บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากวรรณคดีไทยเรื่องใด

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  บทพากย์เอราวัณเป็นเนื้อหาตอนหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ บรรยายลักษณะของช้างเอราวัณไว้อย่างวิจิตรพิสดาร โดยช้างนี้เดิมเป็นช้างทรงของพระอินทร์ช้างเอราวัณในตอนนี้ เป็นช้างที่พวกฝ่ายอินทรชิต คือการุณราช แปลงมาเป็นช้างเอราวัณลอยมาจากบนท้องฟ้า เหล่ายักษ์แปลงตนเป็นเทวดา นางอับษร ทำให้ไพร่พลฝ่ายทัพของพระราม ถูกลวงและหลงใหลในความงาม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

  สรุปเนื้อหาวรรณคดี วรรณกรรมและวรรณกรรมท้องถิ่นในระดับที่ยากยิ่งขึ้น                    

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดของเรื่องได้

  2. มีทักษะกระบวนการกลุ่ม

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

  1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

  1.2 ตรวจแบบทดสอบ

2. เครื่องมือ

  2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

  2.2 แบบบันทึกการตรวจแบบทดสอบ

3. เกณฑ์

  3.1 ผลงานมีความถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

  3.2 ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป

���ҡ�������ѳ���������ѡɳТͧ��ҧ�����ѳ������ҧ��ʴ�ê�ҧ����繪�ҧ�ç �ͧ����Թ��� ��ҧ�����ѳ㹵͹����繪�ҧ�����ѳ���ǡ�����Թ�êԵ ��� ���س�Ҫ �ŧ���繪�ҧ�����ѳ����Һ���ͧ��� ���������ѡ���ŧ������Ǵ� �������·Ѿ������ ¡��� ˹��ҹ ��͵�Ǫ���������������������������ǴҨ�ԧ�

�Թ�êԵ �ŧͧ������͹����Թ���ç��ҧ�����ѳ ��ҧ�ŧ�������ç�����ķ�����觼�Ǣͧ��ҧ�����ѳ���բ����͡��ͧ���Ҵ����բͧ�ѧ����е���˭�� ������Ժ�������� ����������� 7 �� �بྪ���§���ҡ ����Ч� ����к�� 7 ��� ��������աͺ�� 7 �� �ͺ�����С��մ͡��� 7 �͡ ����д͡����觺ҹ����ա�պ 7 ��պ ��պ���С�պ����෾�Դ� 7 ͧ�� ����ͧ����ǹ�ٻ��������ҡ ෾�Դ� ����ͧ����պ�����ͧ���� 7 �� �����������ǹ���Ե������ �ҧ����ҹ���͹�к���ҧ�Ӫ���ª���µҴ�觹ҧ��ҹҧ���ä� ����ê�ҧ��������è������ҹ���� ���ҹ���ب��觻���ҷ�Ǫ�ѹ��ͧ����Թ�������ͧ��дѺ�ͧ�ҧ��ǹ����ǹ��ѵ�������ᴧ��� ����Թ (��ǧ������������Ѻ�§�ѻ�Ѻ��ҧ������¶ѡ���·ͧ) ����ͧ����Ǫ�ҧ�繵Ң���ྪ��ѵ����ǹ����繵�оͧ�������¼�ҷԾ ����٪�ҧ���¾��ء�� �ŷѹ��ö� �ŧ�繤�ҭ��ҧ�Ѻ���� ��ҧ�ç ��ôҨ��ç��ʹ� (���� 4 �����) ��ǹ�ŧ������Ǵ� �Ѿ˹�������ѡ����Ҽ���ѡ�һ�� �Ѿ��ѧ��ر �Թ�� �Ҥ �ա������ ���� �Է�Ҹ� �ա��Ҥ���þ� �Ѵ�Ѿ ������ҾԪ��ʧ�������м����ǹ������ظ����͡ �� ��Т�ä� ��ҡѹ��ǹ����

��������Сͺ����ͧ

�Թ�êԵ ������ͧ��ⵢͧ�ҧ��ⱡѺ�ȡѳ�� ������� ó�ѡ��� �繾��ҧ�մ����侹������ǧ�� �ժ��Ҫ��͹ҧ����ó�ѹ���� ������ 2 ͧ�� ��� ������ѹ ��� �ѹ���ǡ �������������� 14 �� ����¹�ԪҡѺ����⤺ص� ������Ƿ���� ���ҡ���Ѥ�Ք ��� ��Һ٪Ҿ������ҷ��������� �������� ��й���³� ��о�о����ú 7 �� ����ķ������ ����ͤú 7 �� �������û�зҹ �þ����ʵ�� ��о���Ƿ����ŧ�繾���Թ����� ��о�����зҹ �ùҤ��� ���������ҵ�¡�����¡�ҧ�ҡ�� �ҡ����е�����š���ء���� ����信�Ż� ��ͧ�Ӿҹ��Ǣͧ��о������Ѻ ��й���»�зҹ����ɳػҳ�� �ȡѳ�������任�Һ����Թ��� ����Թ������駨ѡ������� �֧���Ҷ��·ȡѳ�� �ȡѳ��֧��駪��� ���������� ��Թ�êԵ� ����� ����ԪԵ����Թ���

