สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างความเข้มแข็งให้กรุงศรีอยุธยาด้วยวิธีใด


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างความเข้มแข็งให้กรุงศรีอยุธยาด้วยวิธีใด

      
          สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นโอรสของพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิกษัตริย์ตรี ซึ่งทรงเป็นพระราชธิดาของพระมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นหลานยายของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ผู้เสียพระชนชีพบนคอช้างในสงครามหงษาวดีนั้น พระองค์ประสูติเมื่อปีเถาะ พ.ศ.2098 ที่เมืองพิษณุโลก เพราะพระราชบิดาทรงครองเมืองเหนืออยู่เวลานั้นถึงพ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนอง เมืองหงษาวดีกษัตริย์พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา คราวขอช้างเผือกชนะเมืองเหนือ แล้วขอเอาสมเด็จพระนเรศวรไปเป็นราชบุตรบุญธรรม เมื่อพระชันษาได้ 9 พรรษา พระองค์ต้องอยู่ในกรุงหงษาวดีถึง 6 ปี จึงทรงตรัสภาษาพม่า มอญได้เป็นอย่างดีครั้นถึงพ. ศ. 2112 พระมหินทราธิราชกรุงศรีอยุธยา กับพระมหาธรรมราชาเมืองพิษณุโลก เกิดวิวาทกันขึ้นพระเจ้าบุเรงนองจึงยกทัพมาช่วยพระมหาธรรมราชา เมื่อชนะพระมหินทราธิราชแล้วก็ราชาภิเษกให้พระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยา เวลาที่พระเจ้าบุเรงนองพักอยู่จัดการปกครองในกรุงศรีอยุธยาครั้งนี้ได้ขอพระสุพรรณกัลยาณี พระธิดาองค์ใหญ่ของพระมหาธรรมราชาเป็นพระชายาแล้วจึงได้อนุญาตให้สมเด็จกลับมาช่วยราชการพระบิดาในกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่นั้นมาทรงมีพระชันษาได้ 15 พรรษา เสด็จกลับมาประทับเมืองไทยพระองค์ทรงทราบเหตุการณ์ในระหว่างเมืองไทย และหงษาวดีอยู่อย่างถี่ถ้วน ปรากฎต่อมาว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นนักรบที่เข้มแข็ง เช่น ตอนพระยาจีนจันตุหนีก็ดี พระยาละแวกกรุงกัมพูชายกทัพมากวาดต้อนผู้คนก็ดี พระองค์ก็เสด็จไปปราบได้ราบคาบทุกครั้ง ครั้งพระเจ้าบุเรงนองทิวงคตแล้ว พระเจ้านันทบุเรงราชโอรสได้ครองเมืองแทน เกิดวิวาทกับพระเจ้าอังวะ และพม่าไทยใหญ่ แล้วมีคำสั่งให้พระเจ้าแปรพระเจ้าตองอู พระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้าล้านช้างและพระเจ้ากรุงศรีอยุธยายกกองทัพไปช่วยรบ เพื่อจะดูทีว่าจะเป็นมิตรหรือศัตรู พระเจ้านันทบุเรงระแวงสมเด็จพระนเรศวรอยู่ว่าจะแข็งเมือง เช่นเดียวกับพระเจ้าอังวะ จึงสั่งให้พระมหาอุปราชา คอยอยู่ในหงษาวดี แล้วให้คิดกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสีย ทางฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรก็มีพระประสงค์อยู่ธรรมดาที่จะกลับเป็นอิสระจึงเดินทัพไปช่วยอย่างช้า เพื่อดูว่าใครจะแพ้ใครจะชนะต่อกัน เสด็จไปถึงเมืองแครงชายแดนเมืองมอญ เมื่อเดือน 6 ขึ้น 1 ค่ำ พ.ศ.2127 เมื่อทรงพักผ่อนแล้วก็เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถระคันฉ่องที่ได้ทรงคุ้นเคยกันมาก่อน พระมหาเถระคันฉ่องนั้นมีน้ำใจสงสารจึงกราบทูลให้ทรงทราบว่า เขาลวงให้เสด็จมาเพื่อจะทำร้ายแล้วให้พระยาเกรียรติ พระยารามผู้ได้รับคำสั่งมาลอบปลงพระชนม์นั้น ให้รับสารภาพตามความจริง สมเด้จพระนเรศวร จึงทรงเรียกประชุมนายทัพนายกองเจ้าเมืองกรมการ และนิมนต์พระสงฆ์มาเป็นสักขีพยานที่พลับพลา แล้วทรงน้ำจากพระน้ำเต้าทองคำประกาศ แก่เทพยาดาฟ้าดินว่า “ตั้งแต่วันนี้ไปกรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงษาวดีแล้ว” โปรดให้พวกมอญที่มาเข้ากับไทยช่วยกันแยกย้ายไปตามพวกไทยที่ถูกพระเจ้าหงษาวดีจับมาเป็นเชลยแต่ครั้งก่อนๆได้ประมาณหมื่นเศษแล้วทรงพาพวกไทยและมอญเหล่านี้รวมทั้งพระมหาเถระคันฉ่องพระยาเกียรติพระยาราม ออกจากเมืองแครง เมื่อเดือน 6 แรม 3 ค่ำ ปีพ.ศ.2127 กลับมาเมืองไทยทางแม่น้ำสะโตงและเข้าเมืองไทยทางด่านเจดีย์สามองค์ ตั้งแต่นั้นมา พระเจ้านันทบุเรงก็ตั้งพระทัยจะปราบเมืองไทยเป็นตัวอย่างให้อยู่ในอำนาจเช่นแต่ครั้งพระเจ้านันทบุเรงนอง ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าผู้ชนะสิบทิศให้จงได้ แต่ยกทัพมาครั้งใดก็ถูกพระนเรศวรตีแตกด้วยพระหัตถ์กลับไปทุกครั้ง ถึงพ.ศ.2135 พระเจ้าหงษาวดีนันทบุเรงทรงทราบข่าวว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรได้ครองราชสมบัติพระองค์จึงทรงตรัสปรึกษาขุนนางทั้งปวงว่า “กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ พระพี่น้องทั้งสองอาจรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่กัน ควรส่งทัพไปเมืองไทยเป็นการเตือนสงครามเอาเปรียบไว้ก่อน ถ้าเหตุการเมืองไทยไม่ปกติสุขก็ให้โจมตีทันที” ขุนนางทั้งหลายก็เห็นชอบตามพระราชดำรินั้น พระเจ้าหงษาวดีจึงทรงตัดแก่พระมหาอุปราชาให้เตรียมทัพร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ห้าแสน พระมหาอุปราชากราบทูลพระราชบิดาว่า “โหรทายว่าชันษาของพระองค์ร้ายนัก” สมเด็จพระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า”พระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีโอรส ล้วนเชี่ยวชาญกล้าหาญในการศึกมิเคยย่อท้อการสงคราม ไม่เคยรอให้พระราชาบิดาใช้เลยต้องห้ามเสียอีก และซึ่งเจ้าว่ากลัวเคราะห์นั้นอย่าไปรบเลยเอาผ้าสตรีมานุ่งเสียจะได้สิ้นเคราะห์ “ พระมหาอุปราชาได้ฟังรับสั่งดังนั้นก็อับอายขุนนางทั้งปวง และหวาดกลัวพระราชอาญาของพระบิดายิ่งนัก ก็ตรวจเตรียมลี้พลและมีพระราชกำหนดไปถึงเมืองเชียงใหม่ให้จัดทัพทั้ง 4 เหล่ายกมาหงษาวดี นอกจากนี้ยังรับสั่งให้บรรดาหัวเมืองขึ้นทั้งมวลส่งทัพมาช่วยรบ เมิ่อทัพต่างๆมาถึงหงษาวดีพร้อมกันแล้วก็เตรียมจัดทัพหลวงเพื่อจะยกไปในเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น เสร็จแล้วพระองค์เสด็จเข้าตำหนักด้วยพระทัยโศกเศร้าจนหมดสง่าราศรี พระมหาอุปราชารับสั่งลาพระสนมเพื่อไปทำศึกและตรัสปลอบพระสนมว่า”พระองค์จำใจจากไปขออย่าให้นางโศกเศร้าคร่ำครวญเพราะพระองค์จะรีบกลับ”พอพระสนมได้ฟังรับสั่งดังนั้น ต่างพากันร้องไห้รำพัน และขอตามเสด็จด้วยเป็นเหตุให้พระมหาอุปราชาเร่าร้อนพระทัยยิ่งขึ้นและคิดที่จะขัดพระบรมราชโองการของบิดา แต่ด้วยความเกรงกลัวต่อพระราชอาญาจึงฝืนความโสกตรัสห้ามพระสนมว่า” การเดินทางไปในป่าเขาเป็นการลำบาก จะเป็นการกังวลจนทำให้พระองค์อาจรบพุ่งไม่ถนัด” กว่าจะตรัสปลอบโยนและสั่งเสียพระสนมเสร็จก็เป็นเวลาใกล้รุ่งพอดี พระมหาอุปราชาทรงรับพระพร และพระบรมราโชวาทจากพระบิดาแล้วก็ทูลลาเสด็จไปทรงพระคชาธารชื่อ พัทธกอ ทรงเคลื่อนทัพซึ่งมีรี้พลห้าแสนพร้อมด้วยเหล่าช้างม้าคนเดินเท้า พาหนะต่างๆเกวียน และอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ พอถึงประตูเมืองผ่านโขนทวาร (คือ ประตูป่าซึ่งจัดสร้างขึ้นเพื่อให้ทหารรอดผ่าน) รับประพรมน้ำมนต์จากพราหมณ์ และพระภิกษุหนึ่งซึ่งนั่งอยู่บนร้านสูง สองข้างประตู

