วิธีการ ทางประวัติศาสตร์ ม.3 ppt

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการ ทางประวัติศาสตร์ ม.3 ppt

คือกระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย

การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

  1. การรวบรวมหลักฐาน
  2. การคัดเลือกหลักฐาน
  3. การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
  4. การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
  5. การนำเสนอข้อเท็จจริง

นอกจากนี้ รอบิน จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Idea of History ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้

วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน

การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป

วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม

งานนำเสนอเรื่อง: "วิธีการทางประวัติศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิธีการทางประวัติศาสตร์

2 คือ การค้นคว้าหาหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์และศึกษาวิเคราะห์
ข้อมูลหลักฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์โดย ปราศจากอคติ

3 1. ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
1.1 การกำหนดเป้าหมาย นักวิทยาศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด ซึ่งคำถามหลักที่ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาคือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร 1.2 การค้นหาหลักฐานประเภทต่างๆ นักประวัติศาสตร์จะต้องพยายามรวบรวมหาหลักฐานทุกประเภทที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ได้มากที่สุด

4 1.3 การวิเคราะห์ ประเมินคุณค่า และหาความสัมพันธ์ของข้อมูล
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าภายนอก เป็นการวิเคราะห็หรือประเมินหลักฐานว่าเป็นของจริงหรือของปลอม โดยอาศัยการเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นๆ หรืออาศัยความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ สาขาอื่นๆ 2)การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าภายใน เป็นการตรวจสอบ ความน่าเชื่อถือของหลักฐานว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ และการหาความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงที่ได้มาในลักษณะที่เป็นเหตุ เป็นผลต่อกันและกัน

5 1.4 การนำเสนอที่มีเหตุผลและปราศจากอคติ
นักประวัติศาสตร์ต้องจัดระเบียบข้อมูล ต้องหาเอกภาพ และความผสมผสานกลมกลืนให้กับข้อมูลที่หลากหลายนั้นและนำเสนอเรื่องให้น่าอ่านชัดเจน เข้าใจง่ายมีความต่อเนื่องและตรงกับความจริงมากที่สุด

6 2. การเปรียบเทียบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สากลและประวัติศาสตร์ไทย
หลักฐานประวัติศาสตร์สากล - หลักฐานประวัติศาสตร์ตะวันตก • สมัยโบราณ อียิปต์ – ศิลาปาเลอร์โม จารึกเสาหินโมบิลิส บนผนังวิหาร สุสาน เป็นต้น เมโสโปเตเมีย บันทึกบนแผ่นดินเหนียว กรีก – มหากาพย์อีเลียดและโอดิสซี ประวัติศาสตร์สงครามเปอร์เซียน สงครามเพลอปปอนเนเซียน สงครามพิวนิค เป็นต้น โรมัน – มหากาพย์อีเนียดประวัติแห่งโรม เป็นต้น

7 - หลักฐานประวัติศาสตร์จีน
• สมัยกลาง เทวนคร เป็นต้น • สมัยใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการประวัติศาสตร์อิตาลี ประวัติศาสตร์เมืองฟลอเรนซ์ ประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 เป็นต้น สมัยรู้แจ้งแห่งเหตุผลประวัติศาสตร์ สกอตแลนด์การเดินทางของมาร์โคโปโล เป็นต้น ประวัติศาสตร์แนวโรแมนติกและชาตินิยม เป็นต้น ประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ การเมืองของประเทศต่างๆ - หลักฐานประวัติศาสตร์จีน • ก่อนราชวงศ์ฮั่น เช่น ราชวงศ์ซาง( Shang ) บันทึกบนกระดูกสัตว์ ราชวงศ์โจว(Zhou) คัมภีร์ทั้ง5 ของขงจื๊อ

8 ราชวงศ์ฮั่น (Han) บันทึกประวัติศาสตร์ของ
ซือหม่าเชียน ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นสมัยแรก ราชวงศ์ซ้อง(Song) บันทึกประวัติศาสตร์ของหม่าตวนหลิน ราชวงศ์เหม็ง(Ming) นวนิยายสามก๊ก เป็นต้น ราชวงศ์ชิง(Qing) สารานุกรม เป็นต้น • สมัยสาธารณรัฐ งานเขียนประวัติศาสตร์ของเหมาเจ๋อตุง เป็นต้น • สมัยสาธารณรัฐประชาชน งานเขียนประวัติศาสตร์ภายใต้การปกครองลัทธิคอมมิวนิสต์

9 - หลักฐานประวัติศาสตร์อินเดีย
• สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ที่ประทับตรามีอักษร • สมัยพระเวทตอนต้น คัมภีร์พระเวท(ท่องสวดกันมา และบันทึกในสมัยหลัง ) • สมัยพระเวทตอนปลาย มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ • สมัยพุทธกาลหรือสมัยก่อนราชวงศ์ เมารยะ – คัมภีร์ในศาสนาพุทธและศาสนาเชน • สมัยราชวงศ์เมารยะอาณาจักรกุษาณะ จารึกพระเจ้าอโศกบันทึกของเมกาสธีนิสชาวกรีก • สมัยราชวงศ์คุปตะ บันทึกจากภิกษุจีน

10 หลักฐานประวัติศาสตร์ไทย
• อาณาจักรเดลฮี บันทึกของอัลบิรูนี • จักรวรรดิโมกุล ประวัติจักรพรรดิบาบูร์ เป็นต้น • รัฐบาลอังกฤษครอบครองอินเดีย • อินเดียเป็นเอกราช ประวัติศาสตร์การทูต ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์การเมือง ของนักเขียนรุ่นหลัง หลักฐานประวัติศาสตร์ไทย - หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร · จารึก ตำนาน พระราชพงสาวดาร จดหมายเหตุ เอกสารการปกครอง บันทึกความทรงจำ จดหมาย ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม งานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์

11 3. การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ ด้วยวิธีการทางประวัติสาสตร์
- หลักฐานทางด้านโบราณคดี หลักฐานด้านศิลปกรรม หลักฐานจากคำบอกเล่าและสัมภาษณ์ ภาพถ่าย นาฏกรรมและดนตรี หลักฐานทางด้านมนุษย์วิทยาและสังคมวิทยา 3. การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ ด้วยวิธีการทางประวัติสาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นกระบวนการหรือขั้นตอนที่ใช้ในการศึกษา ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตให้มีความสมบูรณ์น่าเชื่อถือ และตรงกับสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงให้มากที่สุด โดยอาศัยจาก หลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ผ่านการรวบ รวมข้อมูล การวิเคราะห์และประเมินคุณค่า

12 ของหลักฐาน การเลือกสรรและจัดความสัมพันธ์ของข้อมูล และการเรียบเรียง
นำเสนอค้นคว้าหรือการสังเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจใน เหตุการณ์ปัจจุบันและสามารถคาดการณ์ไปถึงอนาคตได้อย่างมีเหตุมีผล

13 อาจารย์สมหมาย อุไรโรจน์
จัดทำโดย 1. นางสาวกุลวรางค์ นาคสัมฤทธิ์ เลขที่ 21 2. นางสาวตรีรัตน์ ดีโสภา เลขที่ 22 3. นางสาวธาราภรณ์ นาควะรี เลขที่ 26 4. นางสาวนวลนฤมล เครือประสิทธิ์ เลขที่ 30 5. นางสาวปรียานุช พัฒนะ เลขที่ 32 6. นางสาวสุจิตรา ซ่อนกลิ่น เลขที่ 38 7. นางสาวหรรษา โรจนศิลป์ เลขที่ 39 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 เสนอ อาจารย์สมหมาย อุไรโรจน์