㹡�÷��֡ŧ�� ����͡�����ó������� �Թ�êԵ�����Ѿ�͡��ʧ���� ���¤��� �����áú�Ѻ����ѡ�����������誹Сѹ ���駷���ͧ�ӾԸժغ�ùҤ��� �١ �������Ҫ ����¾Ը��͡ú�Ѻ����ѡ������о��ҹ��ź��駡ͧ�Ѿ ���駷������ӾԸժغ�þ�����ʵ�� ���������� �ȡѳ���觤��������ͧ�ӻ�蹶١��ҵ�¨֧����¾Ը� �Թ�êԵ�ŧ��ҧ�繾���Թ�����ʹ��ú ����ѡ�����ͧ��Թ �֧�ŧ�þ����ʵ�� ����ź ˹��ҹ����ѡ�ͪ�ҧ�����ѳ��١�մ��¤ѹ���ź� ���駷�����ӾԸա����������ͪغ����繡���Է��� ��͹�ź价ӾԸշȡѳ������آҨ���ŧ���մ� �Թ�êԵ��仵Ѵ��� ������ѡ����١�ҧʹ��ú �����ǧ����մҵ������ ��������¡�Ѿ��Ѻ �ҡ����ź价ӾԸա������� ����ѡ������价���¾Ը� ��з��������ɳػҳ�� �ùҤ��� ����þ����ʵ�� �Թ�êԵ˹�������ͧ ���駷�����ú�ѹ����ѡ���� �Թ�êԵ������������ʹ�� �����ȡѳ��׹�ҧ�մ� �ȡѳ����������зҹ ����áҹ�� ����͡�ú �Թ�êԵ���١���� �����͡ú �١����ѡ�����Ҵ����þ����ʵ�� ͧ�� �����������ô����ǡѹ 仢;ҹ��蹿�Ҩҡ��о������ͧ�Ѻ����������е���� ���Шз�����Դ������š

เวลาที่เพื่อน ๆ เห็นอะไรที่ยิ่งใหญ่อลังการ นอกจาก “ใหญ่โตมาก” “สวยมาก” “อลังการสุดสุด” เพื่อน ๆ มีวิธีบรรยายอย่างอื่นอีกไหม ?

ถ้าไม่รู้จะบรรยายความยิ่งใหญ่อลังการยังไง วันนี้ StartDee อยากชวนเพื่อน ๆ ไปดูลีลาการบรรยายความ “ยิ่งใหญ่” ในแบบของบทโขน ที่กวีไทยได้บรรยายความวิจิตรงดงามของช้างเอราวัณ ช้างทรงของพระอินทร์ไว้ได้อย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติยศในบทพากย์เอราวัณกัน

บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากวรรณคดีไทยเรื่องใด

 

เรื่องราวของโขน รามเกียรติ์ และบทพากย์เอราวัณ

ก่อนจะไปดูว่าช้างเอราวัณนั้นยิ่งใหญ่อลังการแค่ไหน เราอยากชวนเพื่อน ๆ มาทำความเข้าใจที่มาของบทพากย์เอราวัณ และความเกี่ยวเนื่องระหว่างบทพากย์เอราวัณ โขน และรามเกียรติ์กันก่อน ในสมัยก่อนโขนและละครในเป็นหนึ่งในมหรสพและความบันเทิงเพียงไม่กี่อย่างของคนไทย โดยเฉพาะ “โขน” ที่ถือว่าเป็นนาฏกรรมชั้นสูง เพราะมีการรวบรวมศิลปะหลายแขนงมาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรมและวรรณศิลป์ในการประพันธ์บทและการพากย์ นาฏศิลป์สำหรับการร่ายรำขณะทำการแสดง คีตศิลป์สำหรับดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดง หัตถศิลป์สำหรับงานฉากและชุด โขนจึงถือเป็นความบันเทิงของชนชั้นสูงชาวไทยในรั้วในวังสมัยนั้น

การแสดงโขนจะนิยมเล่นเรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น โดยรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีเรื่องยาว (มากกกกก) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากมหากาพย์รามายณะ วรรณคดีภาษาสันสกฤตจากอินเดีย ที่ฤาษีวาลมิกิแต่งไว้กว่า ๒๔๐๐ ปีมาแล้ว มหากาพย์รามายณะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่าเข้ามาในไทยพร้อมกับพ่อค้าชาวอินเดียและความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์ฮินดู 

ส่วนบทละครเรื่องรามเกียรติ์นั้นปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกในสมัยอยุธยา และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นเพื่อให้ละครหลวงเล่น โดยปรับเนื้อเรื่องให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย แต่บทละครเรื่องรามเกียรติ์จากสมัยกรุงธนบุรีนั้นยังไม่ครบสมบูรณ์ (เนื่องจากมีระยะเวลาในการแต่งเพียง ๒ เดือน จึงมีแค่ ๔ - ๕ ตอนเท่านั้น) เมื่อถึงยุครัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) จึงทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ให้สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ และภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ก็ทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์บางตอนขึ้นใหม่เพื่อใช้สำหรับการแสดงโขน โดยบทพากย์เอราวัณที่เพื่อน ๆ จะได้เรียนในระดับชั้นม.๓ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกอินทรชิต (นอกจากนี้รัชกาลที่ ๒ ยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์รามเกียรติ์ตอนอื่น ๆ ไว้ด้วย ได้แก่ ตอนนางลอย ตอนนาคบาศ)

