คณะครุศาสตร์ สาขาภาษาไทย ราชภัฏอุบล

คณะครุศาสตร์ สาขาภาษาไทย ราชภัฏอุบล

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีนโยบายมุ่งพัฒนางานวิชาการของคณะและสร้างพื้นที่การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของคณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาทั้งภายในและภายนอก จึงได้ดำเนินการจัดทำวารสารครุทรรศน์ (Journal of UBRU Educational Review) ในปี พ.ศ.2564 โดยเริมฉบับปฐมฤกษ์ปีที่ 1 ฉบับที่ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564
วารสารครุทรรศน์ เป็นวารสารอีเล็กทรอนิกส์ (Online) ได้รับการอนุมัติ ISSN (Online) คือ ISSN: 2773-9821 (Online) จากสำนักหอสมุดแห่งชาติเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2564  กองบรรณาธิการจะมุ่งมั่นพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จนกว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐานในที่สุด

ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2022): วาสารครุทรรศน์ (Online) ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2565)

คณะครุศาสตร์ สาขาภาษาไทย ราชภัฏอุบล

วารสารครุทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ฉบับที่ 4 ปีที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2565  ฉบับนี้นับเป็นความมุ่งมั่นในการที่จะพัฒนากระบวนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องสำหรับการเป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลงานที่เกิดจากการพัฒนางานวิชาการทางด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ การพัฒนาวิชาชีพ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพในการวิจัย ของคณาจารย์ ครู บุคลากรทางการศึกษา นิสิต นักศึกษาระดับระดับบัณฑิตศึกษา และระดับปริญญาตรี กองบรรณาธิการมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนากระบวนการทำงานของวารสารอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการและเสนอขอรับรองมาตรฐานวารสารของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในฉบับนี้มีบทความตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งสิ้น 8 บทความ แบ่งออกเป็นบทความวิจัยจำนวน 7 บทความ และ บทความวิชาการ จำนวน 1 บทความ ตามลำดับ ดังนี้ 1) ผลการติดตามดำเนินงานตามโครงการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนสามัญสู่ทักษะสัมมาอาชีพ: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดแก่นเหนือวิทยา อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดย สงกรานต์ บุญมี และ ธิดาวัลย์ อุ่นกอง 2) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 โดย ปวีรัตน์ ถาริวร ปรัชญ์ทวิพร พันธ์วงศ์ อัฐภิญญา ภูธร อาริตา ปิ่นสุวรรณ อุรุพงศ์ เทศนา อณุศักดิ์ จันแสน และ ปัญญา ตรีเลิศพจน์กุล 3) ภาวะผู้นำกับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดย พระมหาสุพล อระมูล บัวผัน ชัยวงศ์ษา อติพร สายแวว สืบสกุล บุญประสิทธิ์ นราพร นันโท อภิชยา ทองกุล และ ปัญญา ตรีเลิศพจน์กุล 4) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดย ปาริชาต ยาตรา วิชาญ ถิระโคตร และ ปริญา ปริพุฒ 5) การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยยึดหลักศาสตร์พระราชาสู่การเรียนรู้มุ่งสู่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแก้งอะฮวน อำเภอตระการพืชผล  จังหวัดอุบลราชธานี โดย อดิเทพ หวลหอม 6) ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดย รัตนอาภา อัตโตหิ ศุภวรรณ จันทราเขต และ ปริญญา เรืองทิพย์ 7) การประเมินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาเรียนรวมอย่างมีคุณภาพของโรงเรียนเรียนรวมสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST โดย จิตตวดี ทองทั่ว และ 8) หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดย ชัษษพณขิ์ จันวงค์เดือน และ วริญรดา บรรหาร
กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า วารสารครุทรรศน์ ฉบับนี้ที่ได้รวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาการอย่างหลากหลายจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจทุกท่านสำหรับการพัฒนาต่อยอดและผลิตผลงานทางวิชาการในลำดับต่อไป ในโอกาสนี้ขอขอบพระคุณผู้นิพนธ์บทความทุกท่านที่ได้ตั้งใจผลิตผลงานที่มีคุณค่าตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ และขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ได้ให้ความกรุณาเสียสละเวลาตรวจสอบคุณภาพและความถูกต้องของทุกบทความ ถือได้ว่าเป็นพลังใจและแรงสนับสนุนที่ดีเสมอมาสำหรับกองบรรณาธิการในการที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมาตรฐานมากยิ่งขึ้น

เผยแพร่แล้ว: 2022-08-26

ดูทุกฉบับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คณะครุศาสตร์ สาขาภาษาไทย ราชภัฏอุบล

ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ชื่อย่อมรภ.อบ. / UBRU
คติพจน์สร้างสรรค์ภูมิปัญญา นำพาการพัฒนาท้องถิ่น
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (18 ปี)
นายกสภาฯพลเอก นิรุทธ เกตุสิริ
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ธรรมรักษ์ ละอองนวล
ที่ตั้ง

