ความคิด เกี่ยวข้องกับภาษา อย่างไร

เรื่อง ความคิดกับภาษา
ความคิด คือ กระบวนการทำงานของจิตใจมนุษย์ ในขณะที่หาคำตอบหรือทางออกเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยมีสมองทำหน้าที่ช่วยให้การคิดประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ได้ โดยธรรมชาติแล้วสมองจะได้รับการฝึกฝนตั้งแต่เด็กอยู่เสมอจะทำให้ความคิดมีประสิทธิภาพสูง เราจึงต้องฝึกคิดเพื่อให้เกิดทักษะอยู่เสมอ การฝึกฝนการคิดจนเกิดความชำนาญนี้เรียกว่า มีกำลังคิดหรือกำลังสติปัญญา หรือ พลังสมอง
ภาษามีความสำคัญอย่างไรเกี่ยวกับการใช้ความคิด
มนุษย์แสดงความคิดออกมาโดยการกระทำและคำพูด เราคิดอย่างไรจึงได้กระทำเช่นนั้น จำเป็นต้องอธิบายความคิดของตนเป็นภาษา นอกจากจะให้ผู้อื่นเข้าใจแล้วยังเป็นโอกาสขัดเกลาภาษาให้แจ่มชัด แหลมคมขึ้น ภาษาจึงเป็นเครื่องมือในการคิดที่สำคัญยิ่ง โดยมีลักษณะดังนี้
๑ ภาษาเป็นระบบสัญลักษณ์
๒ ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความคิด
ทิศทางในการคิด
มนุษย์จะต้องพัฒนาความคิดของตนอยู่เสมอ เพื่อสื่อสารความคิด การคิดจึงต้องมีจุดหมายหรือมีทิศทาง และเป็นประโยชน์ คือคิดให้วัฒนะ ได้แก่
– คิดช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
– คิดหาทางประนีประนอมกัน
– คิดหาวิธีให้บุคคลฝ่ายต่างๆร่วมมือ สามัคคีกัน
– คิดป้องกันอันตรายมิให้มีแก่ตน ครอบครัว และสังคม
– คิดยกย่องสรรเสริญผู้กระทำความดี
– คิดหาวิธีที่จะดำรงชีวิตให้เป็นปรกติสุข
เมื่อเราคิดไปในทางที่เป็นประโยชน์ดังกล่าว สังคมจะเกิดประโยชน์และเมื่อความคิดนั้นเปลี่ยนเป็นการกระทำ ผลของการกระทำที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สุขเช่นกันนั้นคือจุดมุ่งหมายสูงสุดของการพัฒนาความคิด

การใช้ภาษากับความคิดเกี่ยวข้องกันอย่างไร

การใช้ภาษากับความคิดเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด
    ภาษากับมีอิทธิพลต่อความคิดหรือความคิดควบคุมการใช้ภาษายังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างไม่มีข้อยุติว่า
แท้จริงแล้วภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของมนุษย์หรือความคิดเป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
อย่างไรก็ตามนักภาษาต่างเห็นตรงกันว่า
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกจากกันมิได้
ในระหว่างที่มนุษย์คิดก็ต้องอาศัยภาษาและในขณะที่ใช้ภาษาก็ต้องอาศัยการคิดควบคู่ไปด้วย
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ อ่านต่อ

ภาษากับความคิด

          การคิด เป็นกระบวนการของสมองที่รับข้อมูลแล้วแปลความ ในขั้นนี้จะใช้ประสบการณ์เดิมเข้ามาตัดสิน ซึ่งสมองอาจยอมรับว่าถูกต้องหรืออาจไม่ยอมรับก็ได้ หากยอมรับสมองจะเก็บข้อมูลไว้ใช้ต่อไป แต่หากไม่ยอมรับสมองจะเลิกสนใจ ในขั้นที่สมองยอมรับหรือไม่ยอมรับนี้ เรียกว่า ความคิด เป็นขั้นสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการตามขั้นตอนของการคิดที่สมองทำงาน การคิด จึงหมายถึง การทำงานตามกระบวนการของสมอง ส่วน ความคิด หมายถึง ขั้นสุดท้ายของการทำงานในกระบวนการนั้น องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิด  คือ การรับรู้และเกิดจินตนาการเกี่ยวกับสถานที่ สิ่งของหรือสิ่งที่มีอยู่รอบตัว เป็นการรับรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร   การรับรู้ดังกล่าวจะนำไปสู่การคิดในเรื่องเหล่านั้น นอกจากนี้ความรู้ที่ได้รับในชีวิตประจำวัน จะทำให้เกิดมโนทัศน์ การคิดในลักษณะนี้จะมีอยู่บนพื้นฐานของความรู้ที่ได้รับ

