โครงงาน ลูกประคบสมุนไพร บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ลูกประคบสมุนไพร คือ ผ้าที่ใช้สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน นำมานึ่งให้ร้อน เป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนโบราณ แล้วประคบบริเวณที่เจ็บปวด เคล็ดขัดยอก โดยอาศัยความร้อนและคุณสมบัติสมุนไพร ทำให้อาการดีขึ้น คนไทยนิยมใช้ “ลูกประคบสมุนไพร” รักษากันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมักใช้รักษาควบคู่กับการนวดไทย คือ หลังจากนวดเสร็จแล้วจึงประคบนาบไปตามร่างกาย ผลของความร้อนที่ได้จากการประคบ ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว และตัวยาสมุนไพรร้อน ๆ ซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย และยังช่วยทำให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก ลดการติดขัดของข้อต่อ ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดปวด ช่วยลดการบวมที่เกิดจาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

“สมุนไพร” ที่ใช้ในตำรับยา “ลูกประคบสมุนไพร” มีแตกต่างกันไปในวัตถุประสงค์ของการรักษา เช่น ตำรับแก้ปวดเมื่อย ตำรับแก้เหน็บชา ตำรับแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ตำหรับแก้ตะคริว เป็นต้น ตำรับแก้ปวดเมื่อยของแต่ละแห่ง อาจไม่ใช่สูตรเดียวกัน แต่มีตัวยาหลักเหมือนกัน

ส่วนมากแล้วมักใช้ “ลูกประคบสมุนไพร” ประคบกันในผู้ที่มีอาการเคล็ด ขัดยอก ซ้ำบวม แต่ถ้าต้องการประคบเพื่อคลายเครียด คลายเมื่อยล้า ก็สามารถทำได้ การประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรเพื่อคลายเครียดนี้ จะช่วยให้คุณหายจากอาการอ่อนล้า อาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อเส้นเอ็น เกิดความกระปรี้กระเปร่า สบายเนื้อสบายตัวขึ้นมาโดยพลัน

“ลูกประคบสมุนไพร” นี้ปรากฏว่ามีมาแล้วช้านาน นอกจากจะมีการนำเอาสมุนไพรต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์เป็นยากินรักษาอาการของโรคต่าง ๆ หรือนำสมุนไพรบางชนิดมาปรุงเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ขจัดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แล้วยังสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาอาการภายนอกร่างกายได้อีกด้วย มีทั้งที่นำมาใช้เดี่ยว ๆ หรือนำมาปรุงผสมผสานเข้าด้วยกันหลาย ๆ อย่าง เป็นยาทาก็ได้ เป็นยาพอกก็ดี เป็นยาพ่น เป่าเป็นยาสูบ ยาอม ยารมควัน หรือยาประคบก็ได้ สารพัดสารพัน นี่คือมรดกทางภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านหรือแพทย์แผนโบราณของไทยเราโดยแท้

อุปกรณ์การทำลูกประคบ
1. ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ ตัดเป็นผืนขนาด กว้าง 35 x ยาว 35 เซนติเมตร
2. เชือก หรือ หนังยาง
3. ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ
นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์เสริมเวลาใช้งานอีก คือ
4. หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ
5. จานหรือชามอลูมิเนียมเจาะรู (เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้) รองลูกประคบ
ตัวยา/สมุนไพร
1 หัวไพล 500 กรัม  แก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ
2 ขมิ้นชัน 100 กรัม
3 ตะไคร้ 100 กรัม แต่งกลิ่น
4 ผิวหรือใบใบมะกรูด  100 กรัม   มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
5 ใบมะขาม 200 กรัม แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว
6 เกลือ 20 กรัมช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่าน ผิวหนังได้สะดวกขึ้น
7 การบูร 30 กรัม แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
8 พิมเสน 30 กรัม                                                                                                                                               9  แหน่ง  100  กรัม แต่งกลิ่น                                                                                                                                   10 ใบส้มป่อย 100 กรัม บำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง

วิธีทำลูกประคบ

1.นําสมุนไพรแต่ละชนิดมาล้างน้ำาหลายๆ ครั้ง ให้สะอาด แล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
2.นําไพล ขมิ้นชัน แหน่ง มาหั่นเป็นชิ้นบางๆ แล้วอบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส หรือตากแดดจนแห้ง จากนั้น นํามาตําหรือบด ให้ได้ขนาดตามต้องการ
3.นําตะไคร้ ผิวมะกรูด มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส หรือตากแดดจนแห้ง จากนั้นนํามาตําหรือบด ให้ได้ขนาดตามต้องการ
4.ใบมะขาม ใบส้มป่อย อบที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส หรือตากแดดจนแห้ง
5.นําสมุนไพรทุกชนิดมาชั่งน้ำหนักตามที่ต้องการ แล้วนํามาผสมกัน เติมการบูร พิมเสนและเกลือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
6.เตรียมผ้าสําหรับห่อลูกประคบ ชั่ง สมุนไพรผสม 150 กรัม วางบนผ้า แล้วจึงห่อลูกประคบ ให้แน่นด้วยเชือก

*หมายเหตุ*   น้ำหนักรวมประมาณ 1,280 กรัม ทําลูกประคบขนาด 150 กรัม ได้ประมาณ 8 – 9 ลูก

ขั้นตอนวิธีการประคบ ลูกประคบสมุนไพร

1.จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม ในท่านั่งหรือนอน
2.นำลูกประคบสมุนไพรที่นึ่งจนร้อนมาทดสอบความร้อน โดยแตะที่ท้องแขน หรือหลังมือก่อนนำไปประคบ
3.ในการประคบสมุนไพรต้องทำด้วยความรวดเร็ว ในขณะที่ลูกประคบสมุนไพรกำลังร้อน เมื่อลูกประคบสมุนไพรเย็นลงจึงวางลูกประคบสมุนไพรไว้ได้นานขึ้น
4.เมื่อลูกประคบสมุนไพรคลายความร้อน จึงเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน
*ลักษณะประคบลูกประคบสมุนไพร*
ห่อผ้าขนหนูก่อนแล้วประคบ ตอนแรกห้ามประคบที่ใดที่หนึ่งนาน ๆ เพราะจะทำให้ผิวหนังผู้ป่วยพุพอง หรือผู้ป่วยตกใจอาจช็อคได้ เมื่อร้อนต้องประคบเร็ว ๆ คอยซักถามดูเรื่อย ๆ แล้วค่อยช้าลง ถ้าไม่ร้อนเอาผ้าขนหนูออก

การเก็บรักษาลูกประคบหลังการใช้
ลูกประคบสมุนไพรที่ใช้แล้ว สามารถเก็บไว้ใช้ได้ 2-3 ครั้ง โดยวางลูกประคบที่ใช้เสร็จแล้วไว้ให้เย็น แล้วนําใส่ในถุงพลาสติกที่ปิดสนิท เก็บในตู้เย็นได้ 2-3 วัน ก่อนนําลูกประคบมาใช้ครั้งต่อไป ควรตรวจดูสมุนไพรในห่อลูกประคบด้วย ถ้ามีกลิ่นบูดหรือมีราขึ้นไม่ควรนํามาใช้อีก ถ้าลูกประคบที่ใช้แล้วไม่มีสีเหลืองหรือสี เหลืองอ่อนลงแสดงว่า สารสมุนไพรจางลง ไม่ควรมาใช้อีก ลูกประคบที่เก็บไว้ถ้าแห้ง ควรพรมด้วยน้ำก่อนใช้

ข้อควรระวังในการประคบสมุนไพร

1.ห้ามใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไปกับบริเวณผิวหนังอ่อนๆ หรือบริเวณที่เคยเป็นแผลมาก่อน ถ้าต้องการใช้ควรมีผ้าขนหนูรองก่อนหรือรอจนกว่าลูกประคบจะคลายร้อนลง
2.ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุเนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวความรู้สึกตอบสนองต่อความร้อนช้าอาจจะทําให้ผิวหนังไหม้, พองได้ง่าย ถ้าต้องการใช้ควรจะใช้ลูกประคบที่อุ่นๆ
3.ไม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพรในกรณีที่มีแผล อักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก อาจจะทําให้เกิดอาการบวมมากขึ้น
4.หลังจากประคบสมุนไพรแล้ว ไม่ควรอาบน้ำาทันทีเพราะจะไปชะล้างสมุนไพรออกจากผิวหนัง และทําให้ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทันอาจจะทําให้เป็นไข้ได้