วิทยาเขตในเมือง

เลขที่2 ถนนราชธานี ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000

วิทยาเขตบ้านยางน้อย

ถนนแจ้งสนิท ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 34150

สี████ สีเทา สีชมพู
เว็บไซต์www.ubru.ac.th

ดูบทความหลักที่: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (อังกฤษ: Ubon Ratchathani Rajabhat University) เป็นสถาบันการศึกษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และมีการจัดการศึกษาและการค้นคว้าวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยปัจจุบันนี้ได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยจำปาศักดิ์ ประเทศลาว

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่งจัดตั้งอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจัดการการศึกษาและให้การบริการแก่ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ (บางส่วน) และบุคลากรในเขตจังหวัดและประเทศใกล้เคียง โดยจัดการศึกษาในระดับอนุปริญญา ปริญญาบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีพัฒนาการและการยกฐานะดังต่อไปนี้

  • พ.ศ. 2458 มณฑลอุบลราชธานี ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นต่ำขึ้นในโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑล ตามตราสารเสมาธรรมจักรน้อยที่ ๗/๑๑๔๔ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๕๘ มีการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ในความดูแลของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2490 เปิด "โรงเรียนฝึกหัดครูอุบลราชธานี" ขึ้น โดยใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2490 จัดการเรียนการสอนหลักสูตร "ประกาศนียบัตรจังหวัด" และหลักสูตรประโยคครูมูล
  • พ.ศ. 2497 จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร "ประโยคครูประถม" (ป.ป.)
  • พ.ศ. 2498 จัดการเรียนการสอนหลักสูตร "ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา" (ป.กศ.)
  • พ.ศ. 2499 เริ่มโครงการฝึกหัดครูชนบทซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและองค์การยูเนสโก (Thailand Unesco Rural Teacher Education Project) หรือ TURTEP
  • พ.ศ. 2501 ยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูอุบลราชธานี" เปิดสอนถึงระดับ ป.กศ.สูง
  • พ.ศ. 2510 เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.)
  • พ.ศ. 2517 ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518
  • พ.ศ. 2527 มีการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนชั้นในวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ชื่อ "วิทยาลัยครูอุบลราชธานี"
  • พ.ศ. 2534 ทำโครงการความร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาโท วิชาเอกพัฒนาสังคม และวิชาเอกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ/หรือ การบริหารโครงการและนโยบายสาธารณะ
  • พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานนามว่า "สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี"
  • พ.ศ. 2540 เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู และหลักสูตรปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา ในปีการศึกษา 2541 ได้เปิดสอนเพิ่มอีก 2 สาขา คือ สาขาพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน และสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
  • ปีการศึกษา 2544 ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  • ปีการศึกษา 2545 ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)
  • ปีการศึกษา 2547 ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี" [1]
  • ปัจจุบันนี้ได้เปิดสอนระดับปริญญามหาบัณฑิตในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ครุศาสตรมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นสถาบันการศึกษาที่มีคณาจารย์และนักศึกษาเป็นจำนวนมาก อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ที่ทันสมัยและเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และเพื่อความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการภายในจึงได้มีการสถานภาพเป็นนิติบุคคล นอกจากนี้ยังมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา การพัฒนาอาจารย์การพัฒนาการเรียนการสอนในทุกสาขาวิชาไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ผู้บริหาร[แก้]

1 พ.ศ. 2491 - 2501 นายประสิทธิ์ สุนทโรทก ครูใหญ่ รร.ฝึกหัดครู
2 พ.ศ. 2501 - 2508 นายประสิทธิ์ สุนทโรทก ผู้อำนวยการวิทยาลัยครู
3 พ.ศ. 2508 - 2509 นายสนอง สิงหพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครู
4 พ.ศ. 2509 - 2515 นายสกล นิลวรรณ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครู
5 พ.ศ. 2515 - 2517 นายพจน์ ธัญญขันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครู
6 พ.ศ. 2517 - 2519 นายจินต์ รัตนสิน อธิการวิทยาลัยครู
7 พ.ศ. 2519 - 2521 นายประธาน จันทรเจริญ อธิการวิทยาลัยครู
8 พ.ศ. 2521 - 2523 นายอรุณ มุขสมบัติ อธิการวิทยาลัยครู
9 พ.ศ. 2523 - 2529 ผศ.ดร.พล คำปังสุ์ อธิการวิทยาลัยครู
10 พ.ศ. 2530 - 2537 ผศ.ปุณณะ ภูละ อธิการบดีวิทยาลัยครู
11 พ.ศ. 2537 - 2538 ผศ.สมชาย วงศ์เกษม อธิการบดีสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
12 พ.ศ. 2538 - 2546 ผศ.สมชาย วงศ์เกษม อธิการบดีสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
13 พ.ศ. 2546 - 2547 ผศ.เกษม บุญรมย์ อธิการบดีสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
14 พ.ศ. 2547 - 2551 ผศ.เกษม บุญรมย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
15 พ.ศ. 2551 - 2556 ผศ.ดร.ชัยวัฒน์ บุณฑริก อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
16 พ.ศ. 2556 - 2560 ผศ.ประชุม ผงผ่าน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
17 พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน รศ.ธรรมรักษ์ ละอองนวล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

คณะที่เปิดสอน[แก้]

การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี[แก้]

กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

  • คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • คณะพยาบาลศาสตร์
  • คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • คณะวิทยาศาสตร์ เก็บถาวร 2012-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • คณะเกษตรศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์

กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ
  • คณะครุศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์ เก็บถาวร 2011-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

การจัดการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก[แก้]

การศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรการศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)
    • สาขา วิชาชีพครู
    • สาขา การบริหารการศึกษา

หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
    • สาขา สัตวศาสตร์
    • สาขา คณิตศาสตร์ศึกษา
    • สาขา วิทยาศาสตร์ศึกษา
    • สาขา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
    • สาขา เทคโนโลยีวิศวกรรม
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
    • สาขา ภาษาอังกฤษ
    • สาขา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
    • สาขา ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
    • สาขา บริหารธุรกิจ
    • สาขา การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
    • สาขา การสร้างเสริมสุขภาพ
  • หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
    • สาขา การบริหารการศึกษา
    • สาขา วิจัยและประเมินผลการศึกษา
    • สาขา การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
    • สาขา รัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

  • หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.)
    • สาขา การบริหารการศึกษา
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
    • สาขา ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค

หน่วยงานภายใน[แก้]

  • สำนัก/สถาบัน/กองงาน
    • สำนักงานอธิการบดี
    • สถาบันวิจัยและพัฒนา
    • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
    • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
    • สำนักบริการวิชาการชุมชน
    • สำนักงานตรวจสอบภายใน
    • กองกลาง
    • กองนโยบายและแผน
    • กองบริหารงานบุคคล
    • กองพัฒนานักศึกษา
    • สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
    • สถาบันเศรษฐศาสตร์ลุ่มน้ำโขง
    • สถาบันการศึกษานานาชาติ (International Education Institute) เก็บถาวร 2019-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ศูนย์
    • ศูนย์คอมพิวเตอร์
    • ศูนย์ภาษา
    • คลินิกเทคโนโลยี
    • ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ
    • ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
    • ศูนย์แม่น้ำโขงศึกษา
    • หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
    • ศูนย์ศึกษาและการพัฒนาครู
    • ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
  • คณะ/วิทยาลัย
    • คณะวิทยาศาสตร์
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ
    • คณะครุศาสตร์
    • คณะเกษตรศาสตร์
    • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
    • คณะนิติศาสตร์
    • คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
    • คณะพยาบาลศาสตร์
    • คณะสาธารณสุขศาสตร์
    • คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์
    • บัณฑิตวิทยาลัย
  • โรงเรียน
    • โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วิทยาเขต
    • วิทยาเขตบ้านยางน้อย (อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี)

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร[แก้]

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

เกียรติประวัติ/รางวัล/ผลงาน[แก้]

  • วงโปงลางของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2534 ได้รับการยกย่องจาก สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ให้ได้รับรางวัลสังข์เงินและนับเป็นวงโปงลางแรกที่ได้รับเกียรตินี้ (การรำที่เป็นเอกลักษณ์ของวงโปงลางนี้คือ รำตังหวาย)
  • ทีม Beer Programmer นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ 3 มิติ ด้วย Dark Babic Professional คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 มาครองจากงานนิทรรศการ "Game Show 2008" นิทรรศการแสดงและประกวดผลงานเกมนักศึกษา ในความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สาขาขอนแก่น เมื่อวันที่ 17-20 กันยายน 2551 ณ จังหวัดขอนแก่น และทีม Princess ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และทีม Up To You และทีม Good Boy ได้รับรางวัลชมเชย จากการแข่งขันสร้างเกมคอมพิวเตอร์ 3 มิติจากนิทรรศการเดียวกัน

บุคลากร, ศิษย์ของสถาบัน ที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • ศักดา คำพิมูล – ศิลปินนักร้องค่ายชัวร์ ออดิโอ (คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ)
  • ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี (คณะครุศาสตร์)
  • รศ.ดร.รังสรรค์  พาลพ่าย – เอกชีววิทยา จบปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเกียวโต  ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้โคลนนิ่งวัวคนแรกของประเทศไทย
  • วชิรพงศ์ นาสารีย์ – หนึ่งในทีมช่วยชีวิตคนงานเหมืองในประเทศชิลี (คณะวิทยาศาสตร์)
  • สลา คุณวุฒิ – นักประพันธ์เพลง, ครูเพลง "ป.กศ.สูง เอกวิทยาศาสตร์ มีนาคม 2524"
  • ผศ.ดร.บัญชา เกียรติจรุงพันธ์ – ประธานสาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. "ป.กศ.สูง เอกภาษาไทย มีนาคม 2524"
  • รศ.ดร.ประวิตร เอราวรรณ – อดีตคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เหนือธรณี สามชัยวิเศษสุก – นักมวยไทยผู้สวมหน้ากากแบทแมน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (23 ก): 1. June 14, 2004.
  2. ทีมข่าวมวยสยาม. เหนือธรณี สามชัยวิเศษสุก (แบทแมน). น็อกเอาต์ฉบับมวยสยาม. ปีที่ 30 ฉบับที่ 2291. ISSN 15135454. หน้า 24

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี