นักเรียน มี หลักการ พิจารณา สื่อโฆษณา เพื่อ การเลือกบริโภค อย่าง ปลอดภัย อย่างไร

ชื่อเรื่อง สื่อโฆษณากับการบริโภค รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

จัดทำโดย
1. นางสาวจินต์จุฑา     สุวประพันธ์     เลขที่ 2
2. นางสาวพิชญาภา    เสงี่ยมพักตร์   เลขที่ 5
3. นายพสิษฐ์                สัจจมุกดา      เลขที่ 15  
4. นายศุภณัฐ                วัชรขจร         เลขที่ 23

นักเรียน มี หลักการ พิจารณา สื่อโฆษณา เพื่อ การเลือกบริโภค อย่าง ปลอดภัย อย่างไร

สื่อโฆษณากับการบริโภค

 ในโลกของการสื่อสารพบว่า สื่อโฆษณา เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต ประจำวันของคนในสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการจูงใจให้ผู้บริโภค

ความหมายและประเภทของสื่อโฆษณา

สื่อโฆษณา หมายถึงเครื่องมือทางการตลาดที่ผู้ประกอบธุรกิจใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์

1.ประเภท สื่อโฆษณา

1.การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

2.การโฆษณาผ่านหนังสื่อพิมพ์

5.โฆษณาโดยใช้สมุดโทรศัพท์

6.จัดแสดงสินค้า

นักเรียน มี หลักการ พิจารณา สื่อโฆษณา เพื่อ การเลือกบริโภค อย่าง ปลอดภัย อย่างไร

http://www.childmedia.net/media-literacy/howtomedia/


2.อิทธิพลของสื่อโฆษณา

การโฆษณามีวัตถุประสงค์เพื่อ ขายสินค้าหรือบริการให้มากที่สุด คุณภาพที่กำหนด  ดังนั้นไม่ควรหลงเชื่อกับคำโฆษณาโดยง่าย  ควรวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูลจากสื่อโฆษณาสินค้าให้รอบคอบเสียก่อนที่จะตัดสินใจซื้อทุกครั้ง  สื่อโฆษณาจึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคหรือใช้บริการของผู้บริโภคเป็นอย่างมากเพราะจากผลการวิจัยหรือผลการสำรวจข้อมูลในเรื่อองดังกล่าวในหลายๆสถาบันได้ข้อมูลที่ตรงกันว่า “ อิทธิพลของสื่อโฆษณามีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทุกๆกลุ่มคน  ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการศึกษา อาชีพและรายได้  โดยเฉพาะการตัดสินใจซื้อสินค้าของเพศหญิงซึ่งมีมากกว่าเพศชาย ”

สื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อผู้บริโภคสำคัญ  ดังนี้

1.สร้างความเข้าใจในคุณสมบัติของสินค้าและบริการที่ต้องให้ผู้บริโภคต้องการทราบ  เพราะเมื่อสื่อโฆษณาใดให้ข้อมูลของสินค้าได้ตรงกับความสนใจของผู้บริโภคที่มีอยู่แล้วย่อมให้เกิดแรงจูงใจการซื้อสินค้าง่าย

2.สร้างแรงกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการอยากทดลองใช้  เช่น  การโฆษณาโดยใช้กลยุทธ์การลดแลก แจก หรือแถม  จากที่ผู้บริโภคไม่เคยทดลองใช้  เพราะสินค้าดังกล่าวนั้นมีราคาถูกหรือเป็นของแถมที่ได้มาฟรี

3.สร้างความภูมิใจในสินค้าและบริการ  โฆษณาของผู้ผลิตมักนำบุคคลสำคัญและเป็นที่ยอมรับในสังคมมาเป็นแบบในโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความภาคภูมิใจ เมื่อได้ใช้สินค้าและบริการชนิดเดียวกับที่บุคคลสำคัญใช้

4.สร้างความตอกย้ำความทรงจำของผู้บริโภค  ทำให้เกิดการซื้อสินค้าซ้ำอีกครั้ง  ซึ่งการโฆษณาบ่อยๆครั้งทำให้ผู้บริโภคที่เคยใช้สินค้าของตนเองแล้วได้กลับมาซื้อสินค้านั้นอีกรอบ

5.สร้างแรงจูงใจให้เกิดความสนใจที่จะซื้อสินค้าและบริการ  โดยโฆษณาจะชี้แจงให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจว่า เมื่อใช้สินค้าและบริการแล้วจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลดี  เกิดความสวยงามเกิดความสะดวกสบาย  หรือแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคได้อย่างไร

สื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อการเลือกบริโภค

          การโฆษณาที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ จะมีการนำเสนอตามกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม

1.      กลุ่มผู้บริโภคตามเศรษฐกิจและสังคม เช่น ตามเพศ ตามระดับการศึกษา ตามวัย

2.      กลุ่มผู้บริโภคตามด้านจิตวิทยาและสังคม เช่น ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจซื้อสินค้าที่มีราคาสูง คุณภาพดี ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจเลือกซื้อสินค้าคุณภาพปานกลางราคาถูก

3.      กลุ่มผู้บริโภคที่ใช้สินค้านั้นเป็นประจำ


กลไกของการโฆษณาชักจูง

ผู้บริโภคควรมีความรู้เกี่ยวกับกลไกของการโฆษณาชักจูง และนำมาวิเคราะห์ ไตร่ตรองไม่ให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการโฆษณา ดังนี้

1.      การโฆษณาเป็นการกระตุ้นความต้องการของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความต้องการไม่สิ้นสุด การโฆษณาเปรียบเสมือนแรงในการกระตุ้นความต้องการมากขึ้น โดยสร้างจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความอ่อนไหว เชื่อว่าสินค้านั้นดีที่สุดเหมาะสมกับตนเองจนอาจไม่คำนึงถึงราคาและความจำเป็น

