โครงการโซล่าเซลล์ รัฐบาล 2564 ลงทะเบียน

อัพเดทโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ปี 2564 มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเพียง 3 เมกะวัตต์จากเป้าหมายรับซื้อ 50 เมกะวัตต์ แม้ว่ารัฐจะขยับราคารับซื้อจาก 1.68 บาทต่อหน่วย เป็น 2.20 บาทต่อหน่วยแล้วก็ตาม โดยในการปรับแผนพีดีพี ช่วง10 ปีแรกในปี 65 จะมีการปรับลดเป้ารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในภาพรวมจาก 140 เมกะวัตต์ เหลือ 10 เมกะวัตต์

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy News Center-ENC ) รายงานว่า โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย พ.ศ. 2564 หรือโซลาร์ภาคประชาชน เป้าหมายรับซื้อจำนวน 50 เมกะวัตต์ ที่เปิดให้สมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ.- 30 ธ.ค. 2564 นั้น จนถึงเดือนพ.ย.2564 มียอดรวมผู้เข้าร่วมโครงการรวม 654 ราย กำลังผลิตรวมเพียง 3.134 เมกะวัตต์ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าเป้าหมายอยู่มาก

โดยแบ่งเป็นการขอเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านทางการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในปี 2564 จำนวน 102 ราย รวม 614.8 กิโลวัตต์ (หรือปริมาณ 0.614 เมกะวัตต์)

- Advertisment -

โครงการโซล่าเซลล์ รัฐบาล 2564 ลงทะเบียน

ยอดสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการฯ ครั้งแรกในปี 2562 -2564 เฉพาะในส่วนของ กฟน. มีผู้ร่วมโครงการรวม 629 ราย รวมกำลังผลิตไฟฟ้าได้ 3,567.036 กิโลวัตต์ (หรือปริมาณ 3.567 เมกะวัตต์ )

ขณะที่มีผู้ขอเข้าร่วมโครงการผ่านทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ในปี 2564 จำนวน 552 ราย รวม 2,520.40 กิโลวัตต์(หรือประมาณ 2.520 เมกะวัตต์) สำหรับยอดสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการฯ ครั้งแรกในปี 2562 -2564 เฉพาะในส่วนของ PEA มีผู้ร่วมโครงการรวม 953 ราย รวมกำลังผลิตไฟฟ้าได้ 4,724.51 กิโลวัตต์(หรือประมาณ 4.724 เมกะวัตต์ )

สำหรับโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ประจำปี 2564 เป็นโครงการตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2563 ที่กำหนดให้เปิดรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์ภาคประชาชน 50 เมกะวัตต์ สำหรับบ้านอยู่อาศัย ขนาดกำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อไฟฟ้าอยู่ที่ 2.20 บาทต่อหน่วย โดยมีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี ทั้งนี้ผู้ติดตั้งจะต้องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในปี 2564

โดยในวันที่ 4 ก.พ. 2564 กกพ.ได้ออกประกาศเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการอย่างเป็นทางการ โดยแบ่งเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) 15 เมกะวัตต์ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA) รับซื้อ 35 เมกะวัตต์ ซึ่งได้เปิดรับซื้อไฟฟ้าตั้งแต่ 4 ก.พ. -30 ธ.ค. 2564 นี้