เส้นทางการเดินทัพขอพระมหาอุปราชา

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างความเข้มแข็งให้กรุงศรีอยุธยาด้วยวิธีใด

          พระมหาอุปราชาทรงนำทัพผ่าป่าและเขามาอย่างช้าๆเดินทางเฉพาะเวลาเช้า และเวลาเย็น พอแดดร้อนก็พักเพื่อให้รี้พล ช้าง ม้า ร่าเริงและกล้าหาญ เมืองและตำบล ที่ทัพพระมหาอุปราชาฝ่ามาเรียงตามลำดับดังนี้ 
    1. หงษาวดี
    2. ด่านเจดีย์สามองค์เริ่มเข้าเขตไทย ปัจจุบันอยู่อำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรีห่างจากตัวอำเภอประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นช่องทางติดต่อระหว่างมอญกับไทย เจดีย์องค์หนึ่งอยู่นเขตมอญ อีก 2 องค์อยู่ในเขตไทย เดิมคงเป็นกองหินเป็นรูปเจดีย์จริงในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    3. ตำบลไทรโยค รับสั่งให้ตั้งค่ายทรงปรึกษาแผนการที่จะเข้าตีเมืองกาญจนบุรี
    4. ลำน้ำกระเพิน พระยาจิตตองคุมพลสร้างสะพานเชือก
    5. เมืองกาญจนบุรี ประทับแรม 1 คืน
    6. ตำบลตระพังตรุ จังหวัดกาญจนบุรี ทรงตั้งค่ายเป็นแบบดาวล้อมเดือนตรงชัยภูมินาคนาม
    7. ตำบลโคกเผาข้าว จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ปะทะกับหัวหน้าของไทย เวลาประมาณ 7 นาฬิกา