 

เรื่องย่อของบทพากย์เอราวัณ

บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากรามเกียรติ์ ตอน ศึกอินทรชิต ซึ่งศึกอินทรชิตก็เป็นตอนหนึ่งจากรามเกียรติ์ทั้งหมดกว่า ๑๗๘ ตอน (อ้างอิงจากหนังสือชุดวรรณคดีอมตะของไทย โดยเปรมเสรี) อินทรชิตเป็นบุตรของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ เดิมทีชื่อ “รณพักตร์” แต่เปลี่ยนชื่อเป็น “อินทรชิต” เนื่องจากเป็นผู้รบชนะพระอินทร์ อินทรชิตบำเพ็ญตบะมายาวนานจึงเป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์แก่กล้ามาก แถมยังมีอาวุธวิเศษ ๓ อย่างที่ได้มาจากการทำพิธีขออาวุธจากมหาเทพทั้งสามอีก หนึ่งในนั้นคือศรพรหมาสตร์ และพรที่ทำให้แปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ (อาวุธและพรนี้อินทรชิตได้มาจากพระอิศวร) ซึ่งพรข้อนี้มีบทบาทอย่างมากในรามเกียรติ์ ตอน ศึกอินทรชิต

จากพรข้อนี้ ในตอนที่อินทรชิตจัดทัพออกไปรบกับฝ่ายพระราม อินทรชิตจึงใช้อุบายแปลงกายเป็นพระอินทร์ และให้การุณราชแปลงเป็นช้างเอราวัณ เพื่อให้พระรามและกองทัพหลงใหลในความงดงามอลังการ เนื้อหาส่วนใหญ่จึงพรรณนาถึงความยิ่งใหญ่สวยงามของช้างเอราวัณ (ปลอม ๆ) และกองทัพเหล่าผู้วิเศษ (ปลอม ๆ อีกเช่นกัน) และมีส่วนที่กล่าวถึงการเคลื่อนทัพของพระรามไปยังสนามรบ ซึ่งระหว่างที่เคลื่อนพลก็เกิดปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติต่าง ๆ มากมาย

โดยจุดมุ่งหมายของอินทรชิตในศึกครั้งนี้คือยิงศรพรหมาสตร์ใส่พระลักษมณ์ ศรพรหมาสตร์เป็นอาวุธวิเศษที่อินทรชิตได้มาจากพระอิศวร เป็นอาวุธที่ทรงพลังมาก และทำให้กองทัพของพระรามพ่ายแพ้ไปในศึกครั้งนี้

 

ลักษณะคำประพันธ์

บทพากย์เอราวัณแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกาพย์ฉบัง ๑๖ สาเหตุที่เป็น ๑๖ ก็เพราะหนึ่งบทจะมี ๑๖ คำ/พยางค์ โดย ๑ บท มี ๓ วรรค มีสัมผัสบังคับอยู่ที่คำสุดท้ายของวรรคแรกและวรรคที่สอง ส่วนคำสุดท้ายของวรรคที่สามใช้ส่งเข้าบทถัดไป กาพย์ฉบัง ๑๖ มีฉันทลักษณ์และตัวอย่างดังนี้

บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากวรรณคดีไทยเรื่องใด

     ฉบังแต่งได้ง่ายดีสิบหกคำมีท้ายวรรคหนึ่ง, สอง คล้องกัน      อย่าลืมเชื่อมบทผูกพันวรรคสามเชื่อมพลันไปหาคำท้ายวรรคหนึ่ง  

 

คำศัพท์ที่ควรรู้

เนื่องจากเป็นวรรณคดีที่แต่งไว้นานมากแล้ว (ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒) คำศัพท์ในบทพากย์เอราวัณหลายคำจึงค่อนข้างเข้าใจยากเพราะเป็นคำโบราณ เพื่อความสนุกเราขอแนะนำให้เพื่อน ๆ ลองอ่านศัพท์ยากควรรู้ที่เราคัดมาฝากกันก่อน จะได้เข้าใจบทพากย์เอราวัณได้ง่ายมากขึ้น

