ      =       137     .       201      .         152    .        23

Network ID = 137 . 201

HOST ID = 152 . 23

ตัวอย่าง

IP Address = 189 . 145 . 243 . 212

เลขฐานสอง = 10111101 . 10010001 . 11110011 . 11010100

ใน Class มีจำนวนเครือข่ายได้ 16,384 เครือข่าย และมีจำนวนเครื่องต่อเครือข่ายได้ราว 65,000 ตัว

Class C

Class C พิจารณาจากสามบิตบนสุดจะต้องเป็น 110 หลักแรกสุดจึงสามารถมีค่าได้ตั้งแต่

          1100 0000 หรือ 192 จนถึง

          1101 1111 หรือ 223

ใน Class นี้ 3 หลักแรกเป็น NetWork ID และ หลักสุดท้ายเป็น HOST ID

IP Address = 1101 1111 . 0001 1010 . 1000 1011 . 0101 1100

เลขฐานสิบ =       223      .       26        .        139     .        92

Network ID = 223 . 26 . 139

HOST ID = 92

จำนวนเครือข่ายที่มีได้คือประมาณ 2  ล้านเครือข่ายโดยมีจำนวนเครื่อง 254 เครื่องต่อ 1 เครือข่าย

ตารางสรุป Class ของ IP Address

Class   จำนวนเครือข่าย จำนวนเครื่อง     ค่าของหลักแรก

A        126     16,777,214     1 ถึง 126

B        16,384 65,534 128 ถึง 191

C        2,097,152       254     192 ถึง 223

D        224 ถึง 239

E        240 ถึง 255

หมายเหตุ

Class D และ Class E มีไว้เพื่อรองรับระบบเครือข่ายในอนาคต

แนวทางการกำหนด  Address

          หากเครือข่ายของเราไม่ได้เชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ตหมายเลข IP Address จะกำหนดเป็นค่าอะไรก็ได้ แต่หากจะเชื่อมโยงเข้า Internet จะต้องขอหมายเลขจากองค์กร InterNIC กฎเกณฑ์การตั้งหมายเลข IP มีดังนี้คือ

          -หลักแรกสุดของ Network ID เป็น 127 ไม่ได้ ค่า 127 นี้ใช้เพื่อการตรวจซ่อมระบบ

          -ค่า Network ID และค่า HOST ID จะเป็น 1 ทั้งหมดไม่ได้

          -ค่า Network ID และค่า HOST ID จะเป็น 0 ทั้งหมดไม่ได้

          -ค่า HOST ID หรือ หมายเลข IP แต่ละเครื่องในเครือข่ายจะซ้ำกันไม่ได้

แบบฝึกหัด

จงทำการหาค่า IP Address ดังต่อไปนี้ว่าอยู่ Class ใด จำนวน Network ID และจำนวน Host ID และให้แสดงวิธีทำแปลงเลขฐาน โดยละเอียด

1100 1110 . 0010 1110 . 1101 0011 . 1101 1101

1010 1100 . 0101 0101 . 1101 0010 . 1110 1101

1010 0001 . 1101 0011 . 1110 0101 . 1010 0100

1001 0011 . 0010 0011 . 0011 0101 . 0101 0101

210 . 78 . 126 . 123

220 . 11 .  178  . 187

192 . 182 . 124 . 123

10 . 113 .  189 . 221

เฉลย

206 . 46 . 211 . 221

อยู่ใน Class C 

Network ID = 2,097,152

Host ID = 254

172 . 85 . 210 . 237

161 . 211 . 229 . 164

147 . 35 . 53 . 85

1101 0010 . 0100 1110 . 0111 1110 . 0111 1011

อยู่ใน Class C 

Network ID = 2,097,152

Host ID = 254

1101 1100 . 0000 1011 . 1011 0010 . 1011 1011

1100 0000 . 1011 0110 . 0111 1100 . 0111 1011

0000 1010 . 0111 0001 . 1011 1101 . 1101 1101

ตัวอย่างการกำหนด IP Address

- เครือข่ายที่ 1  เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่มาก จึงวางตำแหน่งไว้ใน Class A หมายเลขหลักแรกที่กำหนดเป็น 121 (อยู่ระหว่าง 1-126)

ค่า HOST ID ของเครื่องที่อยู่ใน Network 1 สามารถมีค่าได้ตั้งแต่ 0.0.1 ถึง 225.255.254

ตัวอย่างของ IP Address ของเครื่องในเครือข่าย 1  ก็คือ 121.0.0.27,121.255.203.1 เป็นต้น

เครือข่าย 2 เป็นเครือข่ายขนาดเล็กใช้เพื่อช่วยการเชื่อมโยงเท่านั้นเราจึงกำหนดให้อยู่ใน Class B โดยมีเลขหลักแรกเป็น 192 ค่า Network ID ที่เป็นไปได้ก็คือ 192.0.0.Z จนถึง192.255.255.Z สมมติว่าเราเลือกให้เป็น 192.121.73.Z

ส่วนค่า HOST ID ที่เป็นไปได้สำหรับเครือข่ายนี้คือ 1 ถึง 254 ตัวอย่างของ IP Address ในเครือข่าย 2 คือ 192.121.73.1

-  เครือข่าย 3 เป็นเครือข่ายขนาดกลางสมมติให้อยู่ใน class B โดยสมมติให้หลักแรกเป็น 131 กำหนด Network 131.107 เครื่องที่อยู่ในเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย 3 จะเป็น 131.107.0.1 เป็นต้น

แหล่งที่มา

Mingakamon . ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/kuakaycom/rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr-computer-network

ธนพจน์ บัวบาน . เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/networkofcomputerbytechno/5-phu-cad-tha

