แนวทาง แก้ไขปัญหาการ สื่อสาร ในองค์กร

เมื่อรู้ปัญหาการสื่อสารแล้ว ค่อยปรับค่อยแก้ ถ้าจะให้ดีต้องเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยว่า ลูกน้องแต่ละคน ส่วนมากมีจริตมีวิธีรับสารที่แตกต่างกัน ถ้าต้องคุยกับใครควรรู้ว่าจะพูดยังไง ถ้าต้องสื่อสารให้ลูกน้องฟังเป็นกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ ควรปรับวิธีสื่อสารของท่านผู้นำ

Part.1.ถ้าท่านเป็นผู้นำ(ไม่ว่าจะเป็นทีมเล็กๆ หรือ ผู้นำองค์กร)ลองถามตัวเอง...

Show

สำหรับทุกๆ คน ในฐานะที่เคยเป็นลูกน้อง หรือ ปัจจุบันยังคงเป็นลูกน้องของผู้บริหาร ผู้จัดการ

"มีกี่ครั้งที่ท่านเกิดความรู้สึกเสียใจ หรือหงุดหงิด โมโห จากการสื่อสารแย่ๆของเจ้านายของท่าน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน!?"

Part.2.การสื่อสารในยุคปัจจุบัน

ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การสื่อสารแบบเจอหน้าเจอตา หรือการสื่อสารด้วยเสียงทางโทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยข้อความทางe-mail แบบที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเท่านั้น

แต่ยังรวมไปถึงการสื่อสานผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น เสียง-รูป-ข้อความ-สติ๊กเกอร์ทางLine และ การสื่อสารด้วย เสียง-รูป-ข้อความ -สติ๊กเกอร์ -messengerของ facebook รวมไปถึงการสื่อสารผ่านหน้าจอมือถือและหน้าจอคอมพิวเตอร์ผ่านapp zoom หรือ ms team ในกรณี Work From Home และทุกช่องทางการสื่อสารผ่านSocial Media ระหว่างท่านกับลูกน้อง

มีข้อที่น่าสังเกต ที่ ท่านอ่านจะไม่เคยคิด หรือ มองข้าม ก็คือ....

Part.3.ช่องทางการสื่อสารพัฒนา แต่ วิธีการสื่อสารของผู้นำ ส่วนมากแทบไม่เคยพัฒนา!

ไม่ว่ารูปแบบของการสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆจะมีพัฒนามาให้เลือกหลากหลายช่องทาง หลากหลายรูปแบบมากเพียงใดก็ตาม แต่ทำไมบรรดา ผู้จัดการ/ผู้บริหาร/ไปจนถึงผู้นำ จำนวนไม่น้อย ยังคงไม่ยอมพัฒนาการสื่อสารของตนเองซะที!

คนที่มีลูกน้อง ตั้งแต่ระดับหัวหน้างาน /ผู้จัดการ/ไปจนถึงผู้นำสูงสุดขององค์กร ยังคง เคยชินกับ 1.สื่อสารแบบเข้าใจเองคนเดียว 2.สื่อสารแบบคลุมเครือ / อ้อมค้อม 3.สื่อสารโดยการสั่ง 4.สื่อสารด้วยอารมณ์

มีน้อยคนมาก ที่จะสื่อสารด้วย “สติ” มีน้อยคนเช่นกันที่ “สื่อสารอย่างสร้างสรรค์!”

Part.4.สาเหตุไม่มีอะไรซับซ้อน...

ธรรมชาติของคนเราแทบทุกคน โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้นำในทุกระดับ...จะไม่เคยสังเกตวิธีการสื่อสารของตนเอง" และไม่รู้ ไม่สนใจด้วยว่า การสื่อสารของตนเอง(ที่ไม่ดีนั้น) จะส่งผลกระทบอะไรบ้างกับทีมงานแล้วย้อนกลับมาหาตนเอง!

