ยกตัวอย่างเครื่องมือสำหรับเจาะมา 4 ชนิด พร้อมบอกลักษณะการใช้งาน

     เลื่อยจิ๊กซอว์หรือเลื่อยฉลุไฟฟ้าเป็นเครื่องมือช่างที่ช่างไม้รู้จักและนิยมใช้กันมาก เป็นเครื่องมือที่มีความปลอดภัยสูง ใช้ตัดวัสดุได้เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นไม้ เหล็ก พลาสติก แก้ว เซรามิคเลื่อยจิ๊กซอสามารถตัดชิ้นงานได้หลากหลายทิศทางอย่างอิสระ ทั้งตัดแนวตรง ตัดโค้ง ตัดตามรูปร่างชิ้นงานและเจาะรูกลางแผ่นชิ้นงานได้แต่การตัดไม้ด้วยเลื่อยจิ๊กซอจะมีความแตกต่างกับการใช้เลื่อยวงเดือนคือ ผิวชิ้นงานที่ได้มักออกมาไม่ค่อยเรียบ

เป็นเครื่องมืองานช่างทั่วไป มักใช้ในงานไม้ งานปูนคอนกรีต และงานโลหะ มีหน้าที่ใช้สำหรับเจาะรู กระแทกวัตถุใช้ไขหรือคลายสกรูในการถอดและประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยที่ไม่ต้องออกแรงมาก สว่านมีรูปทรงลักษณะคล้ายปืน มีด้ามจับ ส่วนปลายเป็นปากสำหรับยึดดอกสว่าน ซึ่งดอกสว่านมีลักษณะเป็นแท่งเกลียวยาวปลายแหลมที่สามารถหมุนเจาะทำให้เป็นรูได้ ดอกจะสว่านมีหลายประเภทและมีหลายขนาดสามารถถอดและเปลี่ยนดอกสว่านได้ตามต้องการ

วันนี้ KACHA จะชวนทุกคนมาทำความรู้จักว่าสว่านคืออะไร? มีกี่ประเภท? แต่ละประเภทเหมาะกับงานเจาะชนิดไหน? มีวิธีเลือกซื้อสว่านและวิธีการใช้สว่านให้ปลอดภัยอย่างไร? ดอกสว่านคืออะไร? รวมทั้งประเภทดอกสว่านชนิดต่าง ๆ ด้วย ตามไปดูกันเลย . . .

สารบัญ

  • ประเภทของสว่าน มีอะไรบ้าง?
    • 👉 สว่านไขควงไฟฟ้า (Electric Screwdriver)
    • 👉 สว่านไฟฟ้า (Electric Drill)
    • 👉 สว่านกระแทก (Impact Driver Electric) 
    • 👉 สว่านเจาะกระแทกหรือสว่านโรตารี่ (Hammer Drills Electric)
    • 👉 สว่านไร้สาย หรือสว่านแบตเตอรี่ 
  • ประเภทของดอกสว่าน
    • 1.) ดอกสว่านเจาะไม้
    • 2.) ดอกสว่านเจาะเหล็ก
    • 3.) ดอกสว่านเจาะปูนหรือเจาะคอนกรีต
  • คำแนะนำการใช้ดอกสว่านกับงานทั่วไปที่ถูกต้อง
  • วิธีการใช้สว่านให้ปลอดภัย
  • การจัดเก็บและบำรุงรักษาสว่าน

ประเภทของสว่าน มีอะไรบ้าง?

หากแบ่งตามการใช้งานแล้วสว่านจะมีหลากหลายมาก ตั้งแต่แบบมือถือไปจนถึงแบบตั้งโต๊ะขนาดใหญ่ จึงขอยกตัวอย่างสว่านแบบมือถือที่เราเคยเห็นกัน ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

ยกตัวอย่างเครื่องมือสำหรับเจาะมา 4 ชนิด พร้อมบอกลักษณะการใช้งาน

👉 สว่านไขควงไฟฟ้า (Electric Screwdriver)

มีกำลังไม่สูงมากนัก มีทั้งแบบไร้สาย ใช้แบตเตอรี่ และใช้ถ่าน หน้าที่หลักคือการไขสกรู จึงมีระบบควบคุมแรงบิดและรอบหมุน สามารถกลับทางหมุนได้ เพื่อให้เหมาะกับทั้งการไขสกรู และการคลายสกรู