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/a/kn.ac.th/kanyavee/pra-yo-chn-khxng-kherux-khay

ศุภกร บุญชัย. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก   https://suppakorn55.wordpress.com/เครือข่ายคอมพิวเตอร์/ข้อดีและประโยชน์ของเคร/

Subnet mask (ซับเน็ตมาร์ค) คืออะไร การแบ่ง IP address ออกเป็นชุดย่อย ๆ . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก  https://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/4112-what-is-subnet-mask.html

Computer Network คืออะไร คอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2221-computer-network-คืออะไร.html

ประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://www.technointrend.com/type-network-computer/

Return to contents


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 9

Subnet Mask

        ค่าที่จำเป็นในการตั้ง IP Address อีกค่าหนึ่งคือ Subnet Mask ซึ่งเป็นค่าเลขฐาน 2 จำนวน 32 Bit เท่ากับ IP Address ธรรมดาใช้เพื่อกรองส่วนของ Network ID ออกจาก IP Address การกรองเปรียบเหมือนกับการสวม “หน้ากาก" เพื่อมองเฉพาะส่วน Network ID ว่าเพื่อเช็คว่าอยู่ใน class ไหน

          Subnet mask เป็น Parameter (พารามิเตอร์) อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข IP Address (ไอพีแอดเดรท) หน้าที่ของ Subnet mask ก็คือ การช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address (ไอพี แอดเดรท) เป็น Network Address (เน็ตเวิร์ก แอดเดรท) และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address (โฮด แอดเดรท) ดังนั้น จะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เราจำเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้ง

     การแบ่ง Subnet คือ การแบ่ง IP address ออกเป็นชุดย่อย ๆ ทำให้ Network IP (เน็ตเวิร์ก ไอพี) เพิ่มขึ้น แต่ IP address ลดลง

Default Subnet mask ของแต่ล่ะ Class ดั้งนี้

          ค่า Default Subnet Mask

ค่า Subnet Mask มาตรฐานสำหรับแต่ละ Class ได้กำหนดไว้ตายตัวดังในตาราง

Class   Subnet Mask

A        255.0.0.0

B        255.255.0.0

C        255.255.255.0

โปรดสังเกตว่าค่า 255 นี้คือค่า 1111  1111  ในเลขฐาน 2 นั่นเอง

ตัวอย่าง

IP Address = 1100 0000 . 1010 1000 . 1001 0001 . 0100 0001

Mask          = 1111 1111 . 1111 1111 . 1111 1111 . 0000 0000

                   = 1100 0000 . 1010 1000 . 1001 0001 . 0000 0000

เลขฐาน 10 = 192 . 168 . 145 . 0   Class C

สูตร  1 and 1 = 1

          นอกนั้น = 0

ตัวอย่าง

ขั้นตอนแรกก็พิจารณาว่าอยู่ใน Class ใด

หมายเลข IP Address อยู่ใน Class A

IP Address = 0011 0000 . 1010 1000 . 1001 0001 . 0100 0001

Mask          = 1111 1111 . 0000 0000 . 0000 0000 . 0000 0000

                     = 0011 0000 . 0000 0000 . 0000 0000 . 0000 0000

แบบฝึกหัด

ให้นักศึกษาทำการหาค่าดังต่อไปนี้ว่าอยู่ใน Class ใด และทำการหาค่า Subnet Mask โดยทำการกรองหาค่า Network ID ว่ามีเท่าไร และแปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ว่าเป็นหมายเลข IP Address อะไร

1000 1100 . 1100 0011 . 0000 1100 . 0011 0011

1010 0011 . 1100 0010 . 1001 0010 . 1101 1101

1100 1101 . 1111 0000 . 1100 0011 . 1101 1111

1110 1101 . 1101 0010 . 1110 0001 . 0001 0001

1111 0001 . 0011 0011 . 1101 0010 . 1100 0011

1101 0010 . 0110 0011 . 0010 0011 . 1100 1100

เฉลย

1) 1000 1100 . 1100 0011 . 0000 1100 . 0011 0011

หมายเลข IP Address อยู่ใน Class B

IP Adress       = 1000 1100 . 1100 0011 . 0000 1100 . 0011 0011

Subnet Mask  = 1111 1111 . 1111 1111 . 0000 0000 . 0000 0000

                       = 1000 1100 . 1100 0011 . 0000 0000 . 0000 0000

                        = 140 . 195 . 0 . 0

2) หมายเลข IP Address อยู่ใน Class B

          163 . 194 . 0 .0

3) หมายเลข IP Address อยู่ใน Class C

          205 . 240 . 195 . 0

4) หมายเลข IP Address อยู่ใน Class D

          237 . 210 . 225 . 0

5) หมายเลข IP Address อยู่ใน Class E

          241 . 51 . 210 . 0

6) หมายเลข IP Address อยู่ใน Class C

          210 . 99 . 35 . 0

แหล่งที่มา

Mingakamon . ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/kuakaycom/rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr-computer-network

ธนพจน์ บัวบาน . เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network). สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/site/networkofcomputerbytechno/5-phu-cad-tha

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://sites.google.com/a/kn.ac.th/kanyavee/pra-yo-chn-khxng-kherux-khay

ศุภกร บุญชัย. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก   https://suppakorn55.wordpress.com/เครือข่ายคอมพิวเตอร์/ข้อดีและประโยชน์ของเคร/

Subnet mask (ซับเน็ตมาร์ค) คืออะไร การแบ่ง IP address ออกเป็นชุดย่อย ๆ . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก  https://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/4112-what-is-subnet-mask.html

Computer Network คืออะไร คอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2221-computer-network-คืออะไร.html

ประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://www.technointrend.com/type-network-computer/

Return to contents