ตัวอย่างเช่น ลูกน้องมักจะสับสน ไม่เข้าใจ เวลาที่ผู้นำ สื่อสารแบบคลุมเครือ / อ้อมค้อม

และธรรมชาติของคนที่เป็นลูกน้องแบบไทยๆ มักจะพยักหน้าทั้งที่ไม่เข้าใจ! เดินออกไปหลังคุยกันเสร็จด้วยความงงๆ และบ่นพึมพำว่า “อะไรของมันแว๊!?”

ผู้นำที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง หรือเป็นประเภทขี้เกรงใจคน ขี้เกรงใจทีมงาน มักจะ สื่อสารแบบคลุมเครือ อ้อมค้อม ไม่บอกให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร ปล่อยให้ลูกน้องเข้าใจเอาเอง 

เพราะ “สื่อสาร" นิ่ม ติ๋มเกินไป สุดท้ายไม่มีใครรู้ว่าจริงๆ แล้วจะบอกอะไร!

ในทางตรงกันข้าม... ผู้นำประเภทที่มั่นใจในตนเองมากเกินไป ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานหรือในธุรกิจที่ทำ มักจะสื่อสารด้วยอารมณ์ ด้วยการสั่ง ใจเร็วใจร้อน ปากไว คิดอะไรได้ก็พูด ปากไวพอๆกับใจคิด

บ่อยครั้งสื่อสารแบบใส่อารมณ์ และอารมณ์ยิ่งขึ้นง่าย ถ้าไม่ได้ดังใจ ลูกน้องยิ่งกลัว เวลาไม่เข้าใจก็ยิ่งไม่กล้าถาม เพราะถามแล้วโดนด่าแน่ ได้แต่รับปากรับคำไปทำ ส่วนมากทำแล้วก็ไม่ได้ดังใจท่านผู้นำอีก เพราะไม่เข้าใจตั้งแต่แรก ทำเอาเร็วเอาด่วนลวกๆให้รีบเสร็จเพราะท่านใจร้อน!

ส่วนท่านผู้นำที่สื่อสารแบบเข้าใจเองคนเดียว ก็เพราะมีประสบการณ์มาก เข้าใจเห็นภาพเห็นรายละเอียดทุกอย่างในหัวตัวเองว่าต้องการอะไร แต่มักจะไม่รู้วิธีเรียบเรียง ย่อยก่อนสื่อสาร

เพื่อให้ลูกน้องที่มีพื้นเพต่างกัน ประสบการณ์ต่างกันเข้าใจ ทุกครั้งที่พูดอะไรไป ลูกน้องได้แต่นั่งหรือยืนฟังตาใสๆ...แต่ในหัวปวดตึ้บๆ ไมเกรนขึ้นหัวทุกทีเวลาฟังท่านพึมพำ!

Part.5.แล้วจะแก้ปัญหานี้ยังไงดีล่ะ!?

ปัญหาเหล่านี้ บรรดาท่านผู้นำมักจะเข้าใจผิด ว่าปัญหาทั้งหมดเกิดจากลูกน้อง ลูกน้องโง่ ฯลฯ

ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากลูกน้องจริงๆ โดยเฉพาะลูกน้องแบบไทยๆ ที่เวลาไม่เข้าใจมักไม่กล้าถาม กลัวโดนท่านผู้นำตำหนิ หรือกลัวโดนเพื่อนร่วมงานมองว่าเซลส์สมองน้อยจังนิเธอ!

ต้องแก้ไขไปพร้อมๆกันระหว่างท่านผู้นำกับลูกน้อง โดย...

ท่านผู้นำต้องตั้งสติและสังเกตุวิธีการสื่อสารของตนเอง ถ้าจะให้ดี ถาม Feedback จากลูกน้องถึงวิธีการสื่อสารของท่านผู้นำ ว่าส่วนใดที่คิดว่าพอใช้ ส่วนใดที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน อย่าอายที่จะถาม และต้องขอบคุณลูกน้องที่กล้าบอก เพราะกำลังช่วยท่านผู้นำที่เป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งอย่าง!