ยกตัวอย่างเครื่องมือสำหรับเจาะมา 4 ชนิด พร้อมบอกลักษณะการใช้งาน

👉 สว่านไฟฟ้า (Electric Drill)

มีกำลังประมาณ 300-550 วัตต์ มีน้ำหนักเบา ถูกออกแบบมาเพื่อสำหรับงานเจาะไม้, เจาะเหล็ก, เจาะพลาสติก, ขันน็อต, ขันสกรู แต่ไม่สามารถเจาะปูน อิฐ และหินได้ ข้อดีคือมีสายไฟ จึงสามารถใช้งานอย่างต่อเนื่อง สว่านประเภทนี้เน้นงานไม้เป็นหลัก เหมาะสำหรับมีติดบ้านไว้ใช้งานเบา ๆ เช่น เจาะชั้นไม้, หิ้งพระ, ที่แขวนรูป, ใช้เป็นไขควงไฟฟ้า, ใช้ในงานฝีมือ DIY ต่าง ๆ เพราะมีขนาดเล็กน้ำหนักเบากว่าสว่านแบบอื่น หรือไว้ใช้สำหรับเจาะเพดาน หรือเจาะเหล็กกล่องโครงหลังคาเพื่อยึดหลังคา

ยกตัวอย่างเครื่องมือสำหรับเจาะมา 4 ชนิด พร้อมบอกลักษณะการใช้งาน

👉 สว่านกระแทก (Impact Driver Electric) 

มีลักษณะคล้ายสว่านไฟฟ้า แต่มีกำลังวัตต์สูงกว่า มีกำลังประมาณ 550-720 วัตต์ ใช้การทำงาน 2 ระบบ คือระบบธรรมดา และระบบกระแทกที่ทำหน้าที่เหมือนค้อน ช่วยในการเจาะปูนแบบก่อฉาบ งานไม้และงานเหล็ก เหมาะสำหรับงานช่างทั่วไปและช่างอาชีพ และยังเป็นสว่านยอดฮิตที่มีติดบ้านไว้สำหรับงานช่างของพ่อบ้านอีกด้วย

👉 สว่านเจาะกระแทกหรือสว่านโรตารี่ (Hammer Drills Electric)

มีกำลังตั้งแต่ 650 วัตต์ ขึ้นไป แบ่งออกเป็นแบบ 2 ระบบ คือระบบเจาะและระบบกระแทก กับแบบ 3 ระบบ คือระบบเจาะ, ระบบกระแทก และระบบสกัด เพื่อช่วยสกัดหน้าปูนเพิ่มขึ้นมา เรียกได้ว่าเป็นสว่านเจาะปูนโดยเฉพาะนั่นเอง

ยกตัวอย่างเครื่องมือสำหรับเจาะมา 4 ชนิด พร้อมบอกลักษณะการใช้งาน

👉 สว่านไร้สาย หรือสว่านแบตเตอรี่ 

เนื่องจากไม่ใช้ไฟฟ้าจึงสะดวกเมื่อต้องใช้งานนอกสถานที่ หรือบนที่สูง เหมาะกับงานเจาะไม้, เหล็ก หรือขันน๊อต แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง เพราะต้องคอยชาร์จหรือเปลี่ยนแบตเตอรี่นั่นเอง จึงมีข้อจำกัดในเรื่องกำลังไฟ คือมีกำลังไฟน้อยกว่าสว่านทั่วไป ทำให้กำลังในการเจาะอาจจะสู้สว่านประเภทอื่น ๆ ที่ต่อกับไฟฟ้าโดยตรงไม่ได้

ประเภทของดอกสว่าน

ดอกสว่านเป็นเครื่องมือช่างที่สำคัญที่ต้องใช้ร่วมกับสว่าน ดอกสว่านในท้องตลาดปัจจุบันมีหลายขนาด และหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นงานไม้, งานเหล็ก, งานปูน, งานคอนกรีต ดังนั้นการเลือกซื้อดอกสว่านมาใช้งานต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานด้วย ซึ่งแบ่งประเภทของดอกสว่านได้ 3 ประเภท ดังนี้

ยกตัวอย่างเครื่องมือสำหรับเจาะมา 4 ชนิด พร้อมบอกลักษณะการใช้งาน

สำหรับดอกสว่านเองนั้นไม่สามารถจะเจาะวัสดุต่าง ๆ ได้ แต่จะต้องใช้งานควบคู่ไปกับสว่านเสมอ โดยตัวสว่านจะทำหน้าที่ยึดจับดอกสว่านไม่ให้สะบัดในขณะใช้งานนั่นเอง