คำศัพท์ความหมายกงวงรอบของล้อรถกบี่ลิงกระวินห่วงที่เกี่ยวกันสำหรับโยงสัปคับช้างกายินร่างกายกำซี่ล้อรถหรือเกวียนกินนรอมนุษย์ที่มีรูปร่างครึ่งคนครึ่งนกเก้าแก้วแก้วเก้าประการ, นพรัตน์แกลหน้าต่างโกมินโกเมน, พลอยสีแดงเข้มโกลาหลเสียงกึกก้องขวัญหนีตกใจไขบอกคนธรรพ์ชาวสวรรค์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดนตรีจันทรีพระจันทร์จับระบำฟ้อนรำฉงนสงสัยฉิมพลีต้นงิ้วชนักเครื่องผูกคอช้างทำด้วยเชือกชันหูอาการแสดงการเตรียมพร้อมของสัตว์โดยยกหูตั้งขึ้นชุมสายเครื่องสูงเป็นรูปฉัตรสามชั้นซ้องพร้อมกันซองหางเครื่องคล้องโคนหางช้างดวงมาลย์ดอกบัวโตมรหอกด้ามสั้นถาถลาทัศนาเห็นเทพไทเทวดาเทพอัปสรนางฟ้าเทียมเอาสัตว์ผูกกับยานพาหนะธรณินทร์แผ่นดินธรณีแผ่นดินธิบดินทร์พระรามนงพาลนางรุ่นสาวนาคงูใหญ่มีหงอนแน่งน้อยงดงามบรรเทืองตื่นขึ้นบรรพตภูเขาบิดเบือนแปลง (กาย)บุษปมาลาดอกไม้โบกขรณีสระบัวปักษานกผกาดอกไม้ หรือ ดอกบัวผ้าทิพย์ผ้าคลุมตระพองช้าง (ส่วนนูนสองข้างที่หัวช้าง)พรหมาสตร์ศรที่พระอิศวรประทานให้แก่อินทรชิตพระขรรค์ดาบพระจักรีพระรามพระศรีอนุชาพระลักษมณ์พระสุริย์ศรีพระอาทิตย์พระอนุชาพระลักษมณ์พฤกษาต้นไม้พสุธาแผ่นดินพัชนีพัดพัดโบกเครื่องสูงสำหรับแสดงอิสริยยศ เป็นพัดสำหรับโบกลมถวายกษัตริย์พานรินทร์ลิงพิภพพื้นโลกพู่ระย้าที่ทำเป็นพวง ๆไพรีศัตรูมยุรฉัตรเครื่องสูงสำหรับแสดงอิสริยยศ ทำด้วยหางนกยูงมาตลีสารถีของพระอินทร์ซึ่งมาขับรถทรงให้พระรามมารยาที่เนรมิตขึ้นมาเยาวมาลย์หญิงสาวสวยแย่งยลดูงามโยธาจัตุรงค์กองทัพ ๔ เหล่า ได้แก่ เหล่าช้าง เหล่าม้า เหล่ารถ และเหล่าราบโยธีทหารรถแก้วโกสีย์รถทรงที่พระอินทร์ประทานให้พระรามรอยเป็นลวดลาย หรือแกะสลักระเหิดสูงราพณ์ทศกัณฐ์ราศีทั่วไปรูจีความงามฤทธิรงค์มีความสามารถในการสู้รบฤทธิรณมีความสามารถในการสู้รบฤาษิตฤๅษีลำเพาโฉมงามโลทันชื่อสารถี (คนขับ) ของอินทรชิตวนาป่าวิทยาชาวสวรรค์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิชาอาคมเวไชยันต์ชื่อวิมานของพระอินทร์เวหนฟ้าศัสตราอาวุธสถิตอยู่สร้อยสุมาลีดอกไม้สหัสนัยพระอินทร์สัตภัณฑ์ชื่อหมู่เขา 7 ชั้นที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุสำแดงแสดงสินธพม้าสุบรรณครุฑสุริย์ศรีพระอาทิตย์เสนีกองทหารไสยาที่นอน หรือ นอนหัสดินช้างหัสดินอินทรีนกหัสดีเหมหงส์หงส์ทอง (เหม แปลว่า ทอง)อมรินทร์พระอินทร์อรุณเวลาใกล้รุ่งอาชาไนยม้าพันธุ์ดีอาธรรม์อธรรมอารักขไพรสัณฑ์เทวดาที่ดูแลรักษาป่าอินทเภรีกลองที่ตีให้สัญญาณเวลาออกศึกอินทรีย์ร่างกายอึงอลดังลั่นอุบลดอกบัวเอื้อนพูดโอฬาร์ใหญ่โตไอยราช้าง

 

ถอดคำประพันธ์บทพากย์เอราวัณ

หลังจากเรียนรู้คำศัพท์กันมาแล้ว ขั้นต่อไปเราลองมาอ่านและถอดคำประพันธ์ไปพร้อม ๆ กันดู

    อินทรชิตบิดเบือนกายิน

เหมือนองค์อมรินทร์

ทรงคชเอราวัณ

 

    ช้างนิรมิตฤทธิแรงแข็งขัน

เผือกผ่องผิวพรรณ

สีสังข์สะอาดโอฬาร์

 

    สามสิบสามเศียรโสภา

เศียรหนึ่งเจ็ดงา

ดังเพชรรัตน์รูจี

 

บทแรกนั้นเล่าว่าอินทรชิตได้ “บิดเบือน” หรือ “แปลง” กายเป็นพระอินทร์ (ด้วยการใช้พรที่ได้มาจากพระอิศวรนั่นแหละ !) พร้อมกับทรงช้างเอราวัณที่เป็นช้างทรงของพระอินทร์ ส่วนช้างเอราวัณที่ถูกเนรมิตขึ้นมานั้นก็แข็งแกร่งสวยงามสุด ๆ ผิวของช้างเอราวัณนั้นสีขาวสะอาดเหมือนหอยสังข์ มีเศียรงดงาม ๓๓ เศียร แต่ละเศียรมีงา ๗ กิ่ง สวยงามราวกับเพชร งาแต่ละกิ่งมีสระบัว ๗ สระ แต่ละสระมีกอบัว ๗ กอ แต่ละกอมีดอกบัว ๗ ดอก แต่ละดอกมีกลีบบัวบาน ๗ กลีบ แต่ละกลีบมีนางฟ้ารูปงาม ๗ องค์ เรียกได้ว่าวิจิตรอลังการงดงามสุด ๆ

บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากวรรณคดีไทยเรื่องใด

      นางหนึ่งย่อมมีบริวารอีกเจ็ดเยาวมาลย์ล้วนรูปนิรมิตมารยา       จับระบำรำร่ายส่ายหาชำเลืองหางตาทำทีดังเทพอัปสร       มีวิมานแก้วงามบวรทุกเกศกุญชรดังเวไชยันต์อมรินทร์       เครื่องประดับเก้าแก้วโกมินซองหางกระวินสร้อยสายชนักถักทอง       ตาข่ายเพชรรัตน์ร้อยกรองผ้าทิพย์ปกตระพองห้อยพู่ทุกหูคชสาร 

 

แต่ความปั๊วะปังอลังการยังไม่หมดแค่นี้ เพราะนางฟ้าแต่ละองค์ยังมีบริวารที่เป็นหญิงงามอีกตั้ง ๗ นาง แถมแต่ละนางก็กำลังร่ายรำด้วยท่าทางสวยงามอย่างนางฟ้า (มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเริ่มคิดเลขแล้วว่าช้างเอราวัณตัวหนึ่งมีนางฟ้ากี่องค์) นอกจากนี้ที่เศียรแต่ละเศียรของช้างเอราวัณยังมีวิมานแก้วที่สวยงามราวกับวิมานเวไชยันต์ของพระอินทร์ ประดับตกแต่งอย่างสวยงามด้วยแก้วเก้าประการ ได้แก่ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย และไพฑูรย์ ซองหาง และกระวินของช้างเอราวัณถูกถักร้อยด้วยสร้อยทอง และมีผ้าทิพย์ปกตระพองซึ่งร้อยประดับด้วยเพชร มีสายสร้อยห้อยเป็นพู่ลงทั่วทุกหูช้าง


บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากวรรณคดีไทยเรื่องใด

    โลทันสารถีขุนมาร

เป็นเทพบุตรควาญ

ขับท้ายที่นั่งช้างทรง

 

    บรรดาโยธาจัตุรงค์

เปลี่ยนแปลงกายคง

เป็นเทพไทเทวัญ

 

    ลอยฟ้ามาในเวหน

รีบเร่งรี้พล

มาถึงสมรภูมิชัย

 

ขุนมารโลทัน (สารถี (คนขับรถ) ของอินทรชิต) แปลงกายเป็นเทพบุตรนั่งบังคับช้างอยู่ท้ายช้าง ทัพทั้ง ๔ เหล่าต่างแปลงกายเป็นเทพและอมนุษย์ผู้มีฤทธิ์

บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากวรรณคดีไทยเรื่องใด

      ทัพหน้าอารักขไพรสัณฑ์ทัพหลังสุบรรณกินนรนาคนาคา       ปีกซ้ายฤาษิตวิทยาคนธรรพ์ปีกขวาตั้งตามตำรับทัพชัย       ล้วนถืออาวุธเกรียงไกรโตมรศรชัยพระขรรค์คทาถ้วนตน       ลอยฟ้ามาในเวหนรีบเร่งรี้พลมาถึงสมรภูมิชัย       ตาข่ายเพชรรัตน์ร้อยกรองผ้าทิพย์ปกตระพองห้อยพู่ทุกหูคชสาร 

 

ทัพหน้าคือเทพารักษ์ ทัพหลังคือครุฑ กินนร และนาค ปีกซ้ายคือฤๅษีและวิทยาธร ปีกขวาคือคนธรรพ์ การจัดกระบวนทัพเป็นไปตามตำราสงคราม ทหารทั้ง ๔ เหล่าทัพต่างถืออาวุธครบครัน ได้แก่ หอก ธนู ดาบ กระบอง เหาะเหินบนฟ้าเคลื่อนทัพมาถึงสนามรบ

จากนั้นจึงเป็นเรื่องราวของฝั่งพระราม

 

    เมื่อนั้นจึงพระจักรี

พอพระสุริย์ศรี

อรุณเรืองเมฆา

 

      ลมหวนอวลกลิ่นมาลา

เฟื่องฟุ้งวนา

นิวาสแถวแนวดง

 

    ผึ้งภู่หมู่คณาเหมหงส์

ร่อนราถาลง

แทรกไซ้ในสร้อยสุมาลี

 

    ดุเหว่าเร้าเร่งพระสุริย์ศรี

ไก่ขันปีกตี

กู่ก้องในท้องดงดาน

 

ครั้นรุ่งเช้ามีลมพัดโชยกลิ่นหอมของดอกไม้ฟุ้งไปทั่วป่า ผึ้ง แมลงภู่ และหมู่หงส์ทองก็บินร่อนถลาแทรกตัวลงในดอกไม้เพื่อหาอาหาร นกดุเหว่าและไก่ขันร้องตีปีกไปทั่วเป็นสัญญาณว่าเช้าแล้ว

 

    ปักษาตื่นตาขันขาน

หาคู่เคียงประสาน

สำเนียงเสนาะในไพร

 

      เดือนดาวดับเศร้าแสงใส

สร่างแสงอโณทัย

ก็ผ่านพยับรองเรือง

 