เมื่อรู้ปัญหาการสื่อสารของตนเองแล้ว ค่อยปรับค่อยแก้ และถ้าจะให้ดี ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยว่า ลูกน้องแต่ละคน ส่วนมากมีจริตและมีวิธีรับสารที่แตกต่างกัน ถ้าต้องคุยกับใครควรรู้ว่าจะพูดยังไง ถ้าต้องสื่อสารให้ลูกน้องฟังเป็นกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ ควรปรับวิธีสื่อสารของท่านผู้นำอย่างไร หลักคิดง่ายๆคือ“อย่าสื่อสารตามใจตนเอง และอย่าสื่อสารตามความเคยชิน!”

หลังจากนั้นค่อยปรับแก้ที่ลูกน้อง ย้ำให้ทุกคนถ้าไม่เข้าใจให้ถามทันที และตัวผู้นำต้องพยายามตรวจสอบความเข้าใจของลูกน้อง ด้วยการถามเป็นระยะในทุกการสื่อสาร เป็นต้น

Part.6.จะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องยาก..

ถ้าจะแก้ให้ได้ผล ต้องเริ่มต้นแก้ที่ตัวผู้นำ เพราะกฎของธรรมชาติในก็คือ.. “จะประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว ในเรื่องใดก็ตาม ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ตัวผู้นำ!”

Skip to content

  • Home
  • About
    • Project
    • Training
  • Work
    • Clip
    • ClassTalk
    • ห้องสมุด
  • บทความ
  • Follow up
  • สมาชิก Log in
    • สมัครสมาชิกใหม่
    • ข้อมูลสมาชิก
    • Password Reset
    • ออกจากระบบสมาชิก
  • Contact

Home/Article/5 ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร (5 Internal Communication Problems)

  • View Larger Image
    แนวทาง แก้ไขปัญหาการ สื่อสาร ในองค์กร

5 ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร (5 Internal Communication Problems)

ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร

          ในช่วงปีที่ผ่านมาผมได้รับความไว้วางใจจากท่านเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารระดับสูงประมาณ 2-3 แห่ง ให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์กรโดยเฉพาะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยแต่ละแห่งมีเป้าหมายที่ใกล้เคียงกันอย่างมิได้นัดหมายก็คือ อยากพัฒนาพนักงานให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งจะเป็นสมรภูมิของการทำงาน การค้าในรูปแบบใหม่ สนามการแข่งขันที่เกิดขึ้นเป็นสนามที่ท้าทาย มีความซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน

สิ่งที่องค์กรธุรกิจ หรือคนทำงานเผชิญอยู่ในขณะนี้และจะเกิดต่อไปในอนาคต  กำลังถูกขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่เป็นอัจฉริยะของโลก  ผ่านผลงานการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในระดับสุดที่จะจินตนาการ อินเตอร์เน็ตบนมือถือ Social Media ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เคยไปเดินจับจ่ายซื้อของในห้างสรรพสินค้า เปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ห้างเพื่อเป็นเพียงสถานที่ดูและทดลองสินค้า  และหันกลับไปตัดสินใจซื้อและจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์บนมือถือ  

           ลองนึกภาพเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน (Drone) กำลังคืบคลานเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าวงการขนส่งสินค้าไปสู่มือผู้รับ  Google พัฒนารถยนต์ที่สามารถพาเราไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องอาศัยคนขับรถอีกต่อไป  Tesla Motor พัฒนาโรงงานผลิตรถยนต์โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานคน หรือใกล้ตัวเราก็คือ โรงงานผลิตอาหารของ CP ที่ เมืองฉินหวงเต่า มณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน พัฒนาโรงงานจนสามารถผลิตอาหารสำเร็จรูป เช่น เกี๊ยว หรือ ข้าวกล่อง โดยใช้เครื่องจักรระบบสายพานอัตโนมัติทั้งหมด และในอีกไม่ช้าเราทุกคนจะพบกับมหาสึนามิที่จะถาโถมเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนทำงานโดยเฉพาะงานบริการ จำนวนกว่าครึ่งโลกนั่นคือ การพัฒนาเทคโนโลยี AI (ปัญญาประดิษฐ์) ที่จะช่วยให้หุ่นยนต์เกิดกระบวนการในการคิดวิเคราะห์แยกแยะและตัดสินใจได้เอง จนมีคนเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าหุ่นยนต์สามารถทำงานได้เท่ามนุษย์ หรือ อาจจะดีกว่ามนุษย์ แล้วต่อจากนี้ไปมนุษย์จะไปทำอะไรกัน”

องค์กรธุรกิจเท่าที่ผมได้รู้จักและเคยร่วมงานต่างแสดงออกถึงความกระตือรือร้นในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนของเกมส์ธุรกิจรอบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น มีความพยายามที่จะพัฒนาระบบการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกระบบงาน โดยยึดถือสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในปัจจุบันนั่นก็คือ ความรวดเร็ว (Speed)  

แน่นอนครับ ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านก็รู้เช่นเดียวกับที่ผมรู้ว่า ทุกครั้งที่องค์กรพยายามจะเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ สิ่งยากสุด คือ เรื่องของคนในองค์กรที่เป็นตัวเหนี่ยวรั้งให้การเปลี่ยนแปลงไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วตามที่ควรจะเป็น ท่านผู้อ่านลองหลับตานึกถึงการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุดในองค์กรของท่านดูครับว่าบรรยากาศเป็นอย่างไร เอาแค่เรื่องง่ายๆก่อนก็ได้  เช่น การออกระเบียบให้พนักงานขายมัดผมระหว่างทำงาน การห้ามสวมรองเท้าแตะในสำนักงาน แค่นี้ก็มีเสียงต่อต้านอื้ออึงดังเป็นระยะในสำนักงานแล้ว นี่ขนาดว่ายังไม่ต้องไปพูดถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน หรือการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสายงานนะครับ

องค์กรคงประสบกับความยากลำบากหรือความอึดอัดในการที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตาม หากขาดการสื่อสารภายในที่ดีเพียงพอ  ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรขององค์กรเกิดความเข้าใจ เห็นภาพเดียวกัน จนเกิดทัศนคติหรือพฤติกรรมที่เป็นไปตามที่องค์กรคาดหวังและสนับสนุนต่อวิสัยทัศน์ขององค์กร การสื่อสารภายในจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก

             ท่านผู้อ่านที่เป็นเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร หรือ พนักงานเคยรู้สึกแปลกใจไหมว่าทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยีการสื่อสารมากมายที่เข้ามาช่วยให้การติดต่อระหว่างกันมีความง่าย สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เรามีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง มือถือ มีอีเมล์  ระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร และปัจจุบันเรามีโปรแกรมสนทนาที่เรียกว่า LINE เข้ามามีส่วนพัวพันกับการสื่อสารเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตเรามากขึ้น  แต่กลับกลายเป็นว่าการสื่อสารภายในองค์กรของเรากลับไม่ได้ดีขึ้นตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นในระดับที่ทัดเทียมกันสักเท่าไหร่

ผมอยากลองให้ท่านผู้อ่านลองนึกภาพองค์กรของท่านดูสิว่าทุกวันนี้ยังคงประสบกับปัญหาการสื่อสารภายในองค์กรทั้ง 5 ประการนี้อยู่หรือไม่