พระนเรศวรทรงเตรียมทัพ
        เมื่อทรงทราบข่าวศึก สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสว่า พระองค์เตรียมช้างม้า รี้พลจะยกไปตีเมืองละแวก บัดนี้ทัพหงษาวดียกมาชิงรบก่อน ควรที่จะยกไปต่อสู้เพื่อชิงชัยชนะและมีพระราชกำหนดออกไปให้พระอัมรินทร์ลือชัย เจ้าเมืองราชบุรีเกณฑ์พลห้าร้อยไปตั้งซุ้มอยู่ ถ้าข้าศึกข้ามสะพานลำน้ำกระเพินแล้วให้ตีดสะพานเชือกและเอาไฟเผาทำลายเสีย เมื่อรับสั่งดังนั้นมินานก็มีใบบอกจากเมืองสิงห์บุรี สรรค์บุรี สุพรรณบุรี และวิเศษไชยชาญ แจ้งข่าวศึกมาตามลำดับ
       สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงปรึกษาการศึกกับขุนนางผู้ใหญ่ว่าจะออกไปรบนอกกรุงหรือตั้งรับอยู่ในกรุงดี ขุนนางกราบทูลให้ออกไปรบนอกเมือง เมื่อทรงสดับคำกราบทูลชอบพระะทัยนัก ตรัสว่าความคิดของขุนนางทั้งปวงต้องกับพระราชดำริของพระองค์ แล้วมีพระราชโองการให้ทัพหัวเมือง ตรี จัตวา หัวเมืองปักใต้ 23 หัวเมืองรวมรี้พลห้าหมื่นเป็นทัพหน้าให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพ พระราชฤทธานนท์ เป็นปลัดทัพยกไปขัดรับหน้าข้าศึกอยู่ ณ ตำบลหนองสาหร่าย ตีข้าศึกไม่แตกและต้านทานไม่ไหว พระองค์จะเสด็จยกทัพมาช่วยรบตามหลัง แม่ทัพทั้งสองกราบบังคมลาไปตั้งค่ายตรงชัยภูมิสีหนามอยู่ที่ตำบลหนองสาหร่าย ตามพระราชบัญชา 
        สมเสด็จพระนเรศวรตรัสให้โหราฤกษ์ พระโหราธิบดีหลวงญาณโยค และหลวงโลกทีปคำนวณพระฤกษ์ถวายว่า”สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้จตุรงค์โชคอาจปราบข้าศึกให้แพ้สงครามไป”ขอเชิญเสด็จยกทัพออกจากพระนคร ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ เวลา 08.30 น. เมื่อได้มงคลฤกษ์ทรงเคลื่อนพยุหยาตราเข้าโขลนทวาร พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่กองทัพ เสด็จทางชลมารคไปประทัพแรมอยู่ที่ตำบลปากโมก

สมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบินเป็นศุภมิตครั้งแรก
        เมื่อประทับที่ปากโมก สมเด็จพระนเรศวรทรงปรึกษาการศึกอยู่กับขุนนางผู้ใหญ่จนยามที่สามจึงเสด็จเข้าที่บรรทม ครั้นเวลา 04.00 น. พระองค์ทรงสุบินเป็นศุภนิมิตเรื่องราวพระสุบินของสมเด็จพระนเรศวร มีว่า พระองค์ได้ทอดพระเนตร น้ำไหลป่าท่วมป่าทุ่งสูงทางทิศตะวันตกเป็นแนวยาวสุดสายตา พระองค์ทรงลุยกระแสน้ำอันเชี่ยวและกว้างใหญ่นั้น และมีจระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งทะยานเข้าโถมปะถทะและจะกัดพระองค์จึงเกิดต่อสู้กันขึ้น พระองค์ทรงใช้พระแสงดาบฟันถูกจระเข้ตาย ทันใดนั้นสายน้ำก็เหือดแห้งไป เมื่อพระองค์ตกพระทัยตื่นบรรทม สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนิมิตทันที พระโหราธิบดีกราบถวายพยากรณ์ว่า พระสุบินครั้งนี้เกิดข้นเพราะเทวดาสังหรณ์ให้ทราบเป็นนัย น้ำซึ่งไหลทางท่วมป่าทางทิศตะวันตก คือ กองทัพพม่า จระเข้ คือ พระมหาอุปราชา การสงครามคราวนี้จะเป็นการใหญ่ขนาดทำยุทธหัตถีกัน การที่พระองค์เอาชนะจระเข้ได้แสดงว่าศัตรูของพระองค์จะต้องสิ้นชีวิตลงด้วยบพระแสงของ้าว และที่พระองค์ทรงกระแสน้ำ หมายความว่า พระองค์จะรุกไล่บุกฝ่าไปในหมู่ข้าศึกจนข้าศึกแตกพ่ายไป ไม่อาจจะต้านทานพระบรมเดชานุภาพได้

ศุภนิมิตบังเกิดแก่สมเด็จพระนเรศวร ครั้งที่ 2
          พอใกล้ฤกษ์ยกทัพสมเด็จพระนเรศวร และพระเอกาทศรถเสด็จไปยังเกยช้างพระที่นั่งคอยพิชัยฤกษ์อยู่ ทันใดนั้นพระองค์ทอดพระเนตรพระบรมสารีริกธาตุส่องแสงเรืองงามขนาดผลส้มเกลี้ยงลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้หมุนเวียนรอบกองทัพเป็นทักษิณาวรรค 3 รอบ แล้วลอยวนเวียนไปทางทิศเหนือ สมเด็จพระที่น้องทั้งสองทรงปิติยินดีตื้นตันพระทัย ทรงพระสรรเสริญและนมัสการอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุนั้น บันดาลให้พระองค์ชนะข้าศึกและขอเชิญเป็นธงและเป็นฉัตรไปปกป้องเพื่อระงับความเดือดร้อน นำแต่ความสะดวกสบายมาสู่กองทัพ

สมเด็จพระนเรศวรทรงตั้งค่ายที่หนองสาหร่าย
          จากตำบนปากโมก สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพ สมเด็จเอกาทศรถทรงช้างเจ้าพระยาปราบไตรจักร์ เสด็จเคลื่อนพลมาทางบ้านสระแก้ว และบ้านสระเหล้า วันนั้นพระอาทิตทรงกลดจนเวลาบ่าย 15.00 น. ก็ถึงตำบลหนองสาหร่าย ปันจุบันเป็นตำบลหนึ่งอยู่ในเขตท้องที่อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

เส้นทางการเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวร
    1. กรุงศรีอยุธยา
    2. ตำบลปากโมก
    3. บ้านสระแก้ว
    4. บ้านสระเหล้า
    5. ตำบลหนองสาหร่าย ทรงตั้งค่ายเป็นรูปดอกบัวตรงชัยภูมิครุฑนาม 

         เมื่อถึงหนองสาหร่ายแล้วรับสั่งให้หยุดกองทัพหลัง กองทัพหน้าซึ่งตั้งค่ายอยู่ก่อน แล้วเสด็จประทับบนเกยใต้ร่มไม้ประดู่เหนือจอมปลวกหลวงเป็นชัยภูมิตามแบบครุฑนาม และรับสั่งให้ตั้งค่ายเป็นกระบวนปทมพยหะ(รูปดอกบัว) การที่สมเด็จพระนเรศวรทรงเลือกชัยภูมิแบบครุฑนาม ก็เพื่อข่มกำลังข้าศึกซึ่งตั้งในชัยภูมิแบบนาคนาม
        พระมหาอุปราชาสั่งให้กองลาดตระเวนพม่า คือ สมิงจะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่อน ได้ไปพบกองทัพไทยเข้า จึงรีบกลับไปกราบทูลให้พระมหาอุปราชาทราบว่า ทัพไทยกำลังตั้งอยู่ริมหนองสาหร่าย มีรี้พลประมาณ 17-18 หมื่น พระมหาอุปราชาเห็นว่าจะได้เปรียบไทย เพราะกำลังพม่ามีมากกว่าหลายเท่าจึงรับสั่งให้เตรียมพลให้เสด็จตั้งแต่เวลา 03.00 น. พอเวลา 05.00น. ก็ยกไปตีทัพไทยให้แตก แล้วเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา ครั้นได้ฤกษ์พระมหาอุปราชาทรงช้างพระที่นั่งชื่อพลายพัทธกอ เสด็จเคลื่อนพลออกจากตำบลตระพังตรุ ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี

ทัพหน้าของไทยปะทะกับกองพม่า

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างความเข้มแข็งให้กรุงศรีอยุธยาด้วยวิธีใด

          พระยาศรีไสยณรงค์ และพระราชฤทธานนท์เมื่อได้รับพระบรมราชโองการให้ออกโจมตีข้าศึกจึงจัดทัพเป็นศรีเสนา คือ แบ่งเป็น 3 ทัพใหญ่ แต่ละทัพแยกออกได้ 3 กองทัพไทยเคลื่อนออกจากตำบลหนองสาหร่าย ถึงตำบลโคกเผาข้าว เวลา 07.00 น. ได้ปะทะกับพม่า ทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้กันด้วยอาวุธชนิดเดียวกันเป็นคู่ๆ ด้วยความสามารถ สมเด็จพระนเรศวรให้สืบข่าวการรบของทัพหน้า ขณะที่พราหมณ์ผู้ทำพิธี และผู้ชำนาญไสยศาสตร์ทำพิธีเปิดประตูป่า และพิธีเซ่นละว้า เซ่นไก่(บวงสรวงปิศาจด้วยไก่) หลวงมหาวิชัยรับพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ไปทำพิธีตัดไม้ข่มนามตามไสยศาสตร์(กระทำเพื่อให้มีชัยชนะแก่ข้าศึก โดยนำไม้ที่มีชื่อร่วมกับข้าศึกมาเข้าพิธีกับรูปั้นและชื่อข้าศึก พอได้ฤกษ์พระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ให้แก่ผู้แทนพระองค์ไปฟันรูปปั้นและชื่อข้าศึกนั้นแล้วรีบกลับมาทูลพระองค์ว่าตนได้ปราบศัตรูว่าตามพระราชกระแสรับสั่งเรียบร้อยแล้ว) สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับเสียงปืน ซึ่งไทยกับพม่ากำลังยิงต่อสู้กันอยู่ แต่เสียงนั้นอยู่ไกลฟังไม่ถนัด จึงรับสั่งให้หมื่นทิพเสนารีบไป่สืบข่าว

สมเด็จพระนเรศวรทรงบัญชาให้ทัพหน้าถอย
        พอหมื่นทิพเสนาไปถึงทัพหน้าของไทยได้นำขุนหมื่นผู้หนึ่งเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร ขุนหมื่นผู้นั้นกราบทูลว่าเมื่อเวลา 07.00 น. ทัพไทยได้ปะทะกับทัพพม่าที่ตำบลโคกเผาข้าว ทัพไทยต้องถอยร่นอยู่ตลอดเวลา เพราะทัพพม่าคราวนี้กำลังรี้พลมากมายนัก สมเด็จพรระนเรศวรจึงตรัสปรึกษาแม่ทัพนายกองว่าควรคิดหาอุบายแก้ไขการศึกอย่างไร บรรดาแม่ทัพนามกองกราบทูลขอให้พระองค์ส่งทัพไปยันไว้ให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงก่อน จึงเสด็จยกทัพหลวงออกต่อสู่ภายหลัง สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า”ทัพไทยกำลังแตกพ่ายอยู่ถ้าจะส่งทัพไปต้านทานอีกก็จะพลอยแตกอีกเป็นครั้งที่ 2 ควรที่จะล่าถอยลงมาโดยไม่หยุดยั้งเพื่อลวงให้ข้าศึกละเลิงใจยกติดตามโดยไม่เป็นขบวน พอได้ทีก็ให้ยกกำลังส่วนใหญ่เข้าโจมตีก็คงจะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย” แม่ทัพนามกองเห็นชอบด้วยกับพระราชดำรินั้น สมเด็จพระนเรศวรจึงสั่งให้หมื่นทิพเสนากับหมื่นราชมาตย์รีบไปแจ้งแก่ทัพของไทยให้ล่าถอยโดยเร็ว ทัพหน้าจึงรีบถอยร่น ทัพพม่าก็รุกไล่ตามจนเสียกระบวน

ศุภนิมิตบังเกิดแก่สมเด็จพระนเรศวร ครั้งที่ 3
         ขณะสมเด็จพระนเรศวรประทับบนเกยเพื่อรอพิชัยฤกษ์เคลื่อนทัพหลวง ได้บังเกิดเมฆเยือกเย็นตั้งมืดอยู่ทางทิศพายัพ(ตะวันตกเฉียงเหนือ) แล้วก็กลับกลายแลดูโปร่งโล่งไปเผยไปเผยดวงตะวันให้ส่องสว่างจ้าสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนทัพตาม”เกล็ดนาค”(ตามตำราพิชัยสงครามซึ่งกำหนดไว้ว่า วันใดนาคหัวและหางไปทางทิศใดต้องไปตั้งทัพทางทิศหัวนาคแล้วเคลื่อนไปทางหางนาค คิอไม่ให้ทวนย้อนเกล็ดนาค) ในไม่ช้าก็ปะทะกับข้าศึก พอช้างพระที่นั่งทั่งสองพระองค์ได้ยินเสียงฆ้องกลองและปืนข้าศึกก็เริ่มคึกคะนองด้วยกำลังตกมันถลันเข้าไปในหมู่ข้าศึก ควาญไม่สามรถคัดท้ายไว้อยู่ แม่ทัพนายกองตามเสด็จไม่ทัน ผู้ที่เสด็จด้วยมีแต่ควาญรวม 4 คน สมเด็จพระพี่น้องทั้งสองได้ทอดพระเนตรข้าศึกมีกำลังมากมายไม่เป็นทัพไม่เป็นกอง จึงไสช้างพระที่นั่งเข้าชนช้างข้าศึก เหล่าข้าศึกพากันระดมยิงอาวุธมาดังห่าฝนแต่ไม่ถูกช้างทรง ทันใดนั้นก็บังเกดตะวันตลบมืดในท้องฟ้าราวกับไม่มีแสงตะวันและไม่รู้กหน้าซึ่งกันและกัน สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศแก่เทวดาในสวรรค์ 6 ชั้น และพระพรหมซึ่งประทับบนแท่นดอกบัวในบรมโลกทั้ง 16 ชั้น ขอเชิญให้ทรงสดับพระราชดำรัสของพระองค์ การที่เทพเจ้าบันดาลให้มาประสูติสบวงศ์กษัตริย์ก็มุ่งหวังที่จะทะนุบำรุงพระวรพุทธศาสนา เพื่อแสงหาบุญกุศลเหตุใดไม่ทรงบันดาลให้ท้องฟ้าสว่างปราศจากความมือ เพื่อจะได้แลเห็นเหล่าข้าศึกในสนามรบได้ถนัดตา มืดเช่นนี้ทำให้ฉงนสงสัยพอตรัสดังนั้นแล้วก็บังเกิดพายุใหญ่พัดปั่นป่วนในท้องฟ้า สนามรบสว่างจ้าขึ้น ทรงเร่งช้างพระที่นั่งสอดส่ายพระเนตรหาพระมหาอุปราชา ทรงแลไปทางขวาได้เห็นนายทัพขี่ช้างเผือกตัวหนึ่งมีฉัตรกั้นอยู่ใต้ร่มต้นข่อยมีพล 4 เหล่าเรียงรายอยู่มากมาย สมเด็จพระนเรศวรได้ทอดพระเนตร ก็ทรงมั่นพระทัยว่าเป็นพระมหาอุปราชาจอมทัพพม่า เพราะจัดทัพห้อมล้อมไว้มากผิดปกติ ตั้งเครื่องสูงครบแลดูน่าประหลาดใจ