      จับฟ้าอากาศแลเหลือง

ธิบดินทร์เธอบรรเทือง

บรรทมฟื้นจากไสยา

 

นกตื่นนอนร้องขับขานหาคู่ประสานเสียงไพเราะอยู่ในป่า ส่วนเดือนและดาวก็อับแสงลง ท้องฟ้าสว่างไสวเป็นสีเหลือง พระรามตื่นขึ้นจากที่บรรทมแล้วจึงเตรียมกองทัพ

 

    เสด็จทรงรถแก้วโกสีย์

ไพโรจน์รูจี

จะแข่งซึ่งแสงสุริย์ใส

 

      เทียมสินธพอาชาไนย

เริงร้องถวายชัย

ชันหูระเหิดหฤหรรษ์

 

    มาตลีสารถีเทวัญ

กรกุมพระขรรค์

ขับรถมากลางจัตุรงค์

 

    เพลารอยพลอยประดับดุมวง

กึกก้องกำกง

กระทบกระทั่งธรณี

 

พระรามขึ้นรถทรงอันงดงามที่พระอินทร์ประทานให้ รถม้าส่งเสียงร้อง ม้าชันหูสูงส่งสัญญาณพร้อมที่จะออกรบ มาตลีเป็นสารถีขับรถทรงมากลางกองทัพทั้ง ๔ เหล่า มือถือพระขรรค์ รถทรงประดับพลอยตามเพลาและดุม เสียงรถวิ่งดังกึกก้องทั้งแผ่นดิน

 

    มยุรฉัตรชุมสายพรายศรี

พัดโบกพัชนี

กบี่ระบายโบกลม

 

      อึงอินทเภรีตีระงม

แตรสังข์เสียงประสม

ประสานเสนาะในไพร

 

    เสียงพลโห่ร้องเอาชัย 

เลื่อนลั่นสนั่นใน

พิภพเพียงทำลาย

 

    สัตภัณฑ์บรรพตทั้งหลาย

อ่อนเอียงเพียงปลาย

ประนอมประนมชมชัย

 

ลิงคอยโบกมยุรฉัตร ชุมสาย พัดโบก พัชนี เสียงกลองที่ใช้ตีให้สัญญาณออกรบดังไปทั่ว เสียงแตรสังข์ประสานเสียงกันอย่างไพเราะในป่า

เสียงพลทหารโห่ร้องเอาชัยสนั่นหวั่นไหวราวกับจะพื้นถล่มก่อนออกรบ สัตภัณฑ์บรรพต (ชื่อหมู่เขา ๗ ชั้นที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ) ต่างโน้มเอียงลงมาเพื่อทำความเคารพ

 

    พสุธาอากาศหวาดไหว

เนื้อนกตกใจ

ซุกซ่อนประหวั่นขวัญหนี

 

      ลูกครุฑพลัดตกฉิมพลี

หัสดินอินทรี

คาบช้างก็วางไอยรา

 

    วานรสำแดงเดชา

หักถอนพฤกษา

ถือต่างอาวุธยุทธยง

 

    ไม้ไหล้ยูงยางกลางดง

แหลกลู่ล้มลง

ละเอียดด้วยฤทธิโยธี

 

แผ่นดินและอากาศสะเทือนเลื่อนลั่น สัตว์ต่าง ๆ ตกใจหาที่ซุกซ่อนตัว แม้แต่ลูกครุฑเมื่อได้ยินเสียงของฝ่ายกองทัพพระรามก็ตกใจพลัดตกจากต้นงิ้ว นกหัสดีที่คาบช้างมาก็ตกใจปล่อยช้างหลุดจากปาก ฝ่ายลิงต่างแสดงฤทธิ์เดชหักถอนต้นไม้มาถือแทนอาวุธ ป่าไม้ล้มลงอย่างราบเรียบด้วยฤทธิ์ของกองทัพพระราม

 

    อากาศบดบังสุริย์ศรี

เทวัญจันทรี

ทุกชั้นอำนวยอวยชัย

 

      บ้างเปิดแกลแก้วแววไว

โปรยทิพมาลัย

ซ้องสาธุการบูชา

 

    ชักรถรี่เรื่อยเฉื่อยมา

พุ่มบุษปมาลา

กงรถไม่จดธรณินทร์

 

    เร่งพลโยธาพานรินทร์

เร่งรัดหัสดิน

วานรให้เร่งรีบมา

 

ทันใดนั้นอากาศบดบังพระอาทิตย์ เหล่าเทวดาบนสวรรค์ทุกชั้นต่างอำนวยอวยชัย บ้างเปิดประตู หน้าต่างแล้วก็โปรยดอกไม้ทิพย์เพื่อสักการะบูชาและยกย่องสรรเสริญ บนพื้นเต็มไปด้วยดอกไม้จนทำให้กงรถไม่สัมผัสพื้น นอกจากนี้ยังเร่งกองทัพลิง กองทัพช้างให้รีบมาถึงสนามรบ

จากนั้นจึงเป็นเหตุการณ์ที่พระลักษมณ์พบกับกองทัพพระอินทร์ (ตัวปลอม) ของอินทรชิต

 

    เมื่อนั้นพระศรีอนุชา

เอื้อนอรรถวัจนา

ตรัสถามสุครีพขุนพล

 