 1. ไม่สื่อสารปัญหาอย่างตรงไปตรงมา 

             จากการที่ผมเก็บข้อมูลมาตลอด 10 ปี พบว่าปัญหาการสื่อสารภายในที่พบเจอบ่อยครั้งและเป็นเหมือนวัฒนธรรมองค์กรของประเทศไทย คือ เวลาที่เรามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น เรามักไม่หยิบยกปัญหาเหล่านั้นมานั่งพูดคุยปรึกษากันอย่างตรงไปตรงมา เราเลือกที่จะเก็บซุกซ่อนปัญหาไว้ ทำเพิกเฉย จนหลายครั้งปัญหาลุกลาม จากปัญหาเพียงเล็กน้อยกลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างผลกระทบและยากที่จะแก้ไข เช่น พนักงานขายหน้าร้านมีปัญหาการให้บริการกับลูกค้าบางท่าน อาจเป็นเพียงเรื่องความสับสนในขั้นตอนการให้บริการ แทนที่เมื่อเกิดปัญหาแล้ว  จะเอาสิ่งที่เกิดขึ้นมานั่งวิเคราะห์พูดคุยกันภายในองค์กรเพื่อปรับระบบหรือสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน

พนักงานคนนั้นกลับเลือกที่จะเก็บเงียบปัญหาไว้ ไม่มีการรายงานปัญหาให้หัวหน้าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เวลาผ่านไปไม่นานองค์กรกลับพบว่าลูกค้าที่ไม่พอใจนำเรื่องที่เกิดขึ้นไปเขียนโพสต์ไว้ตามสื่อสังคมออนไลน์ กระจายไปในวงกว้าง  สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับบริษัท จนชื่อเสียงบริษัทย่อยยับไปนักต่อนัก

แนวทาง แก้ไขปัญหาการ สื่อสาร ในองค์กร

               การที่คนในองค์กรไม่สื่อสารปัญหากันอย่างตรงไปตรงมา อาจเกิดจากวัฒนธรรมของสังคมเราที่ไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง กลัวจะเสียหน้า เสียฟอร์ม กลัวไม่เป็นที่รักของเพื่อนฝูง ยึดความสัมพันธ์มากกว่าผลลัพธ์จากการทำงาน การเคารพผู้ที่อาวุโสกว่า ห้ามเถียง ห้ามคัดค้าน ต้องเชื่อฟังคำสั่ง เวลาที่จะแสดงความคิดเห็นหรือเหตุผลที่แตกต่างก็มักจะถูกตำหนิว่าก้าวร้าว ไม่ให้เกียรติ  โดยที่ยังไม่ได้ฟังสิ่งที่เด็กกำลังจะให้เหตุผลของเขา

สิ่งที่ฝังรากลึกในความเชื่อเหล่านี้ทำให้บางองค์กรมีปัญหาซุกซ่อนไว้เป็นจำนวนมาก เวลาที่สะบัดพรมขึ้นมาทีฝุ่นจึงตลบอบอวลไปทั่วองค์กร เมื่อไม่สื่อสารปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ก็เท่ากับว่าปล่อยปัญหาเหล่านั้นทิ้งไว้ องค์กรก็มีสภาพไม่ต่างจากคนอมโรค แล้วจะมีแรงเพียงพอสำหรับพัฒนาขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างไร

 2. ปัญหาการแสดงพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่สร้างสรรค์

            หลายคนที่ต้องทำงานประสานงานร่วมกัน กลับมีวิธีการสื่อสารที่แสดงออกถึงพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่สร้างสรรค์ ไม่เหมาะสมกับการสร้างความร่วมมือ เช่น การใช้คำพูด น้ำเสียง ท่าทาง อากัปกิริยาที่สร้างความขุ่นข้องหมองใจให้กัน ไม่ให้เกียรติ ไม่เคารพศักดิ์ศรี และทำให้อีกฝ่ายรู้สึกต่ำต้อย