1.) ดอกสว่านเจาะไม้

มีลักษณะส่วนปลายแหลมมีหัวเกสร ช่วยในการนำศูนย์ ปลายดอกจะคล้ายหางปลา ลดการแกว่ง เป็นดอกสว่านที่ใช้สำหรับเจาะไม้ที่มีขนาดไม่กว้างนัก โดยขนาดที่นิยมใช้กันทั่วไป คือ ขนาด 5, 6 หรือ 8 มิลลิเมตร ดอกสว่านเจาะไม้ผลิตจากเหล็กคาร์บอนต่ำ ทำให้ไม่สามารถทนความร้อนและแรงเสียดทานได้มากนัก

2.) ดอกสว่านเจาะเหล็ก

เป็นดอกสว่านที่ใช้เจาะวัสดุเนื้อเเข็ง เหล็ก อลูมิเนียม หรือวัสดุเนื้ออ่อนได้ มีลักษณะเป็นเกลียวตัดตลอด ปลายดอกสว่านจะแหลมเพื่อใช้ในการจิกชิ้นงาน สามารถนำมาใช้เจาะชิ้นงานที่เป็นไม้หรือโลหะทั่วไป รวมถึงพลาสติกได้อีกด้วย โดยดอกสว่านเจาะเหล็กจะแบ่งตามชนิด ดังนี้

  • ดอกสว่านชุบดำ เป็นเเบบที่ใช้งานทั่วไป เจาะไม้ เจาะเหล็กได้ เเต่จะค่อยไม่เเข็งเเรง เเตกหักง่าย หากเจาะวัสดุที่มีความเเข็งมาก
  • ดอกสว่านไฮสปีด ใช้งานเจาะทั่วไป เจาะเหล็ก เจาะไม้ วัสดุเนื้อเเข็ง เป็นดอกที่มีความทนทานมากกว่าดอกสว่านเเบบชุบดำ
  • ดอกสว่านไฮสปีดเคลือบไทเทเนียม จะเป็นดอกสีทอง ใช้งานได้ดีกว่าดอกไฮสปีดทั่วไป ทนความร้อนได้ดีกว่า อายุการใช้งานนานกว่า
  • ดอกสว่านเจาะสเตนเลส มีความเที่ยงตรงและความคงทนสูง ตัวดอกสว่านเคลือบ COBALT เพื่อทนการเสียดสีและความร้อนทำให้อายุการใช้งานยาวนาน ซึ่งดอกสว่านไฮสปีดเเบบธรรมดาจะเจาะสเเตนเลสไม่เข้า
  • ดอกสว่านทรงเจดีย์ ใช้เจาะไม้ เจาะเหล็กหนาได้ตามขนาดความสูงของชั้นดอกเจาะ ใช้เจาะทำฉาก ทำชั้นวาง เจาะพลาสติก อลูมิเนียม ชุบไทเทียมเพิ่มอายุการใช้งานไม่ต้องใช้ดอกสว่านเจาะนำ หมดปัญหาดอกสว่านไหม้ ดอกสว่านหัก ดอกสว่านแกว่ง
  • ดอกโฮลซอว์เจาะเหล็ก เป็นดอกสว่านที่ใช้เจาะรูขนาดใหญ่กว่าดอกสว่านธรรมดา ลักษณะคล้ายกับดอกโฮลซอล์เจาะไม้ ใช้ได้กับสว่านเเท่นเเละสว่านไฟฟ้า

3.) ดอกสว่านเจาะปูนหรือเจาะคอนกรีต

มีลักษณะของดอกสว่านเป็นเกลียวบิด ส่วนปลายดอกเป็นเหล็กชุบแข็งพิเศษ เพื่อช่วยรองรับแรงกระแทกจากการใช้งาน เหมาะสำหรับการเจาะปูน ซีเมนต์ บล็อก หรืออิฐ เป็นต้น ดอกสว่านชนิดนี้จะผลิตจากเนื้อโลหะที่อ่อนกว่าส่วนหัวเจาะ สว่านหัวเจาะจะผลิตจากทังสเตนคาร์ไบด์ แบ่งตามชนิด ดังนี้