      เหตุไฉนสหัสนัยน์เสด็จดล

สมรภูมิไพรสณฑ์

เธอมาด้วยกลอันใด

 

    สุครีพทูลทัดเฉลยไข

ทุกทีสหัสนัยน์

เสด็จด้วยหมู่เทวา

 

    อวยชัยถวายทิพมาลา

บัดนี้เธอมา

เห็นวิปริตดูฉงน

 

    ทรงเครื่องศัสตราแย่งยล

ฤๅจะกลับเป็นกล

ไปเข้าด้วยราพณ์อาธรรม์

 

พระลักษมณ์ (น้องของพระราม) ถามสุครีพว่าเพราะเหตุใดพระอินทร์เสด็จมาที่สนามรบนี้ สุครีพจึงทูลบอกพระลักษมณ์ว่า ปกติพระอินทร์จะเสด็จมาพร้อมกับเหล่าเทวดาเพื่ออวยชัยและถวายดอกไม้ แต่คราวนี้ดูผิดปกติและน่าสงสัยแปลก ๆ เพราะพระอินทร์แต่งกายมาพร้อมกับอาวุธดูงดงาม หรือว่าพระอินทร์จะเข้าข้างฝ่ายทศกัณฐ์

    พระผู้เรืองฤทธิแข็งขัน

คอยดูสำคัญ

อย่าไว้พระทัยไพรี

 

      เมื่อนั้นอินทรชิตยักษี

ตรัสสั่งเสนี

ให้จับระบำรำถวาย

 

    ให้องค์อนุชานารายณ์

เคลิบเคลิ้มวรกาย

จะแผลงซึ่งศัสตรศรพล

 

สุครีพเตือนพระรามว่าอย่าได้ไว้วางใจข้าศึกเด็ดขาด ฝ่ายอินทรชิตก็สั่งให้ยักษ์ (ที่แปลงร่างแล้วอย่างสวยงาม) ฟ้อนรำถวายพระลักษมณ์ เพื่อให้พระลักษมณ์เคลิบเคลิ้มและจะได้แผลงศรฆ่าให้ตาย

 

    อินทรชิตสถิตเหนือเอรา

วัณทอดทัศนา

เห็นองค์พระลักษณ์ฤทธิรงค์

 

      เคลิบเคลิ้มหฤทัยใหลหลง

จึงจับศรทรง

พรหมาสตร์อันเรืองเดชา

 

    ทูนเหนือเศียรเกล้ายักษา

หมายองค์พระอนุชา

ก็แผลงสำแดงฤทธิรณ

 

    อากาศก้องโกลาหล

โลกลั่นอึงอล

อำนาจสะท้านธรณี

 

    ศรเต็มไปทั่วราศี

ต้ององค์อินทรีย์

พระลักษณ์ก็กลิ้งกลางพล

 

อินทรชิตนั่งอยู่บนช้างเอราวัณ เห็นพระลักษมณ์ผู้เก่งกาจในการรบ กำลังหลงใหลเคลิบเคลิ้มในสิ่งงดงามที่ได้เห็น เมื่อได้โอกาส อินทรชิตจึงจับศรพรหมาสตร์ขึ้นเหนือหัว เล็งใส่พระลักษมณ์ แล้วก็แผลงศรออกไปหมายจะให้ถูกพระลักษมณ์ ทันใดนั้นอากาศก็แปรปรวนเสียงดังกึกก้องสะท้านแผ่นดิน ศรพรหมาสตร์ที่อินทรชิตแผลงไปนั้นกระจายไปทั่วท้องฟ้า พระลักษมณ์ถูกศรของอินทรชิตแล้วล้มลงกลางไพร่พลในสนามรบ

บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากวรรณคดีไทยเรื่องใด

 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

ถึงศัพท์จะดูยากไปนิด แต่บทพากย์เอราวัณมีการใช้วรรณศิลป์ตามแบบฉบับวรรณคดีไทยที่น่าสนใจอยู่หลายรูปแบบ เช่น การใช้บทพรรณนาความสวยงาม และความยิ่งใหญ่ของช้างเอราวัณ ความยิ่งใหญ่ของกองทัพอินทรชิต อภินิหารและความยิ่งใหญ่ของกองทัพพระราม นอกจากนี้ยังมีบทพรรณนาที่บรรยายความงามของธรรมชาติทั้งกลิ่น รูป และเสียงอย่างเห็นภาพ และมีการใช้โวหารภาพพจน์ต่าง ๆ เช่น การอุปมา อติพจน์ และบุคคลวัต

 

ข้อคิดจากบทพากย์เอราวัณ

นอกจากใช้เล่นโขนละครในเพื่อความบันเทิง บทพากย์รามเกียรติ์แต่ละตอนก็มีคติสอนใจให้ผู้อ่านผู้ชมได้คิดตามด้วย บทพากย์เอราวัณเองก็มีข้อคิดที่น่าสนใจหลายข้อ ได้แก่

๑. ความลุ่มหลงเป็นบ่อเกิดของหายนะ

เช่น พระลักษมณ์ที่หลงใหลในความงดงามของกองทัพยักษ์จำแลง จนประมาทและถูกศรพรหมาสตร์ของอินทรชิต

๒. การใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกไม่ควร

เช่น อินทรชิตที่มีทั้งพรและอาวุธจากมหาเทพ แต่ก็เลือกใช้อำนาจไปในทางที่ผิด ทั้งออกมารบกับพระรามและผู้อื่น (จริง ๆ ก่อนนี้อินทรชิตมีชื่อว่ารณพักตร์ เป็นผู้บำเพ็ญเพียรจนมีฤทธิ์แก่กล้า เมื่อได้พรและอาวุธจากมหาเทพมาก็ไปท้ารบกับพระอินทร์ และได้ชัยชนะกลับมาด้วย จึงเป็นที่มาของชื่ออินทรชิต ซึ่งแปลว่า “ผู้ชนะพระอินทร์”)

๓. การใช้สติปัญญาพิจารณาสถานการณ์ต่าง ๆ

เช่น สุครีพที่ช่างสังเกต ใช้สติปัญญาประเมินสถานการณ์ในสนามรบ และเตือนให้พระลักษมณ์อย่าไว้ใจข้าศึก

 

รู้หรือไม่ ? โขนพระราชทานและเกร็ดเล็ก ๆ จากรามเกียรติ์

บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากวรรณคดีไทยเรื่องใด

ขอบคุณรูปภาพจาก Khon Performance โขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ

อย่างที่เรารู้กันว่าโขนของประเทศไทยจะแสดงเรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น และถึงจะหาชมได้ยาก แต่ในปัจจุบันก็ยังมี “โขนพระราชทาน” โดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพที่จัดแสดงเป็นประจำทุกปี โขนพระราชทานเริ่มจัดแสดงครั้งแรกในปีพ.ศ.๒๕๕๐ เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗๕ พรรษา โดยสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีดำริให้จัดแสดงโขนพระราชทานขึ้นเพื่ออนุรักษ์และสืบสานศิลปะวัฒนธรรมไทย และแม้จะเป็นศิลปะชั้นสูง แต่โขนพระราชทานก็ได้มีการปรับบทพูดหลาย ๆ จุดให้สนุกสนาน และเข้าถึงประชาชนทุกเพศทุกวัยได้มากขึ้น แถมยังมีการแทรกมุกตลกที่ทันสถานการณ์บ้านเมืองอยู่เป็นระยะ ๆ ซึ่งรามเกียรติ์ตอนที่ถูกนำมาจัดแสดงมีหลายตอนด้วยกัน เช่น ตอนพรหมาสตร์ นางลอย ศึกไมยราพ จองถนน นาคบาศ โมกขศักดิ์ พิเภกสวามิภักดิ์ สืบมรรคา 

 

ตัวอย่างโขนพระราชทาน ศึกอินทรชิต ตอนนาคบาศ

 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ธีรศักดิ์ จิระตราชู (ครูหนึ่ง)

Reference:

“กาพย์ฉบัง ๑๖.” วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร, 27 Apr. 2019, www.watmoli.com/poetry/351/. 

“โขน.” Wikipedia, Wikimedia Foundation, 13 Aug. 2020, th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%99. 

“รามเกียรติ์.” Wikipedia, Wikimedia Foundation, 9 Oct. 2020, th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8C.

ที่มาของเรื่องบทพากย์เอราวัณมาจากเรื่องใด

บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากรามเกียรติ์ ตอน ศึกอินทรชิต ซึ่งศึกอินทรชิตก็เป็นตอนหนึ่งจากรามเกียรติ์ทั้งหมดกว่า ๑๗๘ ตอน (อ้างอิงจากหนังสือชุดวรรณคดีอมตะของไทย โดยเปรมเสรี) อินทรชิตเป็นบุตรของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ เดิมทีชื่อ “รณพักตร์” แต่เปลี่ยนชื่อเป็น “อินทรชิต” เนื่องจากเป็นผู้รบชนะพระอินทร์ อินทรชิตบำเพ็ญตบะมายาวนานจึงเป็น ...

บทพากย์เอราวัณมาจากวรรณคดีเล่มใด

บทพากย์เอราวัณมาจากวรรณคดีเล่มใดของไทย อิเหนา

เนื้อหาในบทพากย์เอราวัณกล่าวถึงเรื่องใด

บทพากย์เอราวัณเป็นเนื้อหาตอนหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ บรรยายลักษณะของช้างเอราวัณไว้อย่างวิจิตรพิสดาร โดยช้างนี้เดิมเป็นช้างทรงของพระอินทร์ช้างเอราวัณในตอนนี้ เป็นช้างที่พวกฝ่ายอินทรชิต คือการุณราช แปลงมาเป็นช้างเอราวัณลอยมาจากบนท้องฟ้า เหล่ายักษ์แปลงตนเป็นเทวดา นางอับษร ทำให้ไพร่พลฝ่ายทัพของพระราม ถูกลวงและ ...

จุดเด่นของบทพากย์เอราวัณอยู่ที่ใด

จุดเด่นของบทพากย์เอราวัณอยู่ที่บทพรรณนาต่างๆ เช่น บทพรรณนากองทัพของอินทรชิต บทพรรณนาธรรมชาติ บทพรรณนากองทัพของพระราม เป็นต้น ผู้ประพันธ์  ผู้ประพันธ์ : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็น พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์มี