สมเด็จพระนเรศวรตรัสชวนพระมหาอุปราชากระทำยุทธหัตถี
        สมเด็จพระนเรศวรทรงมีราชดำรัสอันไพเราะทักทายโดยมิได้แสดงความขุ่นเคืองพระทัยแม้แต่น้อยว่า”พระะเจ้าที่ผู้ทรงความเป็นใหญ่แห่งประเทศมอญพระเกียรติคุณเป็นที่ครั่นคร้ามเกรงกลัว พระเดชานุภาพเลื่องลือหวาดหวั่นกันไปทั่วสิบทิศไม่มีผู้ใดกล้าสู้ฤทธิ์พากันหลบหนีสิ้น พระเจ้าพี่ คผู้กครองประเทศอันบริบรูณ์ยิ่งเป็นการไม่สมควรเลยที่พระเจ้าพี่จะประทับอยู่ใต้ร่มไม้ ขอเชิญเสด็จออกมากระทำยุทธหัตถีร่วมกัน เพื่อแสดงเกียรติไว้ให้ปรากฎต่อจากเราทั้งสองจะไม่มีอีกแล้ว การรบด้วยการชนช้างจะถึงที่สุดเพียงนี้ต่อไปจะไม่ได้พบอีกการที่กษัตริย์กระทำยุทธหัตถีกันก็คงมีแต่เราสองพี่น้องชั่วฟ้าดินสลาย ขอทูลเชิญเทวาและพรหมเสด็จมาประชุม ณ ที่นี้ เพื่อทอดพระเนตรการชนช้างตัวต่อตัว ผู้ใดเชี่ยวชาญกว่าขอทรงอวยพรส่งเสริมให้มีชัย

สมเด็จพระนเรศวรชนช้างกับพระมหาอุปราชา

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างความเข้มแข็งให้กรุงศรีอยุธยาด้วยวิธีใด

       เมื่อสมเด็จพระนเรศวรตรัสพรรณนา ดังนั้นพระมหาอุปราชาได้ทรงสดับก็บังเกิดขัตติยมานะกล้าหาญขึ้นรีบไสช้างเข้าต่อสู้โดยเร็ว(ตามความนึกคิดนั้นช้างทรงของผู้เป็นใหญ่ทั้งสองพระองค์เปรียบเหมือนช้างเอราวัณและช้างคีรีเมขล์อันเป็นพาหนะมงคลของอัศวดีมารต่างส่วยศรีษะอลัหงายงาโถมแทงอยู่ขวักไขว่ สองกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่งามล้ำเลิศน่าชมยิ่งนักประหนึ่งพระอินทร์และไพจิตราสูรทำสงครามกัน หรือไม่ก็เหมือนกับพระรามรบกับทศกัณฐ์กษัตริย์อื่นในทุกประเทศและทุกทิศไม่เสมอเหมือน)

พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง
       ช้างทรงของกษัตริย์ต่อสู้กันอย่างทรหด ตอนหนึ่งช้างเจ้าพระยาไชยนุภาพของสมเด็จพระนเรศวรโถมปะทะไม้ทันตั้งหลักยั้งตัว ช้างพัทธกองของพระมหาอุปราชาได้ล่างใช้งาคู่ค้ำคอเจ้าพระยาไชยานุภาพแหวนขึ้นสง จึงได้ทีถนัดพระมหาอุปราชาเห็นเป็นโอกาสจึงเงื้อพระแสงของ้าวจ้วงฟันอย่างแรงราวกับจักรหมุน แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงพระมาลาพร้อมกับใช้พระแสงปัดเสียทันอายุธของข้าศึกจึงมิได้ถูกพระองค์ คงฟันถูกพระมาลาขาดไปเล็กน้อยซึ่งทรงขนานนามว่า”พระมาลาเบี่ยง” ทันใดนั้นเองช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรเบน สบัดลงล่างได้ เข้าคลุกคลิใช้งางัดคอช้างข้าศึกไว้จนหงายเลยเสียท่าตั้งถอยเมื่อข้าศึกพลาดท่าในการรบเช่นนั้น พระองค์จึงเงื้อพระแสงของ้าวแสนพลพ่ายฟันลงไป พระบรมเดชานุภาพแสดงให้ปรากฎว่าพระองค์สามารถกำจัดศัตรูให้สิ้นไปจึงฟันถูกบ่าขาดค่อนไปทางขวา พระอุระของพระมหาอุปราชาขาดเป็นรอยแยก พระวรกายก็เอนฟุบซบอยู่บนคอช้างเป็นที่น่าสลดใจ พระองค์สิ้นพระชนม์แล้วได้ไปสถิตย์ในแดนวรรค์