ถ้าท่านผู้อ่านนึกภาพไม่ออกว่าพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่สร้างสรรค์เป็นอย่างไร ก็ลองจินตนาการถึงภาพของการไปติดต่อหน่วยงานราชการสมัยก่อน ที่มักเจอข้าราชการพูดจาไม่ดี น้ำเสียงดุดัน ชักสีหน้า ทำท่าน่าเบื่อและไม่สนใจตอบคำถามเราเวลาที่เราสงสัยและถามอะไรเกี่ยวกับขั้นตอนและเอกสารของทางราชการที่เยอะแยะมากมายจนน่าปวดหัว แต่น้ำเสียงของเขาจะดังขึ้นมาทันที แสดงท่าทางออกมาอย่างเกรี้ยวกร้าวเวลาที่เราทำอะไรงก ๆ เงิน ๆ ผิดพลาดเนื่องจากเราไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูด จนบางครั้งเราก็สงสัยว่าทำไมเขาต้องโกรธเราขนาดนั้นทั้งที่เราก็ไม่ได้ไปเผาบ้านเขาสักหน่อย 

               การแสดงพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่สร้างสรรค์ที่ปรากฎในหน่วยงานราชการสมัยก่อนตามที่ผมยกตัวอย่างเมื่อสักครู่นี้เริ่มพบเห็นน้อยลง เพราะระบบราชการของไทยก็ได้นำระบบการบริการโดยเฉพาะการปลูกฝังวิธีคิดของผู้ให้บริการในภาคเอกชนเข้ามาเป็นตัวอย่างซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี เพราะทุกวันนี้สังคมโลกพยายามส่งเสริมให้คนเห็นคุณค่าของความเป็นคน เคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ ยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน  ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สวยงาม เพราะเรายังคงมีเลือดเนื้อและจิตใจที่หุ่นยนต์ยังเข้ามาแทนที่ไม่ได้ ผมเรียกมันว่า ความเห็นอกเห็นใจกันในฐานะของเพื่อนมนุษย์ สื่อสารแบบไม่สร้างสรรค์ โดย อ.นพพล นพรัตน์ (CEO, Acrosswork)

          3. ปัญหาการสื่อสารไม่ครบถ้วน ขาดความชัดเจน

            ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในระหว่างการทำงานติดต่อประสานงานระหว่างกัน เกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่กระบวนการรับสารตั้งตนที่ไม่ครบถ้วนอันเกิดจากขาดความสนใจเอาใจใส่ หรือการมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นๆไม่ดีเพียงพอในการสร้างความเข้าใจให้ตนเอง ขนาดตนเองยังไม่เข้าใจสิ่งเหล่านั้นเพียงพอแล้ว เมื่อเวลาต้องไปสื่อสารให้คนอื่นทราบก็ยิ่งจะสับสนกันไปใหญ่ กลายเป็นว่ารู้ครึ่งหนึ่งคิดเองอีกครึ่งหนึ่ง  ยิ่งสื่อสารยิ่งเพี้ยนไปกันใหญ่ เพราะโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เราจะสื่อสารเรื่องต่างๆออกไปโดยอิงกับความรู้และประสบการณ์เดิมที่ตนเองคุ้นเคยมาก่อน  และมักมีสมมติฐานในใจว่าคนอื่นก็รู้ ก็เคยผ่านประสบการณ์แบบที่ตนเองมี  

พูดแค่นี้น่าจะรู้เรื่องไม่เห็นต้องให้อธิบายอะไรให้ยืดยาวเสียเวลาเลย ซึ่งในความเป็นจริงคนอื่นอาจไม่มีพื้นฐานเรื่องนั้นมาเลยก็เป็นไปได้  ปัญหานี้ผมมักพบเจอกับหน่วยงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะเช่นฝ่าย IT ฝ่ายบัญชี และฝ่ายกฎหมาย ที่มักสื่อสารแบบสั้นๆ ด้วยศัพท์เฉพาะที่คนในหน่วยงานเขาใช้สื่อสารแบบง่ายก็เข้าใจตรงกันแล้ว แต่เมื่อต้องไปสื่อสารกับหน่วยงานอื่นที่ไม่ได้มีพื้นความรู้ด้านต่างๆดังที่ได้กล่าวมา การสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างกันจึงกลายเป็นการสื่อสารที่ไม่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน จนนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิดพลาดและสร้างความเบื่อหน่ายในการติดต่อประสานงานระหว่างกัน

