ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายของการบริโภค mpc

สมการการบริโภค

สมการการบริโภค
สมการการบริโภค ได้มาจากนำแนวความคิดของทฤษฎีเคนส์ ที่ให้การบริโภคขึ้นอยู่กับรายได้ในระยะสั้น โดยสามารถเขียนความสัมพันธ์ ได้ดังนี้

C = f(Y)

จะได้สมการเส้นตรง คือ

C = a + bY
a = ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของประชากรในขณะที่ไม่มีรายได้ (Y = 0)
b = ตัวเลขที่แสดงสัดสวนการเปลี่ยนแปลงการบริโภคต่อการเปลี่ยนแปลงรายได้ เมื่อกำหนดให้รายได้เปลี่ยนแปลงไปหนึ่งหน่วย

จากสมการข้างต้นหากสมมติว่าประชาชนคนหนึ่ง หรือทั้งประเทศมีพฤติกรรมอย่างเดียวกัน ถ้าให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นตัวแทน และมีพฤติกรรมในการใช้จ่ายในช่วงไม่มีการทำงานหรือไม่มีรายได้ (Y = 0) จะใช้จ่ายเดือนละ 5,000 บาท ซึ่งก็คือ ค่า a
ถ้าหากบุคคลคนนี้มีงานทำเดือนแรก รายได้ 6,000 บาท การใช้จ่ายเดือนละ 8,600 บาท สามารถหาค่า b ได้จาก

b = ค่าใช้จ่ายในการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
รายได้ที่เปลี่ยนแปลงไป

= 8,600 - 5,000 = 3,600 = 0.6
6,000 – 0 6,000

จากค่าของ a และ b สามารถนำมาแทนค่าในสมการการบริโภค ได้ดังนี้

C = 5000+ 0.6Y

ซึ่งสามารถพยากรณ์การใช้จ่ายของบุคคลคนนี้ได้ในอนาคต ขณะที่มีรายได้เกิดขึ้น เช่น ถ้ามีรายได้ 20,000 บาท การใช้จ่าย สามารถคำนวณได้ดังนี้
C = 5,000 + 0.6Y (20,000)
= 17,000 บาท

สมการการออมหาได้จาก
สมการการออมหาได้จาก
S = Y-C
แต่เนื่องจาก C = a+bY
จะได้ S = Y-(a+bY)
= Y-a-bY
S = -a+(1-b)Y
จาก C = 5,000 + 0.6 Y
S = -5,000 +0.4 Y
ถ้าให้รายได้ = 20,000 บาท หาการออมได้จาก
S = -5,000 + 0.4 (20,000)
= 3,000
หรือ S = Y-C
= 20,000 – 17,000
= 3,000
การหารายได้ดุลยภาพดำนวณได้จากหลักการที่ว่า รายได้ดุลยภาพ คือ ระดับรายได้เท่ากับการใช้จ่ายในการบริโภคของประชาชน นั่นคือ
Y = C
ดังนั้นถ้ามี C = 5,000 + 0.6Y
(1-0.6) Y = 5,000
Y = 5,000 = 12,500 บาท
0.4
หรือ S = -5,000 + 0.4 Y
ที่ดุลยภาพ S = 0 ดังนั้น
0 = -5,000 + 0.4 Y
0.4 Y = 5,000
Y = 12,500 บาท
ที่ Y = 12,500 บาท
C = 5,000 + 0.6 (12,500)
= 12,500 บาท



ความโน้มเอียงในการบริโภคและความโน้มเอียงในการออม
1. ความโน้มเอียงในกรบริโภค คือ ตัวเลขที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกับรายได้ แบ่งเป็น 2 ชนิด
ก. ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการบริโภค (Average Propensity to Consume: APC) คือ ตัวเลขที่
แสดงสัดส่วนระหว่างการบริโภคกับรายได้ หาได้จาก

APC = C / Y
ถ้าให้ C = 5,000 + 0.6 Y
โดยที่ Y = 20,000 จะได้ C = 17000 บาท
APC = 17,000 = 0.85
20,000
นั่นคือที่รายได้ 20,000 บาท จะมีการใช้จ่ายเป็น 85% ของรายได้ในระดับนั้น
ข. ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้าย (Marginal Propensity to Consumer: MPC) คือ ตัวเลขสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายได้ไปหนึ่งหน่วย หาได้จาก

MPC = C2 - C1 = b
Y2 - Y1
เช่น C = 5,000 + 0.6 Y
ถ้า Y1 = 0, C1 = 5,000
Y2 = 20,000, C2 = 17, 000
MPC = 17,000 - 5,000
20,000 – 0
= 12,000 = 0.6 = b
20,000











2. ความโน้มเอียงในการออม คือ ตัวเลขที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการออมกับรายได้ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
ก. ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการออม (Average Propensity to Save = APS ) คือ
ตัวเลขที่แสดงสัดส่วนระหว่างการออมกับออมกับรายได้ หาได้จาก