พระเอกาทศรถชนช้างกับมังจาชโร
       ขณะที่สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำยุทธถีกับพระมหาอุปราชา พระเอกาทศรถก็ทรงช้างเจ้าพระยาปราบไตรจักร์ชนกับช้างพัชเนียงของมังจาชโร พอเจ้าพระยาปราบไตรจักร์ลงล่างได้ทีพระเอกาทศรถก็ทรงฟัน มังจาชโร พระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชาสิ้นชีวิตร่างซบอยู่บนคอช้างเช่นกัน

ผู้ที่ตามเสด็จและเสียชีวิตในการกระทำยุทธหัตถี
      เมื่อช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวร และพระเอกาทศรถถลันวิ่งเข้าไปในหมู่ข้าศึกนั้น มีผู้ตามเสด็จเพียง 4 คน คือ
    1. เจ้ารามราฆพ กลางช้าง พระนเรศวร
    2. นายมหานุภาพ ท้ายช้าง พระนเรศวร
    3. หมื่นภักดีศวร กลางช้าง พระเอกาทศรถ 
    4. ขุนศรีคชคง ท้ายช้าง พระเอกาทศรถ
      เมื่อสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถ ทรงกำจัดราชศัตรูทั้งสองจนถึงแก่ขาดคอช้างลงแล้ว กองทัพไทยปวงจึงได้ตามเสด็จมาทันต่างระดมกันโจมตีข้าศึกทหารไทยบุกเข้าที่ใดข้าศึกก็พ่ายไปทุกหนทุกแห่งเจ้าพระยาไชยานุภาพได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยาปราบหงษาวดี สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้แม่ทัพนายกองคอยคุมรี้พลติดตามทำลายข้าศึกต่อไป ส่วนพระองค์เสด็จกับค่ายหลวงแล้วทรงปูนบำเหน็จความชอบแก่ช้างพระที่นั่งไชยานุภาพ พระราชทานนามใหม่ว่า”เจ้าพระยาปราบหงษาวดี”

สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้สร้างสถูปทรงพระศพพระมหาอุปราชา
      สมเด็จพระนเรศวร รับสั่งให้สร้างสถูปขึ้นที่พระองค์ทรงทำลายพระชนม์ชีพพระมหาอุปราชา ศัตรูคู่ต่อสู้ของพระองค์ ณ ตำบลท้าคอย ไว้เป็นการเฉลิมพระเกียรติให้ปรากฎในโลก (ปัจจุบันเป็นตำบลดอนเจดีย์อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งจะได้กล่าวประวัติรายละเอียดของพระสถูปเจดีย์ในลำดับต่อไป)

เจดีย์ยุทธหัตถี

        เจดีย์ที่สมเด็สพระนเรศวรรับสั่งให้สร้างขึ้นตรงที่กระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชาเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ ตรงกับวันที่ 25 มกราคม พ. ศ. 2135ปัจจุบันอยู่ที่ตำบลดอนเจดีย์ ซึ่งเดิมเรียกว่า ตำบลท่าคอย อำเภอดอนเจดีย์ เจดีย์นี้พบใน พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงสมโภช เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2456 องค์เจดีย์เหลือซากแต่เพียงฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 19.50 เมตร สูงจากพื้นถึงส่วนชำรุด 6.50 เมตร รัชกาลที่ 6 รับสั่งให้กรมศิลปกรในสมัยนั้นกะงบประมาณในการบูรณะเป็นการด่วน ตกลงเลือกแบบเจดีย์ยุทธหัตถีที่เมืองตาก อันเป็นเจดีย์สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในการที่พอ่ขุนรามคำแหงมหาราชชนช้างชนะเจ้าขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดค่าสร้างอยู่ในวงเงิน 192,500.00 บาทแต่เนื่องด้วยการเงินของประเทศขาดแคลนถึงที่สุด การบูรณะเจดีย์จึงไม่ได้ตำเนินตามพระราชประสงค์ รัฐบาลซึ่งมีจอมพลแปลกพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งหลังสุดได้ตั้งกรรมการอนุมัติสร้างอนุสรณ์ดอนเจดีย์ขึ้น ลงมติให้สร้างเป็นเจดีย์กลมแบบลังกาอย่างที่วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะสันนิษฐานว่า สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะครั้งนั้น ตามคำกราบทูลแนะนำของสมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว เช่นเดียวกับเจดีย์ยุทธหัตถี
        การดำเนินงานบูรณะเจดีย์ยุทธหัตถีเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2495 โดยรัฐบาลได้ประกาศขอความร่วมมือจากพ่อค้า ข้าราชการ และประชาชน ช่วยกันบริจาคทรัพย์สมทบทุนได้ร่วมเงิน 5,577,485.22 บาท   กระทรวงกลาโหมอนุมัติให้กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ บริจาคสมทบอีกกองละ 50,000.00 บาท รวมเป็นเงินสมทบทุนทั้งสิ้น 7,077,485.22 บาท รัฐบาลจึงมอบให้กรมศิลปากรก่อสร้างพระสถูปเจดีย์ มีฐานกว้าง 36 เมตร สูงจากพื้นดินถึงยอด 66 เมตร โดยสร้างครอบพระสถูปเจดีย์องค์เดิมไว้ภายใน มีทางออก 4ประตู และได้ออกแบบปั้นพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงคชาธารออกศึกประดิษฐานอยู่บนแท่น ฐานขนาดกว้าง 15.30 เมตร ยาว 25.55 เมตร สูง 9 เมตร เฉพาะอนุสาวรีย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้างศึกหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีขนาดกว้าง 2.90 เมตร ยาว 5.58 เมตร สูง 7 เมตร ฐานทั้งสองติดภาพยุทธหัตถีตอนประกาศอิสรภาพ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ สิ้นค่าใช้จ่ายในการสร้างพระสถูปเจดีย์ 4,440,000.00 บาท ค่าหล่อปั้นอนุสาวรีย์ เป็นเงิน 798,500.00 บาท ค่าสร้างแท่นฐานอนุสาวรีย์ 248000.00 บาท ค่าสร้างรั้ว,ศาลาเป็นเงิน 347,500.00 บาท ค่าเขียนภาพพระราชประวัติ 115,000.00 บาท ค่าขยายเขตและชดใช้ที่ดินเป็นเงิน 111,402.50 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่าตบแต่งพื้นบริเวณ ค่าตบแต่งภายในองค์พระสถูปเจดีย์ ค่าพิธีการ และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ในการดำเนินการมาแต่ต้นจนเสร็จบริบูรณ์ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 6,941,764.18 บาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันทรงเสด็จไปเปิดพระบรมรูปอนุสาวรีย์ ณ อนุสาวรีย์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2502