ทั้งนี้โครงการโซลาร์ภาคประชาชน ปี 2564 นี้ นับเป็นรอบ 3 ที่กระทรวงพลังงานเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ โดยรอบแรก เกิดขึ้นเมื่อปี 2562 จำนวน 100 เมกะวัตต์ และรอบ 2 ปี 2563 จำนวน 100 เมกะวัตต์ แต่มีผู้เข้าร่วมโครงการต่ำกว่าเป้าหมายอย่างมาก โดยรวมทั้ง 2 รอบมีประชาชนสมัครรวมประมาณ 400 ราย รวมกำลังการผลิตเพียง 3-4 เมกะวัตต์ เท่านั้น เนื่องจากราคารับซื้อเดิมไม่จูงใจเพียง 1.68 บาทต่อหน่วย ดังนั้นในรอบที่ 3 ที่เริ่มเมื่อต้นปี 2564 จึงปรับราคารับซื้อเป็น 2.20 บาทต่อหน่วย และให้ผู้ร่วมโครงการฯ ที่เคยได้รับราคารับซื้อไฟฟ้า 1.68 บาทต่อหน่วยได้ปรับราคารับซื้อขึ้นเป็น 2.20 บาทต่อหน่วยแบบอัตโนมัติตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในการปรับแผนPDP2018 rev1 ช่วง 10 ปีแรก( 2564-2573)​ ที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน หรือ กบง.ให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 64 ที่ผ่านมา ในส่วนเป้าหมายของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตั้งเป้าไว้เดิมในปี 65 ว่าจะรับซื้อ 140 เมกะวัตต์นั้น มีการปรับลดปริมาณลงเหลือเพียง 10 เมกะวัตต์ แต่จะไปเพิ่มปริมาณรับซื้อ เป็น 200 เมกะวัตต์ในปี 66 และเพิ่มอีก 300 เมกะวัตต์ในปี67 ส่วนปี68 จะเพิ่มอีก 400 เมกะวัตต์ ปี69 เพิ่มอีก 500 เมกะวัตต์ ปี70 เพิ่มอีก 600 เมกะวัตต์ ปี71 เพิ่มอีก 700 เมกะวัตต์ ปี 72 เพิ่มอีก 800 เมกะวัตต์ และ ปี 73 เพิ่มอีก 900 เมกะวัตต์ แต่การเพิ่มการรับซื้อดังกล่าวจะเน้นไปที่โครงการโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่บวกระบบแบตเตอรี่ และโซลาร์บนทุ่นลอยน้ำในเขื่อนของ กฟผ.

กกพ. มีมติเห็นชอบประกาศรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย พ.ศ. 2565 ที่ราคาหน่วยละ 2.20 บาท รับเป้าหมายปีละ 10 เมกะวัตต์ ระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี

คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ กำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า กกพ. มีมติเห็นชอบประกาศการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ โดยรับซื้อต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565 สอดรับกำหนด เป้าหมายปีละ 10 เมกะวัตต์ สำหรับพื้นที่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 5 เมกะวัตต์ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 5 เมกะวัตต์ โดยรับซื้อไฟฟ้าที่ 2.20 บาทต่อหน่วย ระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี กำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ตามสัญญา (SCOD) ภายใน 270 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

“การประกาศครั้งนี้เป็นการดำเนินการโครงการโซล่าร์รูฟท็อปภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัยในปี 2565 ต่อเนื่องจากการดำเนินการในปี 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ประกาศครั้งนี้ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อ อำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการโดยมีสาระสำคัญ ของประกาศดังนี้

  1. ไม่จำกัดเวลาการยื่นคำขอขายไฟฟ้า แต่ยังคงเน้นกระบวนการพิจารณาคำขอขายตามเวลาที่กำหนดและผู้เสนอขายไฟฟ้าส่วนเกินจะต้องดำเนินการติดตั้งและตรวจสอบระบบให้แล้วเสร็จ ภายใน 270 วัน นับจากวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และหาก ดำเนินการไม่ทันตามกำหนดให้ยื่นหนังสือถึงการไฟฟ้าแจ้งความพร้อม เพื่อขอขยายเวลาได้อีก 90 วันก่อนยกเลิกสัญญา
  2. กรณีคำขอขายไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างพิจารณาในปี 2564 ให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายแจ้งผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้าดำเนินการ ต่อตามขั้นตอนตามประกาศฉบับนี้
  3. กรณีคำขอขายที่ผ่านการพิจารณาแล้วในปี 2564 และยังไม่ถูกยกเลิกให้การไฟฟ้าแจ้งผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้ามาลงนามสัญญา ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง

การส่งเสริมให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าใช้เองโดยติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อปในบ้าน ที่อยู่อาศัยเพื่อบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและสามารถนำส่วนที่เหลือมาขาย เข้าระบบได้ โดยเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการลดการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้า ด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ผันผวน และมีราคาสูงจากผลของภาวะวิกฤตการณ์ ราคาพลังงานโลกที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ด้วย” นายคมกฤช กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถยื่นคำขอจำหน่ายไฟฟ้าได้ที่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)  และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทั่วประเทศ ตามพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ สำนักงาน กกพ. (www.erc.or.th)