           ภาษาเป็นสื่อของความคิดและความคิดที่มีคุณภาพย่อมเกิดจากการคิดที่เป็นกระบวนการ นั่นคือ  ผู้คิดต้องมีทักษะการคิดหรือกระบวนการคิด ภาษาไทยเป็นวิชาทักษะที่ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในการใช้   การฟังและการอ่านเป็นทักษะการรับรู้เรื่องราว ความรู้และประสบการณ์ การฝึกทักษะการคิดให้แก่ผู้เรียนขณะฟัง อ่าน พูดและเขียน จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้เรียนใช้ภาษาได้อย่างมีคุณภาพ (กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๖ : ๑๘๑) เช่น ความคิดกับภาพ ในขณะที่ตาเห็นหรือปะทะกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบข้าง เราจะบันทึกสิ่งเหล่านั้นเข้าสู่สภาวะของการรับรู้ทันที การรับรู้ทุกครั้งจะผ่านระบบการบันทึกโดยมีภาษาเป็นเครื่องมือ เช่น เมื่อเราเดินออกมานอกบ้านเห็นสัตว์ชนิดหนึ่งวิ่งแยกเขี้ยว น้ำลายฟูมปาก เดินส่ายไปมาและตรงเข้ามาหาเรา การรับรู้จะบอกด้วยภาษาทันทีว่า

          ๑.   สัตว์

          ๒.   ดุร้าย

          ๓.   ไว้ใจไม่ได้

          ๔.   มันจะเข้ามากัด

          ๕.   หมาบ้า

          ๖.   ระวัง

          คำว่า สัตว์ ดุร้าย ไว้ใจไม่ได้ มันจะเข้ามากัด หมาบ้า ระวัง เหล่านี้ล้วนเป็นภาษา เมื่อรวมเข้ากับประสบการณ์เดิมคือ รู้ว่ามันไว้ใจไม่ได้และจะกัด การตอบสนองก็เกิดขึ้นคือ ระวังหรือเตรียมสู้หรือวิ่งหนี  ขณะเดียวกันเมื่อเรานำข้อสรุปที่ได้จากการคิดถ่ายทอดออกมาเป็นภาษา การใช้ภาษาก็ต้องขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ที่แน่นอนว่า เราจะไปเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟัง เขาเป็นใคร เขาจะเข้าใจเหมือนเราหรือไม่ เราจะใช้คำอย่างไรที่จะทำให้ผู้รับสารหรือผู้ฟังเข้าใจสารหรือเกิดมโนภาพแบบเดียวกับของเรา นั่นก็คือทุกขั้นตอนของการใช้ภาษามนุษย์ต้องใช้ความคิดควบคุมไปด้วยตลอด ความคิดกับภาษาจึงสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ผู้ที่มีความคิดดี  ความคิดเป็นระบบ การใช้ภาษาก็จะดีด้วย และผู้ที่ใช้ภาษาได้ดีก็จะเป็นผู้ที่มีระบบคิดดีหรือเรียกว่ามีปฏิภาณไหวพริบรวดเร็วเฉลียวฉลาด (รังสรรค์ จันต๊ะ. ๒๕๔๑ : ๑๕-๑๖)

แก้ไขครั้งสุดท้าย: Wednesday, 6 November 2019, 2:52PM

ภาษากับความคิดเกี่ยวข้องกันอย่างไร *

ภาษาเป็นสื่อของความคิดและความคิดที่มีคุณภาพย่อมเกิดจากการคิดที่เป็นกระบวนการ นั่นคือ ผู้คิดต้องมีทักษะการคิดหรือกระบวนการคิด ภาษาไทยเป็นวิชาทักษะที่ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในการใช้ การฟังและการอ่านเป็นทักษะการรับรู้เรื่องราว ความรู้และประสบการณ์ การฝึกทักษะการคิดให้แก่ผู้เรียนขณะฟัง อ่าน พูดและเขียน จึงเป็นสิ่งสำคัญ ...

ภาษาช่วยในการพัฒนาความคิดได้อย่างไร

มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำและโดยการใช้ภาษา การใช้ภาษา เพื่อแสดงความคิดหรืออธิบายความคิดของคนเรา นอกจากจะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจแล้วยังช่วยให้ ผู้ใช้ภาษาได้มีโอกาสขัดเกลาความคิดของตนให้แจ่มชัดและแหลมคมยิ่งขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น

เพราะเหตุใด "ภาษา" กับ "ความคิด" มีความสัมพันธ์กัน

มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำและโดยการใช้ภาษา การกระทำบางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจ ถ้าจะให้เข้าใจได้ผู้กระทำก็คงต้องอธิบายให้เข้าใจด้วย การใช้ภาษาเพื่อแสดงความคิดหรืออธิบายความคิดของคนเราจะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจ และยังเป็นการขัดเกลาความคิดของตนให้แจ่มชัดและแหลมคมยิ่งขึ้นด้วย ในขณะที่มนุษย์ใช้ความคิดย่อมใช้ภาษาเป็น ...

ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดอย่างไร

ภาษาช่วยให้มนุษย์รู้จักคิดโดยแสดงออกผ่านทางการพูด การเขียน และการกระทำ ซึ่งเป็นผลจากการคิด ถ้าไม่มีภาษามนุษย์จะคิดไม่ได้ ถ้ามนุษย์มีภาษาน้อย มีคำศัพท์น้อยความคิดของมนุษย์ย่อมแคบไม่กว้างไกล ผู้ที่ใช้ภาษาได้ดีจะมีความคิดดีด้วย ส่งผลให้การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆดีขึ้นตามไปด้วย ผู้ที่ใช้ภาษาได้ดีจะมีความคิดดีด้วย เมื่ออ่านแล้ว ...