สมเด็จพระนเรศวรทรงข่าวไปกรุงหงษาวดี
        พอการสงครามเสร็จสิ้นลง สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้เจ้าเมืองมล่วน ควาญช้างพระมหาอุปราชากลับไปแจ้งข่าวการแพ้สงคราม และการส้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแห่งพระเจ้าหงษาวดีแล้วพระองค์ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ทรงปูนบำเหน็จแก่นายทหารที่ตามเสด็จ คือเจ้ารามราฆพ กลางช้างของสมเด็จพระนเรศวร และขุนศรีคชคง ท้ายช้างของพระเอกาทศรถ ได้รับพระราชทานเครื่องใช้เงินทอง ทาส และเชลยไว้ใช้ ส่วนนายมหานุภาพ และหมื่นภักดีศวรซึ่งเสียชีวิตในการรบก็โปรดพระราชทานยศ และทรัพย์สิ่งของลายสำริดแก่บุตรภรรยาเป็นการตอบแทนความชอบสมกับความจงรักภักดีเพื่อสืบดำรงและส่งเสริมวงศ์ตระกูลให้รุ่งเรืองต่อไป

สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้ปรึกษาโทษแม่ทัพนายกอง
       เมื่อทรงปูนบำเหน็จแก่ผู้มีความชอบเสร็จแล้ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชรับสั่งให้ปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองตามกฎพระอัยการศึกว่า ในการที่ข้าศึกยกทัพเข้ามาเหยียบแดนถึงชานพระนคร พระองค์และพระเอกาทศรถทรงมีพระราชประสงค์ที่จะบำรุงเหล่าสมณพราหมณ์และประชาราษฎร มิได้ย่อท้อต่อความลำบากทรงพระราชอุตสาหะเสด็จออกไปปราบอริราชศัตรู แม่ทัพนายกองทั้งปวงกลับกลัวข้าศึกยิ่งกว่าพระราชอาญาไม่พยายามยกทัพไปรับให้ทัน ปล่อยให้ทั้งสองพระองค์ทรงช้างพระที่นั่งฝ่าเข้าไปท่ามกลางข้าศึกตามลำพัง จนได้กระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะ ลูกขุนได้เชิญกฎอัยการศึกค้นดูเห็นว่าจะได้รับโทษถึงประหารชีวิตแต่เนื่องจากใกล้วัน 15 คู่ จึงทรงพระกรุณางดไว้ก่อน ต่อวัน 1 ค่ำ จึงให้ประหาร

สมเด็จพระวันรัตทูลขอโทษแม่ทัพนายกอง
       ยังไม่พ้นเวลาที่สมเด็จพระนเรศวรกำหนดไว้ พอถึงวันแรม 15 ค่ำ เวลา 05.00 น. ตรง เมื่อปฏิบัติ สมณกิจ สมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้วกับพระสงฆ์ชั้นพระราชาคณะ 25 รูปรวม 2 แผนก คือ ฝ่ายคามวาสี และอรัญวาสีพากันไปพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระนเรศวรนิมนต์เข้าไปในท้องพระโรงพอจัดที่นั่งปูพรมขนสัตว์เสร็จพระสงฆ์จึงเข้าไปนั่ง แล้วสมเด็จพระนเรศวรทรงประณมพระหัตถ์แสดงคารวะ สมเด็จพระวันรัตได้ทูลถามข่าวที่สมเด็จพระนเรศวรทำยุทธหัตถีจนพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ขาดบนคอช้าง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรตรัสเล่าจบลงสมเด็จพระวันรัตกราบทูลขึ้นว่า”พระมหาบพิตพระราชสมภารเจ้าได้ทรงชัยชนะ เหตุใดเหล่า ข้าราชบริพานจึงต้องโทษ” ได้ยินแล้วเป็นที่สงสัยสมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสตอบไปว่า แม่ทัพนายกองทั้งปวงซึ่งได้รับเกณฑ์เข้าในกองทัพืเมื่อเห็นข้าศึกก็ตกใจกลัวยิ่งกว่ากลัวพระองค์ ซึ่งเป็นเจ้านายไม่ตามเสด็จให้ทันปล่อยให้พระองค์สองพี่น้องเข้าสู้รบในท่ามกลางข้าศึกมาก จึงได้ทอดพระเนตรแม่ทัพนายกองเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะคุณความดียิ่งใหญ่ที่ได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองไว้ คอยอุดหนุนพระบรมเดชานุภาพของพระองค์สองพี่น้อง ถ้าไม่ได้ความดีแต่เก่าก่อนแล้ว ประเทศไทยจะต้องสิ้นอำนาจ ชื่อเสียงของพม่าก็จะเลื่องลือเป็นที่ครั่นคร้าน เมืองไทยจะตกเป็นเมืองขึ้นของหงษาวดีเสื่อมเกียรติยศของไทยยิ่งนัก ควรลงโทษแม่ทัพนายกองเหล่านั้นถึงตายตามกฎพระอัยการศึกเพื่อเป็นแบบแผนต่อไปภายหน้า มิให้ผู้ใดเอาอย่างชั่วฟ้าดินสลาย”สมเด็จพระวันรัตกราบทูลต่อไปว่า บรรดาข้าทูลธุลีพระบาท ล้วนมีความจงรักภักดีเป็นการผิดแผกไปจากแบบผแนแต่ก่อนที่ว่าไม่จงรักและยำเกรงพระองค์ ทั้งนี้พระเดชานุภาพสำแดงให้ปรากฏกษัตริย์ จนเล่าลืออัศจรรย์ในพระเกียรติของพระองค์
        สมเด็จพระวันรัตกราบทูลต่อไปว่า”พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชนะมารลำพังพระองค์เองเช่นเดียวกับสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถเสด็จไปปราบอริราชศัตรูจนพ่ายแพ้ โดยปราศจากไพร่พลพระเกียรติจึงเลื่องลือก้องไปทั่วทุกแห่งหน”สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับคำชี้แจงอย่างพิศดาร ออกพระนามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยวิธีเปรียบเทียบอำนาจบุญที่พระองค์ทรงสร้างสมไว้แล้ว ก็ทรงปลื้มพระทัยเผยโอษฐ์สั่งว่า”ชอบแล้ว”แล้วทรงประนมพระหัตถ์เหนือพระนลาฏด้วยความดีพระทัยสูงสุด ตรัสตอบว่า”พระคุณเจ้ากล่าวคำน่าชอบใจ ทุกสิ่งที่ชี้แจง สมควรจะเป็นจริงไม่ชวนสงสัยแม้แต่น้อย”สมเด็จพระวันรัตเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรคลายกริ้วแม่ทัพนายกองแล้วจึงกล่าวถวายพระพรให้พระองค์ปราศจากทุกภัยและอันตรายทั้งปวงแล้ว กราบทูลต่อไปว่า”แม่ทัพนายกองเหล่านี้มีความผิดรุนแรงควรได้รับโทษทั้งโคตร แต่ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาแต่เก่ากอนนับตั้งแต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์พระบรมราชอัยกา และสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดา จนล่วงถถึงสมเด็จพระนเรศวรได้ขึ้นครองราชสมบัติเปรียบได้กับพุทธบริษัททั้งปวงช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาต่อมาขอให้พระองค์ทรงลดโทษประหารชีวิตแม่ทัพนายกองไว้สักครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้เป็นผู้ส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพ เมื่อสงเกิดขึ้นอีกเขาเหล่านั้นคงจะคิดแก้ตัวหาความดีความชอบ เพื่อเพิ่มพูนพระบารมีให้แผ่ไปทั่วบ้านเมืองของพระองค์เป็นแน่