  • ดอกสว่านเจาะคอนกรีตก้านกลม เหมาะกับการเจาะรูสำหรับติดตั้งตัวยึดทั่วไป เช่น พุกเหล็ก พุกพลาสติก เป็นดอกสว่านที่ใช้กับสว่านกระเเทกได้ทุกรุ่น หัวดอกเป็นทังสเตนคาร์ไบด์คุณภาพดี มีคมตัดทั้งสองด้าน
  • ดอกสว่านโรตารี่ ดอกสว่านนี้สามารถเจาะคอนกรีตได้อย่างทะลุทะลวง คอนกรีตเสริมเหล็ก แผ่นตระแกรงเหล็ก หรือหินที่แข็งแกร่ง หัว 4 เขี้ยวผลิตจาก คาร์ไบร์เกรดสูงสุด ทำให้การเจาะแม่นยำง่ายดาย ใช้ได้ยาวนาน และเจาะเป็นวงกลมได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
  • ดอกสว่านโฮลซอว์เจาะคอนกรีต มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีเเกนสำหรับเจาะนำศูนย์ ใช้สำหรับเจาะปูน และคอนกรีตเพื่อให้ท่อหรือวัสดุต่าง ๆ ลอดผ่านรูไปได้ใช้ร่วมกับสว่านโรตารี่

คำแนะนำการใช้ดอกสว่านกับงานทั่วไปที่ถูกต้อง

  • ก่อนการเจาะรูทุกครั้ง ตรวจปลายดอกสว่านทุกครั้ง ถ้าไม่คมต้องทำการลับดอกสว่านใหม่ ถ้าเจาะต่อไปอาจทำให้ดอกสว่านร้อน และ หักได้ ถ้าต้องการเจาะชิ้นงานต้องการความแม่นยำสูง เราก็ควรใช้เหล็กนำศูนย์ตอกนำเสียก่อนตรงตำแหน่งที่จะเจาะรู (ตอกให้เป็นรอยบุ๋มเล็กๆ) เพื่อช่วยให้ปลายดอกสว่าน สามารถกินเนื้องานตรงกับจุดที่เราต้องการ ไม่กระโดดหนีศูนย์ออกไป ที่สำคัญจะต้องยึดชิ้นงานให้ติดแน่นอยู่กับที่ด้วยแท่นยึด
  • ควรขันดอกสว่านให้แน่นทุกครั้งด้วยกุญแจขันหัวสว่าน ก่อนการใช้งาน เพราะถ้าดอกสว่านหลวมอาจทำให้หลุดกระเด็นออกมาได้หรือเจาะไม่เข้า และเมื่อขันจนแน่นดีแล้ว ลองเปิดสวิตช์ให้สว่านหมุน เพื่อดูว่าปลายดอกสว่านหมุนแกว่งหรือไม่ ถ้าเราเห็นว่าดอกสว่านแกว่งไปมา(เสียศูนย์) ให้คลายดอกสว่านออกแล้วขันเข้าไปใหม่เสมอ
  • ควรสวมแว่นตานิรภัยเพื่อป้องกันผงฝุ่นที่เกิดจากการเจาะ รวมทั้งเศษวัสดุต่าง ๆ จากชิ้นงานซึ่งอาจกระเด็นมาเข้าตาได้ และควรแต่งกายให้รัดกุม เสื้อแขนยาวไม่ควรใส่ รวมถึงนาฬิกาด้วย เพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ และเมื่อเลิกใช้งานแล้วให้ถอดดอกสว่านออกมาเพื่อทำความสะอาดก่อนนำไปเก็บเข้าที่

วิธีการใช้สว่านให้ปลอดภัย

ยกตัวอย่างเครื่องมือสำหรับเจาะมา 4 ชนิด พร้อมบอกลักษณะการใช้งาน

  1.  แต่งกายให้รัดกุม สวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น แว่นตา, ถุงมือ, ผ้าปิดจมูก พับแขนเสื้อให้เรียบร้อย งดใส่เครื่องประดับบริเวณมือ
  2. ตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนใช้งาน ทั้งตัวอุปกรณ์และสายไฟ
  3. เลือกประเภทอุปกรณ์ให้ตรงกับประเภทงาน
  4. ขันดอกสว่านให้แน่น ไม่แกว่งหรือเคลื่อนที่ขณะใช้งาน
  5. หากต้องการเจาะวัสดุที่ต้องการให้ทะลุ ควรนำวัสดุมารองรับเสมอ
  6. หากต้องการเจาะวัสดุที่ขยับได้ ควรล็อควัสดุให้แน่นก่อน
  7. ก่อนเจาะทุกครั้งควรใช้เหล็กตอกนำศูนย์ตรงจุดที่ต้องการเจาะ
  8. จับอุปกรณ์ให้กระชับและตรงจุด ขณะเจาะควรออกแรงกดให้สัมพันธ์กับการหมุนของอุปกรณ์