APS = S / Y
ถ้าให้ S = - 5,000 + 0.4 Y
ถ้า Y = 20,000, S = 3,000 บาท
APS = 3,000 = 0.15
20,000
นั่นคือ ณ ระดับรายได้ 20,000 บาท การออมจะมีค่าเท่ากับ 15 % ของรายได้เนื่องจาก อีก 85% เป็นค่าใช้จ่าย
ดังนั้น APC + APS = 1
ข. ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการออม (Marginal Propensity to Save = MPS ) คือ ตัวเลขที่แสดงสัดส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงของการออมกับการเปลี่ยนแปลงของรายได้ หาได้จาก

MPS = S2 - S1
Y2 - Y1
เช่น S = -5,000 + 0.4 Y
ถ้า Y1 = 0, S1 = 3,000
Y2 = 20,000 S2 = 3,000
MPS = 3,000 – ( - 5,000)
20,000 – 0
= 8,000 = 0.4
20,000
นั่นคือ MPS = 1- MPC
= 1- b
หรือ MPC + MPS = 1

posted by Pholwat Choomsook @ 1:58 PM

ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายของการบริโภค mpc

    MPC และ MPS มีความสําคัญยิ่งในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงรายได้ เพราะช่วยให้ ทราบผลการเปลี่ยนแปลงรายได้เมื่อค่าใช้จ่ายมวลรวมเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันมักจะกําหนดให้ MPC และ MPS ในระบบเศรษฐกิจหนึ่ง ๆ มีค่าคงที่

ทฤษฎีการกำหนดรายได้ประชาชาติ  เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ และความต้องการใช้จ่ายมวลรวม (Desired Aggregate Expenditure: DAE)

ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม (DAE) คือ ความต้องการจะใช้จ่ายของภาคเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ครัวเรือน ธุรกิจ รัฐบาล ต่างประเทศ ในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายซึ่งผลิตขึ้นได้ในประเทศ ในระยะเวลาหนึ่ง   ความต้องการใช้จ่ายมวลรวมประกอบ ไปด้วย

  • ความต้องการใช้จ่ายเพื่อบริโภคของครัวเรือน (Desired Consumption Expenditure : C)
  • ความต้องการใช้จ่ายเพื่อลงทุนของหน่วยธุรกิจ (Desired Investment : I)
  • ความต้องการใช้จ่ายของภาครัฐบาล (Desired Government Expenditure : G)
  • ความต้องการส่งออกสุทธิ (Desired Net Export: X-M)

ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายของการบริโภค mpc

การบริโภค หมายถึง  รายจ่ายของครัวเรือนในการซื้อสินค้าและบริการในรอบ 1 ปี  จากการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า  ปัจจัยสำคัญที่กำหนดการบริโภคและการออมมีหลายปัจจัย  เช่น   รายได้ประชาชาติ   อัตราภาษี   ระดับราคาสินค้าและบริการ    ฯลฯ

ทฤษฎีการบริโภคของเคนส์ กล่าวว่า รายได้ที่ใช้จ่ายได้ (Disposable Income) เป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดในการกำหนดรายจ่ายเพื่อการบริโภค ดังนั้นเมื่อสมมติให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่  ฟังก์ชันการบริโภคจึงขึ้นอยู่กับรายได้ที่ใช้จ่ายได้แต่เพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ก่อนที่จะศึกษาถึงลักษณะสำคัญของทฤษฎีการบริโภคของเคนส์ ผู้ศึกษาควรทำความเข้าใจกับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องการการบริโภคและการออม 4  คำ ดังนี้

  • ความโน้มเอียงถัวเฉลี่ยในการบริโภค (Average Propensity to Consume: APC) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อรายได้ที่ใช้จ่ายได้ ซึ่งบอกให้ทราบถึงสัดส่วนของการบริโภค ณ แต่ละระดับรายได้ต่างๆ   ดังสูตร

ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายของการบริโภค mpc
 

  • ความโน้มเอียงส่วนเพิ่มในการบริโภค (Marginal Propensity to Consume: MPC) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงในรายจ่ายเพื่อการบริโภค ต่อการเปลี่ยนแปลงในรายได้ที่ใช้จ่ายได้ นั่นคือ เป็นการวัดค่าของการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมา จากการเปลี่ยนแปลงของรายได้ 1 หน่วย  ดังสูตร

ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายของการบริโภค mpc
 

  • ความโน้มเอียงถัวเฉลี่ยในการออม (Average Propensity to Save: APS) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างจำนวนเงินออมต่อรายได้ที่ใช้จ่ายได้ ซึ่งบอกให้ทราบถึงสัดส่วนของการออม ณ แต่ละระดับรายได้ต่างๆ  โดยที่

ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายของการบริโภค mpc

ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายของการบริโภค mpc

ความโน้มเอียงส่วนเพิ่มในการออม (Marginal Propensity to Save: MPS) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงในจำนวนเงินออม ต่อการเปลี่ยนแปลงในรายได้ที่ใช้จ่ายได้ นั่นคือ เป็นการวัดค่าของการออมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงของรายได้ 1 หน่วย  โดยที่