ส่วนบนของฟอร์ม

สาเหตุของการปวดเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ

อาการปวดเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ เกิดได้จาก
1. กล้ามเนื้อที่ต้องทำงานหนักและถูกเกร็งค้างอยู่นานๆ โดยจะพบอยู่บ่อยๆ เช่น การเกร็ง ในการสะพายกระเป๋าทุกครั้งเพื่อไม่ให้ประเป๋าหลุดลงจากบ่า เลยต้องมีการเกร็งกล้ามเนื้อบ่าอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะไม่ได้ใช้แรงจากกล้ามเนื้อมากนักแต่เป็นการเกร็งค้าง จึงมีการบีบกดของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ทำให้การนำออกซิเจนมาช่วยในการเผาผลาญสารอาหารทำได้ไม่เต็มที่ เมื่อร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการนี้ จึงทำให้เกิดการคั่งของกรดแล็กติก ถ้าไม่ได้ระบายออกด้วยการไหลเวียนของเลือด จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยล้าได้ กล้ามเนื้อที่มีอาการปวดล้าได้ง่ายได้แก่ กล้ามเนื้อ บริเวณบ่า คอด้านหลัง และหลังส่วนล่าง

2. มีภาวะหดสั้นของกล้ามเนื้อ ภาวะเช่นนี้มักจะพบได้ที่กล้ามบริเวณหน้าอก กล้ามเนื้อคอด้านหน้า กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้องอสะโพก การที่เราใช้มือทำงานโดยยื่นออกไปทางด้านหน้าโดยทั่วไปจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าอกอยู่ในภาวะที่หดสั้นตลอดเวลาจนความยาวของกล้ามเนื้อลดลง เมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้น ในลักษณะที่ยืดยาวออกจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ การนั่งนานจะทำให้เกิดการหดสั้นของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้องอสะโพกที่อยู่ทางด้านหน้าของลำตัวได้

3. การออกแรงอย่างหนักของกล้ามเนื้อ จะทำให้มีการเกิดการคั่งของกรดแล็กติก ทำให้กล้ามเนื้อล้าและปวด อาการปวดจะไปกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกร็งแข็งโดยอัตโนมัติ แต่หากไม่ได้มีการผ่อนคลายอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ก็มักจะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้ อาการเช่นนี้มักจะพบได้ในกล้ามเนื้อทุกมัดที่ต้องออกแรงอย่างหนัก

วิธีป้องกันการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ
ควรอยู่ในท่าทางที่เหมาะสม เช่น ไม่ควรก้มคอหรือหลัง มากเกินไป ไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่น นั่งนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง ควรจะปรับกิจกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งค้างตลอดเวลา เช่น ไม่ควรสะพายกระเป๋าที่หนักเกินไป ให้ลดน้ำหนักลงหรือสะพายสลับข้างกันบ้าง หรือใช้มือถือไว้บ้าง เพื่อเปลี่ยนกลุ่มการใช้งานของกล้ามเนื้อ หลังจากปรับสภาพงานหรือเปลี่ยนวิธีการทำงานแล้ว การออกกำลังด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ใช้งานจะช่วยลดการตึงตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือดและความยืดหยุ่น โอกาสที่ความปวดเมื่อยล้าและบาด-เจ็บจากการทำงานจะลดลง

ปวดกล้ามเนื้อป้องกันได้ด้วยการยืดเหยียด
อาการปวดเมื่อยและอ่อนล้าของกล้ามเนื้อมักพบได้บ่อย ในกลุ่มคนที่ทำงานออฟฟิศและผู้ใช้แรงงาน แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีแก้ไขอาการปวดเมื่อยและล้าของกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม อาจทำให้กลายเป็นอาการปวดเรื้อรังของกล้ามเนื้อ (myofascial pain) หากเกิดอาการปวดเมื่อยล้าการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก็เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่จะช่วยป้องกันและรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อได้

ส่วนล่างของฟอร์ม