การจัดเก็บและบำรุงรักษาสว่าน

  1. เมื่อใช้งานสว่านเสร็จแล้ว ควรมีการทำความสะอาดทุกครั้ง โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นซอกที่อาจมีเศษผงจากการเจาะเข้ามาติดในมอเตอร์ ซึ่งอาจทำให้สว่านพังหรือเกิดความเสียหายได้
  2. ตรวจสอบตรวจซ่อมสว่านว่ายังคงมีสภาพการใช้งานได้ปกติ รวมไปถึงสายไฟ ควรตรวจเช็คให้ละเอียด เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานในครั้งต่อไป
  3. หลังจากใช้งานสว่านเสร็จ ควรถอดดอกสว่านออกทุกครั้ง และในส่วนที่เป็นโลหะควรเช็ดด้วยน้ำมันเพื่อป้องกันการขึ้นสนิม
  4. เก็บสว่านและอุปกรณ์ต่าง ๆ ลงกล่องของมันให้ถูกที่ และไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น ควรเก็บไว้ในที่เเห้ง


สว่านมีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป มีให้เราได้เลือกหลายรุ่น หลายยี่ห้อ เพียงเราเลือกซื้อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน การใช้งานให้ถูกต้อง รู้จักเก็บรักษาสว่านและเครื่องมือช่างต่าง ๆ ก็จะสามารถอยู่คู่กายเราไปได้อีกนาน 👍

เครื่องมือเครื่องใช้ในการเจาะมีอะไรบ้าง

เครื่องมือประเภทเจาะ มีดังนี้ สว่าน ใช้สำหรับเจาะรูเพื่อใส่สกรูหรือเดือย มีดังนี้ 1.สว่านมือหรือสว่านเฟือง ใช้สำหรับเจาะรูขนาดเล็ก 2.สว่านไฟฟ้า เป็นเครื่องมือเจาะที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ใช้เจาะวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีต ปูน โลหะ ไม้ และพลาสติก ใช้งานได้สะดวกและรวดเร็ว เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน

Drilling Machine คือเครื่องมือชนิดใด

เครื่องเจาะ (Drilling Machine) เป็นเครื่องจักรกลที่ใช้ในการเจาะรูชิ้นงาน โดยใช้ดอกสว่านหมุนเข้าตัดเนื้อวัสดุชิ้นงาน ด้วยการส่งกำลังจากมอเตอร์ ผ่านระบบสายพานหรือชุดเฟือง สามารถปรับเปลี่ยนความเร็วรอบ ได้ตามขนาดความโตของดอกสว่าน เครื่องเจาะที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป มีอยู่หลายชนิด แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง 3 ชนิด คือ

เครื่องมือเจาะไม้ มีอะไรบ้าง

สิ่ว สิ่ว (Chisels) เป็นเครื่องมือเจาะ เซาะ บาก หรือตกแต่งผิวไม้ให้เป็นรูเป็นร่อง หรือช่อง ส าหรับเข้าไม้ติดอุปกรณ์ หรือแต่งผิวให้เรียบ ตรง หรือโค้ง สิ่วที่ใช้กับงานไม้ ได้แก่ สิ่วปาก บาง สิ่วเจาะปากบาง สิ่วเจาะเดือย และสิ่วเล็บ มือ สิ่ว

สว่านมือเป็นเครื่องมือแบบใด

สว่านมือเป็นเครื่องมืองานช่างที่ใช้ในการเจาะรูโดยอาศัยแรงของมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อน ทำให้คมของสว่านหมุนลงในเนื้อวัสดุชิ้นงานจนเกิดเป็นรู แม้สว่านมือจะเป็นสว่านที่มีรอบหมุนช้า ทำการเจาะชิ้นงานได้ช้า แต่จะได้งานที่ละเอียด และควบคุมคุณภาพงานได้ดีกว่าสว่านไฟฟ้า ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาสว่านมือแบบเฟืองทด แบบข้อเสือ สว่าน ...