สมเด็จพระนเรศวรพระราชทานอภัยโทษแม่ทัพนายกอง
        สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับข้อความที่สมเด็จพระวันรัตทูลขอโทษแม่ทัพนายกองทั้งปวงก็ทรงพระกรุณาที่ว่าบุคคลเหล่านั้นยังจงรักภักดีต่อพระองค์อยู่ จึงพระราชทานอภัยโทษตามคำทูลขอของสมเด็จ พระวันรัตแต่ทรงเห็นสมควรที่จะใช้ให้ไปตีเมืองตะนาวศรี ทวายและมะริด เป็นการชดเชยความผิด สมเด็จพระวันรัตกราบทูลว่า”การรบทัพจับศึกไม่ใช่กิจการอันควรที่พระภิกษุจะตามเสด็จปรึกษาด้วย พระองค์จะทรงมีพระราชบัญชาใช้สอยประการใดสุดแต่พระราชอัธยาศัย”แล้วสมเด็จพระวันรัตกล่าวถวายพระพรลาพา คณะสงฆ์กลับวัด สวมเด็จพระนเรศวรจึงทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าให้แม่ทัพนายกองพ้นโทษและดำรงตำแหน่งพระยศตามเดิมสมเด็จพระนเรศวรทรงพระราชกำหนดให้เจ้าพระยาคลังคุมพลห้าหมื่นคนไปตีเมืองทวายและให้เจ้าพระยาจักรีนำทัพจำนวนรี้พลเท่ากันไปตีเมืองตะนาวศรีและมะริด

สมเด็จพระนเรศวรทรงจัดการปรับปรุงหัวเมืองเหนือ
        สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถ ตรัสปรึกษาการหัวเมืองฝ่ายเหนือกับมุขอำมาตย์มนตรีทั้งปวงว่าไทยได้กวาดต้อนครอบครัวในเขตเมืองขึ้นลงมาแล้วก็มากแต่ยังไม่หมดสิ้น ทรงมีพระราชดำริถึงศึกพม่า มอญ ว่าคงเบาลง ถึงจะยกมารบก็ไม่น่ากลัว ควรได้ทำนุบำรุงหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้เป็นการเฉลิมพระเกียรติยศให้ปรากฏทั่วแผ่นดินชั่วกัลปวสานถึงปีมะโรง พ.ศ. 2147 พระเจ้าอังวะสีหสุธรรมราชายกทัพมาตีเมืองหน่ายและเมืองแสนหวี ซึ่งขึ้นอยู่กับไทย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงเสด็จยกทัพขึ้นไปต่อสู้ทางเมืองเชียงใหม่ถึงเมืองหาง ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเกิดประชวรเป็นหัวละลอกขึ้นที่พระพักตร์แล้วกลายเป็นบาดพิษเสด็จสวรรคตที่พรับพราเมืองหาง เมื่อวันจันทร์ เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2148 พระชันษา 50 พรรษา รวมเวลาเสวยราชสมบัติเป็นเวลา 15 ปี 
       ขอดวงพระวิญญาณของพระองค์ซึงสถิตอยู่ ณ ทิพสถานวิมานใด ได้โปรดทรงทราบด้วยเถิดว่าพสกนิกรชาวไทยถ้วนหน้าระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อยู่ตราบชั่วฟ้าดินสลาย.

ที่มา: ประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเจดีย์ยุทธถี เรียบเรียงโดย นายบุญมี หมื่นราม

พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเกิดผลดีแก่กรุงศรีอยุธยาอย่างไร

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ผู้กอบกู้เอกราช นอกจากพระปรีชาสามารถด้านการรบแล้ว อีกด้านหนึ่งที่ทรงพระปรีชาสามารถไม่น้อยไปกว่าการรบ คือ การค้าและการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญในการสร้างเสริมความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจในสมัยของพระองค์นับว่ามีความเจริญ ...

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้วิธีการใดในการ กอบกู้เอกราชให้แก่แผ่นดินไทย

สมเด็จพระนเรศวรทรงปรับกระบวนวิธีการรบใหม่ทันที โดยทรงใช้วิธียาตราทัพไปซุ่มรับอยู่ที่สุพรรณบุรี แล้วส่งกองทัพน้อยไปเมืองกาญจนบุรีทำทีเหมือนจะไปรักษาเมือง พม่าหลงกลรุกไล่กองทัพน้อยของไทย ซึ่งถอยหนีหลอกล่อมาทางที่ทัพหลวงซุ่มอยู่

วีรกรรมสําคัญของพระนเรศวรมหาราช คือข้อใด

พระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย ภายหลังที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ในรัชสมัยของพระองค์ ทรงทำการศึกสงคราม และเอาชนะข้าศึกหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือ ใน พ.ศ. 2135 พระมหาอุปราชาของพม่าได้ยกทัพมาตีไทย พระองค์ทรงชนช้างกระทำยุทธหัตถี

พระราชมารดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คือข้อใด

พระราชมารดา พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชสมภพ พ.ศ. 2098; จ.ศ. 917.