แนวทาง แก้ไขปัญหาการ สื่อสาร ในองค์กร

            4. ปัญหาการสื่อสารทางเดียว และขาดการมีส่วนร่วม

                มักพบในระหว่างการสื่อสารภายในองค์กรที่เกิดขึ้นกับระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ โดยผู้บริหารหรือหัวหน้ามักมีวิธีการสื่อสารแบบแจ้งให้ทราบเพื่อให้คนอื่นปฏิบัติตามที่สั่งลงมา โดยลืมไปว่าคนทำงานทุกคนจะอยากให้ความร่วมมือปฏิบัติตามสิ่งที่บอกลงมาเมื่อพวกเขารู้สึกว่าวิธีการหรือนโยบายดังกล่าวนั้นพวกเขาได้มีส่วนร่วมในการกำหนดชะตาชีวิตตนเอง ไม่มีมนุษย์คนไหนชอบอยู่ในสภาวะการณ์แบบการกดขี่หรือถูกบังคับ

ทั้งนี้จากการที่พวกเราทุกคนรู้อยู่แล้วว่ามนุษย์มีศักดิ์ศรีและต้องการรักษามันไว้ยิ่งกว่าสิ่งใด การสื่อสารทางเดียวโดยขาดการมีส่วนร่วมถือเป็นหนึ่งในวิธีการลดทอนศักดิ์ศรีของคนที่ต้องทำงานร่วมกัน ในทางกลับกันการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม คือ การรับฟัง การให้โอกาสในการแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือคัดค้าน การให้เขาได้ช่วยเสนอแนะหนทางออกของการแก้ไขปัญหา ล้วนแต่ทำให้คนรู้สึกถึงการมีส่วนร่วม ความจริงใจของการอยู่ร่วมกัน เขาจะยิ่งให้ความร่วมมือ

                5. ปัญหาการเลือกช่องทางและวิธีการสื่อสารที่ผิดพลาด

                  ทั้งนี้การสร้างความร่วมมือ สร้างความเข้าใจในการสื่อสารภายในองค์กร ผู้ที่ส่งสารควรตระหนักถึงความเหมาะสมในการเลือกช่องทางการสื่อสารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เพราะปัญหาการสื่อสารภายในองค์กรข้อที่ 5 พบว่า หลายเรื่องควรมีการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจ เรากลับเลือกวิธีการส่งอีเมล์ ซึ่งเหมาะสมกับการแจ้งข่าวสารมากกว่าสร้างการมีส่วนร่วม หรือบางครั้งเรื่องไม่สำคัญ แค่แจ้งให้รับรู้ก็อาจเลือกวิธีการส่งอีเมล์ก็เพียงพอจะได้ไม่เสียเวลา

ผู้บริหารบางคนกลับใช้วิธีการเรียกประชุมแล้วก็นำเวทีของการประชุมในครั้งนั้นเป็นที่ระบายอารมณ์ใส่ผู้ร่วมงาน ทั้งนี้เรื่องสำคัญ เร่งด่วนโทรหากันง่ายกว่าส่ง LINE ครับ https://bit.ly/33ZOGeC

แนวทาง แก้ไขปัญหาการ สื่อสาร ในองค์กร

           
           ปัญหาทั้ง 5 นี้เกิดขึ้นมากน้อยแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมที่ปลูกฝังกันมาอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจในแต่ละองค์กรมาเป็นเวลายาวนาน หากแก้ตรงจุดนี้ไม่ได้ คงเป็นการยากที่จะสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในองค์กรในการขับเคลื่อนไปสู่สนามการแข่งขันทางธุรกิจอันท้าทายครั้งใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ได้

Share This Article

Page load link
Go to Top