2.      การโฆษณาเป็นการป้อนข้อมูล มนุษย์สามารถรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน ดังนั้น การโฆษณาจึงชักจูงให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อและจดจำง่าย ดังเช่นการติดตั้งป้ายโฆษณาให้เห็นง่าย คำที่ใช้โฆษณาง่ายๆ สั้น ๆ ทำให้จำได้ง่าย

3.      การโฆษณาเป็นการกระตุ้นให้ยอมรับผ่านกลุ่มต่าง ๆ จนผู้บริโภคมักจะเกิดแนวคิดความเชื่อตามกลุ่มสังคม การพูดจาหว่านล้อมจากบุคคลใกล้ชิด

กลไกการโฆษณาที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นวิธีที่จะทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการโฆษณาทั้งสิ้น ดังนั้นผู้บริโภคต้องมีหลักในการเลือกบริโภคที่ฉลาด เพื่อไม่ให้ตกเป็นทาสของการบริโภคที่ผิด ๆ

ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าและบริการ

          ผู้บริโภค ควรเก็บรักษาหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึงการถูกละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้เรียกร้องสิทธิของตนเอง เช่น สินค้าที่แสดงว่ามีปริมาณหรือคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุไว้ หรือเกิดความสกปรก มีสิ่งแปลกปลอมปน มีพิษภัยก่อเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ควรจำสถานที่ซื้อหรือเก็บใบเสร็จรับเงิน เก็บเอกสาร การโฆษณาไว้เพื่อประกอบการร้องเรียน เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการดำเนินการร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากำกับดูแลหรือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น

นักเรียน มี หลักการ พิจารณา สื่อโฆษณา เพื่อ การเลือกบริโภค อย่าง ปลอดภัย อย่างไร

3. หลักการพิจารณาสื่อโฆษณาเพื่อการเลือกบริโภค

            เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในการรับข้อมูลจากสื่อโฆษณาที่ถูกต้อง  ควรยึดหลักพิจารณาข้อความโฆษณาสินค้าและบริการทุกประเภท  ว่าต้องมีลักษณะสอดคล้องและเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา พ.ศ. 2552 มาตรา 22 ดังนี้ คือ  การโฆษณาจะต้องไม่มีข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมโดยส่วนรวม  ทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด  สภาพคุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ  ตลอดจนการส่งมอบ  การจัดหา  หรือการใช้สินค้าหรือบริการ

ข้อความโฆษณาต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมดาต่อผู้บริโภค  หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมโดยส่วนรวม ได้แก่                                                                                                                                                     ข้อความเท็จ/เกินจริง และ ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด

-ข้อความที่ผิดกฎ กระทรวงเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ

-ข้อความที่ทำให้เกิดการแตกแยก

-ข้อความสนับสนุนให้กระทำผิดกฎหมาย/ศีลธรรม/วัฒนธรรม

แหล่งที่มา

อุทัย สงวนพงศ์ และคณะ. 2551. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา

และพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

http://suchwadee.blogspot.com/2011/11/blog-post_14.html

นักเรียน มี หลักการ พิจารณา สื่อโฆษณา เพื่อ การเลือกบริโภค อย่าง ปลอดภัย อย่างไร


หลักการพิจารณาสื่อโฆษณาเพื่อการเลือกบริโภคมีอะไรบ้าง

ผู้บริโภคสื่อควรมีทักษะในการเลือกสื่อโฆษณาโดยการพิจารณาด้วยความเป็นเหตุเป็นผล และ ความเป็นไปได้โดยอู่บนพื้นฐานของความจริงและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไม่หลงเชื่อโฆษณาชวนเชื่อที่ใช้ ข้อความเกินความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น โรลออนนี้ใช้แล้วสวาๆ กรี๊ดเพราะความหอมของกลิ่นกาย ใช้ครีบ ยี่ห้อนี้ผิวขาวสวยภายใน 7 วัน เป็นต้น เพราะข้อความ ...

นักเรียนสามารถป้องกันอันตรายจากสื่อโฆษณาเพื่อการบริโภคได้อย่างไรบ้าง

1.เมื่อมีปัญหาเรื่องสุขภาพ หรือปัญหาชีวิตควรปรึกษาพ่อแม่ ครู หรือเพื่อน 2.ก่อนตัดสินใจเชื่อตามโฆษณา ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงและหาข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าเชื่อถือหรือไม่ 3. หลีกเลี่ยงการซื้อหรืออ่านสื่อที่ไม่ปลอดภัยนั้น ควรใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อ

นักเรียน มีหลักการพิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างไร

2.สิ่งที่ควรคำนึงก่อนเลือกซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพทุกชนิด ควรศึกษาฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง อย่างน้อยต้องมีฉลากภาษาไทย ชื่อของผลิตภัณฑ์และที่ตั้งของผู้ผลิต หรือ ผู้แทนจำหน่าย วันเดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุ สำหรับผลิตภัณฑ์บางชนิดจะมีการแสดงส่วนประกอบหรือตำหรับ วิธีบริโภค ข้อควรระวังในการใช้หรือข้อจำเพราะอื่น ของ ...

นักเรียนคิดว่าสื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อผู้บริโภคหรือไม่อย่างไร

สื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อผู้บริโภคสำคัญ ดังนี้ 1.สร้างความเข้าใจในคุณสมบัติของสินค้าและบริการที่ต้องให้ผู้บริโภคต้องการทราบ เพราะเมื่อสื่อโฆษณาใดให้ข้อมูลของสินค้าได้ตรงกับความสนใจของผู้บริโภคที่มีอยู่แล้วย่อมให้เกิดแรงจูงใจการซื้อสินค้าง่าย